นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปรายฯ ว่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่มีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปี รัฐบาลชุดนี้ในครั้งที่แล้วก็เสนอมา 135,500 ล้านบาท ครั้งนี้ 50,000 ล้านบาท ถือว่าลดลงมาก แต่ตนไม่สามารถลงความเห็นชอบได้ เพราะตนเห็นว่างบประมาณการที่ว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ และหากเป็นไปได้สิ่งที่จะตามมา คือความเดือดร้อนของประชาชน
ประมาณการของรัฐบาลที่บอกว่าผลการจัดเก็บรายได้สุทธิ ใน 5 เดือนแรกของงบประมาณปี 48 จำนวน 456,847 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 33,000 กว่าล้านบาท ซึ่ง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ นับตั้งแต่ ตุลาคม 47 — กุมภาพันธ์ 48 ในขณะนั้นไม่มีปัญหาเรื่องน้ำมันแพงขนาดนี้ ไม่มีปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยกำลังเพิ่มสูงขึ้น และไม่มีปัญหาเรื่องการทำมาหากินของประชาชนที่ฝืดขึ้นทุกวัน เพราะฉะนั้นจากวันนี้ไปเรากำลังประมาณการว่าจะเก็บได้อีก 20,000 เพื่อจะนำมาใช้ตรงนี้
และจะเห็นว่ารายได้ที่คาดการว่าจะเก็บสูงขึ้น รัฐบาลเก็บได้เพิ่มขึ้น 50,000 ล้านบาท แยกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ ดังนี้ กรมสรรพากร 70,000 ล้านบาท กรมศุลกากร 3,100 ใน 70,000 ล้าน ท่านประธานดูเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 28,900 ล้าน รองลงมาภาษีนิติบุคคล 13,500 ล้านบาท ภาษีจากบุคคลธรรมดา 13,080 ล้านบาท ท่านประธานดูตัวเลขตรงนี้มีผิดปกติ ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 60 กว่าล้านคน เสียภาษีประมาณ 3-4 ล้านคน แต่ว่า 3-4 ล้านคน รายได้รวมกันเท่าไร ในขณะที่นิติบุคคลไทย ยอดสินทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์เวลานี้ เป็นแสนแสนล้าน แต่ภาษีเงินได้ที่ได้จากนิติบุคคล 13,500 ล้าน ได้จากคนธรรมดา 13,080 ล้าน ทำไมใกล้เคียงกัน ความจริงตัวเลขตรงนี้น่าจะได้จากนิติบุคคลมากกว่านี้เยอะ แสดงว่าขณะนี้เป้ามุ่งมาที่ประชาชน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำลังจะรีดภาษีประชาชนเพิ่มขึ้น เก็บภาษีให้ได้ตามเป้า คนที่เดือดร้อนไม่ใช่นิติบุคคลแต่เป็นประชาชน และจากตัวเลขตรงนี้จะเห็นว่านิติบุคคลเสียภาษีน้อยมากเมื่อเทียบกับบุคคลธรรมดา
และถ้าดูประมาณการต่อไปจะเห็นว่า ภาษีที่ได้จาก VAT 28,900 สูงที่สุด แต่ว่า VAT มาจากการจับจ่ายซื้อของ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น รายได้ฝืดเคือง แปรว่าถ้าจับจ่ายซื้อของขนาดนี้ หนี้สินประชาชนต่อครัวเรือนต้องเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้มาบริหาร เพิ่มขึ้นจาก 60,000 เป็นแสนกว่าบาท ฉะนั้นสิ่งต่างๆ ตรงนี้เป็นที่น่าเป็นห่วง ถ้าหากเราใช้ประมาณการอย่างนี้ก็ขอเรียนว่า เหมือนครอบครัวขณะที่หนี้เก่าก็ยังไม่หมด ประมาณการได้มาไม่เป็นไรแต่น่าจะเก็บไว้ใช้หนี้ให้หมด แต่ถ้าได้มาปัญหาว่าจะใช้อะไรดี
สิ่งที่จะใช้อะไรดี ขณะนี้ที่เขียนไว้ใน พรบ.งบประมาณแบ่งเป็น 5 รายการ ทุนสำรองจ่ายเพื่อจำเป็นกรณีฉุกเฉิน 17,000 ล้าน ระยะเวลาของงบประมาณ 48 เหลืออีก 5-6 เดือน มีอะไรฉุกเฉินต้องสำรองถึง 17,000 ในขณะที่เวลาเดียวกันนี้ท่านกำลังทำงบประมาณปี 49 จากเดือนนี้ไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 48 คือกันยายน อีกไม่กี่เดือนทำไมถึงต้องสำรองตรงนี้
นายพีระพันธ์ กล่าวอีกว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ว่าบูรณาการ 15,000 ล้าน ในงบ 48 ของปกติธรรมดามีอยู่แล้ว ตรงนั้นยังเบิกไม่หมด เหตุผลอะไรต้องใส่เพิ่ม ส่วนของประชาชน 2 อันรวมกัน 13,400 แบ่งเป็นเอสเอ็มแอล ศักยภาพหมู่บ้านชุมชน 9,400 แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนอีก 4 พันล้าน ถ้าลองดูในรายละเอียดไม่ได้มีรายละเอียดอะไรมาก แต่ปัญหาของประชาชนในวันนี้รายได้ชักหน้าไม่ถึงหลัง อันนี้ส่วนหนึ่ง แต่ภาระที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นขณะนี้ นั่นคือปัญหา ค่าเล่าเรียนของลูก ภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว หนี้สินที่เพิ่มขึ้น จากการบริโภคที่รัฐบาลส่งเสริมมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา วันนี้รายละเอียดตรงนี้ท่านจะไปช่วยได้แค่ไหน ตนคิดว่าพอที่จะสนับสนุนแต่เนื้อหาไม่ได้ไปตามนั้น
อีกประการหนึ่งในส่วนของค่าใช้จ่าย ที่จะกำหนดตรงนี้ผมเป็นห่วง ท่านประธานดูว่าหากได้พิจารณางบประมาณปี 2548 ไปแล้ว ในปี 2548 กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ได้เสนองบประมาณรายละเอียดต่อรัฐบาล รัฐบาลตัดโครงการสำคัญต่างๆ ไปหลายโครงการ โดยให้เหตุผลว่าเงินไม่พอ นั่นคือตอนทำงบปกติปี 48 แต่ว่าวันนี้รัฐบาลประมาณการเพิ่มอีก 50,000 รัฐบาลจะเอาโครงการดีๆ ที่เสนอมาแล้วไม่ผ่านเพราะงบไม่พอมาทำ กลายเป็นไปตั้งเป็นกรณีฉุกเฉิน 17,000 ไปตั้งไว้เฉยๆ แปลว่าเราตั้งไปรีดไปบีบภาษีจากประชาชนมาตั้งไว้เฉยๆ ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร
‘และสิ่งที่อยากกราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังคณะรัฐมนตรี งบกลางปี 2547 ที่ไป 137,500 ล้าน เป็นที่ถกเถียงกันมาก ประเด็นหนึ่งคือการที่รัฐบาลนำเงินส่วนนั้นไปจัดซื้อเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน ไทยคู่ฟ้า เอซีเจ 310 มันไม่โครงการมาก่อน ไม่มีเหตุผลไม่มีความจำเป็นที่จะเอาเงินตรงนี้ไป แต่สิ่งที่ผมได้สอบถามตั้งแต่งบประมาณปกติ 48 แล้วก็สอบถามท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะหมดวาระสภาสมัยที่แล้ว เครื่องบินราชพาหนะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กองทัพอากาศขอมา ทำไมไม่ตั้งงบให้ ท่านรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ขออนุญาตไม่เอ่ยนาม ก็ตอบว่างบไม่มี งบ 48 หมด จะตั้งในปี 49 ซึ่งกองทัพอากาศก็มีรายงานของเขาว่าจะขอใหม่ปี 49 แต่ขอโทษครับงบประมาณบานปลายเพิ่มขึ้นประมาณ 200 ล้านบาท นั่นคือก็อาจจะตั้งในปี 49 ก็ในวันนี้ท่านมีงบประมาณเพิ่มอีก 50,000 ล้านบาท ทำไมไม่ตั้งสิ่งที่จำเป็นเข้าไป’ นายพีระพันธ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-
ประมาณการของรัฐบาลที่บอกว่าผลการจัดเก็บรายได้สุทธิ ใน 5 เดือนแรกของงบประมาณปี 48 จำนวน 456,847 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 33,000 กว่าล้านบาท ซึ่ง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ นับตั้งแต่ ตุลาคม 47 — กุมภาพันธ์ 48 ในขณะนั้นไม่มีปัญหาเรื่องน้ำมันแพงขนาดนี้ ไม่มีปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยกำลังเพิ่มสูงขึ้น และไม่มีปัญหาเรื่องการทำมาหากินของประชาชนที่ฝืดขึ้นทุกวัน เพราะฉะนั้นจากวันนี้ไปเรากำลังประมาณการว่าจะเก็บได้อีก 20,000 เพื่อจะนำมาใช้ตรงนี้
และจะเห็นว่ารายได้ที่คาดการว่าจะเก็บสูงขึ้น รัฐบาลเก็บได้เพิ่มขึ้น 50,000 ล้านบาท แยกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ ดังนี้ กรมสรรพากร 70,000 ล้านบาท กรมศุลกากร 3,100 ใน 70,000 ล้าน ท่านประธานดูเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 28,900 ล้าน รองลงมาภาษีนิติบุคคล 13,500 ล้านบาท ภาษีจากบุคคลธรรมดา 13,080 ล้านบาท ท่านประธานดูตัวเลขตรงนี้มีผิดปกติ ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 60 กว่าล้านคน เสียภาษีประมาณ 3-4 ล้านคน แต่ว่า 3-4 ล้านคน รายได้รวมกันเท่าไร ในขณะที่นิติบุคคลไทย ยอดสินทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์เวลานี้ เป็นแสนแสนล้าน แต่ภาษีเงินได้ที่ได้จากนิติบุคคล 13,500 ล้าน ได้จากคนธรรมดา 13,080 ล้าน ทำไมใกล้เคียงกัน ความจริงตัวเลขตรงนี้น่าจะได้จากนิติบุคคลมากกว่านี้เยอะ แสดงว่าขณะนี้เป้ามุ่งมาที่ประชาชน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำลังจะรีดภาษีประชาชนเพิ่มขึ้น เก็บภาษีให้ได้ตามเป้า คนที่เดือดร้อนไม่ใช่นิติบุคคลแต่เป็นประชาชน และจากตัวเลขตรงนี้จะเห็นว่านิติบุคคลเสียภาษีน้อยมากเมื่อเทียบกับบุคคลธรรมดา
และถ้าดูประมาณการต่อไปจะเห็นว่า ภาษีที่ได้จาก VAT 28,900 สูงที่สุด แต่ว่า VAT มาจากการจับจ่ายซื้อของ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น รายได้ฝืดเคือง แปรว่าถ้าจับจ่ายซื้อของขนาดนี้ หนี้สินประชาชนต่อครัวเรือนต้องเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้มาบริหาร เพิ่มขึ้นจาก 60,000 เป็นแสนกว่าบาท ฉะนั้นสิ่งต่างๆ ตรงนี้เป็นที่น่าเป็นห่วง ถ้าหากเราใช้ประมาณการอย่างนี้ก็ขอเรียนว่า เหมือนครอบครัวขณะที่หนี้เก่าก็ยังไม่หมด ประมาณการได้มาไม่เป็นไรแต่น่าจะเก็บไว้ใช้หนี้ให้หมด แต่ถ้าได้มาปัญหาว่าจะใช้อะไรดี
สิ่งที่จะใช้อะไรดี ขณะนี้ที่เขียนไว้ใน พรบ.งบประมาณแบ่งเป็น 5 รายการ ทุนสำรองจ่ายเพื่อจำเป็นกรณีฉุกเฉิน 17,000 ล้าน ระยะเวลาของงบประมาณ 48 เหลืออีก 5-6 เดือน มีอะไรฉุกเฉินต้องสำรองถึง 17,000 ในขณะที่เวลาเดียวกันนี้ท่านกำลังทำงบประมาณปี 49 จากเดือนนี้ไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 48 คือกันยายน อีกไม่กี่เดือนทำไมถึงต้องสำรองตรงนี้
นายพีระพันธ์ กล่าวอีกว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ว่าบูรณาการ 15,000 ล้าน ในงบ 48 ของปกติธรรมดามีอยู่แล้ว ตรงนั้นยังเบิกไม่หมด เหตุผลอะไรต้องใส่เพิ่ม ส่วนของประชาชน 2 อันรวมกัน 13,400 แบ่งเป็นเอสเอ็มแอล ศักยภาพหมู่บ้านชุมชน 9,400 แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนอีก 4 พันล้าน ถ้าลองดูในรายละเอียดไม่ได้มีรายละเอียดอะไรมาก แต่ปัญหาของประชาชนในวันนี้รายได้ชักหน้าไม่ถึงหลัง อันนี้ส่วนหนึ่ง แต่ภาระที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นขณะนี้ นั่นคือปัญหา ค่าเล่าเรียนของลูก ภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว หนี้สินที่เพิ่มขึ้น จากการบริโภคที่รัฐบาลส่งเสริมมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา วันนี้รายละเอียดตรงนี้ท่านจะไปช่วยได้แค่ไหน ตนคิดว่าพอที่จะสนับสนุนแต่เนื้อหาไม่ได้ไปตามนั้น
อีกประการหนึ่งในส่วนของค่าใช้จ่าย ที่จะกำหนดตรงนี้ผมเป็นห่วง ท่านประธานดูว่าหากได้พิจารณางบประมาณปี 2548 ไปแล้ว ในปี 2548 กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ได้เสนองบประมาณรายละเอียดต่อรัฐบาล รัฐบาลตัดโครงการสำคัญต่างๆ ไปหลายโครงการ โดยให้เหตุผลว่าเงินไม่พอ นั่นคือตอนทำงบปกติปี 48 แต่ว่าวันนี้รัฐบาลประมาณการเพิ่มอีก 50,000 รัฐบาลจะเอาโครงการดีๆ ที่เสนอมาแล้วไม่ผ่านเพราะงบไม่พอมาทำ กลายเป็นไปตั้งเป็นกรณีฉุกเฉิน 17,000 ไปตั้งไว้เฉยๆ แปลว่าเราตั้งไปรีดไปบีบภาษีจากประชาชนมาตั้งไว้เฉยๆ ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร
‘และสิ่งที่อยากกราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังคณะรัฐมนตรี งบกลางปี 2547 ที่ไป 137,500 ล้าน เป็นที่ถกเถียงกันมาก ประเด็นหนึ่งคือการที่รัฐบาลนำเงินส่วนนั้นไปจัดซื้อเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน ไทยคู่ฟ้า เอซีเจ 310 มันไม่โครงการมาก่อน ไม่มีเหตุผลไม่มีความจำเป็นที่จะเอาเงินตรงนี้ไป แต่สิ่งที่ผมได้สอบถามตั้งแต่งบประมาณปกติ 48 แล้วก็สอบถามท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะหมดวาระสภาสมัยที่แล้ว เครื่องบินราชพาหนะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กองทัพอากาศขอมา ทำไมไม่ตั้งงบให้ ท่านรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ขออนุญาตไม่เอ่ยนาม ก็ตอบว่างบไม่มี งบ 48 หมด จะตั้งในปี 49 ซึ่งกองทัพอากาศก็มีรายงานของเขาว่าจะขอใหม่ปี 49 แต่ขอโทษครับงบประมาณบานปลายเพิ่มขึ้นประมาณ 200 ล้านบาท นั่นคือก็อาจจะตั้งในปี 49 ก็ในวันนี้ท่านมีงบประมาณเพิ่มอีก 50,000 ล้านบาท ทำไมไม่ตั้งสิ่งที่จำเป็นเข้าไป’ นายพีระพันธ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-