วันนี้ (16 มี.ค. 48) เวลา 14.00 น. พรรคประชาธิปัตย์ จัดการฝึกอบรม ‘การเพิ่มประสิทธิภาพการอภิปรายของ ส.ส.ใหม่’ ให้แก่ ส.ส.ใหม่ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นสมัยแรก โดยในวันนี้มีการบรรยายในหัวข้อ ‘ความรู้พื้นฐานของการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร’ ซึ่งมีนายวิทยา แก้วภราดัย นายอลงกรณ์ พลบุตร และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ เป็นผู้บรรยาย โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเปิดอบรม
โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ก่อนอื่นขอแสดงความชื่นชมที่ส.ส. ใหม่มีความกระตือรือร้นที่อยากจะได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการทำงานในสภาฯ โดยเฉพาะการอภิปราย ถ้าจำได้ท่านประธานที่ปรึกษาฯได้ย้ำว่า ประชาชนคาดหวังให้เราเข้ามาทำหน้าที่เป็นปาก เป็นเสียงแทนประชาชน และการทำตรงนี้ คือการอภิปรายในสภาฯ ซึ่งมันจะมีปัญหาทั้งที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ของเรา ทั้งที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของประเทศโดยส่วนรวม ที่เราคงจะต้องมาแสดงความคิดเห็น และอภิปรายกันในช่วง 4 ปีข้างหน้า
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การที่ทุกคนมาถึงขั้นนี้ก็ถือว่ามาไกลสำหรับผู้แทนฯ เพราะ ส.ส. ส่วนใหญ่ที่อยู่ประชาธิปัตย์ อย่างน้อยก็ต้องขึ้นเวทีปราศรัยมาพอสมควร อยู่ประชาธิปัตย์ได้เป็นผู้แทนมาโดยไม่ปราศรัย หาได้น้อยมาก เพราะฉะนั้นต้องมีพื้นฐานของการพูดในที่สาธารณะอยู่แล้ว ปัญหาคือ พอเข้ามาในสภาจะต้องปรับตัวอย่างไร จึงจะทำให้การอภิปรายของเราเป็นการทำงานที่สมบูรณ์ที่สุด ต้องบอกก่อนเลยว่ามัน การอภิปรายไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ขึ้นอยู่กับความถนัดและความเคยชินของแต่ละคน ซึ่งเราต้องค้นพบก่อนว่า เราชอบแบบไหน อย่าไปกังวลว่าเราจะต้องเหมือนคนนั้น คนนี้ เราต้องหาจุดของตัวเองว่า ความเหมาะสม หรือความถนัดอยู่ที่ไหน อย่างไรก็ตามประเด็นเบื้องต้นที่อยากจะย้ำ คือ ไม่มีการฝึกฝนพัฒนาอะไรดีกว่าการทำจริง ซึ่งการอภิปรายมีทักษะและเทคนิค คือ ข้อมูลที่อภิปรายต้องชัดเจน ถ้าเวลามีจำกัดต้องเลือกเสนอประเด็นที่ดีที่สุด และอย่าหวงประเด็น อย่าลืมจุดประสงค์หลักว่าต้องการสื่ออะไรกับประชาชน และสิ่งสำคัญที่สุดคือเราต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
นายวิทยา แก้วภราดัย กล่าวบรรยายว่า ขอให้อย่ากลัวว่าเราคิดไม่เหมือนใครในสภา เพราะถ้าเราคิดเหมือนกันหมด ในสภามีแค่คนเดียวก็ได้ ไม่ต้องมีถึง 500 คน เพราะฉะนั้นอย่ากลัวว่าจะคิดไม่เหมือนคนอื่น หลักของสภาต้องการให้ทุกคนสะท้อนข้อเท็จจริงในมุมมองของตัวเอง ดังนั้นให้เราอภิปรายในเรื่องที่เราเตรียมตัวมา ไม่ต้องกังวลเรื่องเวลา และไม่ต้องหวงเรื่องที่พูด คือ อย่าคิดว่าจะพูดทุกเรื่อง ให้เลือกเรื่องที่เรามั่นใจว่าเรามีข้อมูลและเป็นสิ่งที่เรารู้จริงที่สุด
ด้านนายอลงกรณ์ กล่าวว่า หลักในการอภิปราย คือให้ทำตัวเป็นเหมือนผีดิบ ช่างไม้ และลูกไก่ นั่นคือทำตัวนิ่งๆเหมือนผีดิบเวลาที่อภิปรายอยู่ และมีผู้ประท้วง เราต้องทำตัวนิ่งที่สุด ไม่อย่างนั้นจะเสียสมาธิ ทำตัวเป็นช่างไม้คือ พูดในเรื่องที่เราถนัด สามารถสื่อได้ชัดเจน เป้าหมายที่เราต้องการจะได้ไม่พลาดเป้า อย่าเป็นผู้รับเหมา เหมาพูดทุกเรื่อง และทำตัวเป็นลูกไก่คือ หาอาหารกินเอง อย่ารอให้ใครเอาอะไรมาป้อนเหมือนลูกนก เราต้องพยายามหาข้อมูลหาความรู้ให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นเราต้องพยายามหาโอกาสที่จะอภิปราย ซึ่งมีหลายเวที หลายวาระที่เราสามารถพูดได้ เช่น การประชุมร่วมรัฐสภา การตั้งกระทู้ถามทั่วไป การประชุมร่วมเฉพาะกิจ เป็นต้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ก่อนอื่นขอแสดงความชื่นชมที่ส.ส. ใหม่มีความกระตือรือร้นที่อยากจะได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการทำงานในสภาฯ โดยเฉพาะการอภิปราย ถ้าจำได้ท่านประธานที่ปรึกษาฯได้ย้ำว่า ประชาชนคาดหวังให้เราเข้ามาทำหน้าที่เป็นปาก เป็นเสียงแทนประชาชน และการทำตรงนี้ คือการอภิปรายในสภาฯ ซึ่งมันจะมีปัญหาทั้งที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ของเรา ทั้งที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของประเทศโดยส่วนรวม ที่เราคงจะต้องมาแสดงความคิดเห็น และอภิปรายกันในช่วง 4 ปีข้างหน้า
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การที่ทุกคนมาถึงขั้นนี้ก็ถือว่ามาไกลสำหรับผู้แทนฯ เพราะ ส.ส. ส่วนใหญ่ที่อยู่ประชาธิปัตย์ อย่างน้อยก็ต้องขึ้นเวทีปราศรัยมาพอสมควร อยู่ประชาธิปัตย์ได้เป็นผู้แทนมาโดยไม่ปราศรัย หาได้น้อยมาก เพราะฉะนั้นต้องมีพื้นฐานของการพูดในที่สาธารณะอยู่แล้ว ปัญหาคือ พอเข้ามาในสภาจะต้องปรับตัวอย่างไร จึงจะทำให้การอภิปรายของเราเป็นการทำงานที่สมบูรณ์ที่สุด ต้องบอกก่อนเลยว่ามัน การอภิปรายไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ขึ้นอยู่กับความถนัดและความเคยชินของแต่ละคน ซึ่งเราต้องค้นพบก่อนว่า เราชอบแบบไหน อย่าไปกังวลว่าเราจะต้องเหมือนคนนั้น คนนี้ เราต้องหาจุดของตัวเองว่า ความเหมาะสม หรือความถนัดอยู่ที่ไหน อย่างไรก็ตามประเด็นเบื้องต้นที่อยากจะย้ำ คือ ไม่มีการฝึกฝนพัฒนาอะไรดีกว่าการทำจริง ซึ่งการอภิปรายมีทักษะและเทคนิค คือ ข้อมูลที่อภิปรายต้องชัดเจน ถ้าเวลามีจำกัดต้องเลือกเสนอประเด็นที่ดีที่สุด และอย่าหวงประเด็น อย่าลืมจุดประสงค์หลักว่าต้องการสื่ออะไรกับประชาชน และสิ่งสำคัญที่สุดคือเราต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
นายวิทยา แก้วภราดัย กล่าวบรรยายว่า ขอให้อย่ากลัวว่าเราคิดไม่เหมือนใครในสภา เพราะถ้าเราคิดเหมือนกันหมด ในสภามีแค่คนเดียวก็ได้ ไม่ต้องมีถึง 500 คน เพราะฉะนั้นอย่ากลัวว่าจะคิดไม่เหมือนคนอื่น หลักของสภาต้องการให้ทุกคนสะท้อนข้อเท็จจริงในมุมมองของตัวเอง ดังนั้นให้เราอภิปรายในเรื่องที่เราเตรียมตัวมา ไม่ต้องกังวลเรื่องเวลา และไม่ต้องหวงเรื่องที่พูด คือ อย่าคิดว่าจะพูดทุกเรื่อง ให้เลือกเรื่องที่เรามั่นใจว่าเรามีข้อมูลและเป็นสิ่งที่เรารู้จริงที่สุด
ด้านนายอลงกรณ์ กล่าวว่า หลักในการอภิปราย คือให้ทำตัวเป็นเหมือนผีดิบ ช่างไม้ และลูกไก่ นั่นคือทำตัวนิ่งๆเหมือนผีดิบเวลาที่อภิปรายอยู่ และมีผู้ประท้วง เราต้องทำตัวนิ่งที่สุด ไม่อย่างนั้นจะเสียสมาธิ ทำตัวเป็นช่างไม้คือ พูดในเรื่องที่เราถนัด สามารถสื่อได้ชัดเจน เป้าหมายที่เราต้องการจะได้ไม่พลาดเป้า อย่าเป็นผู้รับเหมา เหมาพูดทุกเรื่อง และทำตัวเป็นลูกไก่คือ หาอาหารกินเอง อย่ารอให้ใครเอาอะไรมาป้อนเหมือนลูกนก เราต้องพยายามหาข้อมูลหาความรู้ให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นเราต้องพยายามหาโอกาสที่จะอภิปราย ซึ่งมีหลายเวที หลายวาระที่เราสามารถพูดได้ เช่น การประชุมร่วมรัฐสภา การตั้งกระทู้ถามทั่วไป การประชุมร่วมเฉพาะกิจ เป็นต้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-