1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีปริมาณการผลิตรวม 20.73 ล้านตัน
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.91 และ 7.69 ตามลำดับ
โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 10.32 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 10.41 ล้านตัน การผลิต ปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นนี้เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยายการลงทุนในภาคเอกชน
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 คิดเป็นร้อยละ 80.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.72 และ 13.45 ตามลำดับ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 70.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.97 และ 10.68 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีปริมาณ 8.64 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.77 และ 9.37 ตามลำดับ โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.03 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 8.61 ล้านตัน
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นนี้เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีปัจจัยสนับสนุนทั้งการขยายการลงทุนในภาคเอกชนและการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ ทำให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีปริมาณการส่งออก 4.23 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,573.16 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.55 และ 28.87 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.60 และ 26.12 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 3.18 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,133.98 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.05 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,439.18 ล้านบาท
การส่งออกที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในประเทศ
เพื่อนบ้าน สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชาและสหรัฐอเมริกา
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 1
ปี 2548 มีจำนวน 2,142.32 ตัน คิดเป็นมูลค่า 24.86 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 34.82 แต่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.68 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์ลดลง ร้อยละ 49.78 และ 36.81 ตามลำดับ โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 2.34 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.04 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 2,139.98 ตัน คิดเป็นมูลค่า 24.82 ล้านบาท การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยายการลงทุนในภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงตามปัจจัยด้านลบ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดต่อการให้สินเชื่อโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความผันผวนของราคาน้ำมัน โดยน้ำมันดีเซลมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นอีก สำหรับต้นทุนปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 แต่ราคาขายยังต่ำกว่าราคาควบคุม อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับสถานการณ์ธุรกิจก่อสร้าง คาดว่าจะมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐยังคงเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ เนื่องจากรัฐบาลมีแผนการลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ ส่วนความเสียหายจากกรณีการเกิดภัยภิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ กระทบต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์น้อยมาก สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่1 ปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แนวโน้มการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชาและสหรัฐอเมริกา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีปริมาณการผลิตรวม 20.73 ล้านตัน
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.91 และ 7.69 ตามลำดับ
โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 10.32 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 10.41 ล้านตัน การผลิต ปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นนี้เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยายการลงทุนในภาคเอกชน
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 คิดเป็นร้อยละ 80.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.72 และ 13.45 ตามลำดับ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 70.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.97 และ 10.68 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีปริมาณ 8.64 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.77 และ 9.37 ตามลำดับ โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.03 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 8.61 ล้านตัน
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นนี้เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีปัจจัยสนับสนุนทั้งการขยายการลงทุนในภาคเอกชนและการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ ทำให้มีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีปริมาณการส่งออก 4.23 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,573.16 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.55 และ 28.87 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.60 และ 26.12 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 3.18 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,133.98 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.05 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,439.18 ล้านบาท
การส่งออกที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในประเทศ
เพื่อนบ้าน สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชาและสหรัฐอเมริกา
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 1
ปี 2548 มีจำนวน 2,142.32 ตัน คิดเป็นมูลค่า 24.86 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 34.82 แต่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.68 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์ลดลง ร้อยละ 49.78 และ 36.81 ตามลำดับ โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 2.34 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.04 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 2,139.98 ตัน คิดเป็นมูลค่า 24.82 ล้านบาท การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยายการลงทุนในภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงตามปัจจัยด้านลบ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดต่อการให้สินเชื่อโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความผันผวนของราคาน้ำมัน โดยน้ำมันดีเซลมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นอีก สำหรับต้นทุนปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 แต่ราคาขายยังต่ำกว่าราคาควบคุม อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับสถานการณ์ธุรกิจก่อสร้าง คาดว่าจะมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐยังคงเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ เนื่องจากรัฐบาลมีแผนการลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ ส่วนความเสียหายจากกรณีการเกิดภัยภิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ กระทบต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์น้อยมาก สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่1 ปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แนวโน้มการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชาและสหรัฐอเมริกา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-