นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวผ่านรายการผู้นำฝ่ายค้านคุยกับประชาชนถึงการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.)ว่า ทางพรรคฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการยกอำนาจผูกขาดจากหน่วยงานซึ่งเคยเป็นของรัฐ ไปเป็นของบริษัท ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลจะถือหุ้นข้างมาก แต่ก็มีเอกชนส่วนหนึ่งเข้ามาเป็นเจ้าของ เพราะการแปรรูปเช่นนี้ถือว่าไม่ได้มุ่งไปสู่การแปรรูปที่มีประสิทธิภาพ แต่มุ่งไปสู่การสร้างกำไรให้คนกลุ่มหนึ่ง และมีความเสี่ยงที่จะสร้างความเดือนร้อนให้กับคนทั้งประเทศที่ใช้บริการของสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่าเพราะฉะนั้นในวันพรุ่งนี้ (3พ.ย. 48)พรรคร่วมฝ่ายค้านจะเดินทางไปที่ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการที่รัฐบาลจะนำเอาบริษัทกฟผ.เข้าไปกระจ่ายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะเรื่องนี้ไม่มีขั้นตอนที่ต้องมีการขออนุมัติจากสภาฯ แต่วันนี้รัฐบาลใช้อำนาจแปลงกฟผ.เป็นบริษัทแล้ว ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการกระจายหุ้น ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญคือจะนำเอาหุ้นเข้าไปซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เหตุผลที่ระบุในหนังสือที่จะยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์นั้น จะกล่าวถึงหลักการสำคัญคือไม่ต้องการเห็นการผูกขาดอยู่ในมือของเอกชนกลุ่มหนึ่งพร้อมด้วยข้อห่วงใย 5 ประเด็นคือ
ประการที่ 1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรณ์หรือความเป็นเจ้าขององค์กรครั้งนี้ ยังไม่มีความชัดเจนความแน่นอนของกิจการไฟฟ้าทั้งระบบ เพราะว่ากฟผ.ไม่ได้ทำงานตามลำพัง เพราะยังมีการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนส่วนภูมิภาค และโครงสร้างกิจการไฟฟ้า กิจการพลังงานทั้งหมด ซึ่งยังขาดความชัดเจนในเรื่องความสัมพันธ์ ในเรื่องการสร้างกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งตรงนี้ถือว่ายังขาดความชัดเจน
ประการที่ 2.ทรัพย์สินซึ่งเป็นของบริษัทที่จะนำไปกระจายหุ้น เป็นทรัพย์สินที่ได้จากการเวนคืนมา ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมูลค่าสูง กล่าวคือ ที่ดินที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตของกฟผ.ขณะนี้มาจากการเวนคืน ซึ่งตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ต้องเป็นการเวนคืนเพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ ตรงนี้จึงเกิดคำถามว่าที่ดินเหล่านี้เมื่อเข้าไปอยู่ในบริษัทที่ต่อไปก็จะมีเอกชนเป็นเจ้าของ และเมื่อเป็นบริษัทเอกชนก็ต้องมุ่งหากำไร นั่นก็เท่ากับว่ากำลังจะมีการนำเอาทรัพย์สินที่ได้จากการเวนคืนจากประชาชนไปใช้ในเชิงพานิชย์เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มใช่หรือไม่
ประการที่ 3.กฟผ.มีสิทธิ์ พิเศษตามกฎหมายหลายเรื่องซึ่งเมื่อแปลงสภาพมาเป็นบริษัทและมีเอกชนมาเป็นเจ้าของ นั่นก็หมายความว่ากำลังจะมีการยกสิทธิพิเศษบางอย่างตามกฎหมายซึ่งตราขึ้นมาเพื่อองค์กรของรัฐ เพื่อทำประโยชน์ในด้านสาธารณูปโภค เข้าไปอยู่ในมือเอกชน ก็จะมีความไม่เหมาะสมเกิดขึ้น ประการที่ 4 อำนาจตามกฎหมายหลายอย่างของกฟผ.ซึ่งมีสิทธิพิเศษตามกฎหมายที่ตราขึ้นมาเพื่อองค์กรของรัฐ มีการโอนไปอยู่ในมือของกรรมการบริษัท ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นปัญหา เพราะเท่ากับว่าเราปล่อยให้กรรมการของบริษัท ซึ่งต่อไปก็ถือว่าเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้น เข้ามาใช้กฎหมายซึ่งก่อนเคยเป็นหน่วยงานของรัฐโดยแท้ และ ประการที่5 คือประเทศไทยยังไม่มีองค์กรอิสระที่จะเข้ามากำกับดูแลในกิจการ ซึ่งจะมีผลกระทบตามมากล่าวคือมีหลายครั้งที่ต้องใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการตอบสนองนโยบายรัฐบาล เช่นรัฐบาลอาจจะมีนโยบายว่าต้องการให้หน่วยงานหนึ่งกระจายการบริการ คือสามารถขยายเครือข่ายของไฟฟ้าเข้าไปยังพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน ทั้งที่ไม่คุ้มทุน เพราะเป็นภาระหน้าที่ของรัฐ แต่หากวันนี้มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หน่วยงานนั้นต้องคำนึงถึงกำไรของผู้ลงทุน ถือหุ้น แทน การคำนึงถึงการบริการประชาชน
“ รวมไปถึงกรณีที่ต้องมีสถานการณ์เฉพาะ สถานการณ์พิเศษ เช่นว่าราคาน้ำมันแพงพลัง ต้นทุนพลังงานแพง รัฐต้องการจะบรรเทาความเดือดร้อนของฝ่ายต่างๆ หรือการรณรงค์ให้มีการประหยัดในการใช้ไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้จะตอบสนองนโยบายรัฐได้อย่างไร หากหน่วยงานนี้โดยความรับผิดชอบหลักคือรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องมุ่งหากำไรเป็นหลัก” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้นำฝ่านค้าน กล่าวต่อว่า ดังนั้นจึงต้องมีการเรียกร้องให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องพิจารณาว่าหากอนุญาตให้มีการซื้อขายหุ้นในบริษัทนี้ ทั้งที่ไม่มีความชัดเจน ตนเชื่อว่าจะเกิดความไม่โปร่งใส และไม่เป็นธรรมทั้งกับประชาชนทั่วไป และผู้ถือหุ้นด้วย เพราะกติกายังไม่ชัดเจน เพราะโดยหลักของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น แต่ขณะนี้รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการในการจัดวางกติกาโครงสร้างต่างๆ ให้เรียบร้อย ก็จะมีแรงกดดันที่สวนทางกันเกิดขึ้น โดยการเผชิญหน้ากันระหว่างความจำเป็นที่จะต้องตอบสนองผู้ถือหุ้นกับการที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติ เพราะฉะนั้นการยื่นหนังสือของพรรคฝ่ายค้านจึงเป็นไปเพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์ระงับเรื่องนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำตอบและการดำเนินการในข้อสงสัยต่างๆที่กล่าวข้างต้นทั้งหมด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 พ.ย.2548--จบ--
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่าเพราะฉะนั้นในวันพรุ่งนี้ (3พ.ย. 48)พรรคร่วมฝ่ายค้านจะเดินทางไปที่ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการที่รัฐบาลจะนำเอาบริษัทกฟผ.เข้าไปกระจ่ายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะเรื่องนี้ไม่มีขั้นตอนที่ต้องมีการขออนุมัติจากสภาฯ แต่วันนี้รัฐบาลใช้อำนาจแปลงกฟผ.เป็นบริษัทแล้ว ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการกระจายหุ้น ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญคือจะนำเอาหุ้นเข้าไปซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เหตุผลที่ระบุในหนังสือที่จะยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์นั้น จะกล่าวถึงหลักการสำคัญคือไม่ต้องการเห็นการผูกขาดอยู่ในมือของเอกชนกลุ่มหนึ่งพร้อมด้วยข้อห่วงใย 5 ประเด็นคือ
ประการที่ 1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรณ์หรือความเป็นเจ้าขององค์กรครั้งนี้ ยังไม่มีความชัดเจนความแน่นอนของกิจการไฟฟ้าทั้งระบบ เพราะว่ากฟผ.ไม่ได้ทำงานตามลำพัง เพราะยังมีการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนส่วนภูมิภาค และโครงสร้างกิจการไฟฟ้า กิจการพลังงานทั้งหมด ซึ่งยังขาดความชัดเจนในเรื่องความสัมพันธ์ ในเรื่องการสร้างกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งตรงนี้ถือว่ายังขาดความชัดเจน
ประการที่ 2.ทรัพย์สินซึ่งเป็นของบริษัทที่จะนำไปกระจายหุ้น เป็นทรัพย์สินที่ได้จากการเวนคืนมา ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมูลค่าสูง กล่าวคือ ที่ดินที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตของกฟผ.ขณะนี้มาจากการเวนคืน ซึ่งตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ต้องเป็นการเวนคืนเพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ ตรงนี้จึงเกิดคำถามว่าที่ดินเหล่านี้เมื่อเข้าไปอยู่ในบริษัทที่ต่อไปก็จะมีเอกชนเป็นเจ้าของ และเมื่อเป็นบริษัทเอกชนก็ต้องมุ่งหากำไร นั่นก็เท่ากับว่ากำลังจะมีการนำเอาทรัพย์สินที่ได้จากการเวนคืนจากประชาชนไปใช้ในเชิงพานิชย์เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มใช่หรือไม่
ประการที่ 3.กฟผ.มีสิทธิ์ พิเศษตามกฎหมายหลายเรื่องซึ่งเมื่อแปลงสภาพมาเป็นบริษัทและมีเอกชนมาเป็นเจ้าของ นั่นก็หมายความว่ากำลังจะมีการยกสิทธิพิเศษบางอย่างตามกฎหมายซึ่งตราขึ้นมาเพื่อองค์กรของรัฐ เพื่อทำประโยชน์ในด้านสาธารณูปโภค เข้าไปอยู่ในมือเอกชน ก็จะมีความไม่เหมาะสมเกิดขึ้น ประการที่ 4 อำนาจตามกฎหมายหลายอย่างของกฟผ.ซึ่งมีสิทธิพิเศษตามกฎหมายที่ตราขึ้นมาเพื่อองค์กรของรัฐ มีการโอนไปอยู่ในมือของกรรมการบริษัท ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นปัญหา เพราะเท่ากับว่าเราปล่อยให้กรรมการของบริษัท ซึ่งต่อไปก็ถือว่าเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้น เข้ามาใช้กฎหมายซึ่งก่อนเคยเป็นหน่วยงานของรัฐโดยแท้ และ ประการที่5 คือประเทศไทยยังไม่มีองค์กรอิสระที่จะเข้ามากำกับดูแลในกิจการ ซึ่งจะมีผลกระทบตามมากล่าวคือมีหลายครั้งที่ต้องใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการตอบสนองนโยบายรัฐบาล เช่นรัฐบาลอาจจะมีนโยบายว่าต้องการให้หน่วยงานหนึ่งกระจายการบริการ คือสามารถขยายเครือข่ายของไฟฟ้าเข้าไปยังพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน ทั้งที่ไม่คุ้มทุน เพราะเป็นภาระหน้าที่ของรัฐ แต่หากวันนี้มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หน่วยงานนั้นต้องคำนึงถึงกำไรของผู้ลงทุน ถือหุ้น แทน การคำนึงถึงการบริการประชาชน
“ รวมไปถึงกรณีที่ต้องมีสถานการณ์เฉพาะ สถานการณ์พิเศษ เช่นว่าราคาน้ำมันแพงพลัง ต้นทุนพลังงานแพง รัฐต้องการจะบรรเทาความเดือดร้อนของฝ่ายต่างๆ หรือการรณรงค์ให้มีการประหยัดในการใช้ไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้จะตอบสนองนโยบายรัฐได้อย่างไร หากหน่วยงานนี้โดยความรับผิดชอบหลักคือรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องมุ่งหากำไรเป็นหลัก” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้นำฝ่านค้าน กล่าวต่อว่า ดังนั้นจึงต้องมีการเรียกร้องให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องพิจารณาว่าหากอนุญาตให้มีการซื้อขายหุ้นในบริษัทนี้ ทั้งที่ไม่มีความชัดเจน ตนเชื่อว่าจะเกิดความไม่โปร่งใส และไม่เป็นธรรมทั้งกับประชาชนทั่วไป และผู้ถือหุ้นด้วย เพราะกติกายังไม่ชัดเจน เพราะโดยหลักของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น แต่ขณะนี้รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการในการจัดวางกติกาโครงสร้างต่างๆ ให้เรียบร้อย ก็จะมีแรงกดดันที่สวนทางกันเกิดขึ้น โดยการเผชิญหน้ากันระหว่างความจำเป็นที่จะต้องตอบสนองผู้ถือหุ้นกับการที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติ เพราะฉะนั้นการยื่นหนังสือของพรรคฝ่ายค้านจึงเป็นไปเพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์ระงับเรื่องนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำตอบและการดำเนินการในข้อสงสัยต่างๆที่กล่าวข้างต้นทั้งหมด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 พ.ย.2548--จบ--