สำนักงานเศรษฐกิจการคลังรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนสิงหาคม พบว่าอัตราการจ้างงานอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ดุลการค้าปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนโดยเกินดุลครั้งแรกในรอบ 4 เดือน จากการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น ขณะที่นโยบายบริหารการนำเข้าที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้การนำเข้าขยายตัวลดลง สำหรับการจ้างงานโดยรวม พบว่าการจ้างงานภาคเกษตรกลับมาเป็นตัวหลัก ซึ่งผลักดันให้การจ้างงานโดยรวมสูงขึ้น นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ ระดับราคาภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนสิงหาคม 2548 ดังนี้
สำหรับภาคการเกษตรพบว่าการจ้างงานโดยรวมปรับดีขึ้น หลังจากปัญหาภัยแล้งคลี่คลายลง ทำให้เริ่มทำการเพาะปลูกสินค้าเกษตรหลักได้ส่งผลให้ต้องการแรงงานมากขึ้น โดยในเดือนสิงหาคม การจ้างงานภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อปี โดยการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 ขณะที่การจ้างงานภาคการประมงชะลอตัวลงโดยขยายตัวร้อยละ 4.8
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมกลับมาหดตัวหลังจากที่ขยายตัวในเดือนก่อน โดยเฉพาะภาคการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคมกลับมาหดตัวร้อยละ 1.9 หลังจากที่สามารถกลับมาขยายตัวร้อยละ 5.4 ในเดือนก่อน เนื่องมาจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออก รวมทั้งค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้โรงงานชะลอการจ้างงานเพิ่ม
การจ้างงานในภาคการก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนของภาครัฐ โดยอัตราการจ้างงานใหม่ในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 6.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อน เป็นผลจากขยายตัวของการลงทุนของภาครัฐ และหลังจากภาคธุรกิจรอดูทิศทางดอกเบี้ยและราคาน้ำมัน
การจ้างงานในภาคการโรงแรมเพิ่มมากขึ้น โดยการจ้างงานภาคการโรงแรมในเดือนสิงหาคมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี โดยผลกระทบจากภาวการณ์ท่องเที่ยวภาคใต้ปรับตัวดีขึ้น จากผลการประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวได้ผลดี ทำให้ความต้องการแรงงานสูงขึ้น
การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวในระดับสูง โดยปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชน ทั้งการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวมาขยายตัวในระดับสูงอีกครั้ง เนื่องจากประชาชน และภาคเอกชนในประเทศเริ่มสามารถปรับตัวกับภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนสิงหาคมเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 25.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.5 ในเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวในระดับสูง โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวมาขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 22.8 ในเดือนสิงหาคม หลังจากชะลอตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 8.7 ในเดือนกรกฎาคม โดยสินค้าเครื่องจักรกลเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 10.2 หลังจากที่ชะลอตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 8.4 ในเดือนก่อนหน้า และเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 14.5
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่องโดยดุลการค้ากลับเกินดุลครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยในเดือนสิงหาคม มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 10,181 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.9 โดยสินค้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ สินค้าเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 11.8 สูงขึ้นจากร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อน ซึ่งมาจากการขยายตัวของการส่งออกผัก ผลไม้ และยางพารา รวมทั้งอาหารทะเล ขณะที่สินค้าในหมวดอุตสาหกรรมขยายตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเช่นกัน โดยสินค้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวมทั้งสินค้าในหมวดเม็ดพลาสติก ด้านมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 9,604.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 21.2 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย มูลค่าการนำเข้าน้ำมันชะลอตัวลงอย่างมาก
เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน โดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 5.6 ในเดือนสิงหาคม สูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 5.3 ในเดือนกรกฎาคม โดยสินค้าหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.4 โดยเฉพาะในหมวดเนื้อสัตว์และผักผลไม้ ส่วนสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.6 โดยเฉพาะสินค้าประเภทพลังงานและค่าโดยสารที่ปรับตัวสูงขึ้นเกินร้อยละ 20 จากปีก่อน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน
เสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับแข็งแกร่ง โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 41.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนกรกฎาคมเกินดุล 169 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่ขาดดุลในระดับเกินพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯติดต่อกันถึง 4 เดือน เนื่องจากการขาดดุลการค้าลดลงอย่างมากจากนโยบายการจำกัดการนำเข้าที่ได้ผล รวมทั้งนโยบายการส่งเสริมการส่งออกมีประสิทธิภาพ และดุลบริการที่ดีขึ้นจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 48.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเท่ากับ 4.9 เดือนของมูลค่าการนำเข้า
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 14/2548 30 กันยายน 2548--
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนสิงหาคม 2548 ดังนี้
สำหรับภาคการเกษตรพบว่าการจ้างงานโดยรวมปรับดีขึ้น หลังจากปัญหาภัยแล้งคลี่คลายลง ทำให้เริ่มทำการเพาะปลูกสินค้าเกษตรหลักได้ส่งผลให้ต้องการแรงงานมากขึ้น โดยในเดือนสิงหาคม การจ้างงานภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อปี โดยการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 ขณะที่การจ้างงานภาคการประมงชะลอตัวลงโดยขยายตัวร้อยละ 4.8
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมกลับมาหดตัวหลังจากที่ขยายตัวในเดือนก่อน โดยเฉพาะภาคการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคมกลับมาหดตัวร้อยละ 1.9 หลังจากที่สามารถกลับมาขยายตัวร้อยละ 5.4 ในเดือนก่อน เนื่องมาจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออก รวมทั้งค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้โรงงานชะลอการจ้างงานเพิ่ม
การจ้างงานในภาคการก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนของภาครัฐ โดยอัตราการจ้างงานใหม่ในเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 6.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อน เป็นผลจากขยายตัวของการลงทุนของภาครัฐ และหลังจากภาคธุรกิจรอดูทิศทางดอกเบี้ยและราคาน้ำมัน
การจ้างงานในภาคการโรงแรมเพิ่มมากขึ้น โดยการจ้างงานภาคการโรงแรมในเดือนสิงหาคมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี โดยผลกระทบจากภาวการณ์ท่องเที่ยวภาคใต้ปรับตัวดีขึ้น จากผลการประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวได้ผลดี ทำให้ความต้องการแรงงานสูงขึ้น
การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวในระดับสูง โดยปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชน ทั้งการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวมาขยายตัวในระดับสูงอีกครั้ง เนื่องจากประชาชน และภาคเอกชนในประเทศเริ่มสามารถปรับตัวกับภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนสิงหาคมเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 25.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.5 ในเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวในระดับสูง โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวมาขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 22.8 ในเดือนสิงหาคม หลังจากชะลอตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 8.7 ในเดือนกรกฎาคม โดยสินค้าเครื่องจักรกลเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 10.2 หลังจากที่ชะลอตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 8.4 ในเดือนก่อนหน้า และเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 14.5
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่องโดยดุลการค้ากลับเกินดุลครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยในเดือนสิงหาคม มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 10,181 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.9 โดยสินค้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ สินค้าเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 11.8 สูงขึ้นจากร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อน ซึ่งมาจากการขยายตัวของการส่งออกผัก ผลไม้ และยางพารา รวมทั้งอาหารทะเล ขณะที่สินค้าในหมวดอุตสาหกรรมขยายตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเช่นกัน โดยสินค้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวมทั้งสินค้าในหมวดเม็ดพลาสติก ด้านมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 9,604.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 21.2 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย มูลค่าการนำเข้าน้ำมันชะลอตัวลงอย่างมาก
เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน โดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 5.6 ในเดือนสิงหาคม สูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 5.3 ในเดือนกรกฎาคม โดยสินค้าหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.4 โดยเฉพาะในหมวดเนื้อสัตว์และผักผลไม้ ส่วนสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.6 โดยเฉพาะสินค้าประเภทพลังงานและค่าโดยสารที่ปรับตัวสูงขึ้นเกินร้อยละ 20 จากปีก่อน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน
เสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับแข็งแกร่ง โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 41.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนกรกฎาคมเกินดุล 169 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่ขาดดุลในระดับเกินพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯติดต่อกันถึง 4 เดือน เนื่องจากการขาดดุลการค้าลดลงอย่างมากจากนโยบายการจำกัดการนำเข้าที่ได้ผล รวมทั้งนโยบายการส่งเสริมการส่งออกมีประสิทธิภาพ และดุลบริการที่ดีขึ้นจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 48.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเท่ากับ 4.9 เดือนของมูลค่าการนำเข้า
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 14/2548 30 กันยายน 2548--