1.ประเด็นเศรษฐกิจต่างประเทศ (27 สิงหาคม -- 26 กันยายน 2548)
ในช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมากยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ G-3 โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคน Katrina แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบเพียงในระยะสั้น ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ การที่พรรคของนาย Koizumi ชนะการเลือกตั้ง โดยมีนโยบายที่สำคัญ คือ การแปรรูปกิจการไปรษณีย์น่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว สำหรับเศรษฐกิจยุโรปยังมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศยังคงเปราะบาง ส่งผลให้ ECB ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลง
สหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงชั่วคราวจากผลของพายุเฮอร์ริเคน Katrina ทั้งนี้ The Research Arm of Congress ประเมินว่าพายุเฮอร์ริเคนจะส่งผลกระทบเฉพาะต่อภูมิภาคที่ได้รับความเสียหายเท่านั้นและจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งหลังของปีลดลงไม่เกินร้อยละ 1.0 อย่างไรก็ตาม จากการที่โรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งต้องปิดทำการและต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการซ่อมแซม ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นแม้โรงกลั่นที่ปิดจะคิดเป็นเพียงร้อยละ 10.0 ของกำลังการผลิตน้ำมันทั้งประเทศ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงอย่างมาก โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่จัดทำ โดย University of Michigan ในเดือนกันยายนปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 76.9 จากระดับ 89.1 ในเดือนก่อน ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 13 ปีอีกด้วย
อนึ่ง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมากดังกล่าวส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมากในเดือนสิงหาคมที่ร้อยละ 0.5 (mom) หรือร้อยละ 3.6 (yoy) เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ3.2 (yoy) ในเดือนก่อน โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดพลังงาน หมวดค่ารักษาพยาบาล และหมวดขนส่งอย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.1 (yoy) เท่ากับเดือนก่อน
ในการประชุมของ Fed เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 48 ที่ประชุมมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.75 โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินให้ความเห็นว่า ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนKatrina เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มขยายตัวดี แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่เสียหายหยุดชะงัก และทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่าย การผลิต และการจ้างงานชะลอตัวลงในระยะสั้นนอกจากนี้ ความเสียหายต่อแหล่งผลิตและโรงกลั่นน้ำมันในบริเวณที่ได้รับผลกระทบส่งผลให้ราคาน้ำมันผันผวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพิ่มความไม่แน่นอนต่อภาวะเศรษฐกิจในระยะนี้ ซึ่งคณะกรรมการฯ มองว่าเป็นความเสี่ยงในระยะสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นโยบายการเงินที่ยังอยู่ในลักษณะผ่อนคลายกอปรกับ productivity growth ที่ยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป โดยราคาน้ำมันและต้นทุนอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นจะสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำและอัตราเงินเฟ้อ คาดการณ์ในระยะยาวยังสามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ มองว่ายังมีความเสี่ยงทั้งด้านบวกและลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้า roughly equal และให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคตไว้เช่นเดิม คือ "policy accommodative can be removed at a pace that is likely to be measured." และจะเปลี่ยนแปลงนโยบายตามภาวะเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา
กลุ่มประเทศยูโร
ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนยังมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ประกาศออกมามีทิศทางที่ไม่สอดคล้องกัน โดยอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคมปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.6 ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยปัจจัยหลักมาจากอัตราการว่างงานในประเทศเยอรมนีที่ลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ผลิต ชะลอตัวลงเล็กน้อยโดยดัชนี PMI (Purchasing Manager Index) ภาคการผลิตล่าสุดในเดือนสิงหาคมปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 50.4 จากระดับ 50.8 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการปรับลดลงเช่นกันมาอยู่ที่ระดับ 53.3 จากระดับ 53.5 สะท้อนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนยังเป็นไปอย่างช้าๆ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ผลิตที่ปรับลดลงดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเพียง ร้อยละ 0.5 (yoy)
อนึ่ง แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มยูโรโซนยังคงทรงตัว โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.2 เท่ากับในเดือนก่อนโดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดค่าเช่าบ้านหมวดขนส่ง และหมวดแอลกอฮอล์และยาสูบ
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ย จากการประชุม ECB Governing Council เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ECB มีความกังวลถึงผลของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก ทำให้มองว่ามี upside risks ต่อเสถียรภาพระดับราคามากขึ้นอันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และการปรับเพิ่มราคาสินค้าควบคุมและภาษีทางอ้อม ทำให้ ECB ต้องติดตามความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดต่อไป อย่างไรก็ตาม นาย Trichet ประธาน ECB ยังคงยืนยันว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันเป็นระดับที่เหมาะสมและจะยังคงไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยในตอนนี้
ทั้งนี้ ECB ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อ ในปี 2548 และ 2549 จากร้อยละ 1.8 - 2.2 และร้อยละ 0.9 - 2.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 - 2.3 และ 1.4 - 2.4 ตามลำดับ และได้ปรับลดประมาณการ GDP ในปี 2548 และ 2549 ลงจากร้อยละ 1.1 - 1.7 และ 1.5 - 2.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 - 1.6 และ1.3 - 2.3 ตามลำดับ
ญี่ปุ่น
ทางการญี่ปุ่นประกาศปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 2 ปรับขึ้นจากร้อยละ 0.3 (qoq) เป็นร้อยละ 0.8 หรือจากร้อยละ 1.4 (yoy) เป็นร้อยละ 2.1 และในไตรมาสแรกปรับจากร้อยละ 1.3 (qoq) เป็นร้อยละ 1.4 (แต่ไม่เปลี่ยนแปลงอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 (yoy)) โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นมาจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเป็นสำคัญ
ขณะเดียวกัน IMF ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น สำหรับปี 2548 และ ปี 2549 จากประมาณการเดิมในเดือนเมษายนที่ร้อยละ 0.8 และ 1.9 (yoy) เป็นร้อยละ 2.0 และ 2.0 (yoy) ตามลำดับ เนื่องจากเห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีในช่วง ต้นปี 2548 จะส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจในช่วงปลายปี ดีขึ้นได้ (growth momentum) ตลอดจนมีสัญญาณว่า การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และค่าเงินเยนที่อาจได้รับผลกระทบจากความไม่สมดุลของการค้าระหว่างประเทศ (global current account imbalance)
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้สำคัญ อาทิ ยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชน (private machinery orders) ในเดือนกรกฎาคม 2548 ขยายตัวร้อยละ 10 (yoy) เทียบกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 5.4 (yoy) นอกจากนี้ ตัวเลขยอดขายของห้างสรรพสินค้าในกรุงโตเกียวยังเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี ถึงแม้ว่าภาคการผลิตโดยรวมจะชะลอตัวลงในเดือนกรกฎาคม อันเป็นผลมาจากการผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์การขนส่ง (transportation equipment) ที่ลดลง อย่างไรก็ดี กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) คาดการณ์ว่าภาคการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในเดือนสิงหาคมและกันยายน ตามการฟื้นตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมยังคงติดลบที่ร้อยละ 0.5 และ 0.3 (yoy) ตามลำดับ เนื่องจากการปรับลดราคาค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ได้แก่ ค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินฝืดมีแนวโน้มคลี่คลายในช่วงต้นปี 2549 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ
ได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อนึ่ง เมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ โดยพรรค Liberal Democratic Party (LDP) ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยครองเสียงข้างมาก และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ร่วมกับพรรคKomeito ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี จุนอิชิโร โคอิซูมิ หัวหน้าพรรค LDP ยังคงยืนยันที่จะสานต่อนโยบายการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ต่อไป ซึ่งเป็นเพียงก้าวแรกของนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อลดขนาดและภาระการลงทุนของรัฐบาลลง และเพิ่มการแข่งขันในภาคเอกชน ดังนั้น การชนะการเลือกตั้งของนายกรัฐมนตรี จุนอิชิโร โคอิซูมิในครั้งนี้จึงเป็นสัญญาณว่าประชาชนยังคงให้การสนับสนุนนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatization) และการลดขนาดของรัฐบาล (small government) ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป
เอเชีย
เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชียชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เนื่องจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจนมากนัก โดยทางการในบางประเทศได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงเนื่องจากผลกระทบจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ลงจากเดิมที่ร้อยละ 6.3-7.3 เป็นร้อยละ 5 แม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 4.8 (yoy) เร่งขึ้นจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ.6 ก็ตาม ขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ลงจากร้อยละ 6 (yoy) เป็นร้อยละ 5.8 สำหรับมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิ ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นเช่นกันจากการที่ทางการลดภาระด้านงบประมาณโดยลดการชดเชยราคาน้ำมันและการปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศให้สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงเป้าหมายการขยายตัวของเศรษฐกิจของปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 3.5 - 4.5 เช่นเดิม โดยระบุว่าผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคน Katrina ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญของสิงคโปร์จะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น และการส่งออกของสิงคโปร์ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องแม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับรัฐบาลฮ่องกงที่ยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ที่ร้อยละ 4.5-5.5 ทั้งนี้ GDP ของฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 6.8 (yoy) เร่งขึ้นจากไตรมาสแรกที่ร้อยละ 6.2 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้โดยเป็นผลจากการบริโภค การลงทุน และการส่งออกที่ยังคงขยายตัวดี ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากการขยายตัวสูงของเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสที่ 2 นอกจากนี้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ค่อยๆ ฟื้นตัว ขณะที่เศรษฐกิจไต้หวันไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันมากนัก
การส่งออกของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่อุปสงค์ต่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน สำหรับการส่งออกของจีนในเดือนสิงหาคมขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 32.0 (yoy) เทียบกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 28.7 ในขณะที่การนำเข้าเร่งตัวขึ้นมากโดยอยู่ที่ร้อยละ 23.2 การส่งออกของมาเลเซียในเดือนกรกฎาคมขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 (yoy) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีครึ่ง โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักชะลอตัวลงมากจากร้อยละ 11.6 (yoy) ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ขณะที่การส่งออกของฟิลิปปินส์ ในเดือนกรกฎาคมกลับมาขยายตัวดีอีกครั้ง โดยขยายตัวร้อยละ 11.4 (yoy) เทียบกับร้อยละ 1.0 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดการณ์ว่าการขยายตัวดังกล่าวอาจจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากการส่งออกของฟิลิปปินส์ค่อนข้างผันผวน โดยขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทจากต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป การส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 7.1 (yoy) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์
อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานและหมวดอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อของไต้หวันในเดือนสิงหาคมปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 (yoy) เทียบกับร้อยละ 2.4 ในเดือนก่อน และนับเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นส่งผลให้ราคาในหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 (yoy) สำหรับอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ในเดือนสิงหาคมปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 7.2 จาก ร้อยละ 7.1 ในเดือนก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซีย และอินโดนีเซียยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกันภายหลัง จากรัฐบาลลดการชดเชยราคาน้ำมันในประเทศ โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.7 และ 8.3 (yoy) ตามลำดับ เทียบกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.0 และ 7.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมโดยให้มีระบบสวัสดิการช่วยเหลือคนยากจนเพื่อลดผลกระทบจากการปรับราคาน้ำมันในประเทศให้สูงขึ้นอย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือนสิงหาคมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 (yoy) เทียบกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.8 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากราคาอาหารที่ปรับตัวลดลง
ค่าเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ตามการอ่อนค่าของเงินเยนเป็นสำคัญ ทั้งนี้แรงกดดันต่อค่าเงินหยวนของจีนเริ่มกลับมามีมากขึ้นในช่วงก่อนการประชุมกลุ่ม G7 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 กันยายน โดยประเทศอุตสาหกรรมต้องการกดดันให้จีนปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่ามากขึ้นกว่าที่มีการปรับร้อยละ2.1 ในครั้งแรก และเห็นว่าค่าเงินหยวนของจีนยังอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ตลอดจน IMF ได้ออกมาเรียกร้องให้จีนยอมปล่อยให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวอย่างยืดหยุ่นมากขึ้นโดยมองว่าค่าเงินหยวนที่ยืดหยุ่นจะช่วยปกป้องเศรษฐกิจของจีนและช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลทางการค้าของโลก สำหรับค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์อ่อนค่าลงเนื่องจากปัญหาด้านเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ เป็นสำคัญ ขณะที่ค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีความต้องการเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดจำนวนมากทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ออกมาตรการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์เพิ่มเติมจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเพิ่มสัดส่วนเงินสดสำรองทางการของธนาคารพาณิชย์ขั้นต่ำขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดิมที่ระดับร้อยละ 6-8 และอนุญาตให้ทำธุรกรรม FX swap ระยะสั้นได้ ตลอดจนสามารถเข้าแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นระยะๆ ได้
การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียยังมีทิศทางที่เข้มงวดขึ้น โดยธนาคารกลางไต้หวันได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน discount rate ร้อยละ 0.125 จากร้อยละ 2.0 เป็นร้อยละ 2.125 เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นติดต่อกันเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าที่รัฐบาลคาดไว้ และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำธนาคารกลางฮ่องกงได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานสำหรับการให้กู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์ประเภทข้ามคืน(base rate) ร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 5.25 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2548 ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ เนื่องจากฮ่องกงผูกค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์ สรอ. ภายใต้ระบบ currency board ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Intervention rate ระยะ 7 วัน จากร้อยละ 7.5 เป็นร้อยละ 8.5 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 และปรับอัตราดอกเบี้ย SBI ระยะ 1 เดือนขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 10.0 ในเดือนกันยายน โดยเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 0.5 จากเดือนสิงหาคม หรือ ร้อยละ 2.6 นับจากต้นปี เพื่อลดแรงกดดันต่อการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์และลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย overnight borrowing rate จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 7.25 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 เพื่อลดแรงกดดันต่อค่าเงินและอัตราเงินเฟ้อ สำหรับธนาคารกลางเกาหลีใต้ยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมในการประชุมที่ผ่านมา แต่ได้ส่งสัญญาณว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้หากสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศมีความชัดเจนมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมากยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ G-3 โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคน Katrina แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบเพียงในระยะสั้น ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ การที่พรรคของนาย Koizumi ชนะการเลือกตั้ง โดยมีนโยบายที่สำคัญ คือ การแปรรูปกิจการไปรษณีย์น่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว สำหรับเศรษฐกิจยุโรปยังมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศยังคงเปราะบาง ส่งผลให้ ECB ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลง
สหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงชั่วคราวจากผลของพายุเฮอร์ริเคน Katrina ทั้งนี้ The Research Arm of Congress ประเมินว่าพายุเฮอร์ริเคนจะส่งผลกระทบเฉพาะต่อภูมิภาคที่ได้รับความเสียหายเท่านั้นและจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งหลังของปีลดลงไม่เกินร้อยละ 1.0 อย่างไรก็ตาม จากการที่โรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งต้องปิดทำการและต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการซ่อมแซม ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นแม้โรงกลั่นที่ปิดจะคิดเป็นเพียงร้อยละ 10.0 ของกำลังการผลิตน้ำมันทั้งประเทศ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงอย่างมาก โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่จัดทำ โดย University of Michigan ในเดือนกันยายนปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 76.9 จากระดับ 89.1 ในเดือนก่อน ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 13 ปีอีกด้วย
อนึ่ง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมากดังกล่าวส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมากในเดือนสิงหาคมที่ร้อยละ 0.5 (mom) หรือร้อยละ 3.6 (yoy) เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ3.2 (yoy) ในเดือนก่อน โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดพลังงาน หมวดค่ารักษาพยาบาล และหมวดขนส่งอย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.1 (yoy) เท่ากับเดือนก่อน
ในการประชุมของ Fed เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 48 ที่ประชุมมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.75 โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินให้ความเห็นว่า ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนKatrina เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มขยายตัวดี แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่เสียหายหยุดชะงัก และทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่าย การผลิต และการจ้างงานชะลอตัวลงในระยะสั้นนอกจากนี้ ความเสียหายต่อแหล่งผลิตและโรงกลั่นน้ำมันในบริเวณที่ได้รับผลกระทบส่งผลให้ราคาน้ำมันผันผวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพิ่มความไม่แน่นอนต่อภาวะเศรษฐกิจในระยะนี้ ซึ่งคณะกรรมการฯ มองว่าเป็นความเสี่ยงในระยะสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นโยบายการเงินที่ยังอยู่ในลักษณะผ่อนคลายกอปรกับ productivity growth ที่ยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป โดยราคาน้ำมันและต้นทุนอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นจะสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำและอัตราเงินเฟ้อ คาดการณ์ในระยะยาวยังสามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ มองว่ายังมีความเสี่ยงทั้งด้านบวกและลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้า roughly equal และให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคตไว้เช่นเดิม คือ "policy accommodative can be removed at a pace that is likely to be measured." และจะเปลี่ยนแปลงนโยบายตามภาวะเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา
กลุ่มประเทศยูโร
ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนยังมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ประกาศออกมามีทิศทางที่ไม่สอดคล้องกัน โดยอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคมปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.6 ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยปัจจัยหลักมาจากอัตราการว่างงานในประเทศเยอรมนีที่ลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ผลิต ชะลอตัวลงเล็กน้อยโดยดัชนี PMI (Purchasing Manager Index) ภาคการผลิตล่าสุดในเดือนสิงหาคมปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 50.4 จากระดับ 50.8 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการปรับลดลงเช่นกันมาอยู่ที่ระดับ 53.3 จากระดับ 53.5 สะท้อนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนยังเป็นไปอย่างช้าๆ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ผลิตที่ปรับลดลงดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเพียง ร้อยละ 0.5 (yoy)
อนึ่ง แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มยูโรโซนยังคงทรงตัว โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.2 เท่ากับในเดือนก่อนโดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดค่าเช่าบ้านหมวดขนส่ง และหมวดแอลกอฮอล์และยาสูบ
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ย จากการประชุม ECB Governing Council เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ECB มีความกังวลถึงผลของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก ทำให้มองว่ามี upside risks ต่อเสถียรภาพระดับราคามากขึ้นอันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และการปรับเพิ่มราคาสินค้าควบคุมและภาษีทางอ้อม ทำให้ ECB ต้องติดตามความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดต่อไป อย่างไรก็ตาม นาย Trichet ประธาน ECB ยังคงยืนยันว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันเป็นระดับที่เหมาะสมและจะยังคงไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยในตอนนี้
ทั้งนี้ ECB ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อ ในปี 2548 และ 2549 จากร้อยละ 1.8 - 2.2 และร้อยละ 0.9 - 2.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 - 2.3 และ 1.4 - 2.4 ตามลำดับ และได้ปรับลดประมาณการ GDP ในปี 2548 และ 2549 ลงจากร้อยละ 1.1 - 1.7 และ 1.5 - 2.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 - 1.6 และ1.3 - 2.3 ตามลำดับ
ญี่ปุ่น
ทางการญี่ปุ่นประกาศปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 2 ปรับขึ้นจากร้อยละ 0.3 (qoq) เป็นร้อยละ 0.8 หรือจากร้อยละ 1.4 (yoy) เป็นร้อยละ 2.1 และในไตรมาสแรกปรับจากร้อยละ 1.3 (qoq) เป็นร้อยละ 1.4 (แต่ไม่เปลี่ยนแปลงอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 (yoy)) โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นมาจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเป็นสำคัญ
ขณะเดียวกัน IMF ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น สำหรับปี 2548 และ ปี 2549 จากประมาณการเดิมในเดือนเมษายนที่ร้อยละ 0.8 และ 1.9 (yoy) เป็นร้อยละ 2.0 และ 2.0 (yoy) ตามลำดับ เนื่องจากเห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีในช่วง ต้นปี 2548 จะส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจในช่วงปลายปี ดีขึ้นได้ (growth momentum) ตลอดจนมีสัญญาณว่า การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และค่าเงินเยนที่อาจได้รับผลกระทบจากความไม่สมดุลของการค้าระหว่างประเทศ (global current account imbalance)
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้สำคัญ อาทิ ยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชน (private machinery orders) ในเดือนกรกฎาคม 2548 ขยายตัวร้อยละ 10 (yoy) เทียบกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 5.4 (yoy) นอกจากนี้ ตัวเลขยอดขายของห้างสรรพสินค้าในกรุงโตเกียวยังเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี ถึงแม้ว่าภาคการผลิตโดยรวมจะชะลอตัวลงในเดือนกรกฎาคม อันเป็นผลมาจากการผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์การขนส่ง (transportation equipment) ที่ลดลง อย่างไรก็ดี กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) คาดการณ์ว่าภาคการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในเดือนสิงหาคมและกันยายน ตามการฟื้นตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมยังคงติดลบที่ร้อยละ 0.5 และ 0.3 (yoy) ตามลำดับ เนื่องจากการปรับลดราคาค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ได้แก่ ค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินฝืดมีแนวโน้มคลี่คลายในช่วงต้นปี 2549 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ
ได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อนึ่ง เมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ โดยพรรค Liberal Democratic Party (LDP) ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยครองเสียงข้างมาก และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ร่วมกับพรรคKomeito ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี จุนอิชิโร โคอิซูมิ หัวหน้าพรรค LDP ยังคงยืนยันที่จะสานต่อนโยบายการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ต่อไป ซึ่งเป็นเพียงก้าวแรกของนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อลดขนาดและภาระการลงทุนของรัฐบาลลง และเพิ่มการแข่งขันในภาคเอกชน ดังนั้น การชนะการเลือกตั้งของนายกรัฐมนตรี จุนอิชิโร โคอิซูมิในครั้งนี้จึงเป็นสัญญาณว่าประชาชนยังคงให้การสนับสนุนนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatization) และการลดขนาดของรัฐบาล (small government) ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป
เอเชีย
เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชียชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เนื่องจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจนมากนัก โดยทางการในบางประเทศได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงเนื่องจากผลกระทบจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ลงจากเดิมที่ร้อยละ 6.3-7.3 เป็นร้อยละ 5 แม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 4.8 (yoy) เร่งขึ้นจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ.6 ก็ตาม ขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ลงจากร้อยละ 6 (yoy) เป็นร้อยละ 5.8 สำหรับมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิ ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นเช่นกันจากการที่ทางการลดภาระด้านงบประมาณโดยลดการชดเชยราคาน้ำมันและการปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศให้สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงเป้าหมายการขยายตัวของเศรษฐกิจของปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 3.5 - 4.5 เช่นเดิม โดยระบุว่าผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคน Katrina ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญของสิงคโปร์จะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น และการส่งออกของสิงคโปร์ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องแม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับรัฐบาลฮ่องกงที่ยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ที่ร้อยละ 4.5-5.5 ทั้งนี้ GDP ของฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 6.8 (yoy) เร่งขึ้นจากไตรมาสแรกที่ร้อยละ 6.2 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้โดยเป็นผลจากการบริโภค การลงทุน และการส่งออกที่ยังคงขยายตัวดี ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากการขยายตัวสูงของเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสที่ 2 นอกจากนี้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ค่อยๆ ฟื้นตัว ขณะที่เศรษฐกิจไต้หวันไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันมากนัก
การส่งออกของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่อุปสงค์ต่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน สำหรับการส่งออกของจีนในเดือนสิงหาคมขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 32.0 (yoy) เทียบกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 28.7 ในขณะที่การนำเข้าเร่งตัวขึ้นมากโดยอยู่ที่ร้อยละ 23.2 การส่งออกของมาเลเซียในเดือนกรกฎาคมขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 (yoy) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีครึ่ง โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักชะลอตัวลงมากจากร้อยละ 11.6 (yoy) ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ขณะที่การส่งออกของฟิลิปปินส์ ในเดือนกรกฎาคมกลับมาขยายตัวดีอีกครั้ง โดยขยายตัวร้อยละ 11.4 (yoy) เทียบกับร้อยละ 1.0 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดการณ์ว่าการขยายตัวดังกล่าวอาจจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากการส่งออกของฟิลิปปินส์ค่อนข้างผันผวน โดยขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทจากต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป การส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 7.1 (yoy) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์
อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานและหมวดอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อของไต้หวันในเดือนสิงหาคมปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 (yoy) เทียบกับร้อยละ 2.4 ในเดือนก่อน และนับเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นส่งผลให้ราคาในหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 (yoy) สำหรับอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ในเดือนสิงหาคมปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 7.2 จาก ร้อยละ 7.1 ในเดือนก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซีย และอินโดนีเซียยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกันภายหลัง จากรัฐบาลลดการชดเชยราคาน้ำมันในประเทศ โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.7 และ 8.3 (yoy) ตามลำดับ เทียบกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.0 และ 7.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมโดยให้มีระบบสวัสดิการช่วยเหลือคนยากจนเพื่อลดผลกระทบจากการปรับราคาน้ำมันในประเทศให้สูงขึ้นอย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือนสิงหาคมลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 (yoy) เทียบกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.8 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากราคาอาหารที่ปรับตัวลดลง
ค่าเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ตามการอ่อนค่าของเงินเยนเป็นสำคัญ ทั้งนี้แรงกดดันต่อค่าเงินหยวนของจีนเริ่มกลับมามีมากขึ้นในช่วงก่อนการประชุมกลุ่ม G7 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 กันยายน โดยประเทศอุตสาหกรรมต้องการกดดันให้จีนปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่ามากขึ้นกว่าที่มีการปรับร้อยละ2.1 ในครั้งแรก และเห็นว่าค่าเงินหยวนของจีนยังอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ตลอดจน IMF ได้ออกมาเรียกร้องให้จีนยอมปล่อยให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวอย่างยืดหยุ่นมากขึ้นโดยมองว่าค่าเงินหยวนที่ยืดหยุ่นจะช่วยปกป้องเศรษฐกิจของจีนและช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลทางการค้าของโลก สำหรับค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์อ่อนค่าลงเนื่องจากปัญหาด้านเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ เป็นสำคัญ ขณะที่ค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีความต้องการเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดจำนวนมากทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ออกมาตรการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์เพิ่มเติมจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเพิ่มสัดส่วนเงินสดสำรองทางการของธนาคารพาณิชย์ขั้นต่ำขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดิมที่ระดับร้อยละ 6-8 และอนุญาตให้ทำธุรกรรม FX swap ระยะสั้นได้ ตลอดจนสามารถเข้าแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นระยะๆ ได้
การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียยังมีทิศทางที่เข้มงวดขึ้น โดยธนาคารกลางไต้หวันได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน discount rate ร้อยละ 0.125 จากร้อยละ 2.0 เป็นร้อยละ 2.125 เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นติดต่อกันเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าที่รัฐบาลคาดไว้ และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำธนาคารกลางฮ่องกงได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานสำหรับการให้กู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์ประเภทข้ามคืน(base rate) ร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 5.25 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2548 ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ เนื่องจากฮ่องกงผูกค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์ สรอ. ภายใต้ระบบ currency board ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Intervention rate ระยะ 7 วัน จากร้อยละ 7.5 เป็นร้อยละ 8.5 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 และปรับอัตราดอกเบี้ย SBI ระยะ 1 เดือนขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 10.0 ในเดือนกันยายน โดยเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 0.5 จากเดือนสิงหาคม หรือ ร้อยละ 2.6 นับจากต้นปี เพื่อลดแรงกดดันต่อการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์และลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย overnight borrowing rate จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 7.25 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 เพื่อลดแรงกดดันต่อค่าเงินและอัตราเงินเฟ้อ สำหรับธนาคารกลางเกาหลีใต้ยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมในการประชุมที่ผ่านมา แต่ได้ส่งสัญญาณว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้หากสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศมีความชัดเจนมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--