นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ช่วง 7 เดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่า 5,600.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับมูลค่าการใช้สิทธิ พิเศษฯ ช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 5,586.08 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 0.26 ตลาดหลักที่ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แก่ สหภาพยุโรป มีมูลค่า 2,380.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่า 1,840.03 และ 966.78 ตามลำดับ
ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ไปสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 31 ของมูลค่าการส่งออกรวมภายใต้ GSP ทั้งหมด อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 0.61 การใช้สิทธิพิเศษฯไปตลาดสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 21 และมีอัตราการขยายตัวคิดเป็นร้อยละ 4.02 ส่วนญี่ปุ่น มีการใช้สิทธิพิเศษฯ คิดเป็นร้อยละ 12 มีอัตราลดลงร้อยละ 8.56
สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ ส่งออกสูง ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่ง อัญมณีและ เครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศ ถุงพลาสติก เลนส์แว่นตา เครื่องรับโทรทัศน์สี เม็ดพลาสติก โมดิไฟต์สตาร์ช กุ้งปรุงแต่ง และปลาปรุงแต่ง
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยมีการใช้สิทธิ GSP ไปสหภาพยุโรปมีมูลค่า สูงเป็นอันดับแรกและปัจจุบันสหภาพยุโรปได้ประกาศโครงการ GSP รอบใหม่ ระยะเวลาโครงการ 10 ปี โดยช่วงแรกจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 จนถึง 31 ธันวาคม 2551
ภายใต้โครงการ GSP สหภาพยุโรปรอบใหม่ ไทยจะได้รับการคืนสิทธิ GSP สำหรับสินค้าที่ถูก ตัดสิทธิไปแล้ว 6 กลุ่ม คือ สินค้าประมง อาหารปรุงแต่งและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติกและ ยาง รองเท้า แก้วและเซรามิค ผลิตภัณฑ์อิเลคทรอนิกส์ ผู้ส่งออกไทยจึงควรใช้โอกาสที่ได้รับ การคืนสิทธินี้ ในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนา สิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศโทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.@moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ไปสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 31 ของมูลค่าการส่งออกรวมภายใต้ GSP ทั้งหมด อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 0.61 การใช้สิทธิพิเศษฯไปตลาดสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 21 และมีอัตราการขยายตัวคิดเป็นร้อยละ 4.02 ส่วนญี่ปุ่น มีการใช้สิทธิพิเศษฯ คิดเป็นร้อยละ 12 มีอัตราลดลงร้อยละ 8.56
สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ ส่งออกสูง ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่ง อัญมณีและ เครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศ ถุงพลาสติก เลนส์แว่นตา เครื่องรับโทรทัศน์สี เม็ดพลาสติก โมดิไฟต์สตาร์ช กุ้งปรุงแต่ง และปลาปรุงแต่ง
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยมีการใช้สิทธิ GSP ไปสหภาพยุโรปมีมูลค่า สูงเป็นอันดับแรกและปัจจุบันสหภาพยุโรปได้ประกาศโครงการ GSP รอบใหม่ ระยะเวลาโครงการ 10 ปี โดยช่วงแรกจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 จนถึง 31 ธันวาคม 2551
ภายใต้โครงการ GSP สหภาพยุโรปรอบใหม่ ไทยจะได้รับการคืนสิทธิ GSP สำหรับสินค้าที่ถูก ตัดสิทธิไปแล้ว 6 กลุ่ม คือ สินค้าประมง อาหารปรุงแต่งและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติกและ ยาง รองเท้า แก้วและเซรามิค ผลิตภัณฑ์อิเลคทรอนิกส์ ผู้ส่งออกไทยจึงควรใช้โอกาสที่ได้รับ การคืนสิทธินี้ ในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนา สิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศโทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.@moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-