ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.48 ลดลงครั้งแรกในรอบ 12 เดือนที่ร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รอง นรม. และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เงินเฟ้อเดือน พ.ย.48 เมื่อเทียบกับเดือนที่
ผ่านมาลดลงร้อยละ 0.7 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 12 เดือน คาดว่าภายในสิ้นปีนี้เงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ
4.5-4.6 เป็นไปตามเป้าหมายของ ก.พาณิชย์ เนื่องจากราคาน้ำมันเริ่มลดลงแล้ว รวมทั้งมาตรการออกตรวจสอบ
ราคาสินค้าของ ก.พาณิชย์ทำให้ราคาสินค้าไม่เพิ่มขึ้น ด้านปลัด ก.พาณิชย์ กล่าวว่า การที่เงินเฟ้อลดลงเนื่องจาก
การลดลงของราคาสินค้าหมวดอาหารร้อยละ 0.6 และราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.7
โดยสินค้าที่เป็นปัจจัยหลักส่งผลให้ราคาสินค้าอื่น ๆ ลดลง ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ โดยน้ำมันเบนซิน 95
และ 91 ปรับราคาลดลง 3 ครั้ง รวม 1.30 บาท ขณะที่น้ำมันดีเซลปรับลดลง 3 ครั้ง รวม 1.10 บาท ขณะที่ไก่
สด ไข่ และผักสดผลไม้บางชนิดปรับราคาลดลงเช่นกัน ส่วนอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ย.48 เมื่อเทียบกับเดือนเดียว
กันของปีก่อนสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอลงอยู่ร้อยละ 5.9 น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 6.2 เป็นผลจากอัตรา
เงินเฟ้อในทุกภาคชะลอลง โดย กทม.เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 6.2 ภาคกลาง
และภาคเหนือสูงขึ้นร้อยละ 5.7 ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 11 เดือนสูงขึ้นร้อยละ 4.4 (โลกวันนี้, กรุงเทพ
ธุรกิจ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. จีดีพีภาคการเกษตรของไทยหดตัวติดต่อกัน 2 ปี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) แถลง
บทวิเคราะห์ “ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย ในรอบปี 48 และแนวโน้มปี 49” โดยพบว่า ในปี 48
ภาคเกษตรประสบปัญหา “Supply Shock” ทำให้ผลผลิตภาคการเกษตรลดลงร้อยละ 1.7 จากที่ก่อนหน้านี้ เมื่อ
ปี 47 ลดลงร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันตลอด 2 ปี โดยผลผลิตด้านพืช ประมง ป่าไม้ และ
บริการทางการเกษตรลดลงทั้งหมด ยกเว้นผลผลิตด้านปศุสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิด
เผยว่า ปี 48 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ภาคการเกษตร มีมูลค่า 6.8 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของจีดี
พีรวมทั้งประเทศ ลดลงร้อยละ 1.7 (ใช้ปี 2531 เป็นปีฐาน) (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
3. ตลท.กำหนดเป้าหมาย บจ.จดทะเบียนใน ตลท.และ MAI ปี 48 ลดลงเหลือเพียง 50 บริษัท
รองกรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ภายในสิ้นปี 48 นี้ บจ.ที่จะเข้าจด
ทะเบียนใน ตลท.และตลาดเอ็มเอไอ มีจำนวนลดลงเหลือเพียง 50 บริษัท จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ 60
บริษัท โดยแบ่งเป็นบริษัทที่เข้าจดทะเบียนใน ตลท.จำนวน 36 บริษัท และตลาดเอ็มเอไอ 14 บริษัท เนื่อง
จากบริษัทหลายแห่งยังรอจังหวะที่เหมาะสมก่อนจะพิจารณานำบริษัทเข้าจดทะเบียนอีกครั้ง (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านของสรอ. ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12 รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 48 Office of Federal Housing Enterprise Oversight (OFHEO) เปิด
เผยว่า ณ วันที่ 30 ก.ย. ราคาบ้านของ สรอ.เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเฉลี่ยร้อยละ 12.02 แม้ว่าจะมีการ
ชะลอ
]’ในบางช่วงก็ตาม ทั้งนี้ในระหว่างไตรมาสที่ 3 บ้านมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 จากไตรมาสที่ 2 หรือเพิ่ม
ขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.44 หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก OFHEO มีความเห็นว่ามูลค่าที่เพิ่มขึ้นในช่วง
ไตรมาสที่ 3 ค่อนข้างแข็งแกร่ง แม้ว่าจะมีการชะลอ
]’บ้างก็ตาม อย่างไรก็ตามการขยายตัวอย่างมากของตลาด
บ้านสรอ.ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาอาจจะชะลอลงอีกเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเพิ่มสูงขึ้น ส่วนบ้านมือสองใน
เดือน ต.ค. ราคาลดลงร้อยละ 2.7 แต่บ้านใหม่กลับมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 และการใช้จ่ายการก่อสร้างภาค
เอกชนในประเทศเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุด (รอยเตอร์)
2. Purchasing Managers’ Index ( PMI) ทั่วโลกในเดือนพ.ย. ชะลอลงเล็กน้อย รายงาน
จากลอนดอน เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 48 ผลการสำรวจผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศ
สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และรัสเซีย ของ JP Morgan ชี้ว่าในเดือน พ.ย. PMI ของประเทศ
ต่างๆทั่วโลก ชะลอลงอยู่ที่ระดับ 54.6 ลดลงจากระดับ 54.9 ในเดือน ต.ค. อย่างไรก็ตามผู้อำนวยการของ
JP Morgan กล่าวว่า จากตัวเลข PMI ของเดือน พ.ย.ชี้ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
ประมาณร้อยละ 6.0 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ส่วนดัชนีผลผลิต (Output Index) ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจาก
เดือนก่อน โดยอยู่ที่ระดับ 56.9 ขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ชะลอลงเล็กน้อยที่ระดับ 56.5 จากระดับ 57 แต่ทั้งสอง
ดัชนียังสูงกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัว(รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.48 ดีขึ้น รายงานจากโตเกียว เมื่อ 2
ธ.ค.48 ผลสำรวจความเชื่อมั่นของธุรกิจชั้นนำในญี่ปุ่นจำนวน 400 แห่ง แบ่งเป็นธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม 200
แห่งและที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมอีก 200 แห่งสำหรับเดือน พ.ย. 48 ในระหว่างวันที่ 8 ถึง 28 พ.ย.48 โดยรอย
เตอร์ซึ่งเรียกกันว่า Reuters tankan และตั้งชื่อตามดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจรายไตรมาสซึ่งสำรวจ
โดย ธ.กลางญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า BOJ’s tankan ปรากฎว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมดีขึ้น
มาอยู่ที่ระดับ +27 สูงสุดนับตั้งแต่ +30 ในเดือน ส.ค.47 หลังจากอยู่ที่ระดับ +20 และ +15 ในเดือน ก.ย.
และ ต.ค.48 ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งสำรวจโดย ธ.กลางญี่ปุ่น
เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +19 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จากระดับ + 18 ในไตรมาสที่ 2 ในส่วนดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของ
ธุรกิจในภาคอื่นที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ +21 โดยตัวเลขดัชนีที่เป็นบวกแสดงให้เห็นว่าจำนวน
ผู้ที่ตอบว่าสถานการณ์ธุรกิจดีมีมากกว่าจำนวนผู้ที่ตอบว่าไม่ดี โดยคาดว่าเป็นผลจากในช่วงเวลาที่สำรวจค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ.สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบ 2 ปีเมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่นซึ่งส่งผลให้สินค้าญี่ปุ่นมีราคาถูกลง
และขายได้มากขึ้นรวมถึงการใช้จ่ายในประเทศที่ดีขึ้นจากการบริโภคและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 1.9 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จากไตรมาสก่อน รายงานจากโซล
เมื่อ 2 ธ.ค.48 ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานประมาณการเบื้องต้นอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตร
มาสที่ 3 ปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อไตรมาสและร้อยละ 4.5 ต่อปี สูงกว่าประมาณการครั้งก่อนในเดือน ต.ค.48
นับเป็นอัตราการเติบโตต่อไตรมาสสูงสุดนับตั้งแต่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่ 4 ปี 46 หลังจากเติบโตร้อย
ละ 1.2 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จากไตรมาสก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 ธ.ค. 48 1 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.224 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0225/41.3249 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.81969 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 660.95/ 11.82 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,700/9,800 9,600/9,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.1 51.67 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 48 24.84*/22.69** 24.84*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 30 พ.ย. 48
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. อัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.48 ลดลงครั้งแรกในรอบ 12 เดือนที่ร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รอง นรม. และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เงินเฟ้อเดือน พ.ย.48 เมื่อเทียบกับเดือนที่
ผ่านมาลดลงร้อยละ 0.7 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 12 เดือน คาดว่าภายในสิ้นปีนี้เงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ
4.5-4.6 เป็นไปตามเป้าหมายของ ก.พาณิชย์ เนื่องจากราคาน้ำมันเริ่มลดลงแล้ว รวมทั้งมาตรการออกตรวจสอบ
ราคาสินค้าของ ก.พาณิชย์ทำให้ราคาสินค้าไม่เพิ่มขึ้น ด้านปลัด ก.พาณิชย์ กล่าวว่า การที่เงินเฟ้อลดลงเนื่องจาก
การลดลงของราคาสินค้าหมวดอาหารร้อยละ 0.6 และราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.7
โดยสินค้าที่เป็นปัจจัยหลักส่งผลให้ราคาสินค้าอื่น ๆ ลดลง ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ โดยน้ำมันเบนซิน 95
และ 91 ปรับราคาลดลง 3 ครั้ง รวม 1.30 บาท ขณะที่น้ำมันดีเซลปรับลดลง 3 ครั้ง รวม 1.10 บาท ขณะที่ไก่
สด ไข่ และผักสดผลไม้บางชนิดปรับราคาลดลงเช่นกัน ส่วนอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ย.48 เมื่อเทียบกับเดือนเดียว
กันของปีก่อนสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอลงอยู่ร้อยละ 5.9 น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 6.2 เป็นผลจากอัตรา
เงินเฟ้อในทุกภาคชะลอลง โดย กทม.เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 6.2 ภาคกลาง
และภาคเหนือสูงขึ้นร้อยละ 5.7 ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 11 เดือนสูงขึ้นร้อยละ 4.4 (โลกวันนี้, กรุงเทพ
ธุรกิจ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. จีดีพีภาคการเกษตรของไทยหดตัวติดต่อกัน 2 ปี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) แถลง
บทวิเคราะห์ “ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย ในรอบปี 48 และแนวโน้มปี 49” โดยพบว่า ในปี 48
ภาคเกษตรประสบปัญหา “Supply Shock” ทำให้ผลผลิตภาคการเกษตรลดลงร้อยละ 1.7 จากที่ก่อนหน้านี้ เมื่อ
ปี 47 ลดลงร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันตลอด 2 ปี โดยผลผลิตด้านพืช ประมง ป่าไม้ และ
บริการทางการเกษตรลดลงทั้งหมด ยกเว้นผลผลิตด้านปศุสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิด
เผยว่า ปี 48 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ภาคการเกษตร มีมูลค่า 6.8 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของจีดี
พีรวมทั้งประเทศ ลดลงร้อยละ 1.7 (ใช้ปี 2531 เป็นปีฐาน) (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
3. ตลท.กำหนดเป้าหมาย บจ.จดทะเบียนใน ตลท.และ MAI ปี 48 ลดลงเหลือเพียง 50 บริษัท
รองกรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ภายในสิ้นปี 48 นี้ บจ.ที่จะเข้าจด
ทะเบียนใน ตลท.และตลาดเอ็มเอไอ มีจำนวนลดลงเหลือเพียง 50 บริษัท จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ 60
บริษัท โดยแบ่งเป็นบริษัทที่เข้าจดทะเบียนใน ตลท.จำนวน 36 บริษัท และตลาดเอ็มเอไอ 14 บริษัท เนื่อง
จากบริษัทหลายแห่งยังรอจังหวะที่เหมาะสมก่อนจะพิจารณานำบริษัทเข้าจดทะเบียนอีกครั้ง (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านของสรอ. ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12 รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 48 Office of Federal Housing Enterprise Oversight (OFHEO) เปิด
เผยว่า ณ วันที่ 30 ก.ย. ราคาบ้านของ สรอ.เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเฉลี่ยร้อยละ 12.02 แม้ว่าจะมีการ
ชะลอ
]’ในบางช่วงก็ตาม ทั้งนี้ในระหว่างไตรมาสที่ 3 บ้านมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 จากไตรมาสที่ 2 หรือเพิ่ม
ขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.44 หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก OFHEO มีความเห็นว่ามูลค่าที่เพิ่มขึ้นในช่วง
ไตรมาสที่ 3 ค่อนข้างแข็งแกร่ง แม้ว่าจะมีการชะลอ
]’บ้างก็ตาม อย่างไรก็ตามการขยายตัวอย่างมากของตลาด
บ้านสรอ.ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาอาจจะชะลอลงอีกเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองเพิ่มสูงขึ้น ส่วนบ้านมือสองใน
เดือน ต.ค. ราคาลดลงร้อยละ 2.7 แต่บ้านใหม่กลับมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 และการใช้จ่ายการก่อสร้างภาค
เอกชนในประเทศเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุด (รอยเตอร์)
2. Purchasing Managers’ Index ( PMI) ทั่วโลกในเดือนพ.ย. ชะลอลงเล็กน้อย รายงาน
จากลอนดอน เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 48 ผลการสำรวจผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศ
สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และรัสเซีย ของ JP Morgan ชี้ว่าในเดือน พ.ย. PMI ของประเทศ
ต่างๆทั่วโลก ชะลอลงอยู่ที่ระดับ 54.6 ลดลงจากระดับ 54.9 ในเดือน ต.ค. อย่างไรก็ตามผู้อำนวยการของ
JP Morgan กล่าวว่า จากตัวเลข PMI ของเดือน พ.ย.ชี้ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
ประมาณร้อยละ 6.0 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ส่วนดัชนีผลผลิต (Output Index) ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจาก
เดือนก่อน โดยอยู่ที่ระดับ 56.9 ขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ชะลอลงเล็กน้อยที่ระดับ 56.5 จากระดับ 57 แต่ทั้งสอง
ดัชนียังสูงกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัว(รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.48 ดีขึ้น รายงานจากโตเกียว เมื่อ 2
ธ.ค.48 ผลสำรวจความเชื่อมั่นของธุรกิจชั้นนำในญี่ปุ่นจำนวน 400 แห่ง แบ่งเป็นธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม 200
แห่งและที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมอีก 200 แห่งสำหรับเดือน พ.ย. 48 ในระหว่างวันที่ 8 ถึง 28 พ.ย.48 โดยรอย
เตอร์ซึ่งเรียกกันว่า Reuters tankan และตั้งชื่อตามดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจรายไตรมาสซึ่งสำรวจ
โดย ธ.กลางญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า BOJ’s tankan ปรากฎว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมดีขึ้น
มาอยู่ที่ระดับ +27 สูงสุดนับตั้งแต่ +30 ในเดือน ส.ค.47 หลังจากอยู่ที่ระดับ +20 และ +15 ในเดือน ก.ย.
และ ต.ค.48 ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งสำรวจโดย ธ.กลางญี่ปุ่น
เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +19 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จากระดับ + 18 ในไตรมาสที่ 2 ในส่วนดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของ
ธุรกิจในภาคอื่นที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ +21 โดยตัวเลขดัชนีที่เป็นบวกแสดงให้เห็นว่าจำนวน
ผู้ที่ตอบว่าสถานการณ์ธุรกิจดีมีมากกว่าจำนวนผู้ที่ตอบว่าไม่ดี โดยคาดว่าเป็นผลจากในช่วงเวลาที่สำรวจค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ.สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบ 2 ปีเมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่นซึ่งส่งผลให้สินค้าญี่ปุ่นมีราคาถูกลง
และขายได้มากขึ้นรวมถึงการใช้จ่ายในประเทศที่ดีขึ้นจากการบริโภคและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 1.9 ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จากไตรมาสก่อน รายงานจากโซล
เมื่อ 2 ธ.ค.48 ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานประมาณการเบื้องต้นอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตร
มาสที่ 3 ปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อไตรมาสและร้อยละ 4.5 ต่อปี สูงกว่าประมาณการครั้งก่อนในเดือน ต.ค.48
นับเป็นอัตราการเติบโตต่อไตรมาสสูงสุดนับตั้งแต่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่ 4 ปี 46 หลังจากเติบโตร้อย
ละ 1.2 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จากไตรมาสก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 ธ.ค. 48 1 ธ.ค.48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.224 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0225/41.3249 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.81969 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 660.95/ 11.82 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,700/9,800 9,600/9,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.1 51.67 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 48 24.84*/22.69** 24.84*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 30 พ.ย. 48
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--