แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 18 - 21 พ.ย. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,225.30 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 652.15 ตัน สัตว์น้ำจืด 573.15 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.23 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.65 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.10 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.86 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.63 ตัน
การตลาด
ญี่ปุ่นหยุดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ซูริมิจากไทย
นายทวี ปิยะพัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการกลุ่มซูริมิและผลิตภัณฑ์ปลา สมาคมอาหารแช่เยือก-แข็งไทย กล่าวถึงสถานการณ์การส่งออกซูริมิว่า เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าซูริมิรายใหญ่ของไทย เมื่อมีการรวมตัวกันหยุดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ซูริมิจากไทยเป็นเวลา 1 เดือน โดยให้เหตุผลว่า เดือนกันยายนเป็นช่วงปิด งบประมาณประจำปี แต่ไปสั่งซื้อจากอินเดีย เนื่องจากอินเดียมีวัตถุดิบมาก ราคาถูกกว่าไทยและมีการต่อรองราคาซื้อขายต่ำ จนผู้ผลิตไทยต้องแบกภาระขาดทุน ในความเป็นจริงสถานการณ์จับปลา เพื่อนำไปทำซูริมิของอินเดีย ขณะนี้ประสบกับปัญหามรสุมมีการทำประมงในลักษณะอวนลากตามชายฝั่ง และเป็นเรือขนาดเล็ก ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ซึ่งจับได้แต่ปลาจรวดเท่านั้น โดยไม่สามารถออกไปจับปลาน้ำลึกสำคัญได้ เช่น ปลาไล้กอ ปลาทรายแดง ที่จะนำไปทำซูริมิคุณภาพได้ ดังนั้น ราคาปลาของอินเดีย จึงถูกกว่าไทย และการที่ไม่มีห้องเย็นเก็บ จึงต้องปล่อยสินค้าออกขายในราคาถูก หากเปรียบเทียบกันแล้ว แม้จะเป็นเกรดเดียวกันกับไทย แต่คุณภาพซูริมิของไทยดีกว่ามาก
นายทวี กล่าวว่า ปริมาณการผลิตซูริมิของไทยตั้งแต่ต้นปี 2548 ที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิต ลดลงกว่าร้อยละ 20 เนื่องจากวัตถุดิบที่จับได้โดยชาวประมงไทยลดน้อยลง อีกทั้งภาวะการณ์ที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวประมงจึงไม่ออกทะเล เพราะได้ปลาเศรษฐกิจไม่คุ้มทุนในการออกไปทำประมงแต่ละครั้ง ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เรือขนาดกลางและเล็กจะจอดตามชายฝั่งมากกว่าร้อยละ 80 ส่งผลกระทบต่อการ ขาดแคลนวัตถุดิบ และราคาจะสูงขึ้นอีกอย่างแน่นอน หากโรงงานไม่รับซื้อแล้วชาวประมงก็ต้องเดือดร้อน แต่พอซื้อปลามาก็ไม่รู้จะผลิตไปขายได้อย่างไร
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.13 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 30.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.00 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 143.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.42 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 28 พ.ย. — 2 ธ.ค. 2548) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 พ.ย.-4 ธ.ค. 2548--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 18 - 21 พ.ย. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,225.30 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 652.15 ตัน สัตว์น้ำจืด 573.15 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.23 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.65 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.10 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.86 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.63 ตัน
การตลาด
ญี่ปุ่นหยุดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ซูริมิจากไทย
นายทวี ปิยะพัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการกลุ่มซูริมิและผลิตภัณฑ์ปลา สมาคมอาหารแช่เยือก-แข็งไทย กล่าวถึงสถานการณ์การส่งออกซูริมิว่า เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าซูริมิรายใหญ่ของไทย เมื่อมีการรวมตัวกันหยุดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ซูริมิจากไทยเป็นเวลา 1 เดือน โดยให้เหตุผลว่า เดือนกันยายนเป็นช่วงปิด งบประมาณประจำปี แต่ไปสั่งซื้อจากอินเดีย เนื่องจากอินเดียมีวัตถุดิบมาก ราคาถูกกว่าไทยและมีการต่อรองราคาซื้อขายต่ำ จนผู้ผลิตไทยต้องแบกภาระขาดทุน ในความเป็นจริงสถานการณ์จับปลา เพื่อนำไปทำซูริมิของอินเดีย ขณะนี้ประสบกับปัญหามรสุมมีการทำประมงในลักษณะอวนลากตามชายฝั่ง และเป็นเรือขนาดเล็ก ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ซึ่งจับได้แต่ปลาจรวดเท่านั้น โดยไม่สามารถออกไปจับปลาน้ำลึกสำคัญได้ เช่น ปลาไล้กอ ปลาทรายแดง ที่จะนำไปทำซูริมิคุณภาพได้ ดังนั้น ราคาปลาของอินเดีย จึงถูกกว่าไทย และการที่ไม่มีห้องเย็นเก็บ จึงต้องปล่อยสินค้าออกขายในราคาถูก หากเปรียบเทียบกันแล้ว แม้จะเป็นเกรดเดียวกันกับไทย แต่คุณภาพซูริมิของไทยดีกว่ามาก
นายทวี กล่าวว่า ปริมาณการผลิตซูริมิของไทยตั้งแต่ต้นปี 2548 ที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิต ลดลงกว่าร้อยละ 20 เนื่องจากวัตถุดิบที่จับได้โดยชาวประมงไทยลดน้อยลง อีกทั้งภาวะการณ์ที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวประมงจึงไม่ออกทะเล เพราะได้ปลาเศรษฐกิจไม่คุ้มทุนในการออกไปทำประมงแต่ละครั้ง ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เรือขนาดกลางและเล็กจะจอดตามชายฝั่งมากกว่าร้อยละ 80 ส่งผลกระทบต่อการ ขาดแคลนวัตถุดิบ และราคาจะสูงขึ้นอีกอย่างแน่นอน หากโรงงานไม่รับซื้อแล้วชาวประมงก็ต้องเดือดร้อน แต่พอซื้อปลามาก็ไม่รู้จะผลิตไปขายได้อย่างไร
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.13 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 30.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.00 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 143.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.42 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.86 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 28 พ.ย. — 2 ธ.ค. 2548) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 28 พ.ย.-4 ธ.ค. 2548--
-พห-