ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สินเชื่อบุคคลของนอนแบงก์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่การ ธปท. เปิด
เผยว่า ขณะนี้ได้มีบริษัทจากประเทศตะวันตกกำลังเข้ามาจดทะเบียนเพื่อทำธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในไทย ซึ่งจะทำ
ธุรกิจคล้ายกับพนักงานซิงเกอร์ที่จะส่งคนเข้าไปขายตามหมู่บ้าน โดยก่อนหน้านี้ได้มีบริษัทต่างชาติในเอเชียเข้ามาทำ
ธุรกิจประเภทนี้แล้ว ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ บริษัทเหล่านี้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ขณะที่ ธ.พาณิชย์ของไทยและ
บริษัทไทยที่ทำธุรกิจด้านนี้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 13-24 ต่อปี ซึ่งยังพอรับได้ แต่ธนาคารต่างประเทศให้สิน
เชื่อในอัตราร้อยละ 28-45 ต่อปี ส่วนบริษัทต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในด้านนี้คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 32 —
58.6 ต่อปี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปดูแลธุรกิจด้านนี้ด้วยเหตุผลสองประการคือ เพื่อคุ้มครองไม่ให้ผู้
บริโภคถูกขูดรีดมากเกินไป และดูแลไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไปจนเกิดผลเสียในด้านการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนใน
สังคม อย่างไรก็ตาม เท่าที่ประมวลดูสินเชื่อส่วนบุคคลจากบริษัทเหล่านี้ พบว่าขยายตัวในอัตราที่สูงมากกว่าร้อย
ละ 50 โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปขยายตัวในหมู่ประชาชนที่มีรายได้ต่ำ ขณะที่ยังไม่จำกัดขอบเขตผู้ให้กู้แก่คนที่มีรายได้
ประจำเท่าไร แต่รายได้ต่ำสุดที่กู้ได้ก็เหลือ 4,000 บาทต่อเดือนแล้ว โดยสิ่งที่ห่วงคือ สินเชื่อเพื่อการบริโภคใน
ส่วนของสถาบันการเงินขยายตัวไม่มากนักเพียงร้อยละ 11 ถือเป็นอัตราที่พอสมควร ส่วนที่ขยายตัวมากคือสินเชื่อ
บุคคลที่ปล่อยโดยบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงินหรือนอนแบงก์ เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคลโดยเฉพาะ อยู่
นอกการควบคุมของ ธปท. เพราะจดทะเบียนเป็นบริษัทกับ ก.พาณิชย์ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ปล่อยเงินกู้ได้ ซึ่งขณะ
นี้ ธปท. ยังไม่มีตัวเลขปริมาณสินเชื่อที่ปล่อยโดยบริษัทเหล่านี้ เพราะไม่ต้องรายงานให้ ธปท. แต่เท่าที่ทราบมีการ
ขยายตัวเร็วมาก มีตั้งแต่บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตอยู่แล้วและทำสินเชื่อบุคคลด้วย และที่ตั้งขึ้นเพื่อประกอบ
ธุรกิจสินเชื่อบุคคลโดยเฉพาะและได้กระจายเครือข่ายไปทั่วประเทศแล้ว ทั้งนี้ ธปท. กำลังเสนอต่อ ก.คลัง เพื่อ
ให้ใช้อำนาจตามกฎหมายประกาศให้ ธปท. มีอำนาจ สามารถเข้าไปควบคุมดูแลธุรกิจด้านนี้ก่อนที่จะสายเกินไป
ซึ่ง รมว.คลังเห็นด้วยในหลักการแล้ว (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ผ่อนผันต่ออายุให้ผู้ถือบัตรเครดิตที่มีรายได้รวมไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือน นายสามารถ
บูรณวัฒนาโชค ผอ.อาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธปท. ได้ผ่อนผันผู้ประกอบการบัตร
เครดิตทั้งที่เป็นสถาบันการเงิน และที่ไม่ใช่สถาบันการเงินต่ออายุให้กับผู้ถือบัตรที่มีรายได้รวมไม่ถึง 15,000 บาท
ต่อเดือนได้ กรณีที่ทำบัตรในช่วงที่ ธปท. ผ่อนผันให้ผู้ประกอบการกำหนดเกณฑ์รายได้ของผู้มีสิทธิทำบัตรเครดิตได้
เอง ซึ่งส่วนมากจะมีรายได้อยู่ที่ 7,000 — 14,999 บาทต่อเดือน โดยผู้ถือบัตรดังกล่าวจะต้องมีประวัติที่ดี ไม่เคย
ผิดนัดชำระหนี้เกินกว่า 2 ครั้งต่อปี และการผิดนัดชำระหนี้แต่ละครั้งต้องไม่เกิน 30 วัน แต่หากผู้ถือบัตรมีประวัติไม่
ดี ผิดนัดชำระหนี้มากกว่าที่กำหนด ผู้ประกอบการต้องยกเลิกบัตร ทั้งนี้ จากการออกมาตรการคุมคุณสมบัติการทำ
บัตรเครดิตและบังคับให้ลูกค้าทุกรายต้องจ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำร้อยละ 10 ของวงเงินคงค้างในแต่ละเดือน โดย
จะใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย.2550 ทำให้การขยายตัวของบัตรเครดิตใหม่ลดลงมาอยู่ในระดับที่ดีพอควร (ไทยรัฐ, แนว
หน้า)
3. สภาพัฒน์มองภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ไม่น่าจะเลวร้ายอย่างที่คาดการณ์กัน นายอำพน กิตติอำพน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า ในการประชุมร่วม
กันของ 4 หน่วยงาน คือ ธปท. ก.คลัง สำนักงบประมาณ และสภาพัฒน์ ในวันที่ 25 เม.ย.นี้ จะมีการพิจารณา
ถึง งปม. ในปี 2549 ว่าจะมีการปรับกันอย่างไรบ้าง ส่วนจะลดลงหรือไม่ต้องเป็นหน้าที่ของ ก.คลังในการ
พิจารณา เพราะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บรายได้ ทั้งนี้ การทบทวนจำเป็นต้องมีการพิจารณารายละเอียด
และปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ ทั้งในเรื่องของราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก และ
การส่งออก ซึ่งถ้าดูโดยภาพรวมแล้วเศรษฐกิจไม่น่าจะเลวร้ายอย่างที่คาดการณ์กัน โดยในปีนี้หลายบริษัทมีการแถลง
ผลประกอบการออกมากำไรในระดับสูง ส่วนในเรื่องภาคการท่องเที่ยวก็ไม่ได้ย่ำแย่อย่างที่มีการคิดกัน เพราะดู
จากตัวเลขของจำนวนคนเข้าออกที่สนามบินดอนเมืองยอดผู้โดยสารก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด และตัวเลขของนักท่อง
เที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็ยังคงไม่ได้มีการลดลง (โพสต์ทูเดย์)
4. เอ็นพีแอลของสถาบันการเงินทั้งระบบในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้น 4 พันล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า ในไตรมาสแรกปี 2548 สถาบันการเงินทั้งระบบมีเอ็นพีแอล 596,193 ล้านบาท หรือร้อยละ
10.90 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 4,023 ล้านบาท จากไตรมาสก่อนหน้าที่มี 592,170 ล้านบาท หรือร้อยละ
10.73 ของสินเชื่อรวม ทั้งนี้ เอ็นพีแอลที่เพิ่มส่วนใหญ่เป็นของ ธ.พาณิชย์ไทยที่มีเอ็นพีแอล 562,335 ล้านบาท
หรือร้อยละ 11.85 ของสินเชื่อ เพิ่มขึ้น 5,338 ล้านบาท จากไตรมาสก่อนหน้าทที่มี 556,997 ล้านบาท หรือร้อย
ละ 11.82 ของสินเชื่อ โดย ธ.พาณิชย์ไทย 5 แห่ง ที่เอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น คือ ธ.กรุงเทพ ธ.ไทย
ธนาคาร ธ.กรุงไทย ธ.ทหารไทย และ ธ.นครหลวงไทย ส่วน ธ.พาณิชย์ที่มีเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมลดลง คือ
ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.เอเชีย และ ธ.ยูโอบีรัตนสิน ในขณะที่ ธ.พาณิชย์ต่างประเทศมี
เอ็นพีแอล 11,712 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.86 ของสินเชื่อ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.63 ในไตรมาสก่อน บริษัท
เครดิตฟองซิเอร์มีเอ็นพีแอล 342 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.80 ของสินเชื่อ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.59 ในไตร
มาสก่อน และบริษัทเงินทุนมีเอ็นพีแอล 21,802 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.27 ลดลงจากร้อยละ 7.64 ในไตรมาส
ก่อน (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านของอังกฤษในเดือนเม.ย. ลดลง รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 48 จาก
ผลการสำรวจของบริษัทวิจัย Hometrack ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดราคาบ้านที่ตกลงซื้อ-ขายเฉลี่ยของตัวแทนอสังหาริม
ทรัพย์ พบว่าในเดือนเม.ย. ราคาบ้านในอังกฤษและเวลล์ ลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนที่แล้วอยู่ที่ระดับ
162,100 ปอนด์ ลดลงจาก 162,300 ปอนด์เมื่อเดือนมี.ค. และลดลงจากที่เคยมีราคาสูงสุด 167,700 ปอนด์
เมื่อเดือนมิ.ย. 47 ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
ลดลงร้อยละ 0.7 นับเป็นการลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 5 ปี นักเศรษฐศาสตร์จาก Hometrack
กล่าวว่าแม้ว่าผู้ซื้อจะหวนกลับมาลงทุนอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงมีอุปทานส่วนเกินในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ได้ขาย ทั้งนี้
คาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มสูงขึ้นในระยะ 2-3 เดือนข้างหน้า โดยราคาบ้านในปี 48 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.0 ตามประมาณการณ์ที่เคยคาดไว้ ซึ่งน้อยกว่าดัชนีราคาขายปลีกในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 (รอยเตอร์)
2. CSPI ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อ 25 เม.ย.48 ธ.
กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า Corporate services price index (CSPI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดแนวโน้มราคาบริการ
ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจของภาคเอกชนภายในประเทศของญี่ปุ่น ในเดือน มี.ค.48 อยู่ที่ระดับ 93.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ ในหมวดธุรกิจโฆษณา การขนส่ง อสังหาริมทรัพย์
และบริการข้อมูล ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี CSPI ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.8 เนื่องจากการลดลงของดัชนีฯ ในหมวด
ธุรกิจเช่าซื้อ อสังหาริมทรัพย์ การสื่อสาร การเงินและประกันภัย และธุรกิจบริการเบ็ดเตล็ด (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 8.9 รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อ 23 เม.ย.48 The Chinese Academy of Social Sciences คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของจีนในปี 48 จะขยายตัวร้อยละ 8.9 จากที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 ในปีก่อน พร้อมยังกล่าวเตือนถึงปัญหาที่อาจ
เกิดขึ้นได้เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและภาวะเงินเฟ้อที่ร้อนแรงเกินไป ซึ่งการขยายตัวของภาวะการลง
ทุนอย่างมากจะผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) พุ่งสูงขึ้น โดยคาดว่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่แท้จริงในปี
48 จะเติบโตประมาณร้อยละ 14.9 และมีสัดส่วนประมาณมากกว่าร้อยละ 54 ของจีดีพีของประเทศจากร้อยละ
51.5 ในปีก่อน ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.4 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้น
ของราคาวัตถุดิบ ธัญพืช และน้ำมันดิบ (รอยเตอร์)
4. มาเลเซียคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ระหว่างร้อยละ 2.5 ถึง 3.0 ต่อปีสูงกว่าที่คาดไว้
รายงานจากโกตา บารู ประเทศมาเลเซีย เมื่อ 23 เม.ย.48 รมต.ก.วางแผนเศรษฐกิจของมาเลเซียคาดว่า
อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในปีนี้จะอยู่ระหว่างร้อยละ 2.5 ถึง 3.0 ต่อปี สูงกว่าที่ ธ.กลางมาเลเซียคาดไว้ก่อน
หน้านี้ว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี อันเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อปีที่
แล้วอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี อย่างไรก็ดี เขาให้ความเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อในระดับร้อยละ 2 ถึง 3 ถือว่าอยู่ใน
ระดับต่ำมาก และไม่มีความจำเป็นที่ ธ.กลางมาเลเซียจะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างไร นอกจากนี้เขายังให้
ความเห็นว่ารัฐบาลมาเลเซียอาจขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันหากราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับสูงกว่า 60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาร์เรล แต่ในขณะนี้รัฐบาลยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันหรือไม่ โดยมาเลเซียได้ใช้เงินเพื่อช่วย
พยุงราคาน้ำมันไปแล้วมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันของ
มาเลเซียมีราคาต่ำสุดในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันด้วยตั้งงบประมาณที่จะใช้เงิน 3 พัน
ล้านริงกิตหรือประมาณ 789 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพื่อใช้พยุงราคาน้ำมันในปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 เม.ย. 48 22 เม.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.507 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3294/39.6139 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.2500 - 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 677.25/15.28 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,050/8,150 8,050/8,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 48.5 47.31 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.89*/18.19** 22.89*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 12 เม.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. สินเชื่อบุคคลของนอนแบงก์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่การ ธปท. เปิด
เผยว่า ขณะนี้ได้มีบริษัทจากประเทศตะวันตกกำลังเข้ามาจดทะเบียนเพื่อทำธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในไทย ซึ่งจะทำ
ธุรกิจคล้ายกับพนักงานซิงเกอร์ที่จะส่งคนเข้าไปขายตามหมู่บ้าน โดยก่อนหน้านี้ได้มีบริษัทต่างชาติในเอเชียเข้ามาทำ
ธุรกิจประเภทนี้แล้ว ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ บริษัทเหล่านี้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ขณะที่ ธ.พาณิชย์ของไทยและ
บริษัทไทยที่ทำธุรกิจด้านนี้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 13-24 ต่อปี ซึ่งยังพอรับได้ แต่ธนาคารต่างประเทศให้สิน
เชื่อในอัตราร้อยละ 28-45 ต่อปี ส่วนบริษัทต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในด้านนี้คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 32 —
58.6 ต่อปี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปดูแลธุรกิจด้านนี้ด้วยเหตุผลสองประการคือ เพื่อคุ้มครองไม่ให้ผู้
บริโภคถูกขูดรีดมากเกินไป และดูแลไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไปจนเกิดผลเสียในด้านการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนใน
สังคม อย่างไรก็ตาม เท่าที่ประมวลดูสินเชื่อส่วนบุคคลจากบริษัทเหล่านี้ พบว่าขยายตัวในอัตราที่สูงมากกว่าร้อย
ละ 50 โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปขยายตัวในหมู่ประชาชนที่มีรายได้ต่ำ ขณะที่ยังไม่จำกัดขอบเขตผู้ให้กู้แก่คนที่มีรายได้
ประจำเท่าไร แต่รายได้ต่ำสุดที่กู้ได้ก็เหลือ 4,000 บาทต่อเดือนแล้ว โดยสิ่งที่ห่วงคือ สินเชื่อเพื่อการบริโภคใน
ส่วนของสถาบันการเงินขยายตัวไม่มากนักเพียงร้อยละ 11 ถือเป็นอัตราที่พอสมควร ส่วนที่ขยายตัวมากคือสินเชื่อ
บุคคลที่ปล่อยโดยบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงินหรือนอนแบงก์ เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคลโดยเฉพาะ อยู่
นอกการควบคุมของ ธปท. เพราะจดทะเบียนเป็นบริษัทกับ ก.พาณิชย์ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ปล่อยเงินกู้ได้ ซึ่งขณะ
นี้ ธปท. ยังไม่มีตัวเลขปริมาณสินเชื่อที่ปล่อยโดยบริษัทเหล่านี้ เพราะไม่ต้องรายงานให้ ธปท. แต่เท่าที่ทราบมีการ
ขยายตัวเร็วมาก มีตั้งแต่บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตอยู่แล้วและทำสินเชื่อบุคคลด้วย และที่ตั้งขึ้นเพื่อประกอบ
ธุรกิจสินเชื่อบุคคลโดยเฉพาะและได้กระจายเครือข่ายไปทั่วประเทศแล้ว ทั้งนี้ ธปท. กำลังเสนอต่อ ก.คลัง เพื่อ
ให้ใช้อำนาจตามกฎหมายประกาศให้ ธปท. มีอำนาจ สามารถเข้าไปควบคุมดูแลธุรกิจด้านนี้ก่อนที่จะสายเกินไป
ซึ่ง รมว.คลังเห็นด้วยในหลักการแล้ว (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ผ่อนผันต่ออายุให้ผู้ถือบัตรเครดิตที่มีรายได้รวมไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือน นายสามารถ
บูรณวัฒนาโชค ผอ.อาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธปท. ได้ผ่อนผันผู้ประกอบการบัตร
เครดิตทั้งที่เป็นสถาบันการเงิน และที่ไม่ใช่สถาบันการเงินต่ออายุให้กับผู้ถือบัตรที่มีรายได้รวมไม่ถึง 15,000 บาท
ต่อเดือนได้ กรณีที่ทำบัตรในช่วงที่ ธปท. ผ่อนผันให้ผู้ประกอบการกำหนดเกณฑ์รายได้ของผู้มีสิทธิทำบัตรเครดิตได้
เอง ซึ่งส่วนมากจะมีรายได้อยู่ที่ 7,000 — 14,999 บาทต่อเดือน โดยผู้ถือบัตรดังกล่าวจะต้องมีประวัติที่ดี ไม่เคย
ผิดนัดชำระหนี้เกินกว่า 2 ครั้งต่อปี และการผิดนัดชำระหนี้แต่ละครั้งต้องไม่เกิน 30 วัน แต่หากผู้ถือบัตรมีประวัติไม่
ดี ผิดนัดชำระหนี้มากกว่าที่กำหนด ผู้ประกอบการต้องยกเลิกบัตร ทั้งนี้ จากการออกมาตรการคุมคุณสมบัติการทำ
บัตรเครดิตและบังคับให้ลูกค้าทุกรายต้องจ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำร้อยละ 10 ของวงเงินคงค้างในแต่ละเดือน โดย
จะใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย.2550 ทำให้การขยายตัวของบัตรเครดิตใหม่ลดลงมาอยู่ในระดับที่ดีพอควร (ไทยรัฐ, แนว
หน้า)
3. สภาพัฒน์มองภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ไม่น่าจะเลวร้ายอย่างที่คาดการณ์กัน นายอำพน กิตติอำพน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า ในการประชุมร่วม
กันของ 4 หน่วยงาน คือ ธปท. ก.คลัง สำนักงบประมาณ และสภาพัฒน์ ในวันที่ 25 เม.ย.นี้ จะมีการพิจารณา
ถึง งปม. ในปี 2549 ว่าจะมีการปรับกันอย่างไรบ้าง ส่วนจะลดลงหรือไม่ต้องเป็นหน้าที่ของ ก.คลังในการ
พิจารณา เพราะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บรายได้ ทั้งนี้ การทบทวนจำเป็นต้องมีการพิจารณารายละเอียด
และปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ ทั้งในเรื่องของราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก และ
การส่งออก ซึ่งถ้าดูโดยภาพรวมแล้วเศรษฐกิจไม่น่าจะเลวร้ายอย่างที่คาดการณ์กัน โดยในปีนี้หลายบริษัทมีการแถลง
ผลประกอบการออกมากำไรในระดับสูง ส่วนในเรื่องภาคการท่องเที่ยวก็ไม่ได้ย่ำแย่อย่างที่มีการคิดกัน เพราะดู
จากตัวเลขของจำนวนคนเข้าออกที่สนามบินดอนเมืองยอดผู้โดยสารก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด และตัวเลขของนักท่อง
เที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็ยังคงไม่ได้มีการลดลง (โพสต์ทูเดย์)
4. เอ็นพีแอลของสถาบันการเงินทั้งระบบในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้น 4 พันล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า ในไตรมาสแรกปี 2548 สถาบันการเงินทั้งระบบมีเอ็นพีแอล 596,193 ล้านบาท หรือร้อยละ
10.90 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 4,023 ล้านบาท จากไตรมาสก่อนหน้าที่มี 592,170 ล้านบาท หรือร้อยละ
10.73 ของสินเชื่อรวม ทั้งนี้ เอ็นพีแอลที่เพิ่มส่วนใหญ่เป็นของ ธ.พาณิชย์ไทยที่มีเอ็นพีแอล 562,335 ล้านบาท
หรือร้อยละ 11.85 ของสินเชื่อ เพิ่มขึ้น 5,338 ล้านบาท จากไตรมาสก่อนหน้าทที่มี 556,997 ล้านบาท หรือร้อย
ละ 11.82 ของสินเชื่อ โดย ธ.พาณิชย์ไทย 5 แห่ง ที่เอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น คือ ธ.กรุงเทพ ธ.ไทย
ธนาคาร ธ.กรุงไทย ธ.ทหารไทย และ ธ.นครหลวงไทย ส่วน ธ.พาณิชย์ที่มีเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมลดลง คือ
ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.เอเชีย และ ธ.ยูโอบีรัตนสิน ในขณะที่ ธ.พาณิชย์ต่างประเทศมี
เอ็นพีแอล 11,712 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.86 ของสินเชื่อ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.63 ในไตรมาสก่อน บริษัท
เครดิตฟองซิเอร์มีเอ็นพีแอล 342 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.80 ของสินเชื่อ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.59 ในไตร
มาสก่อน และบริษัทเงินทุนมีเอ็นพีแอล 21,802 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.27 ลดลงจากร้อยละ 7.64 ในไตรมาส
ก่อน (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านของอังกฤษในเดือนเม.ย. ลดลง รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 48 จาก
ผลการสำรวจของบริษัทวิจัย Hometrack ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดราคาบ้านที่ตกลงซื้อ-ขายเฉลี่ยของตัวแทนอสังหาริม
ทรัพย์ พบว่าในเดือนเม.ย. ราคาบ้านในอังกฤษและเวลล์ ลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนที่แล้วอยู่ที่ระดับ
162,100 ปอนด์ ลดลงจาก 162,300 ปอนด์เมื่อเดือนมี.ค. และลดลงจากที่เคยมีราคาสูงสุด 167,700 ปอนด์
เมื่อเดือนมิ.ย. 47 ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
ลดลงร้อยละ 0.7 นับเป็นการลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 5 ปี นักเศรษฐศาสตร์จาก Hometrack
กล่าวว่าแม้ว่าผู้ซื้อจะหวนกลับมาลงทุนอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงมีอุปทานส่วนเกินในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ได้ขาย ทั้งนี้
คาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มสูงขึ้นในระยะ 2-3 เดือนข้างหน้า โดยราคาบ้านในปี 48 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.0 ตามประมาณการณ์ที่เคยคาดไว้ ซึ่งน้อยกว่าดัชนีราคาขายปลีกในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 (รอยเตอร์)
2. CSPI ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อ 25 เม.ย.48 ธ.
กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า Corporate services price index (CSPI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดแนวโน้มราคาบริการ
ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจของภาคเอกชนภายในประเทศของญี่ปุ่น ในเดือน มี.ค.48 อยู่ที่ระดับ 93.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ ในหมวดธุรกิจโฆษณา การขนส่ง อสังหาริมทรัพย์
และบริการข้อมูล ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี CSPI ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.8 เนื่องจากการลดลงของดัชนีฯ ในหมวด
ธุรกิจเช่าซื้อ อสังหาริมทรัพย์ การสื่อสาร การเงินและประกันภัย และธุรกิจบริการเบ็ดเตล็ด (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 8.9 รายงานจากปักกิ่ง
เมื่อ 23 เม.ย.48 The Chinese Academy of Social Sciences คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของจีนในปี 48 จะขยายตัวร้อยละ 8.9 จากที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 ในปีก่อน พร้อมยังกล่าวเตือนถึงปัญหาที่อาจ
เกิดขึ้นได้เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและภาวะเงินเฟ้อที่ร้อนแรงเกินไป ซึ่งการขยายตัวของภาวะการลง
ทุนอย่างมากจะผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) พุ่งสูงขึ้น โดยคาดว่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่แท้จริงในปี
48 จะเติบโตประมาณร้อยละ 14.9 และมีสัดส่วนประมาณมากกว่าร้อยละ 54 ของจีดีพีของประเทศจากร้อยละ
51.5 ในปีก่อน ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.4 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้น
ของราคาวัตถุดิบ ธัญพืช และน้ำมันดิบ (รอยเตอร์)
4. มาเลเซียคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ระหว่างร้อยละ 2.5 ถึง 3.0 ต่อปีสูงกว่าที่คาดไว้
รายงานจากโกตา บารู ประเทศมาเลเซีย เมื่อ 23 เม.ย.48 รมต.ก.วางแผนเศรษฐกิจของมาเลเซียคาดว่า
อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียในปีนี้จะอยู่ระหว่างร้อยละ 2.5 ถึง 3.0 ต่อปี สูงกว่าที่ ธ.กลางมาเลเซียคาดไว้ก่อน
หน้านี้ว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี อันเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อปีที่
แล้วอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี อย่างไรก็ดี เขาให้ความเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อในระดับร้อยละ 2 ถึง 3 ถือว่าอยู่ใน
ระดับต่ำมาก และไม่มีความจำเป็นที่ ธ.กลางมาเลเซียจะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างไร นอกจากนี้เขายังให้
ความเห็นว่ารัฐบาลมาเลเซียอาจขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันหากราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับสูงกว่า 60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาร์เรล แต่ในขณะนี้รัฐบาลยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันหรือไม่ โดยมาเลเซียได้ใช้เงินเพื่อช่วย
พยุงราคาน้ำมันไปแล้วมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันของ
มาเลเซียมีราคาต่ำสุดในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันด้วยตั้งงบประมาณที่จะใช้เงิน 3 พัน
ล้านริงกิตหรือประมาณ 789 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพื่อใช้พยุงราคาน้ำมันในปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 เม.ย. 48 22 เม.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.507 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3294/39.6139 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.2500 - 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 677.25/15.28 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,050/8,150 8,050/8,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 48.5 47.31 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.89*/18.19** 22.89*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 12 เม.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--