กรุงเทพ--21 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ระหว่างวันที่ 23 - 25 มิถุนายน 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางไปเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศตุรกี ตามคำเชิญของนาย อับดุลลาห์ กุล (Mr. Abdullah Gul) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี
วัตถุประสงค์สำคัญของการเยือนครั้งนี้ นอกเหนือจากการกระชับความเป็นหุ้นส่วนของความร่วมมือทวิภาคีไทย - ตุรกีในด้านต่างๆ แล้ว ยังจะเป็นการติดตามผลการเยือนประเทศไทยของนายเรเจพ ทายยิพ แอร์โดอาน (Mr. Recep Tayyip Erdogan) นายกรัฐมนตรีตุรกีในฐานะแขกของรัฐบาล (Working Visit) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548
การเยือนตุรกีในโอกาสนี้ จะเป็นการเยือนในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของฝ่ายไทยครั้งแรก ในรอบ 11 ปี ในระหว่างการเยือน รัฐมนตรีว่าการฯ มีกำหนดการที่จะเข้าเยี่ยมคารวะนายอาห์เหม็ด เน็จเด็ท เซแซร์ (Mr. Ahmet Necdet Sezer) ประธานาธิบดีตุรกี หารือทวิภาคีกับนายอับดุลลาห์ กุล และลงนามความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทนไทย - ตุรกี นอกจากนั้น รัฐมนตรี ว่าการฯ จะพบปะหารือกับองค์กรภาคเอกชนที่สำคัญของตุรกี และนักธุรกิจชั้นนำ คือ สภาหอการค้า
อุตสาหกรรม พาณิชยนาวีและการแลกเปลี่ยนโภคภัณฑ์ของตุรกี (TOBB - Union of Chamber of Commerce, Industry, Maritime Commerce and Commodity Exchanges of Turkey) ที่กรุงอังการา และสภาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจต่างประเทศของตุรกี (DEIK) ที่นครอิสตันบูล
สำหรับสาระในการพบหารือกับฝ่ายตุรกีนั้น จะครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ ที่เป็นผลประโยชน์และความสนใจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย เช่น ยุทธศาสตร์ส่งเสริมความสัมพันธ์ภาพรวมไทย - ตุรกีภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย - ตุรกี (Joint Plan of Action) ซึ่งเป็นผลมาจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และนายกรัฐมนตรีตุรกีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ประเด็นการแสวงหาความ ร่วมมือเพื่อฟื้นฟูบูรณะหลังจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย ซึ่งฝ่ายตุรกีได้มอบเงินจำนวน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ทางการไทย การกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งด้านวิชาการ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ อาทิ การต่อต้านการก่อการร้าย การแก้ปัญหาการลักลอบการค้ามนุษย์ และการส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น
ประเทศไทยและตุรกีได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อปี 2501 ในปี 2547 ไทยและตุรกีมีมูลค่าการค้ารวม 438.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยส่งออก 333.1 ล้าน และนำเข้า 105.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปตุรกี มีอาทิ ยางพารา เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และเครื่องปรับอากาศ สินค้านำเข้าของไทยที่สำคัญ เช่น เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ และผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น และในปี 2547 (มกราคม - กันยายน) มีนักท่องเที่ยวชาวตุรกีมาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 20,000 คน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ระหว่างวันที่ 23 - 25 มิถุนายน 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางไปเยือนตุรกีอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศตุรกี ตามคำเชิญของนาย อับดุลลาห์ กุล (Mr. Abdullah Gul) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี
วัตถุประสงค์สำคัญของการเยือนครั้งนี้ นอกเหนือจากการกระชับความเป็นหุ้นส่วนของความร่วมมือทวิภาคีไทย - ตุรกีในด้านต่างๆ แล้ว ยังจะเป็นการติดตามผลการเยือนประเทศไทยของนายเรเจพ ทายยิพ แอร์โดอาน (Mr. Recep Tayyip Erdogan) นายกรัฐมนตรีตุรกีในฐานะแขกของรัฐบาล (Working Visit) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548
การเยือนตุรกีในโอกาสนี้ จะเป็นการเยือนในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของฝ่ายไทยครั้งแรก ในรอบ 11 ปี ในระหว่างการเยือน รัฐมนตรีว่าการฯ มีกำหนดการที่จะเข้าเยี่ยมคารวะนายอาห์เหม็ด เน็จเด็ท เซแซร์ (Mr. Ahmet Necdet Sezer) ประธานาธิบดีตุรกี หารือทวิภาคีกับนายอับดุลลาห์ กุล และลงนามความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทนไทย - ตุรกี นอกจากนั้น รัฐมนตรี ว่าการฯ จะพบปะหารือกับองค์กรภาคเอกชนที่สำคัญของตุรกี และนักธุรกิจชั้นนำ คือ สภาหอการค้า
อุตสาหกรรม พาณิชยนาวีและการแลกเปลี่ยนโภคภัณฑ์ของตุรกี (TOBB - Union of Chamber of Commerce, Industry, Maritime Commerce and Commodity Exchanges of Turkey) ที่กรุงอังการา และสภาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจต่างประเทศของตุรกี (DEIK) ที่นครอิสตันบูล
สำหรับสาระในการพบหารือกับฝ่ายตุรกีนั้น จะครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ ที่เป็นผลประโยชน์และความสนใจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย เช่น ยุทธศาสตร์ส่งเสริมความสัมพันธ์ภาพรวมไทย - ตุรกีภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย - ตุรกี (Joint Plan of Action) ซึ่งเป็นผลมาจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และนายกรัฐมนตรีตุรกีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ประเด็นการแสวงหาความ ร่วมมือเพื่อฟื้นฟูบูรณะหลังจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย ซึ่งฝ่ายตุรกีได้มอบเงินจำนวน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ทางการไทย การกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งด้านวิชาการ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ อาทิ การต่อต้านการก่อการร้าย การแก้ปัญหาการลักลอบการค้ามนุษย์ และการส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น
ประเทศไทยและตุรกีได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อปี 2501 ในปี 2547 ไทยและตุรกีมีมูลค่าการค้ารวม 438.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยส่งออก 333.1 ล้าน และนำเข้า 105.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปตุรกี มีอาทิ ยางพารา เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และเครื่องปรับอากาศ สินค้านำเข้าของไทยที่สำคัญ เช่น เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ และผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น และในปี 2547 (มกราคม - กันยายน) มีนักท่องเที่ยวชาวตุรกีมาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 20,000 คน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-