ออสเตรเลียมีเศรษฐกิจเติบโตอย่างสม่ำเสมอตลอดทศวรรษ 1990 โดยเฉลี่ยประมาณปีละ 3.5% ต่อปี อันเป็นผลจากการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดตลาดสำหรับการแข่งขันมากขึ้น แม้นเศรษฐกิจประเทศต่างๆได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจของเอเชีย เมื่อปี 1998 แต่เศรษฐกิจออสเตรเลียยังคงขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
นโยบายการนำเข้าทั่วไป
- ออสเตรเลียมีนโยบายเปิดตลาดการค้า โดยค่อยๆลดอัตราภาษีการนำเข้าสินค้าทั่วไปลง จนอยู่ในระดับ 0-5% ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 1996 ยกเว้นสินค้าประเภทรถยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอ เสื่อผ้าสำเร็จรูปและรองเท้า อย่างไรก็ดี อัตราภาษีสินค้าดังกล่าวจะลดลงในปี 2005 และพร้อมที่จะเปิดตลาดเสรีในปี 2010
- ออสเตรเลียมีนโยบายให้ความช่วยเหลือภาคเกษตรกรรมในประเทศลดลง แต่ยังคงควบคุมการนำเข้าสินค้าเกษตร
- การให้สิทธิพิเศษสำหรับสินค้าหัตถกรรม ออสเตรเลียให้ให้สิทธิพิเศษโดยการลดหรือยกเว้นภาษีนำเข้าแก่สินค้าหัตถกรรมโดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นสินค้าที่ผลิตและส่งออกโดยประเทศกำลังพัฒนาหรือไม่ กล่าวคือ สินค้าหัตถกรรมทั่วไป (ไม่รวมสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้าและรองเท้า) ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าหากมีคุณสมบัติดังนี้
เป็นสินค้าที่ทำขึ้นด้วยมือหรือด้วยเครื่องมือที่ถืออยู่ในมือหรือเครื่องจักรที่ทำให้หมุนหรือเดินด้วยมือหรือเท้า เป็นสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น ไม้ กระดาษ หิน โลหะ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบสินค้าที่ด่านศุลกากร ผู้ส่งออกควรจดทะเบียนเป็น ผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมกับทางการศุลกากรออสเตรเลีย
ไทยได้อะไรจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย — ออสเตรเลีย
ก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั่งสองประเทศ โดยจะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ของไทยได้ถึง 25.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการบริโภคที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ออสเตรเลียจะมี GDP เพิ่มขึ้นถึง 6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการบริโภคที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ช่วยลดและผ่อนคลายความเข้มงวดของมาตราการ กฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าและบริการ และการลงทุนระหว่างไทยและออสเตรเลีย ทั้งนี้ไทยมีกำแพงภาษีสูงในสินค้าประเภทยานพาหนะ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมบางชนิด ขณะที่ออสเตรเลีย มีกำแพงภาษีสูงในสินค้าประเภทยานพาหนะส่วนบุคคล สิ่งทอ เสื่อผ้าและรองเท้า และมีมาตราการที่มิใช้ภาษีที่เข้มงวด เช่นมาตราการสุขอนามัยพืชและสัตว์
คาดว่าไทยจะสามารถส่งออกสินค้าประเภทยานพาหนะขนาดเล็กผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์กระดาษและเยื่อกระดาษ และสินค้าเกษตรไปยังออสเตรเลียเพิ่มมากขึ้น ส่วนออสเตรเลียคาดว่าจะส่งออกสินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์นม เวชภัณฑ์ ฝ้าย อะลูมิเนียม ยานพาหนะขนาดใหญ่และชิ้นส่วน มายังไทยมากขึ้น
ในภาคสินค้าและบริการได้แก่สินค้าเกษตร สินค้าประเภทรถยนต์และชินส่วนยานยนต์ สิ่งทอและเสื้อผ้า ภาคบริการการศึกษา บริการที่เกี่ยวกับสุขภาพและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องบริการท่องเที่ยว ชี้ให้เห็นว่า หากมีการเปิดเสรีระหว่างกันมากขึ้น ทั้งไทยและออสเตรเลียจะได้รับประโยชน์ และการเปิดเสรีจะส่งผลบวกต่อภาคการลงทุน ซึ่งรวมถึงการดึงดูดการลงทุนจากประเทศที่สามด้วย
มูลค่าการค้าระหว่างไทยและออสเตรเลียยังอยู่ในระดับต่ำ(ประมาณร้อยละ 2 ของการค้ารวมของโลก) โครงสร้างทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศมีลักษณะเกื้อกูลกัน เพราะแต่ละประเทศมีความชำนาญที่แตกต่างกัน ค่าใช้จ่ายในการปรับตัวที่เกิดจากการทำความตกลงฯจึงไม่สูงนัก ขณะที่ไทยจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายมากกว่าออสเตรเลีย
นอกจากการลดมาตราการทางภาษีและมิใช้ภาษีที่เป็นอุปสรรคทางการค้าการลงทุนระหว่างกันแล้ว ความตกลงฯยังเป็นกรอบที่จะส่งเสริมให้มีความร่วมมือด้านอื่นๆด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งไทยและออสเตรเลียและมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ขององค์การค้าโลก (WTO) โดยกรอบความร่วมมือทั้งสองฝ่ายอาจร่วมมือกันมากขึ้น คือ เรื่องมาตราฐานและความสอดคล้องพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายการแข่งขัน การตอบโต้การทุ่มตลาด มาตราการสุขอนามัย การจัดซื้อภาครัฐ ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือทางการเงิน การขนส่ง การร่วมลงทุน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงในการทำธุรกิจส่งออกในตลาดออสเตรเลีย
ปัญหา
ประชากรน้อย ออสเตรเลียมีประชากรเพียง 19.6 ล้านคน เมื่อเทียบกับขนาดของประเทศแล้วนับว่าน้อยมาก การตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่บริเวณรอบนอกริมฝั่งทะเล ประกอบกับค่าขนส่งระหว่างเมืองต่อเมืองสูง ทำให้ตลาดที่แคบอยู่แล้ว ถูกแบ่งแยกลงไปอีก เป็นผลให้การสั่งซ้อสินค้าแต่ละครั้งมีปริมาณไม่มาก
โครงสร้างตลาดออสเตรเลีย สินค้าอุปโภคบริโภคมักจะประกอบด้วยผู้นำเข้ารายเล็กๆเป็นจำนวนมาก โดยผู้นำเข้าต้องแข่งขันกันเองเพื่อความอยู่รอด ทำให้ต้องมีการต่อรองราคาสินค้าให้ได้ต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้
ข้อเสนอแนะในการเข้าสู่ตลาด
มีข้อเสนอดีกว่าคู่แข่งขัน ไม่ว่าด้านราคา คุณภาพ รูปแบบ ระบบการติดต่อที่มีประสิทธิภาพ การส่งสินค้าตรงตามเวลา เพื่อจูงใจให้ผู้นำเข้าสนใจซื้อสินค้าของเรา ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นตลาดออสเตรเลียล่วงหน้า จัดเตรียมข้อมูลรายละเอียดของสินค้าและราคา พร้อมแคตตาล็อกสินค้า ปฏิบัติตามกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย เช่นข้อกำหนดหีบห่อ/การปิดฉลากบนสินค้าและมาตราฐาน เป็นต้น
รสนิยมความต้องการของตลาด พฤติกรรมของผู้บริโภค
ประชากรของออสเตรเลียมาจากหลายชาติ เป็นแบบ Multicultural ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดใหม่ๆ สำหรับความต้องการสินค้าหลากหลาย
ตลาดสินค้าในออสเตรเลียโดยทั่วไป จะเป็นแบบอนุรักษ์นิยม ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม มีรูปแบบสินค้ารวมทั้งการบรรจุหีบห่อที่ดี และสวยงามสะดุดตาอีกด้วย
ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่จะมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ชอบการท่องเที่ยว และการกีฬาอย่างมาก
กลยุทธ์ทางการค้า
ในการเดินทางไปเสนอขายสินค้าด้วยตนเอง หรือร่วมไปกับคณะผู้แทนการค้า ต้องมีรายละเอียดสินค้า/ราคา รวมทั้งตัวอย่างสินค้า และแจ้งให้สำนักงานฯซิดนีย์จัดทำการนัดหมายกับผู้นำเข้าล่วงหน้าอย่างน้อย 2 — 3 สัปดาห์
การนัดพบกับคณะผู้แทนการค้าจากออสเตรเลีย ที่เดินทางมาซื้อสินค้าหรือมาเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าในไทย ผู้ส่งออกไทยควรพยายามหาทางพาลูกค้าไปเยี่ยมชมโรงงาน เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้านั้น ควรเข้าร่วมงานแสดงสินค้าหรือการเดินทางไปชมงานแสดงสินค้านั้น เพื่อให้ทราบภาวะความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง
การประชาสัมพันธ์ที่ประหยัดและได้ผลทางธุรกิจที่ดีวิธีหนึ่ง คือ การประชาสัมพันธ์ในนิตยสารของสินค้าเฉพาะอย่างที่กลุ่มนักธุรกิจนิยมอ่าน รองลงมา ได้แก่การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ การจัดทำแคตตาล็อกหรือใบโฆษณาแจกตามบ้านซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ส่วนการโฆษณาทางโทรทัศน์มีค่าใช้จ่ายสูง แต่จะเป็นผลดีในการแนะนำสินค้าใหม่ๆและการส่งเสริมตรา/ยี่ห้อของสินค้านั้นๆ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2548--
-พห-
นโยบายการนำเข้าทั่วไป
- ออสเตรเลียมีนโยบายเปิดตลาดการค้า โดยค่อยๆลดอัตราภาษีการนำเข้าสินค้าทั่วไปลง จนอยู่ในระดับ 0-5% ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 1996 ยกเว้นสินค้าประเภทรถยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอ เสื่อผ้าสำเร็จรูปและรองเท้า อย่างไรก็ดี อัตราภาษีสินค้าดังกล่าวจะลดลงในปี 2005 และพร้อมที่จะเปิดตลาดเสรีในปี 2010
- ออสเตรเลียมีนโยบายให้ความช่วยเหลือภาคเกษตรกรรมในประเทศลดลง แต่ยังคงควบคุมการนำเข้าสินค้าเกษตร
- การให้สิทธิพิเศษสำหรับสินค้าหัตถกรรม ออสเตรเลียให้ให้สิทธิพิเศษโดยการลดหรือยกเว้นภาษีนำเข้าแก่สินค้าหัตถกรรมโดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นสินค้าที่ผลิตและส่งออกโดยประเทศกำลังพัฒนาหรือไม่ กล่าวคือ สินค้าหัตถกรรมทั่วไป (ไม่รวมสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้าและรองเท้า) ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าหากมีคุณสมบัติดังนี้
เป็นสินค้าที่ทำขึ้นด้วยมือหรือด้วยเครื่องมือที่ถืออยู่ในมือหรือเครื่องจักรที่ทำให้หมุนหรือเดินด้วยมือหรือเท้า เป็นสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น ไม้ กระดาษ หิน โลหะ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบสินค้าที่ด่านศุลกากร ผู้ส่งออกควรจดทะเบียนเป็น ผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมกับทางการศุลกากรออสเตรเลีย
ไทยได้อะไรจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย — ออสเตรเลีย
ก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั่งสองประเทศ โดยจะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ของไทยได้ถึง 25.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการบริโภคที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ออสเตรเลียจะมี GDP เพิ่มขึ้นถึง 6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการบริโภคที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ช่วยลดและผ่อนคลายความเข้มงวดของมาตราการ กฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าและบริการ และการลงทุนระหว่างไทยและออสเตรเลีย ทั้งนี้ไทยมีกำแพงภาษีสูงในสินค้าประเภทยานพาหนะ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมบางชนิด ขณะที่ออสเตรเลีย มีกำแพงภาษีสูงในสินค้าประเภทยานพาหนะส่วนบุคคล สิ่งทอ เสื่อผ้าและรองเท้า และมีมาตราการที่มิใช้ภาษีที่เข้มงวด เช่นมาตราการสุขอนามัยพืชและสัตว์
คาดว่าไทยจะสามารถส่งออกสินค้าประเภทยานพาหนะขนาดเล็กผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์กระดาษและเยื่อกระดาษ และสินค้าเกษตรไปยังออสเตรเลียเพิ่มมากขึ้น ส่วนออสเตรเลียคาดว่าจะส่งออกสินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์นม เวชภัณฑ์ ฝ้าย อะลูมิเนียม ยานพาหนะขนาดใหญ่และชิ้นส่วน มายังไทยมากขึ้น
ในภาคสินค้าและบริการได้แก่สินค้าเกษตร สินค้าประเภทรถยนต์และชินส่วนยานยนต์ สิ่งทอและเสื้อผ้า ภาคบริการการศึกษา บริการที่เกี่ยวกับสุขภาพและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องบริการท่องเที่ยว ชี้ให้เห็นว่า หากมีการเปิดเสรีระหว่างกันมากขึ้น ทั้งไทยและออสเตรเลียจะได้รับประโยชน์ และการเปิดเสรีจะส่งผลบวกต่อภาคการลงทุน ซึ่งรวมถึงการดึงดูดการลงทุนจากประเทศที่สามด้วย
มูลค่าการค้าระหว่างไทยและออสเตรเลียยังอยู่ในระดับต่ำ(ประมาณร้อยละ 2 ของการค้ารวมของโลก) โครงสร้างทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศมีลักษณะเกื้อกูลกัน เพราะแต่ละประเทศมีความชำนาญที่แตกต่างกัน ค่าใช้จ่ายในการปรับตัวที่เกิดจากการทำความตกลงฯจึงไม่สูงนัก ขณะที่ไทยจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายมากกว่าออสเตรเลีย
นอกจากการลดมาตราการทางภาษีและมิใช้ภาษีที่เป็นอุปสรรคทางการค้าการลงทุนระหว่างกันแล้ว ความตกลงฯยังเป็นกรอบที่จะส่งเสริมให้มีความร่วมมือด้านอื่นๆด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งไทยและออสเตรเลียและมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ขององค์การค้าโลก (WTO) โดยกรอบความร่วมมือทั้งสองฝ่ายอาจร่วมมือกันมากขึ้น คือ เรื่องมาตราฐานและความสอดคล้องพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายการแข่งขัน การตอบโต้การทุ่มตลาด มาตราการสุขอนามัย การจัดซื้อภาครัฐ ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือทางการเงิน การขนส่ง การร่วมลงทุน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงในการทำธุรกิจส่งออกในตลาดออสเตรเลีย
ปัญหา
ประชากรน้อย ออสเตรเลียมีประชากรเพียง 19.6 ล้านคน เมื่อเทียบกับขนาดของประเทศแล้วนับว่าน้อยมาก การตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่บริเวณรอบนอกริมฝั่งทะเล ประกอบกับค่าขนส่งระหว่างเมืองต่อเมืองสูง ทำให้ตลาดที่แคบอยู่แล้ว ถูกแบ่งแยกลงไปอีก เป็นผลให้การสั่งซ้อสินค้าแต่ละครั้งมีปริมาณไม่มาก
โครงสร้างตลาดออสเตรเลีย สินค้าอุปโภคบริโภคมักจะประกอบด้วยผู้นำเข้ารายเล็กๆเป็นจำนวนมาก โดยผู้นำเข้าต้องแข่งขันกันเองเพื่อความอยู่รอด ทำให้ต้องมีการต่อรองราคาสินค้าให้ได้ต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้
ข้อเสนอแนะในการเข้าสู่ตลาด
มีข้อเสนอดีกว่าคู่แข่งขัน ไม่ว่าด้านราคา คุณภาพ รูปแบบ ระบบการติดต่อที่มีประสิทธิภาพ การส่งสินค้าตรงตามเวลา เพื่อจูงใจให้ผู้นำเข้าสนใจซื้อสินค้าของเรา ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นตลาดออสเตรเลียล่วงหน้า จัดเตรียมข้อมูลรายละเอียดของสินค้าและราคา พร้อมแคตตาล็อกสินค้า ปฏิบัติตามกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย เช่นข้อกำหนดหีบห่อ/การปิดฉลากบนสินค้าและมาตราฐาน เป็นต้น
รสนิยมความต้องการของตลาด พฤติกรรมของผู้บริโภค
ประชากรของออสเตรเลียมาจากหลายชาติ เป็นแบบ Multicultural ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดใหม่ๆ สำหรับความต้องการสินค้าหลากหลาย
ตลาดสินค้าในออสเตรเลียโดยทั่วไป จะเป็นแบบอนุรักษ์นิยม ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม มีรูปแบบสินค้ารวมทั้งการบรรจุหีบห่อที่ดี และสวยงามสะดุดตาอีกด้วย
ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่จะมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ชอบการท่องเที่ยว และการกีฬาอย่างมาก
กลยุทธ์ทางการค้า
ในการเดินทางไปเสนอขายสินค้าด้วยตนเอง หรือร่วมไปกับคณะผู้แทนการค้า ต้องมีรายละเอียดสินค้า/ราคา รวมทั้งตัวอย่างสินค้า และแจ้งให้สำนักงานฯซิดนีย์จัดทำการนัดหมายกับผู้นำเข้าล่วงหน้าอย่างน้อย 2 — 3 สัปดาห์
การนัดพบกับคณะผู้แทนการค้าจากออสเตรเลีย ที่เดินทางมาซื้อสินค้าหรือมาเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าในไทย ผู้ส่งออกไทยควรพยายามหาทางพาลูกค้าไปเยี่ยมชมโรงงาน เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้านั้น ควรเข้าร่วมงานแสดงสินค้าหรือการเดินทางไปชมงานแสดงสินค้านั้น เพื่อให้ทราบภาวะความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง
การประชาสัมพันธ์ที่ประหยัดและได้ผลทางธุรกิจที่ดีวิธีหนึ่ง คือ การประชาสัมพันธ์ในนิตยสารของสินค้าเฉพาะอย่างที่กลุ่มนักธุรกิจนิยมอ่าน รองลงมา ได้แก่การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ การจัดทำแคตตาล็อกหรือใบโฆษณาแจกตามบ้านซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ส่วนการโฆษณาทางโทรทัศน์มีค่าใช้จ่ายสูง แต่จะเป็นผลดีในการแนะนำสินค้าใหม่ๆและการส่งเสริมตรา/ยี่ห้อของสินค้านั้นๆ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2548--
-พห-