พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่ระหว่างวันที่ 21 - 27 ต.ค. พ.ศ. 2548

ข่าวทั่วไป Friday October 21, 2005 14:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 21-27 ตุลาตม 2548
ในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นและอุณหภูมิลดลง 3-5 องศา ส่วนภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนหนาแน่นและ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำและมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังแรงปกคลุมภาคใต้ ในช่วงวันที่ 25-27 ต.ค. ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงแต่ยังทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคใต้มีฝนลดลงและคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง อนึ่ง บริเวณยอดดอยสูงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศา
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรควร ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงด้วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนหนาแน่นตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปอาจเกิดสภาวะน้ำท่วม ฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากของพื้นที่เสี่ยงภัยได้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงด ออกจากฝั่ง
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่างๆในระยะ7วันข้างหน้ามีดังนี้
เหนือ
ลักษณอากาศ
# ในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศา ส่วนบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-10 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงนี้อากาศจะเย็นลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองด้วย เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควร ดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟในกล้วยไม้
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะอากาศ
# ในช่วงวันที่ 21-23 ต.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา ส่วนบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและเพิ่มความอบอุ่นให้แก่สัตว์เลี้ยงด้วย เนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนลดลง ชาวนาควรดูแลอย่าให้แปลงนาขาดน้ำ เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงได้ นอกจากนี้ควรระวังการระบาด ของศัตรูพืชจำพวกปากดูดไว้ด้วย
กลาง
ลักษณะอากาศ
# ในช่วงวันที่ 21-23 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศา ในช่วงวันที่ 24-27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
#ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฤดูหนาวโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำบ่อยขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงกระทันหัน นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ด้ว
ตะวันออก
ลักษณะอากาศ
#ในช่วงวันที่ 21-23 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศา ลมตะวันออก เฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 24-27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ระยะนี้ปริมาณฝนที่ตกเริ่มลดลง ดังนั้นเกษตรกรควรเก็บกักน้ำและวางแผนการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย ส่วนเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชผักควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้าง
ใต้
ลักษณะอากาศ
#ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป 70-80 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20-40 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 25-27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
# ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-80% ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่ง ลมตะวันออกความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 25-27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงนี้มีฝนตกชุกอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำ เพื่อป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนกาแฟที่อยู่ในระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ชาวสวนควรระวังการระบาดของโรคผลเน่าและโรคราสนิม อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ