กรุงเทพ--4 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การต่างประเทศจะให้สัมภาษณ์ในรายการ “มองรัฐสภา” ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศและการปรับเปลี่ยนการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ ตามแนวทางแบบบูรณาการของรัฐบาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศเป็น
เจ้าภาพหลักในการดำเนินยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของรัฐบาล โดยเน้นยุทธศาสตร์สำคัญที่ยึดถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาคือ “ยุทธศาสตร์การทูตเชิงรุก (Forward Engagement)“ ซึ่งเน้นการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์กับทุกประเทศทั่วโลก และขยายกรอบความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกมิติความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยเน้นการส่งเสริมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของประชาชน ซึ่งบทบาทของไทยในเวทีโลกอาจมองได้หลายระดับ ดังต่อไปนี้
1. ในระดับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทยเน้นการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยไทย มีบทบาทนำในการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจโดยริเริ่ม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ขึ้นมาเป็นกลไกสำคัญ
2. การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและยกสถานะของอาเซียน ในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันไทยมีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันกับเพื่อนบ้านอาเซียนอื่นๆ ใน การสร้างประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และการเสริมสร้างความเข็มแข็งในความสัมพันธ์ระหว่าง อาเซียนกับประเทศเอเชียตะวันออกภายใต้กรอบอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia Community) และความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาอื่นๆ
3. กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD) เป็นกรอบที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ริเริ่มและได้รับการตอบสนองด้วยดีจากมิตรประเทศในเอเชีย ปัจจุบัน ACD มีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 18 ประเทศเป็น 26 ประเทศ และมีโครงการความร่วมมือทั้งสิ้น 19 โครงการ
4. การส่งเสริมหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ไทยได้เปลี่ยนสถานะจากประเทศ ผู้รับเป็นประเทศผู้ให้ โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้นโยบายเชิงรุกผ่านการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) เป็นกลไกในการยกระดับความสัมพันธ์กับพันธมิตรและคู่ค้าสำคัญ
5. การทูตพหุภาคี ไทยให้ความสำคัญกับการใช้เวทีการทูตพหุภาคีโดยเฉพาะสหประชาชาติเป็นกลไกในการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ สิทธิมนุษยชน การแก้ไขปัญหาความยากจน การต่อต้าน การก่อการร้ายข้ามชาติ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
6. นโยบายการทูตเพื่อประชาชน กระทรวงการต่างประเทศได้พยายามปรับปรุงการให้บริการประชาชนในด้านต่างๆ นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังได้ประสานงานกับกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อปรับปรุงระบบหนังสือเดินทางไทยให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล (E-passport) และยังสามารถบูรณาการเข้ากับฐานข้อมูลของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนี้ยังมีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อบริการประชาชนในด้านต่างๆ เช่น การยื่นคำร้องขอ ความช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศผ่านระบบ internet รวมไปจนถึงการร่วมมือกับคณะกรรมการ การเลือกตั้ง
ในประเด็นเรื่องการปรับเปลี่ยนการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เน้นย้ำถึงการดำเนินการตามแนวทางแบบบูรณาการ ซึ่งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้มีการปรับเปลี่ยนการทำงานตามแนวทางการปฏิรูปราชการของนายกรัฐมนตรี ที่ให้หน่วยราชการต่างๆ ร่วมมือ และประสานงานในการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในลักษณะบูรณาการเพื่อประสิทธิภาพและประหยัดทรัพยากร โดยปัจจุบันกระทรวง การต่างประเทศได้ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยราชการทั้งในส่วนกลางและต่างประเทศปฏิบัติภารกิจต่างๆ ภายใต้ระบบทีมประเทศไทย (Team Thailand)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การต่างประเทศจะให้สัมภาษณ์ในรายการ “มองรัฐสภา” ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศและการปรับเปลี่ยนการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ ตามแนวทางแบบบูรณาการของรัฐบาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศเป็น
เจ้าภาพหลักในการดำเนินยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของรัฐบาล โดยเน้นยุทธศาสตร์สำคัญที่ยึดถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาคือ “ยุทธศาสตร์การทูตเชิงรุก (Forward Engagement)“ ซึ่งเน้นการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์กับทุกประเทศทั่วโลก และขยายกรอบความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกมิติความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยเน้นการส่งเสริมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของประชาชน ซึ่งบทบาทของไทยในเวทีโลกอาจมองได้หลายระดับ ดังต่อไปนี้
1. ในระดับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทยเน้นการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยไทย มีบทบาทนำในการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจโดยริเริ่ม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ขึ้นมาเป็นกลไกสำคัญ
2. การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและยกสถานะของอาเซียน ในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันไทยมีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันกับเพื่อนบ้านอาเซียนอื่นๆ ใน การสร้างประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และการเสริมสร้างความเข็มแข็งในความสัมพันธ์ระหว่าง อาเซียนกับประเทศเอเชียตะวันออกภายใต้กรอบอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia Community) และความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาอื่นๆ
3. กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD) เป็นกรอบที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ริเริ่มและได้รับการตอบสนองด้วยดีจากมิตรประเทศในเอเชีย ปัจจุบัน ACD มีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 18 ประเทศเป็น 26 ประเทศ และมีโครงการความร่วมมือทั้งสิ้น 19 โครงการ
4. การส่งเสริมหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ไทยได้เปลี่ยนสถานะจากประเทศ ผู้รับเป็นประเทศผู้ให้ โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้นโยบายเชิงรุกผ่านการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) เป็นกลไกในการยกระดับความสัมพันธ์กับพันธมิตรและคู่ค้าสำคัญ
5. การทูตพหุภาคี ไทยให้ความสำคัญกับการใช้เวทีการทูตพหุภาคีโดยเฉพาะสหประชาชาติเป็นกลไกในการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ สิทธิมนุษยชน การแก้ไขปัญหาความยากจน การต่อต้าน การก่อการร้ายข้ามชาติ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
6. นโยบายการทูตเพื่อประชาชน กระทรวงการต่างประเทศได้พยายามปรับปรุงการให้บริการประชาชนในด้านต่างๆ นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังได้ประสานงานกับกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อปรับปรุงระบบหนังสือเดินทางไทยให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล (E-passport) และยังสามารถบูรณาการเข้ากับฐานข้อมูลของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนี้ยังมีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อบริการประชาชนในด้านต่างๆ เช่น การยื่นคำร้องขอ ความช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศผ่านระบบ internet รวมไปจนถึงการร่วมมือกับคณะกรรมการ การเลือกตั้ง
ในประเด็นเรื่องการปรับเปลี่ยนการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เน้นย้ำถึงการดำเนินการตามแนวทางแบบบูรณาการ ซึ่งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้มีการปรับเปลี่ยนการทำงานตามแนวทางการปฏิรูปราชการของนายกรัฐมนตรี ที่ให้หน่วยราชการต่างๆ ร่วมมือ และประสานงานในการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในลักษณะบูรณาการเพื่อประสิทธิภาพและประหยัดทรัพยากร โดยปัจจุบันกระทรวง การต่างประเทศได้ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยราชการทั้งในส่วนกลางและต่างประเทศปฏิบัติภารกิจต่างๆ ภายใต้ระบบทีมประเทศไทย (Team Thailand)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-