หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุ ส่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินตีความช่องทางผู้ตรวจการแผ่นดินฯ มีความเป็นกลางที่สุด แนะทุกฝ่ายไม่ควรกดดันว่ากฎหมายออกแล้วต้องดีขึ้นทันที อีกทั้งรัฐบาลต้องใช้ความระมัดระวังควบคู่ไปกับการเร่งรัดเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
วันนี้ (19 ก.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะรวบรวมประเด็นในบางมาตราของพระราชกำหนดว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาว่า จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า ต้องขอเวลาในการรวบรวมข้อมูล เพราะต้องรอประกาศต่าง ๆ ที่จะออกตามมาด้วย แต่ทั้งหมดขอให้สบายใจได้ว่ากระบวนการที่พรรคจะทำคงไม่กระทบกระเทือนการทำงานของรัฐบาลที่จะใช้เครื่องมือตรงนี้ แต่จะช่วยสร้างความมั่นใจว่ามีช่องทางในการที่จะหาทางตรวจสอบการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว เพราะกฎหมายค่อนข้างจะปิดทางไว้ ซึ่งข้อเสนอตรงนี้ก็สอดคล้องกับทางคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) และคิดว่าหากมีกระบวนการตรวจสอบตรงนี้ก็จะสามารถไปลดจุดอ่อนในเรื่องความไม่มั่นใจหรือความหวาดระแวงลงได้ ซึ่งตนเห็นว่าช่องทางของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นช่องทางที่ดี เพราะมีสถานะตามรัฐธรรมนูญ และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาก็คงจะมีความเป็นกลางทางการเมือง
“ขอให้สบายใจว่า การตรวจสอบลักษณะนี้ไม่กระทบกระเทือนขัดขวางการดำเนินงานของรัฐบาล แต่เป็นการให้หลักประกันความมั่นใจในอีกทางหนึ่ง และขณะเดียวกันจะเป็นการดำเนินการโดยองค์กรที่มีความเป็นอิสระ เพราะผมคิดว่าผู้ตรวจการฯ มีสถานะทางรัฐธรรมนูญ มีกฎหมายรองรับและจริงๆ แล้ว ไม่ได้ไปให้คุณให้โทษใคร” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า ก่อนที่จะนำเสนอเป็นทางการ ตนก็อยากจะเรียกร้องว่าให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาแสดงท่าทีของการที่จะทำหน้าที่ตรงนี้ เพราะตรงกับอำนาจหน้าที่ของท่าน และเป็นช่องทางหนึ่งซึ่งจะช่วยให้เกิดความสมดุลในการที่จะใช้เครื่องมือใหม่ในตัวพระราชกำหนดในการแก้ไขปัญหา ซึ่งในส่วนของการมีเครื่องมือที่จะจัดการตามแนวคิดและนโยบายของรัฐบาล ก็ว่ากันไป แต่ส่วนที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดก็จะได้มีความเข้มแข็งด้วย
เมื่อถามว่า พ.ร.ก.ที่ออกมาจะช่วยให้เกิดความสงบในภาคใต้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คงไปสรุปสั้นๆ ว่า พ.ร.ก.ออกแล้วเหตุการณ์ในภาคใต้จะสงบในทันทีคงไม่ได้ เพราะรัฐบาลจะต้องจัดองคาพยพในการที่จะมอบหมายอำนาจและต้องดูประกาศใช้อำนาจต่างๆ ดังนั้นสิ่งที่ตนได้พยายามย้ำคือการใช้อำนาจตรงนี้ของรัฐบาล ขอให้คำนึงถึงเอกภาพ ขอบเขตและระบบการตรวจสอบ จึงจะเป็นไปตามทิศทางหลักของการแก้ไขปัญหาที่ควรจะเป็น เพราะสิ่งที่ตนคิดว่าประชาชนอยากจะเห็นคือความเด็ดขาดและความคล่องตัว แต่จะต้องใช้ให้ตรงเป้าหมาย เพราะหากพลาดเป้าก็จะกลายเป็นเงื่อนไขของปัญหาที่เพิ่มขึ้นมา ฉะนั้นทุกฝ่ายไม่ควรไปกดดันว่ากฎหมายออกแล้วต้องดีขึ้นทันที อีกทั้งรัฐบาลก็ต้องตระหนักด้วยว่า เครื่องมือในลักษณะนี้เป็นเครื่องมือที่ชื่อบอกอยู่แล้วว่า เป็นการใช้ในยามไม่ปกติ และสิ่งที่ทุกคนอยากจะเห็นก็คือการกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุดจึงต้องใช้ความระมัดระวังควบคู่ไปกับการเร่งรัดเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
สำหรับกรณีที่มีความเป็นห่วงว่าการบังคับใช้ พ.ร.ก.ในบางพื้นที่ อาจจะทำให้พื้นที่ที่ไม่มีการบังคับใช้ กลายเป็นพื้นที่เป้าหมายของผู้ก่อความไม่สงบ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การพิจารณาของรัฐบาลคงจะดูในภาพรวม เพราะคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมามีหน้าที่ในการประเมินสถานการณ์อยู่แล้ว แต่สิ่งที่อยากจะย้ำคือเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลสร้างขึ้นมาใหม่ แต่การใช้เครื่องมือยังต้องอยู่ในกรอบของระบบการบริหารและกรอบความคิดในเชิงนโยบาย ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่พรรคอยากจะเห็นความชัดเจนในการทำงาน
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก พ.ร.ก. ซึ่งเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลสร้างขึ้นมาแก้ปัญหาไม่สัมฤทธิ์ผล รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า อำนาจต่างๆ ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ ฉะนั้นตนเชื่อว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลคงตระหนักดี เพราะสิ่งที่ขอไปในเชิงเครื่องมือ กระทบกระเทือนต่อแนวทางการบริหารหลักและการบริหารตามปกติซึ่งมีการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ดังนั้นความคาดหวังของประชาชนคงมีมากพอสมควรว่า เมื่อมีเครื่องมือนี้แล้ว รัฐบาลจะจัดการแก้ไขปัญหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และการประกาศก็มีเงื่อนเวลาอยู่ ซึ่งตรงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลต้องประเมินถึงความสำเร็จของตรงนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ก.ค. 2548--จบ--
วันนี้ (19 ก.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะรวบรวมประเด็นในบางมาตราของพระราชกำหนดว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาว่า จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า ต้องขอเวลาในการรวบรวมข้อมูล เพราะต้องรอประกาศต่าง ๆ ที่จะออกตามมาด้วย แต่ทั้งหมดขอให้สบายใจได้ว่ากระบวนการที่พรรคจะทำคงไม่กระทบกระเทือนการทำงานของรัฐบาลที่จะใช้เครื่องมือตรงนี้ แต่จะช่วยสร้างความมั่นใจว่ามีช่องทางในการที่จะหาทางตรวจสอบการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว เพราะกฎหมายค่อนข้างจะปิดทางไว้ ซึ่งข้อเสนอตรงนี้ก็สอดคล้องกับทางคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) และคิดว่าหากมีกระบวนการตรวจสอบตรงนี้ก็จะสามารถไปลดจุดอ่อนในเรื่องความไม่มั่นใจหรือความหวาดระแวงลงได้ ซึ่งตนเห็นว่าช่องทางของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นช่องทางที่ดี เพราะมีสถานะตามรัฐธรรมนูญ และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาก็คงจะมีความเป็นกลางทางการเมือง
“ขอให้สบายใจว่า การตรวจสอบลักษณะนี้ไม่กระทบกระเทือนขัดขวางการดำเนินงานของรัฐบาล แต่เป็นการให้หลักประกันความมั่นใจในอีกทางหนึ่ง และขณะเดียวกันจะเป็นการดำเนินการโดยองค์กรที่มีความเป็นอิสระ เพราะผมคิดว่าผู้ตรวจการฯ มีสถานะทางรัฐธรรมนูญ มีกฎหมายรองรับและจริงๆ แล้ว ไม่ได้ไปให้คุณให้โทษใคร” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า ก่อนที่จะนำเสนอเป็นทางการ ตนก็อยากจะเรียกร้องว่าให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาแสดงท่าทีของการที่จะทำหน้าที่ตรงนี้ เพราะตรงกับอำนาจหน้าที่ของท่าน และเป็นช่องทางหนึ่งซึ่งจะช่วยให้เกิดความสมดุลในการที่จะใช้เครื่องมือใหม่ในตัวพระราชกำหนดในการแก้ไขปัญหา ซึ่งในส่วนของการมีเครื่องมือที่จะจัดการตามแนวคิดและนโยบายของรัฐบาล ก็ว่ากันไป แต่ส่วนที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดก็จะได้มีความเข้มแข็งด้วย
เมื่อถามว่า พ.ร.ก.ที่ออกมาจะช่วยให้เกิดความสงบในภาคใต้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คงไปสรุปสั้นๆ ว่า พ.ร.ก.ออกแล้วเหตุการณ์ในภาคใต้จะสงบในทันทีคงไม่ได้ เพราะรัฐบาลจะต้องจัดองคาพยพในการที่จะมอบหมายอำนาจและต้องดูประกาศใช้อำนาจต่างๆ ดังนั้นสิ่งที่ตนได้พยายามย้ำคือการใช้อำนาจตรงนี้ของรัฐบาล ขอให้คำนึงถึงเอกภาพ ขอบเขตและระบบการตรวจสอบ จึงจะเป็นไปตามทิศทางหลักของการแก้ไขปัญหาที่ควรจะเป็น เพราะสิ่งที่ตนคิดว่าประชาชนอยากจะเห็นคือความเด็ดขาดและความคล่องตัว แต่จะต้องใช้ให้ตรงเป้าหมาย เพราะหากพลาดเป้าก็จะกลายเป็นเงื่อนไขของปัญหาที่เพิ่มขึ้นมา ฉะนั้นทุกฝ่ายไม่ควรไปกดดันว่ากฎหมายออกแล้วต้องดีขึ้นทันที อีกทั้งรัฐบาลก็ต้องตระหนักด้วยว่า เครื่องมือในลักษณะนี้เป็นเครื่องมือที่ชื่อบอกอยู่แล้วว่า เป็นการใช้ในยามไม่ปกติ และสิ่งที่ทุกคนอยากจะเห็นก็คือการกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุดจึงต้องใช้ความระมัดระวังควบคู่ไปกับการเร่งรัดเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
สำหรับกรณีที่มีความเป็นห่วงว่าการบังคับใช้ พ.ร.ก.ในบางพื้นที่ อาจจะทำให้พื้นที่ที่ไม่มีการบังคับใช้ กลายเป็นพื้นที่เป้าหมายของผู้ก่อความไม่สงบ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การพิจารณาของรัฐบาลคงจะดูในภาพรวม เพราะคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมามีหน้าที่ในการประเมินสถานการณ์อยู่แล้ว แต่สิ่งที่อยากจะย้ำคือเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลสร้างขึ้นมาใหม่ แต่การใช้เครื่องมือยังต้องอยู่ในกรอบของระบบการบริหารและกรอบความคิดในเชิงนโยบาย ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่พรรคอยากจะเห็นความชัดเจนในการทำงาน
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก พ.ร.ก. ซึ่งเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลสร้างขึ้นมาแก้ปัญหาไม่สัมฤทธิ์ผล รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า อำนาจต่างๆ ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ ฉะนั้นตนเชื่อว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลคงตระหนักดี เพราะสิ่งที่ขอไปในเชิงเครื่องมือ กระทบกระเทือนต่อแนวทางการบริหารหลักและการบริหารตามปกติซึ่งมีการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ดังนั้นความคาดหวังของประชาชนคงมีมากพอสมควรว่า เมื่อมีเครื่องมือนี้แล้ว รัฐบาลจะจัดการแก้ไขปัญหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และการประกาศก็มีเงื่อนเวลาอยู่ ซึ่งตรงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลต้องประเมินถึงความสำเร็จของตรงนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ก.ค. 2548--จบ--