กรุงเทพ--12 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548 นายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าคณะผู้เจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหรัฐฯ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับการเตรียมการของฝ่ายไทย สำหรับการเจรจาฯ รอบที่ 5 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 — 30 กันยายน 2548 ณ นครโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
? การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบ 5 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 — 30 กันยายน 2548 ที่ East-West Center มหาวิทยาลัยฮาวาย เมืองฮอนโนลูลู มลรัฐฮาวาย ซึ่งเป็นสถานที่จัดการเจรจารอบ 1 และ 2 (รอบ 3 จัดขึ้นที่พัทยา และรอบ 4 จัดขึ้นที่มลรัฐมอนแทนา)
? เรื่องที่จะมีการหารือกันในรอบ 5 จะมีทั้งหมด 14 เรื่อง
- กลุ่มสินค้า ได้แก่ การลดภาษีสินค้าเกษตร กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การลดอุปสรรคทางการค้า อาทิระเบียบพิธีการด้านศุลกากร มาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ (Sanitary and Phytosanitary: SPS) และอุปสรรคเทคนิคทางการค้า (Technical Barriers to Trade: TBT)
- กลุ่มบริการ ได้แก่ การค้าบริการ การลงทุน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ จะมีการหารือกันในกลุ่มกฎหมาย แรงงานและสิ่งแวดล้อม นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา และการจัดทำความตกลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
? จะมีบางกลุ่มที่ไม่ได้ไปเจรจาที่ฮาวาย แต่จะไปเจรจานอกรอบที่กรุงวอชิงตันแทน โดยจะใช้โอกาสในการที่จะไปศึกษาดูงานเพื่อทำความเข้าใจระบบของสหรัฐฯ จัดการเจรจานอกรอบระหว่างการเยือนนั้น เช่น เรื่องการบริการทางการเงิน การจัดซื้อโดยรัฐ โทรคมนาคม และการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรื่องที่คาดว่าจะมีความคืบหน้าในการเจรจารอบ 5
- การเปิดตลาดสินค้าเกษตร หลังจากการเจรจารอบ 4 ที่ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อเสนอเบื้องต้น (initial offer) ของตนไปแล้ว คาดว่ารอบนี้จะมีการแลกเปลี่ยนข้อเรียกร้อง (initial request) ของแต่ละฝ่าย
- SPS และ TBT ในการเจรจารอบ 4 ข้อเสนอของไทยได้รับการตอบสนองจากสหรัฐฯ เป็นอย่างดี โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดตั้งกลไกการหารือเพื่อแก้ปัญหาด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม
ระหว่างกัน สำหรับการเจรจาในรอบนี้ จะมีการหารือกันต่อเนื่องจากประเด็นที่ไทยได้ผลักดันไว้ในรอบที่แล้ว โดยในกลุ่ม SPS ไทยจะยังคงผลักดันในเรื่องผลไม้ 6 ชนิด (มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด เงาะ สับปะรด) ที่จะขอจัดทำการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Pest Risk Analysis) และการส่งออกไก่ต้มสุกไปยังตลาดสหรัฐฯ ส่วนในกลุ่ม TBT ไทยจะยกประเด็นมาตรฐานของสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น ปูนซีเมนต์ ที่มีลักษณะเป็นการกีดกันทางการค้าขึ้นหารือเพิ่มเติม
- ระเบียบพิธีการด้านศุลกากร จะเน้นการหารือเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการตรวจปล่อยสินค้า
- การค้าบริการและการลงทุน ทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นแตกต่างกันในกรอบเจรจาและแนวทาง
การเปิดเสรี โดยไทยยังคงจะยืนยันแนวทาง Positive List แต่สหรัฐฯ ยืนยันแนวทาง Negative List ในการเจรจา นอกจากนี้ ในเรื่องการเปิดเสรีการค้าบริการ ทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมในรายสาขาการบริการที่ไทยให้ความสนใจ เช่น ด้านสุขภาพ เพื่อพิจารณาถึงโอกาสที่คนไทยจะสามารถเข้าไปประกอบวิชาชีพและให้บริการในสหรัฐฯ ได้ โดยการยอมรับมาตรฐานด้านคุณสมบัติระหว่างกัน
- ทรัพย์สินทางปัญญา คาดว่าทั้งสองฝ่ายจะหารือกันเพิ่มเติมในเรื่องที่ได้หารือกันไปในรอบ 4 คือ
การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ (copyright) เครื่องหมายการค้า (trademark) และในรอบนี้ ไทยจะผลักดันเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น (traditional knowledge) เนื่องจากต้องการสร้างหลักประกันว่า หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำทรัพยากรธรรมชาติของอีกฝ่ายไปใช้และได้รับผลประโยชน์ทางการค้า จะต้องมีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้ประเทศที่เป็นเจ้าของทรัพยากรนั้นอย่างเป็นธรรม สำหรับเรื่องสิทธิบัตร (patent) ยังไม่มีความชัดเจนว่าฝ่ายสหรัฐฯ จะยื่นข้อเสนอในรอบนี้หรือไม่
- การเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (TCB/ SMEs)
ในการหารือรอบนี้ ไทยจะผลักดันโครงการที่มีลักษณะ (1) ช่วยเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น โครงการเสริมสร้างความเข้าใจกฎระเบียบการนำเข้าตลาดสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพื่อสอดคล้องกับโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น (2) ช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิต และบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น โครงการวิจัยและพัฒนาความปลอดภัยอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับโครงการครัวไทยสู่โลก และ (3) ช่วยพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เช่น การพัฒนาคุณภาพและทักษะของบุคลากรไทยในด้านนี้ในระยะยาว
- ภาคบริการทางการเงิน สถานะปัจจุบัน จะเหมือนกับเรื่องการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน ซึ่งจะยังอยู่ที่การหารือกันในกรอบเจรจาและแนวทางการเปิดเสรี นอกจากนี้ ในการเตรียมการท่าทีการเจรจาของไทย คณะเจรจาได้กระทำร่วมกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สมาคมธนาคารไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมบริษัทเงินทุน
สมาคมลีสซิ่งไทย สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจแฟคตอริ่ง สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัย ซึ่งร่วมกันเตรียมท่าทีการเจรจาของไทยให้สอดคล้องกับประโยชน์ของไทยให้มากที่สุดด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548 นายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าคณะผู้เจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหรัฐฯ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับการเตรียมการของฝ่ายไทย สำหรับการเจรจาฯ รอบที่ 5 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 — 30 กันยายน 2548 ณ นครโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
? การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบ 5 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 — 30 กันยายน 2548 ที่ East-West Center มหาวิทยาลัยฮาวาย เมืองฮอนโนลูลู มลรัฐฮาวาย ซึ่งเป็นสถานที่จัดการเจรจารอบ 1 และ 2 (รอบ 3 จัดขึ้นที่พัทยา และรอบ 4 จัดขึ้นที่มลรัฐมอนแทนา)
? เรื่องที่จะมีการหารือกันในรอบ 5 จะมีทั้งหมด 14 เรื่อง
- กลุ่มสินค้า ได้แก่ การลดภาษีสินค้าเกษตร กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การลดอุปสรรคทางการค้า อาทิระเบียบพิธีการด้านศุลกากร มาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ (Sanitary and Phytosanitary: SPS) และอุปสรรคเทคนิคทางการค้า (Technical Barriers to Trade: TBT)
- กลุ่มบริการ ได้แก่ การค้าบริการ การลงทุน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ จะมีการหารือกันในกลุ่มกฎหมาย แรงงานและสิ่งแวดล้อม นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา และการจัดทำความตกลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
? จะมีบางกลุ่มที่ไม่ได้ไปเจรจาที่ฮาวาย แต่จะไปเจรจานอกรอบที่กรุงวอชิงตันแทน โดยจะใช้โอกาสในการที่จะไปศึกษาดูงานเพื่อทำความเข้าใจระบบของสหรัฐฯ จัดการเจรจานอกรอบระหว่างการเยือนนั้น เช่น เรื่องการบริการทางการเงิน การจัดซื้อโดยรัฐ โทรคมนาคม และการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรื่องที่คาดว่าจะมีความคืบหน้าในการเจรจารอบ 5
- การเปิดตลาดสินค้าเกษตร หลังจากการเจรจารอบ 4 ที่ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อเสนอเบื้องต้น (initial offer) ของตนไปแล้ว คาดว่ารอบนี้จะมีการแลกเปลี่ยนข้อเรียกร้อง (initial request) ของแต่ละฝ่าย
- SPS และ TBT ในการเจรจารอบ 4 ข้อเสนอของไทยได้รับการตอบสนองจากสหรัฐฯ เป็นอย่างดี โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดตั้งกลไกการหารือเพื่อแก้ปัญหาด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม
ระหว่างกัน สำหรับการเจรจาในรอบนี้ จะมีการหารือกันต่อเนื่องจากประเด็นที่ไทยได้ผลักดันไว้ในรอบที่แล้ว โดยในกลุ่ม SPS ไทยจะยังคงผลักดันในเรื่องผลไม้ 6 ชนิด (มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด เงาะ สับปะรด) ที่จะขอจัดทำการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Pest Risk Analysis) และการส่งออกไก่ต้มสุกไปยังตลาดสหรัฐฯ ส่วนในกลุ่ม TBT ไทยจะยกประเด็นมาตรฐานของสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น ปูนซีเมนต์ ที่มีลักษณะเป็นการกีดกันทางการค้าขึ้นหารือเพิ่มเติม
- ระเบียบพิธีการด้านศุลกากร จะเน้นการหารือเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการตรวจปล่อยสินค้า
- การค้าบริการและการลงทุน ทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นแตกต่างกันในกรอบเจรจาและแนวทาง
การเปิดเสรี โดยไทยยังคงจะยืนยันแนวทาง Positive List แต่สหรัฐฯ ยืนยันแนวทาง Negative List ในการเจรจา นอกจากนี้ ในเรื่องการเปิดเสรีการค้าบริการ ทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมในรายสาขาการบริการที่ไทยให้ความสนใจ เช่น ด้านสุขภาพ เพื่อพิจารณาถึงโอกาสที่คนไทยจะสามารถเข้าไปประกอบวิชาชีพและให้บริการในสหรัฐฯ ได้ โดยการยอมรับมาตรฐานด้านคุณสมบัติระหว่างกัน
- ทรัพย์สินทางปัญญา คาดว่าทั้งสองฝ่ายจะหารือกันเพิ่มเติมในเรื่องที่ได้หารือกันไปในรอบ 4 คือ
การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ (copyright) เครื่องหมายการค้า (trademark) และในรอบนี้ ไทยจะผลักดันเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น (traditional knowledge) เนื่องจากต้องการสร้างหลักประกันว่า หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำทรัพยากรธรรมชาติของอีกฝ่ายไปใช้และได้รับผลประโยชน์ทางการค้า จะต้องมีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้ประเทศที่เป็นเจ้าของทรัพยากรนั้นอย่างเป็นธรรม สำหรับเรื่องสิทธิบัตร (patent) ยังไม่มีความชัดเจนว่าฝ่ายสหรัฐฯ จะยื่นข้อเสนอในรอบนี้หรือไม่
- การเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (TCB/ SMEs)
ในการหารือรอบนี้ ไทยจะผลักดันโครงการที่มีลักษณะ (1) ช่วยเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น โครงการเสริมสร้างความเข้าใจกฎระเบียบการนำเข้าตลาดสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพื่อสอดคล้องกับโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น (2) ช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิต และบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น โครงการวิจัยและพัฒนาความปลอดภัยอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับโครงการครัวไทยสู่โลก และ (3) ช่วยพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เช่น การพัฒนาคุณภาพและทักษะของบุคลากรไทยในด้านนี้ในระยะยาว
- ภาคบริการทางการเงิน สถานะปัจจุบัน จะเหมือนกับเรื่องการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน ซึ่งจะยังอยู่ที่การหารือกันในกรอบเจรจาและแนวทางการเปิดเสรี นอกจากนี้ ในการเตรียมการท่าทีการเจรจาของไทย คณะเจรจาได้กระทำร่วมกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สมาคมธนาคารไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมบริษัทเงินทุน
สมาคมลีสซิ่งไทย สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจแฟคตอริ่ง สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัย ซึ่งร่วมกันเตรียมท่าทีการเจรจาของไทยให้สอดคล้องกับประโยชน์ของไทยให้มากที่สุดด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-