วันนี้ (26ส.ค.) เวลา09.00น.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางสถานนีวิทยุคลื่น 101.0 ว่าการอภิปรายพระราชกำหนดได้ผ่านการประชุมของผู้แทนราษฏร และได้รับการอนุมัติเป็นไปอย่างคาดหมาย การที่ฝ่ายค้านต้องอภิปรายฯเป็นเพราะมีความห่วงใยต่อการใช้กฏหมายฉบับดังกล่าวที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา โดยสาระหลักๆ ที่ฝ่ายค้านได้ทักท้วงคือ
ประการแรก การออกพระราชกำหนด ควรจะอยู่บนพื้นฐานความคิดของการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาด กล่าวคือความเข้าใจที่ว่าการแก้ปัญหาที่ผ่านมาไม่สามารถกระทำได้ เพราะว่ารัฐบาลขาดอำนาจ ในขณะที่สิ่งที่ฝ่ายค้านยืนยันว่าที่ผ่านมาไม่ใช่รัฐบาลขาดอำนาจ แต่ว่ารัฐบาลอาจจะใช้อำนาจเกิน ขอบเขตและไม่สามารถใช้อำนาจที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือว่าสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงหรือความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ได้
ประการที่สอง คือ บทบัญญัติในพระราชกำหนดหลายข้อค่อนข้างที่จะมีปัญหาในแง่ของการวางบรรทัดฐานซึ่งน่าจะขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และประการที่สาม คือช่องว่างที่สืบเนื่องจากประการที่สอง จะเป็นปัญหาถ้าหากมีการใช้แล้วมีความผิดพลาด หรือการใช้เกินขอบเขตที่ควรจะเป็น และจะส่งผลให้สร้างปัญหาในแง่ของความหวาดระแวง หรือความหวาดกลัวในพื้นที่ ซึ่งอาจจะนำไปสู่เรื่องของความไม่ไว้วางใจ และความแตกแยกมากขึ้นได้
‘ในช่วงเย็นอาจจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงมากขึ้น และท่านนายกดูจะมีอารมณ์พอสมควรในการเข้ามาเพื่อที่จะพูดและดูจะเข้าใจบทบาทของฝ่ายค้านผิดไปนิดหนึ่ง ท่านใช้คำของท่านว่า “อย่าฟัดกันได้ไม๊เรื่องนี้” จนผมต้องลุกขึ้นเพื่อจะบอกว่าที่จริงพวกเรา ไม่ว่าเป็นส.ส.จากฝ่ายไหนก็ตาม ผมคิดว่าไม่มีความคิดที่จะมาฟัดกัน แต่มีความเห็นที่แตกต่างกัน หากท่านนายกจะรับฟัง และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์จะช่วยในการแก้ไขปัญหา น่าจะเป็นความยินดีที่สุด
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า จากการฟังปัญหาจาก ส.ส. ในพื้นที่ และการพบกับคนในพื้นที่ สามารถจับความรู้สึกของคนในพื้นที่ได้ว่ามีความรุนแรงมาก และการรับรู้ข่าวสารของคนนอกพื้นที่ กับในพื้นที่ มีช่องว่างอยู่ จึงทำให้ ส.ส. ในพื้นที่มีความลำบากมาก แต่เมื่อเทียบเสียงวิจารณ์กับความรู้สึกจริง ๆ ขิงคนในพื้นที่ในพื้นที่ถือว่าเสียงวิจารณ์เบามาก ‘ถ้าเกิด ส.ส.ในพื้นที่ออกมาพูดสะท้อนความคิดเห็นเหล่านั้น ก็จะกลายเป็นปัญหาความขัดแย้ง และจะหาว่าเป็นเรื่องของความแตกแยก เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะฉะนั้น เราต้องระมัดระวัง ครั้นจะให้เขาไปพูดสวนกับความรู้สึกของประชาชนจะไปบอกว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ หรือที่ผ่านมามันดีแล้ว มันถูกแล้ว เขาก็ทำไม่ได้เพราะเป็นการฝืนความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะฉะนั้นก็เลยต้องให้ท่านนายกเข้าใจเงื่อนไขตรงนี้ ซึ่งก็พอผมพูดจบท่านก็ลุกขึ้นมา เพื่อที่จะยอมรับว่า ท่านอาจจะมีความรู้สึกกับการอภิปรายของส.ส. บางท่าน แต่โดยรวมๆ แล้วท่านบอกว่าท่านยินดีจะรับฟังและก็บอกว่าจริง ๆ แล้วท่านอยากพบ ส.ส. ในพื้นที่ ด้วยซ้ำ ดังนั้นผมก็เลยลุกขึ้นว่าตกลง’นายอภิสิทธิ์กล่าว
ผู้นำฝ่านค้าน กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีปัญหาในการที่ให้ความร่วมมือ และตนได้เรียกประชุม ส.ส. ในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ สงขลา รวมทั้งหมาย ส.ส. บัญชีรายชื่อ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อาทิ ดร. ไตรรงค์ สุวรรณคีรี, ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อาจารย์ พีระยศ ราฮีมมูรา เป็นต้น ซึ่งเป็นคณะที่พร้อมในการที่จะไปพบนายกฯ และได้เตรียมสิ่งที่เป็นข้อมูล ข้อเสนอไป ส่วนรูปแบบรายละเอียดวิธีการ จะพบปะกันอย่างไรเลขาธิการพรรคจะเป็นผู้ประสานต่อ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่จะว่ากันต่อไป ‘ผมอยากจะย้ำนะครับว่า ผมไม่อยากให้ท่านนายกไปสร้างบรรยากาศของการเผชิญหน้าในการแก้ไขปัญหาตรงนี้ เพราะว่าจริง ๆแล้ว บางทีท่านก็พูดไกลเกินไป ว่าฝ่ายค้านค้านเรื่องไม่จริง ผมเองผมพูดในรายการนี้ผมก็บอกว่า บางเรื่องที่ท่านทำเนี่ยมันก็เป็นเรื่องที่เราสนับสนุนนะครับ อาจจะในรายละเอียดโครงการเราไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด แต่ว่าอย่างเช่นที่ท่านบอกว่าจะไปลงพื้นที่เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ จะไปช่วยเรื่องของเศรษฐกิจในการนำผลิตภัณฑ์ออกมาขาย อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เรื่องเหล่านี้ผมสนับสนุนเต็มที่ และก็พูดด้วยว่าสนับสนุน’ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แต่บางเรื่องเมื่อความคิดที่ออกมาไม่ถูกต้องชัดเจน ก็ต้องมีการท้วงติง อย่างที่ผ่านมาตอนหลังก็สับสนพอสมควร เพราะว่ารัฐมนตรีที่มารับผิดชอบใหม่ ออกมาเสนอความคิดที่ยังไม่ได้ผ่านการกรองออกมาว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล ล่าสุดที่ออกมาบอกว่าจะให้หยุดทำงานวันศุกร์ นายกฯก็ออกมาปฏิเสธความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ ไม่ควรที่จะออกมาพูดเพื่อให้เกิดความสับสนในเชิงนโยบาย เช่นนี้ก็ต้องมีการท้วงติงกัน เพราะฉะนั้นเรื่อง พรก. รัฐบาลก็น่าจะต้องรับฟัง และที่ผ่านมาฝ่ายค้านเปิดทางตลอด พร้อมทั้งช่วยหาทางออกให้รัฐบาลเช่น พอเกิดความห่วงใยเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ตนก็ชี้ให้เห็นว่า ต้องพยายามใช้กลไกของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอย่างนี้ เป็นต้น และยังได้เสนอว่าหลายฝ่ายมีความห่วงใย เพราะกฏหมายฉบับนี้มีความไม่เหมือนกับประเทศสหรัฐฯ อังกฤษ ในกรณีเจอกับปัญหาการก่อการร้ายรุนแรง แต่ประเทศเหล่านั้นไม่ใช้วิธีออกกฏหมายโดยวิธีที่ไม่ผ่านเรื่องของสภา การที่ตนเสนอเช่นนั้นเพื่อจะให้มีการร่วมคิดร่วมเขียน และเมื่อพระราชกำหนด
ฉบับนี้แก้ไขไม่ได้ รัฐบาลก็ควรตั้งเวที ระดมความคิด ว่าเห็นสมควรแก้จุดไหน อย่างไร จะได้คลายความกังวลของฝ่ายต่าง ๆได้ด้วย แต่สุดท้าย รัฐบาลก็ปฏิเสธ
‘เรื่องพรก. ก็ต้องไปที่วุฒิสภาต่อไป แต่ว่าเราก็ยังต้องติดตามและก็ประเมินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ ส.ส. ของเราไปพบกับท่านนายกแล้ว เราก็ต้องมีการประเมินติดตามว่า ได้มีการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่เราคิดว่าจะนำแนวทางความสงบกลับคืนมาได้ ผมก็คิดว่าเรื่องนี้คล้าย ๆ กับ ทัศนคติที่ตอนนี้รัฐบาลมีและก็พยายามแก้ไขกับเรื่องสื่อ เมื่อวานนี้ก็ท่านนายกก็เปิดแถลงข่าว’นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ต่อข้อถามที่ว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีแนวโน้มว่าจะมีร่างพรบ. ขึ้นมาแก้ไข พระราชกำหนด ที่นำเสนอโดยฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การจะเสนอแก้ไขต้องรอให้กฏหมายผ่านขั้นตอนของวุฒิสภาก่อน แต่ที่สำคัญคือการเสนอแก้ไขนั้นพรรคประชิปะตย์สามารถเสนอได้ แต่ว่าจะมีความหมายหรือไม่ เพราะว่าที่ผ่านมากฏหมายของฝ่ายค้านที่รัฐบาลไม่ได้ร่วมเสนอ หรือแม้แต่กฏหมายของประชาชนที่รัฐบาลไม่ได้ร่วมเสนอ วิปรัฐบาลก็ไม่เลื่อนขึ้นมาเพื่อพิจารณา เพราะว่าต้องเอากฏหมายที่รัฐบาลเห็นด้วยเพื่อจะให้ผ่านสภา ส่วนกำหมายที่จะมีการหยิบขึ้นมา เพื่อที่จะอภิปรายและก็ตกไป ‘ไม่หยิบขึ้นมาอภิปราย หรือถึงแม้ว่าเสนอขึ้นไปเขาหยิบขึ้นมาอภิปรายแล้วรัฐบาลก็บอก ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ก็ลงมติไม่รับ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ผมถึงบอกว่า ถ้าเกิดว่าเราอยากให้ทุกคนร่วมคิดร่วมทำ ทำไมล่ะแทนที่เราจะใช้การเมือง นี่ไงครับที่ผมบอกว่าเวลารัฐบาลบอกว่าเรื่องนี้อย่าใช้การเมืองแบบปกติ ผมก็บอก นี่ไง อย่าใช้การเมืองแบบปกติ เรื่องนี้รัฐบาลจัดเป็นเวที ทุกฝ่ายไปนั่งคุยกัน ว่าคนที่เขาห่วงใย สมมติว่าห่วงใยมาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของการฟ้องร้องของประชาชน รัฐบาลอธิบายเหตุผลมาแล้วเราก็อธิบายเหตุผลไป แล้วลองดูว่าป็นไปได้หรือไม่ อย่างน้อยก็มีการระดมแสดงออกถึงว่ารัฐบาลเองก็ประสงค์ให้มีความพยายามที่จะมาคิดร่วมกันมากขึ้น ปรับทิศทางต่าง ๆ เข้าหากันมากขึ้น แต่ว่าถ้ารัฐบาลพูดแต่เพียงว่าคุณมีสิทธิเสนออยู่แล้ว นั่นหมายความว่าจริง ๆ ก็คือไม่จริงจังที่จะให้มีการดำเนินการอะไรที่เป็นผล’นายอภิสิทธิกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 ส.ค. 2548--จบ--
ประการแรก การออกพระราชกำหนด ควรจะอยู่บนพื้นฐานความคิดของการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาด กล่าวคือความเข้าใจที่ว่าการแก้ปัญหาที่ผ่านมาไม่สามารถกระทำได้ เพราะว่ารัฐบาลขาดอำนาจ ในขณะที่สิ่งที่ฝ่ายค้านยืนยันว่าที่ผ่านมาไม่ใช่รัฐบาลขาดอำนาจ แต่ว่ารัฐบาลอาจจะใช้อำนาจเกิน ขอบเขตและไม่สามารถใช้อำนาจที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือว่าสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงหรือความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ได้
ประการที่สอง คือ บทบัญญัติในพระราชกำหนดหลายข้อค่อนข้างที่จะมีปัญหาในแง่ของการวางบรรทัดฐานซึ่งน่าจะขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และประการที่สาม คือช่องว่างที่สืบเนื่องจากประการที่สอง จะเป็นปัญหาถ้าหากมีการใช้แล้วมีความผิดพลาด หรือการใช้เกินขอบเขตที่ควรจะเป็น และจะส่งผลให้สร้างปัญหาในแง่ของความหวาดระแวง หรือความหวาดกลัวในพื้นที่ ซึ่งอาจจะนำไปสู่เรื่องของความไม่ไว้วางใจ และความแตกแยกมากขึ้นได้
‘ในช่วงเย็นอาจจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงมากขึ้น และท่านนายกดูจะมีอารมณ์พอสมควรในการเข้ามาเพื่อที่จะพูดและดูจะเข้าใจบทบาทของฝ่ายค้านผิดไปนิดหนึ่ง ท่านใช้คำของท่านว่า “อย่าฟัดกันได้ไม๊เรื่องนี้” จนผมต้องลุกขึ้นเพื่อจะบอกว่าที่จริงพวกเรา ไม่ว่าเป็นส.ส.จากฝ่ายไหนก็ตาม ผมคิดว่าไม่มีความคิดที่จะมาฟัดกัน แต่มีความเห็นที่แตกต่างกัน หากท่านนายกจะรับฟัง และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์จะช่วยในการแก้ไขปัญหา น่าจะเป็นความยินดีที่สุด
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า จากการฟังปัญหาจาก ส.ส. ในพื้นที่ และการพบกับคนในพื้นที่ สามารถจับความรู้สึกของคนในพื้นที่ได้ว่ามีความรุนแรงมาก และการรับรู้ข่าวสารของคนนอกพื้นที่ กับในพื้นที่ มีช่องว่างอยู่ จึงทำให้ ส.ส. ในพื้นที่มีความลำบากมาก แต่เมื่อเทียบเสียงวิจารณ์กับความรู้สึกจริง ๆ ขิงคนในพื้นที่ในพื้นที่ถือว่าเสียงวิจารณ์เบามาก ‘ถ้าเกิด ส.ส.ในพื้นที่ออกมาพูดสะท้อนความคิดเห็นเหล่านั้น ก็จะกลายเป็นปัญหาความขัดแย้ง และจะหาว่าเป็นเรื่องของความแตกแยก เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะฉะนั้น เราต้องระมัดระวัง ครั้นจะให้เขาไปพูดสวนกับความรู้สึกของประชาชนจะไปบอกว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ หรือที่ผ่านมามันดีแล้ว มันถูกแล้ว เขาก็ทำไม่ได้เพราะเป็นการฝืนความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะฉะนั้นก็เลยต้องให้ท่านนายกเข้าใจเงื่อนไขตรงนี้ ซึ่งก็พอผมพูดจบท่านก็ลุกขึ้นมา เพื่อที่จะยอมรับว่า ท่านอาจจะมีความรู้สึกกับการอภิปรายของส.ส. บางท่าน แต่โดยรวมๆ แล้วท่านบอกว่าท่านยินดีจะรับฟังและก็บอกว่าจริง ๆ แล้วท่านอยากพบ ส.ส. ในพื้นที่ ด้วยซ้ำ ดังนั้นผมก็เลยลุกขึ้นว่าตกลง’นายอภิสิทธิ์กล่าว
ผู้นำฝ่านค้าน กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีปัญหาในการที่ให้ความร่วมมือ และตนได้เรียกประชุม ส.ส. ในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ สงขลา รวมทั้งหมาย ส.ส. บัญชีรายชื่อ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อาทิ ดร. ไตรรงค์ สุวรรณคีรี, ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อาจารย์ พีระยศ ราฮีมมูรา เป็นต้น ซึ่งเป็นคณะที่พร้อมในการที่จะไปพบนายกฯ และได้เตรียมสิ่งที่เป็นข้อมูล ข้อเสนอไป ส่วนรูปแบบรายละเอียดวิธีการ จะพบปะกันอย่างไรเลขาธิการพรรคจะเป็นผู้ประสานต่อ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่จะว่ากันต่อไป ‘ผมอยากจะย้ำนะครับว่า ผมไม่อยากให้ท่านนายกไปสร้างบรรยากาศของการเผชิญหน้าในการแก้ไขปัญหาตรงนี้ เพราะว่าจริง ๆแล้ว บางทีท่านก็พูดไกลเกินไป ว่าฝ่ายค้านค้านเรื่องไม่จริง ผมเองผมพูดในรายการนี้ผมก็บอกว่า บางเรื่องที่ท่านทำเนี่ยมันก็เป็นเรื่องที่เราสนับสนุนนะครับ อาจจะในรายละเอียดโครงการเราไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด แต่ว่าอย่างเช่นที่ท่านบอกว่าจะไปลงพื้นที่เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ จะไปช่วยเรื่องของเศรษฐกิจในการนำผลิตภัณฑ์ออกมาขาย อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เรื่องเหล่านี้ผมสนับสนุนเต็มที่ และก็พูดด้วยว่าสนับสนุน’ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แต่บางเรื่องเมื่อความคิดที่ออกมาไม่ถูกต้องชัดเจน ก็ต้องมีการท้วงติง อย่างที่ผ่านมาตอนหลังก็สับสนพอสมควร เพราะว่ารัฐมนตรีที่มารับผิดชอบใหม่ ออกมาเสนอความคิดที่ยังไม่ได้ผ่านการกรองออกมาว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล ล่าสุดที่ออกมาบอกว่าจะให้หยุดทำงานวันศุกร์ นายกฯก็ออกมาปฏิเสธความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ ไม่ควรที่จะออกมาพูดเพื่อให้เกิดความสับสนในเชิงนโยบาย เช่นนี้ก็ต้องมีการท้วงติงกัน เพราะฉะนั้นเรื่อง พรก. รัฐบาลก็น่าจะต้องรับฟัง และที่ผ่านมาฝ่ายค้านเปิดทางตลอด พร้อมทั้งช่วยหาทางออกให้รัฐบาลเช่น พอเกิดความห่วงใยเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ตนก็ชี้ให้เห็นว่า ต้องพยายามใช้กลไกของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอย่างนี้ เป็นต้น และยังได้เสนอว่าหลายฝ่ายมีความห่วงใย เพราะกฏหมายฉบับนี้มีความไม่เหมือนกับประเทศสหรัฐฯ อังกฤษ ในกรณีเจอกับปัญหาการก่อการร้ายรุนแรง แต่ประเทศเหล่านั้นไม่ใช้วิธีออกกฏหมายโดยวิธีที่ไม่ผ่านเรื่องของสภา การที่ตนเสนอเช่นนั้นเพื่อจะให้มีการร่วมคิดร่วมเขียน และเมื่อพระราชกำหนด
ฉบับนี้แก้ไขไม่ได้ รัฐบาลก็ควรตั้งเวที ระดมความคิด ว่าเห็นสมควรแก้จุดไหน อย่างไร จะได้คลายความกังวลของฝ่ายต่าง ๆได้ด้วย แต่สุดท้าย รัฐบาลก็ปฏิเสธ
‘เรื่องพรก. ก็ต้องไปที่วุฒิสภาต่อไป แต่ว่าเราก็ยังต้องติดตามและก็ประเมินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ ส.ส. ของเราไปพบกับท่านนายกแล้ว เราก็ต้องมีการประเมินติดตามว่า ได้มีการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่เราคิดว่าจะนำแนวทางความสงบกลับคืนมาได้ ผมก็คิดว่าเรื่องนี้คล้าย ๆ กับ ทัศนคติที่ตอนนี้รัฐบาลมีและก็พยายามแก้ไขกับเรื่องสื่อ เมื่อวานนี้ก็ท่านนายกก็เปิดแถลงข่าว’นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ต่อข้อถามที่ว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีแนวโน้มว่าจะมีร่างพรบ. ขึ้นมาแก้ไข พระราชกำหนด ที่นำเสนอโดยฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การจะเสนอแก้ไขต้องรอให้กฏหมายผ่านขั้นตอนของวุฒิสภาก่อน แต่ที่สำคัญคือการเสนอแก้ไขนั้นพรรคประชิปะตย์สามารถเสนอได้ แต่ว่าจะมีความหมายหรือไม่ เพราะว่าที่ผ่านมากฏหมายของฝ่ายค้านที่รัฐบาลไม่ได้ร่วมเสนอ หรือแม้แต่กฏหมายของประชาชนที่รัฐบาลไม่ได้ร่วมเสนอ วิปรัฐบาลก็ไม่เลื่อนขึ้นมาเพื่อพิจารณา เพราะว่าต้องเอากฏหมายที่รัฐบาลเห็นด้วยเพื่อจะให้ผ่านสภา ส่วนกำหมายที่จะมีการหยิบขึ้นมา เพื่อที่จะอภิปรายและก็ตกไป ‘ไม่หยิบขึ้นมาอภิปราย หรือถึงแม้ว่าเสนอขึ้นไปเขาหยิบขึ้นมาอภิปรายแล้วรัฐบาลก็บอก ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ก็ลงมติไม่รับ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ผมถึงบอกว่า ถ้าเกิดว่าเราอยากให้ทุกคนร่วมคิดร่วมทำ ทำไมล่ะแทนที่เราจะใช้การเมือง นี่ไงครับที่ผมบอกว่าเวลารัฐบาลบอกว่าเรื่องนี้อย่าใช้การเมืองแบบปกติ ผมก็บอก นี่ไง อย่าใช้การเมืองแบบปกติ เรื่องนี้รัฐบาลจัดเป็นเวที ทุกฝ่ายไปนั่งคุยกัน ว่าคนที่เขาห่วงใย สมมติว่าห่วงใยมาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของการฟ้องร้องของประชาชน รัฐบาลอธิบายเหตุผลมาแล้วเราก็อธิบายเหตุผลไป แล้วลองดูว่าป็นไปได้หรือไม่ อย่างน้อยก็มีการระดมแสดงออกถึงว่ารัฐบาลเองก็ประสงค์ให้มีความพยายามที่จะมาคิดร่วมกันมากขึ้น ปรับทิศทางต่าง ๆ เข้าหากันมากขึ้น แต่ว่าถ้ารัฐบาลพูดแต่เพียงว่าคุณมีสิทธิเสนออยู่แล้ว นั่นหมายความว่าจริง ๆ ก็คือไม่จริงจังที่จะให้มีการดำเนินการอะไรที่เป็นผล’นายอภิสิทธิกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 ส.ค. 2548--จบ--