แท็ก
อินเดีย
อินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีจำนวนประชากรสูงถึง 1,080 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่ยากจน แต่ประมาณ 300 ล้านคนของประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง ประกอบกับในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเฉลี่ยสูงกว่า 6.5% ต่อปี นอกจากนี้ ยังเป็นประตูเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนที่สำคัญสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพและความน่าสนใจให้แก่อินเดียเป็นอย่างมาก
ในภูมิภาคเอเชียใต้อินเดียจัดเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของไทย โดยในปี 2547 ไทยส่งออกไปอินเดียสูงถึง 36,694 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.4% จากปีก่อน นอกจากนี้ จากการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดียซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 ทำให้อินเดียเริ่มทยอยปรับลดภาษีสินค้านำเข้าที่เรียกเก็บจากไทยแล้ว ซึ่งภายในปี 2553 จะลดภาษีนำเข้าสินค้าจำนวนหลายพันรายการที่เรียกเก็บจากไทยเหลือ 0% ส่งผลให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลที่ผู้ส่งออกควรทราบก่อนค้าขายกับอินเดีย ได้แก่
การเจาะตลาดอินเดีย เนื่องจากอินเดียมีประชากรมากทำให้ระบบการค้า ลักษณะการทำธุรกิจ ระบบกฎหมาย รสนิยมในการบริโภคสินค้าของชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันไปตามภูมิหลังที่ต่างกันทั้งเชื้อชาติ วัฒนธรรม รวมทั้งระบบการเมืองท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ส่งออกควรศึกษาข้อมูลด้านการตลาดอย่างแท้จริงหรือว่าจ้างบริษัททำการวิจัยตลาด เพื่อจะได้คัดเลือกเมืองและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องการจำหน่าย โดยอาจกระจายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายที่มีศักยภาพและน่าเชื่อถือซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงทางการค้าลงได้ แต่ไม่ควรมีตัวแทนจำหน่ายหลายรายหรือมีในหลายเมืองเพราะจะทำให้มีการขายตัดราคากันเองและเกิดภาพลักษณ์ว่าสินค้านั้นสามารถหาได้ทั่วไปจึงไม่สามารถขายสินค้าได้ในราคาสูงเท่าที่ควร นอกจากนี้ ผู้ส่งออกควรจัดทำแค็ตตาล็อกของสินค้าที่ประกอบด้วยรูปภาพ รหัสสินค้า และราคาสินค้า ซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารได้ในระดับหนึ่งและทำให้การติดต่อธุรกิจสะดวกและรวดเร็วขึ้น
กฎระเบียบนำเข้าสำคัญ อาทิ
- อัตราภาษีนำเข้า ปัจจุบันอินเดียเก็บภาษีนำเข้าในอัตราค่อนข้างสูง อีกทั้งระบบการจัดเก็บภาษีค่อนข้างซ้ำซ้อน กล่าวคือ นอกเหนือจากการเก็บภาษีนำเข้าที่จัดเก็บตามระบบมาตรฐานสากล (Basic Custom Duty) แล้ว อินเดียยังมีการเรียกเก็บภาษีอื่นๆ โดยคำนวณเพิ่มเติมจาก Basic Custom Duty อาทิ ภาษีเพื่อใช้อุดหนุนการศึกษา (Education Cess) ในอัตรา 2.0% ของ Basic Custom Duty และภาษีที่เรียกเก็บเพื่อตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty: CVD) ซึ่งส่วนใหญ่เก็บจากสินค้าอุตสาหกรรมในอัตรา 8.0-16.0% และยังมีการเก็บภาษีนำเข้าผ่านรัฐซึ่งมี 28 รัฐในอัตรา 1.0-1.5% จากน้ำหนักหรือมูลค่าสินค้าอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 อินเดียมีแผนจะลดอัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บจากสินค้าหลายรายการตามพันธกรณีที่มีต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ไม่ว่าจะเป็นสินค้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โพลีเอสเตอร์ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รวมถึงจะลดอัตราภาษีนำเข้าสูงสุด (Peak Rate) ที่เรียกเก็บจากสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าเกษตรจากอัตรา 20% เหลือ 15%
- การจำกัดการนำเข้า การนำเข้าสินค้าบางประเภทต้องกระทำผ่านตัวแทนของรัฐบาลเท่านั้น อาทิ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปุ๋ย น้ำมันพืช เมล็ดและธัญพืช เป็นต้น
- มาตรการด้านสุขอนามัย กำหนดให้ผักและผลไม้ที่จะนำเข้าต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest Risk Analysis: PRA) ที่ด่านกักกันโรคพืช (Plant Quarantine Station) ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของ Department of Agriculture and Cooperation (DAC), Ministry of Agriculture ของอินเดีย โดยจะสุ่มตรวจหากพบว่ามีเชื้อโรคหรือแมลงปะปนอยู่สินค้านั้นจะถูกทำลายทันที
- มาตรฐานอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมที่รัฐบาลอนุญาตให้นำเข้าจะต้องได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (Indian Standards Institution Mark: ISI Mark) ที่ออกโดย Bureau of Indian Standards (BIS) ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัด Ministry of Consumer Affairs, Food and Public Distribution ของอินเดีย
การรับชำระเงินค่าสินค้า การรับชำระเงินค่าสินค้าด้วยวิธีการเปิด L/C จากธนาคารในอินเดีย ยังคงเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ส่งออก โดยทั่วไปผู้นำเข้าอินเดียนิยมเปิด L/C ที่มีเทอมการชำระเงินราว 3-6 เดือน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้รับการชำระเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอนผู้ส่งออกสามารถขอใช้บริการยืนยันการเปิด L/C (Confirmed L/C) จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2548--
-พห-
ในภูมิภาคเอเชียใต้อินเดียจัดเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของไทย โดยในปี 2547 ไทยส่งออกไปอินเดียสูงถึง 36,694 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.4% จากปีก่อน นอกจากนี้ จากการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดียซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 ทำให้อินเดียเริ่มทยอยปรับลดภาษีสินค้านำเข้าที่เรียกเก็บจากไทยแล้ว ซึ่งภายในปี 2553 จะลดภาษีนำเข้าสินค้าจำนวนหลายพันรายการที่เรียกเก็บจากไทยเหลือ 0% ส่งผลให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลที่ผู้ส่งออกควรทราบก่อนค้าขายกับอินเดีย ได้แก่
การเจาะตลาดอินเดีย เนื่องจากอินเดียมีประชากรมากทำให้ระบบการค้า ลักษณะการทำธุรกิจ ระบบกฎหมาย รสนิยมในการบริโภคสินค้าของชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันไปตามภูมิหลังที่ต่างกันทั้งเชื้อชาติ วัฒนธรรม รวมทั้งระบบการเมืองท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ส่งออกควรศึกษาข้อมูลด้านการตลาดอย่างแท้จริงหรือว่าจ้างบริษัททำการวิจัยตลาด เพื่อจะได้คัดเลือกเมืองและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องการจำหน่าย โดยอาจกระจายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายที่มีศักยภาพและน่าเชื่อถือซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงทางการค้าลงได้ แต่ไม่ควรมีตัวแทนจำหน่ายหลายรายหรือมีในหลายเมืองเพราะจะทำให้มีการขายตัดราคากันเองและเกิดภาพลักษณ์ว่าสินค้านั้นสามารถหาได้ทั่วไปจึงไม่สามารถขายสินค้าได้ในราคาสูงเท่าที่ควร นอกจากนี้ ผู้ส่งออกควรจัดทำแค็ตตาล็อกของสินค้าที่ประกอบด้วยรูปภาพ รหัสสินค้า และราคาสินค้า ซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารได้ในระดับหนึ่งและทำให้การติดต่อธุรกิจสะดวกและรวดเร็วขึ้น
กฎระเบียบนำเข้าสำคัญ อาทิ
- อัตราภาษีนำเข้า ปัจจุบันอินเดียเก็บภาษีนำเข้าในอัตราค่อนข้างสูง อีกทั้งระบบการจัดเก็บภาษีค่อนข้างซ้ำซ้อน กล่าวคือ นอกเหนือจากการเก็บภาษีนำเข้าที่จัดเก็บตามระบบมาตรฐานสากล (Basic Custom Duty) แล้ว อินเดียยังมีการเรียกเก็บภาษีอื่นๆ โดยคำนวณเพิ่มเติมจาก Basic Custom Duty อาทิ ภาษีเพื่อใช้อุดหนุนการศึกษา (Education Cess) ในอัตรา 2.0% ของ Basic Custom Duty และภาษีที่เรียกเก็บเพื่อตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty: CVD) ซึ่งส่วนใหญ่เก็บจากสินค้าอุตสาหกรรมในอัตรา 8.0-16.0% และยังมีการเก็บภาษีนำเข้าผ่านรัฐซึ่งมี 28 รัฐในอัตรา 1.0-1.5% จากน้ำหนักหรือมูลค่าสินค้าอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 อินเดียมีแผนจะลดอัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บจากสินค้าหลายรายการตามพันธกรณีที่มีต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ไม่ว่าจะเป็นสินค้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โพลีเอสเตอร์ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รวมถึงจะลดอัตราภาษีนำเข้าสูงสุด (Peak Rate) ที่เรียกเก็บจากสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าเกษตรจากอัตรา 20% เหลือ 15%
- การจำกัดการนำเข้า การนำเข้าสินค้าบางประเภทต้องกระทำผ่านตัวแทนของรัฐบาลเท่านั้น อาทิ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปุ๋ย น้ำมันพืช เมล็ดและธัญพืช เป็นต้น
- มาตรการด้านสุขอนามัย กำหนดให้ผักและผลไม้ที่จะนำเข้าต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest Risk Analysis: PRA) ที่ด่านกักกันโรคพืช (Plant Quarantine Station) ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของ Department of Agriculture and Cooperation (DAC), Ministry of Agriculture ของอินเดีย โดยจะสุ่มตรวจหากพบว่ามีเชื้อโรคหรือแมลงปะปนอยู่สินค้านั้นจะถูกทำลายทันที
- มาตรฐานอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมที่รัฐบาลอนุญาตให้นำเข้าจะต้องได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (Indian Standards Institution Mark: ISI Mark) ที่ออกโดย Bureau of Indian Standards (BIS) ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัด Ministry of Consumer Affairs, Food and Public Distribution ของอินเดีย
การรับชำระเงินค่าสินค้า การรับชำระเงินค่าสินค้าด้วยวิธีการเปิด L/C จากธนาคารในอินเดีย ยังคงเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ส่งออก โดยทั่วไปผู้นำเข้าอินเดียนิยมเปิด L/C ที่มีเทอมการชำระเงินราว 3-6 เดือน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้รับการชำระเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอนผู้ส่งออกสามารถขอใช้บริการยืนยันการเปิด L/C (Confirmed L/C) จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2548--
-พห-