กรุงเทพ--20 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในช่วงบ่ายของวันที่ 18 ธันวาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางถึงกรุงธากา บังกลาเทศเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 8 ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC Ministerial Meeting) ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 โดยมีนาย A.H.M. Moniruzzaman รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศด้านความร่วมมือพหุภาคีต้อนรับที่สนามบิน
ต่อมา ดร. กันตธีร์ฯ ได้หารือทวิภาคีกับนาย M. Morshed Khan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ เกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคี รวมถึงความร่วมมือ ภายใต้กรอบของ BIMSTEC
ดร. กันตธีร์ฯ ได้แจ้งความต้องการของไทยในการเพิ่มเที่ยวบินระหว่างทั้งสองประเทศเพื่อผลต่อการขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ แจ้งให้ฝ่ายบังกลาเทศทราบว่าประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้สำหรับการก่อสร้างทางด่วนในกรุงธากา ร้อยละ 60 ของค่าใช้จ่ายซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะนี้มีบริษัทไทยหลายบริษัทที่แสดงความสนใจเข้าประมูลโครงการดังกล่าว
นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ได้เปิดเผยว่า บริษัท ป.ต.ท. มีความสนใจที่จะขอสัมปทานเพื่อสำรวจแหล่งแก๊ซธรรมชาติในอ่างเบงกอล ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า บังกลาเทศพร้อมที่จะพิจารณาการให้สัมปทานแก่ไทยด้วยดี สำหรับความร่วมมือภายใต้กรอบของ BIMSTEC ดร. กันตธีร์ฯ ได้แสดงความเห็นต่อรัฐมนตรีต่างประเทศบังกลาเทศว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศควรร่วมมือกันเพื่อบรรลุผลที่เป็นรูปธรรมในทุกๆ ด้าน โดย ดร. กันตธีร์ฯ ได้แสดงความพอใจที่การหารือด้านการจัดทำเขตการค้าเสรี BIMSTEC รุดหน้าไปในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านประเภทสินค้า ทั้งนี้ การเจรจาด้านการลงทุนและการบริการจะสิ้นสุดภายในปี 2550 ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวด้วยว่า รัฐมนตรีต่างประเทศบังกลาเทศได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ดร. กันตธีร์ฯ ได้ย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเครือข่ายในด้านอื่นๆ อาทิ การค้าและการลงทุน
นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ เปิดเผยว่า ฝ่ายไทยจะเสนอให้เพิ่มความร่วมมือด้านสาธารณสุขเข้าไปเป็นอีกสาขาความร่วมมือของ BIMSTEC เนื่องจากเห็นว่าประเทศสมาชิกมีความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันเพื่อหาทางป้องกันโรคต่างๆ ร่วมกัน อาทิ โรคไข้หวัดนก เอดส์ และโรคอื่นๆที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ ฯลฯ
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวต่อไปด้วยว่า ไทยจะเสนอให้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการ BIMSTEC ขนาดเล็กทดแทนศูนย์ BIMSTEC ที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อที่ประชุม BIMSTEC ระดับรัฐมนตรีครั้งนี้ เพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยฝ่ายไทยพร้อมที่จะสนับสนุนภายใต้การรับผิดชอบร่วมกันของประเทศสมาชิก
ภายหลังการหารือทวิภาคี ดร. กันตธีร์ฯ ได้เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่รัฐมนตรีต่างประเทศที่เดินทางมาเข้าร่วมการประชุม BIMSTEC ในครั้งนี้
อนึ่งในช่วงเช้าของวันที่ 18 ธันวาคม 2548 นายฐากูร พานิช รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมการประชุม BIMSTEC ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อติดตามความคืบหน้าความร่วมมือในสาขาต่างๆ ใน 6 สาขาหลักได้แก่ การค้าและการลงทุน เกษตรและประมง พลังงาน การท่องเที่ยว คมนาคม เทคโนโลยี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในช่วงบ่ายของวันที่ 18 ธันวาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางถึงกรุงธากา บังกลาเทศเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 8 ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC Ministerial Meeting) ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 โดยมีนาย A.H.M. Moniruzzaman รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศด้านความร่วมมือพหุภาคีต้อนรับที่สนามบิน
ต่อมา ดร. กันตธีร์ฯ ได้หารือทวิภาคีกับนาย M. Morshed Khan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ เกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคี รวมถึงความร่วมมือ ภายใต้กรอบของ BIMSTEC
ดร. กันตธีร์ฯ ได้แจ้งความต้องการของไทยในการเพิ่มเที่ยวบินระหว่างทั้งสองประเทศเพื่อผลต่อการขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ แจ้งให้ฝ่ายบังกลาเทศทราบว่าประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้สำหรับการก่อสร้างทางด่วนในกรุงธากา ร้อยละ 60 ของค่าใช้จ่ายซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะนี้มีบริษัทไทยหลายบริษัทที่แสดงความสนใจเข้าประมูลโครงการดังกล่าว
นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ได้เปิดเผยว่า บริษัท ป.ต.ท. มีความสนใจที่จะขอสัมปทานเพื่อสำรวจแหล่งแก๊ซธรรมชาติในอ่างเบงกอล ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า บังกลาเทศพร้อมที่จะพิจารณาการให้สัมปทานแก่ไทยด้วยดี สำหรับความร่วมมือภายใต้กรอบของ BIMSTEC ดร. กันตธีร์ฯ ได้แสดงความเห็นต่อรัฐมนตรีต่างประเทศบังกลาเทศว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศควรร่วมมือกันเพื่อบรรลุผลที่เป็นรูปธรรมในทุกๆ ด้าน โดย ดร. กันตธีร์ฯ ได้แสดงความพอใจที่การหารือด้านการจัดทำเขตการค้าเสรี BIMSTEC รุดหน้าไปในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านประเภทสินค้า ทั้งนี้ การเจรจาด้านการลงทุนและการบริการจะสิ้นสุดภายในปี 2550 ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวด้วยว่า รัฐมนตรีต่างประเทศบังกลาเทศได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ดร. กันตธีร์ฯ ได้ย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเครือข่ายในด้านอื่นๆ อาทิ การค้าและการลงทุน
นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ เปิดเผยว่า ฝ่ายไทยจะเสนอให้เพิ่มความร่วมมือด้านสาธารณสุขเข้าไปเป็นอีกสาขาความร่วมมือของ BIMSTEC เนื่องจากเห็นว่าประเทศสมาชิกมีความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันเพื่อหาทางป้องกันโรคต่างๆ ร่วมกัน อาทิ โรคไข้หวัดนก เอดส์ และโรคอื่นๆที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ ฯลฯ
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวต่อไปด้วยว่า ไทยจะเสนอให้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการ BIMSTEC ขนาดเล็กทดแทนศูนย์ BIMSTEC ที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อที่ประชุม BIMSTEC ระดับรัฐมนตรีครั้งนี้ เพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยฝ่ายไทยพร้อมที่จะสนับสนุนภายใต้การรับผิดชอบร่วมกันของประเทศสมาชิก
ภายหลังการหารือทวิภาคี ดร. กันตธีร์ฯ ได้เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่รัฐมนตรีต่างประเทศที่เดินทางมาเข้าร่วมการประชุม BIMSTEC ในครั้งนี้
อนึ่งในช่วงเช้าของวันที่ 18 ธันวาคม 2548 นายฐากูร พานิช รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมการประชุม BIMSTEC ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อติดตามความคืบหน้าความร่วมมือในสาขาต่างๆ ใน 6 สาขาหลักได้แก่ การค้าและการลงทุน เกษตรและประมง พลังงาน การท่องเที่ยว คมนาคม เทคโนโลยี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-