ภาคใต้ เหตุการณ์สึนามิ ปัญหาราคาน้ำมัน ตลอดจนกำลังซื้อในภาคเกษตรที่ลดลง
ในเดือนมิถุนายน ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ มียอดจดทะเบียนรวม 6,529 คัน เพิ่มขึ้น
จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 โดยจังหวัดที่มีอัตรา
การจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนคือจังหวัดสตูล พังงา และชุมพร เพิ่มขึ้นร้อยละ
118.8 88.7 และ 46.5 ตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีปริมาณการจดทะเบียนสูงสุดในเดือนนี้ คือ จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต จำนวน 1,213 818 และ 847 คัน ตามลำดับ
สำหรับประเภทรถจักรยานยนต์มีการจดทะเบียนรวม 29,300 คัน ลดลงร้อยละ 19.6 โดย
จังหวัดที่มีอัตราการจดทะเบียนลดลงมาก คือจังหวัดสงขลา ปัตตานี และสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 41.2
40.1 และ 38.8 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลง จากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมัน ปัญหา 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่ยุติ ผลกระทบเหตุการณ์สึนามิ รวมทั้งปัญหาเรื่องภัยแล้ง โดยเครื่องชี้สำคัญที่ลดลงได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงร้อยละ 1.4 และการจดทะเบียนใหม่รถจักรยานยนต์ ลดลงถึงร้อยละ 26.0 มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดียอดจดทะเบียนใหม่รถยนต์ส่วนบุคคล ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้กลยุทธ์บริหารทีมขายเชิงรุกและส่งเสริมการขายที่จูงใจ เน้นลูกค้าในภาคเกษตรมากขึ้น โดยจังหวัดที่มีการจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน คือจังหวัดสตูล
รองลงมาคือจังหวัดระนอง และชุมพร เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.4 22.2 และ 16.3 ขณะที่จังหวัดที่มีการจด
ทะเบียนใหม่ลดลง คือจังหวัดกระบี่ พัทลุง และนราธิวาส ลดลงร้อยละ 10.9 9.5 และ 3.6
การลงทุนภาคเอกชนและการจ้างงาน
การลงทุนชะลอลงจากปัจจัยลบ ได้แก่ ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ
ราคาน้ำมันสูงขึ้น กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
การอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน จากปัญหาความไม่สงบที่มีต่อเนื่อง ส่งผลให้
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่สนใจลงทุนในภาคใต้ตอนบน โดยเดือนนี้มีโครงการได้รับอนุมัติการส่งเสริม
การลงทุนจำนวน 6 ราย เพิ่มขึ้นจาก 5 รายของเดือนเดียวกันปีก่อน ส่วนเงินลงทุน 770.0 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 39.8 และการจ้างงานคนไทย 603 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 เป็นการลงทุนการผลิต
น้ำมันปาล์มดิบและเมล็ดในปาล์มอบแห้ง การผลิตพลังงานไฟฟ้า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัด
ชุมพร รวม 4 ราย การผลิตยางแผ่นรมควัน ในจังหวัดตรัง 1 ราย และโรงพยาบาลขนาด 64 เตียง
ในจังหวัดภูเก็ต 1 ราย และการลงทุนทั้งหมดเป็นการถือหุ้นของคนไทยทุกโครงการ
ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 17 ราย เพิ่มขึ้นจาก
14 รายในช่วงเดียวกันปีก่อน และเงินลงทุนมีจำนวน 2,457.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.5 อย่างไร
ก็ตามการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยมีการจ้างงานทั้งสิ้น 2,326 คน เพิ่มขึ้นจาก 1,775 คน หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 31.0 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคใต้ตอนบน โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการลงทุน 4 ราย
จังหวัดชุมพร 2 ราย จังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต จังหวัดละ 1 ราย ส่วนภาคใต้
ตอนล่างไตรมาสนี้มีเพียงการลงทุนในจังหวัดสงขลา 4 ราย จังหวัดตรังและจังหวัดปัตตานี จังหวัดละ
1 ราย การลงทุนส่วนใหญ่เป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล จากสถิติการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลของสำนักงาน
พาณิชย์จังหวัดในภาคใต้ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนเพื่อประกอบกิจการรวม 454 ราย เงิน
ทุนจดทะเบียน 976.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 และร้อยละ 21.0 ส่วนใหญ่เป็นการจดทะเบียนในภาคใต้ตอนบน เป็นที่น่าสังเกตว่าเดือนนี้การจดทะเบียนกระเตื้องขึ้น
เกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาสมีการจดทะเบียนด้านรับเหมาก่อสร้างถึง 5 ราย เงินทุน
จดทะเบียน 108.6 ล้านบาท
การจดทะเบียนเพิ่มทุนเดือนนี้ มีจำนวน 96 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
20.0 และมีเงินทุนจดทะเบียน 954.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 31.4 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มทุนใน
ภาคใต้ตอนบน
สำหรับการจดทะเบียนเลิกกิจการ เดือนนี้มีการเลิกกิจการจำนวน 120 ราย เงินทุน 238.8
ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.6 และร้อยละ 23.7 ตามลำดับ จังหวัดสงขลามี
การเลิกกิจการสูงสุด 42 ราย รองลงไปคือ จังหวัดภูเก็ต 26 ราย
ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ มีการจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 1,193 ราย เงินทุนจดทะเบียน 2,588.4
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.1 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ และการจด
ทะเบียนเพิ่มทุนมีจำนวน 243 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 เงินทุนจดทะเบียน 2,744.7 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 17.6 ส่วนการจดทะเบียนเลิกกิจการมีจำนวน 347 ราย ลดลงร้อยละ 2.3 เงินทุนจด
ทะเบียน 667.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1
การก่อสร้าง เดือนนี้มีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างผ่านเทศบาลเมือง เทศบาลนคร
และเทศบาลตำบล 171,613 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 เป็น
การเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 78.0 ของพื้นที่ได้รับอนุญาตทั้งหมด จังหวัดที่
มีการก่อสร้างมากที่สุด คือ จังหวัดสงขลา คิดเป็นร้อยละ 22.3 รองลงไปคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช
และจังหวัดสุราษฎร์ธานี คิดเป็นร้อยละ 14.7 และร้อยละ 13.9 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ มีพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างทั้งสิ้น 413,600 ตารางเมตร ลดลงจากช่วง
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.8 จากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมัน แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และปัญหา
ความไม่สงบ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดยะลาได้ย้ายฐานการผลิตไปที่
ภาคใต้ตอนบน ส่วนจังหวัดสงขลามีการก่อสร้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.3 ของการก่อสร้าง
ทั้งหมด รองลงไปได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช คิดเป็นร้อยละ 13.7 และ
ร้อยละ 13.4 ตามลำดับ
การจ้างงานและการจัดหางานของรัฐ เดือนนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงาน
ผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 6,100 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.8
ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ตอนบน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.4 และจังหวัดที่มีตำแหน่งงาน
ว่างสูง คือ จังหวัดภูเก็ต รองลงไปเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสัดส่วนร้อยละ 20.8 และร้อยละ 19.2
ของตำแหน่งงานว่างในภาคใต้ ตามลำดับ
ผู้สมัครงาน มีจำนวน 10,330 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 95.5 จังหวัด
ที่มีผู้สมัครงานมากที่สุด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช รองลงไป ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดตรัง และจังหวัดสงขลา ตามลำดับ
การบรรจุงาน มีจำนวน 3,739 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 และคิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 36.2 ของผู้สมัครงาน จังหวัดที่มีการบรรจุงานมาก คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน 624 อัตรา รองลงไปคือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการบรรจุงาน 590 อัตรา 526 อัตรา และ 522 อัตรา ตามลำดับ ผู้
สำหรับจำนวนแรงงานในภาคใต้ที่เข้าโครงการประกันสังคมเดือนนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 542,500 คน
เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนพฤษภาคม 2548 ของสำนักงานสถิติ
แห่งชาติ ภาคใต้มีผู้ว่างงาน 0.08 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ของกำลังแรงงานรวมของภาคใต้ ลดลง
จากร้อยละ 2.3 ของปีก่อน ส่วนผู้มีงานทำคิดเป็นร้อยละ 98. 3 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 97.5 เดือนเดียวกันปีก่อน ผู้มีงานทำส่วนใหญ่อยู่ในนอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ 54.3
และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 45.7 1
ไตรมาส 2 ปีนี้ ตำแหน่งงานว่างมีทั้งสิ้น 18,436 อัตรา ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 26.9 จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีตำแหน่งงานว่างสูงสุด 3,455 อัตรา รองลงไปได้แก่ จังหวัดภูเก็ต
และจังหวัดสงขลา มีจำนวน 2,513 อัตรา และ 2,076 อัตรา ตามลำดับ
ผู้สมัครงานมีทั้งสิ้น 22,608 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.0 จังหวัดสงขลามี
ผู้สมัครงานมากที่สุด จำนวน 3,354 คน รองลงไปได้แก่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และจังหวัดภูเก็ต มีจำนวน 3,085 คน 2,602 คน และ 2,025 คน ตามลำดับ
การบรรจุงานมีจำนวน 9,287 อัตรา ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.8 จังหวัดที่มี
การบรรจุงานมากที่สุด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน 1,876 คน รองลงไปได้แก่ จังหวัด
สุราษฎร์ธานี จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสงขลา จำนวน 1,752 อัตรา 1,309 อัตรา และ 1,197 อัตรา
ตามลำดับ
จากการที่ภาครัฐยังมีโครงการสร้างงาน จ้างงานเร่งด่วนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ
5 อำเภอจังหวัดสงขลา ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนประสบภาวะขาดแคลนแรงงานยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกันมีการ Turn Over สูง เพราะปัญหาความไม่ปลอดภัย ส่วนการจ้างงานเร่งด่วนใน 6
จังหวัดที่ประสบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย นั้น การจ้างงานสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2548 นี้ ส่วนใหญ่
เป็นการจ้างงานในด้านการฟื้นฟู ซึ่งเป็นงานภาคสนาม ลูกจ้างส่วนใหญ่เคยทำงานบริการด้านโรงแรม
ซึ่งเป็นงานเบากว่า ส่งผลให้โครงการนี้มีการ Turn Over สูงเช่นกัน
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนมิถุนายน 2548 ดุลการค้าเกินดุล 300.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เกินดุล
เพิ่มขึ้นจากเดือน มิถุนายนปีก่อนร้อยละ 5.3 และเกินดุลลดลงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ร้อยละ 2.6
เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่ม
ขึ้นค่อนข้างมากเป็นสำคัญ
การส่งออก มูลค่าการส่งออกในเดือนนี้เท่ากับ 596.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเมื่อ
เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 และ 4.9 ตามลำดับ เป็นการเพิ่ม
ขึ้นจากการส่งออกสัตว์น้ำ น้ำมันดิบ และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เป็นสำคัญ
การนำเข้า มูลค่าการนำเข้าในเดือนนี้เท่ากับ 295.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเมื่อ
เทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 13.9 และ 21.9 ตามลำดับ เนื่องจากมีการนำเข้า
สินค้าทุนโดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 26.5
และ 37.4 ตามลำดับ
การค้าผ่านด่านชายแดนไทย - มาเลเซีย
ในเดือนมิถุนายน 2548 ดุลการค้า เกินดุล 166.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. อัตราการเกินดุลเดือนนี้เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงมาก โดยลดลงมากถึงร้อยละ 22.9 และลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.8
เนื่องจากการส่งออกลดลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี
การส่งออกในเดือนมิถุนายน 2548 มีมูลค่า 346.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเป็นครั้ง
แรกในรอบหลายปี โดยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 และลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9
การนำเข้า ในเดือนมิถุนายน 2548 มีมูลค่ารวม 180.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 36.2 เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ และเหล็กและเหล็กกล้าเพิ่มขึ้น
อย่างน่าสังเกต คือ ร้อยละ 377.4 และ 160.0 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 0.9
เนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ลดลงมาก
ในไตรมาส 2/2548 การค้าต่างประเทศของภาคใต้ ดุลการค้าเกินดุล 933.7 ล้านดอลลาร์
สรอ. เทียบกับไตรมาส 2/2547 เกินดุลลดลงร้อยละ 7.9 และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2548 เกินดุล
ลดลงร้อยละ 6.7 เป็นผลทางด้านการนำเข้าเป็นสำคัญ และโดยเฉพาะเป็นการนำเข้าเครื่องจักรและ
อุปกรณ์
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาทางด้านการส่งออก ในไตรมาส 2/2548 ส่งออกได้ 1,710.0 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ตาม การส่งออกไตรมาสนี้
ลดลงจากไตรมาส 1/2548 ร้อยละ 5.3 ส่วนการนำเข้า ในไตรมาส 1/2548 มีมูลค่า 776.3 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 แต่ลดลงจากไตรมาส 1/2548 ร้อยละ
5.3
ทางด้านการค้าผ่านด่านชายแดนไทย - มาเลเซีย ไตรมาส 2/2548 ดุลการค้าเกินดุล
541.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. อัตราการเกินดุล เทียบกับไตรมาส 2/2547 และไตรมาส 1/2548 ลดลง
ร้อยละ 5.2 และ 6.9 เป็นผลทางด้านการนำเข้าเป็นสำคัญ
การส่งออก ในไตรมาส 2/2548 มีมูลค่า 1,065.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
เดียวกันปีก่อน ร้อยละ 10.2 เนื่องจากสินค้าสำคัญเกือบทุกประเภทส่งออกได้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 2.4
การนำเข้า ในไตรมาส 2/2548 มีมูลค่ารวม 524.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
เดียวกันปีก่อน ร้อยละ 32.5 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 2.8 เป็นการนำเข้าสินค้าทุน คือ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น
การคลัง
ด้านรายได้ ในเดือนมิถุนายน 2548 สามารถจัดเก็บภาษีได้จำนวน 1,587.3 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 และลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 38.1 เมื่อพิจารณาตาม
ประเภทการจัดเก็บ พบว่าภาษีสรรพากร จัดเก็บได้จำนวน 1,371.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียว
กันปีก่อนร้อยละ 7.6 ส่วนภาษีสรรพสามิต จัดเก็บได้จำนวน 122.69 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียว
กันปีก่อนร้อยละ 9.4 เป็นการลดลงของหมวดรถยนต์ หมวดสุรา และหมวดเครื่องดื่มเป็นสำคัญ
ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้จำนวน 93.43 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.0 เป็น
การลดลงของการเก็บภาษีนำเข้าของรถและอุปกรณ์เป็นสำคัญ
ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ผลการจัดเก็บรายได้ซึ่งประกอบด้วย สรรพากร สรรพสามิต และ
ศุลกากร รวมแล้วสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 โดยไตรมาสนี้มีการจัดเก็บได้ 5,965.65 ล้าน
บาท ในขณะที่ระยะเดียวกันปีก่อนเก็บได้ 5,568.7 ล้านบาท
ภาคการเงิน
จากกระแสข่าวของการให้สินเชื่อส่วนบุคคลรายย่อย ที่มีอัตราดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียม
ค่อนข้างสูง ส่งผลให้กระทรวงการคลังโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาควบคุมอัตราดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และผู้ประกอบธุรกิจที่
มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) ในขณะที่ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น จากปัญหา
ราคาน้ำมัน และจากข่าวการออกพันธบัตรรัฐบาล ประเภทออมทรัพย์ขายให้กับประชาชนเพื่อเป็น
การส่งเสริมการออมระยะยาวและสม่ำเสมอ ทำให้ส่วนหนึ่งชะลอการลงทุน เพื่อลงทุนในพันธบัตร
เหตุการณ์ทางการเงินที่สำคัญในเดือนมิถุนายน 2548
1. คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14
วัน จากร้อยละ 2.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2548 และต่อมาในวันที่ 30
มิถุนายน 2548 Fed มีมติเป็นให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ
3.25
2. กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง ให้การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วน
บุคคลเป็นกิจการที่ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งมอบอำนาจ
ให้ ธปท. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล โดยมีผล
บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 โดย ธปท. ได้ออกประกาศให้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปรับลด
ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใด ๆ และค่าใช้จ่าย ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควร
แก่เหตุที่ได้มีการทำสัญญาไว้แล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ให้อยู่ในอัตราที่ ธปท. กำหนด ภายใน
1 ปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศ ธปท. มีผลใช้บังคับ
การดำเนินงานของสาขาธนาคารพาณิชย์
ข้อมูลเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้มีเงินฝาก
จำนวน 322,000 ล้านบาท เป็นการเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 แต่เป็นลักษณะ
ชะลอตัว เนื่องจากผู้ฝากเงินได้รับผลตอบแทนในการฝากเงินค่อนข้างต่ำ และมีทางเลือกจำกัด
ในส่วนของสินเชื่อคงค้าง ยังคงให้ความสำคัญ กับลูกค้าที่มีคุณ ภาพสามารถชำระหนี้ได้ โดยคาดว่า
จะมีประมาณ 217,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 ทำให้สัดส่วนสิน
เชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 67.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 64.1
ในไตรมาสที่ 2 เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ยังเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ลดลง เมื่อเทียบกับ
ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลตอบแทนต่ำ มีการกระจายเงินลงทุนในรูปของตราสารหนี้ระยะสั้น
เพื่อรอการลงทุนในเมกกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาลซึ่งคาดว่าจะได้ดอกผลสูงกว่า และจากการเปลี่ยน
ระบบการบริหารการเงินการคลังของภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายผ่านธนาคารของรัฐ ทำให้มีเม็ดเงิน
หมุนเวียนในระบบค่อนข้างสูง เพื่อรอการเบิกจ่าย เช่น เงินช่วยเหลือเรื่องสึนามิ และเงินงบ
ประมาณที่เกี่ยวกับความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 2 เป็นไปด้วยความเข้มงวด
และคำนึงถึงคุณภาพของลูกค้าเป็นสำคัญ เพื่อลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แต่อย่างไรก็ตาม
ธนาคารพาณิชย์ยังคงมียอดสินเชื่อตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากแข่งขันกันออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่
เพื่อดึงดูดลูกค้า
การใช้เช็คของภาคธุรกิจที่ผ่านสำนักหักบัญชีในภาคใต้ ในเดือนนี้มีปริมาณ 375,351 ฉบับ
ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 โดยมีสัดส่วนของมูลค่าเช็คคืน
ต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้เป็นอัตราร้อยละ 0.8 เท่ากับเดือนเดียวกันปีก่อน
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ
เกษตร ธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีผลสรุปในการ
ดำเนินงานดังนี้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในเดือนนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในภาคใต้ ได้จ่ายเงินกู้ให้กับลูกค้าทุกประเภทรวม 3,034.46 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.01 เป็นการให้กู้กับเกษตรกรโดยตรงเป็นสำคัญ
ขณะที่มียอดรับชำระเงินคืนจำนวน 2,228.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ทำให้สินเชื่อคงค้างมี
ทั้งสิ้น 50,288.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ สินเชื่อ ธ.ก.ส. ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน
โดยมีการให้เงินกู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 และมีการรับชำระหนี้คืนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7
ธนาคารออมสิน ธนาคารมีแผนการปรับโครงสร้างธนาคารใหม่เพื่อให้การดำเนินการมี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการปรับภาพลักษณ์ธนาคารเพื่อรองรับการแข่งขันกับสถาบันการเงินอื่น
โดยมีการจัดกลุ่มสินเชื่อใหม่ เนื่องจากธนาคารมีการให้สินเชื่อหลายประเภททำให้ผู้ใช้บริการเกิดการ
สับสน โดยในเดือนนี้มีสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 31,895.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 18.7 ส่วนด้านธุรกรรมเงินฝาก มียอดเงินรับฝากคงค้าง 54,567.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน
ยอดสินเชื่อคงค้างมีทั้งสิ้น 2,105.61 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 ใน
ขณะที่ยอดให้สินเชื่อรวม 851.27 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5 ตามภาคการ
ส่งออกที่ลดลง ส่วนปริมาณธุรกรรมต่างประเทศมีปริมาณ 854.94 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.0
ในไตรมาสที่สองของปีนี้ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
มีการเบิกเงินกู้เพื่อส่งออกทั้งสิ้น 2,236.84 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 และ
ธุรกรรมต่างประเทศรวม 2,915.04 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2
--ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้--
ในเดือนมิถุนายน ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ มียอดจดทะเบียนรวม 6,529 คัน เพิ่มขึ้น
จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 โดยจังหวัดที่มีอัตรา
การจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนคือจังหวัดสตูล พังงา และชุมพร เพิ่มขึ้นร้อยละ
118.8 88.7 และ 46.5 ตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีปริมาณการจดทะเบียนสูงสุดในเดือนนี้ คือ จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต จำนวน 1,213 818 และ 847 คัน ตามลำดับ
สำหรับประเภทรถจักรยานยนต์มีการจดทะเบียนรวม 29,300 คัน ลดลงร้อยละ 19.6 โดย
จังหวัดที่มีอัตราการจดทะเบียนลดลงมาก คือจังหวัดสงขลา ปัตตานี และสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 41.2
40.1 และ 38.8 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลง จากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมัน ปัญหา 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่ยุติ ผลกระทบเหตุการณ์สึนามิ รวมทั้งปัญหาเรื่องภัยแล้ง โดยเครื่องชี้สำคัญที่ลดลงได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงร้อยละ 1.4 และการจดทะเบียนใหม่รถจักรยานยนต์ ลดลงถึงร้อยละ 26.0 มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดียอดจดทะเบียนใหม่รถยนต์ส่วนบุคคล ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้กลยุทธ์บริหารทีมขายเชิงรุกและส่งเสริมการขายที่จูงใจ เน้นลูกค้าในภาคเกษตรมากขึ้น โดยจังหวัดที่มีการจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน คือจังหวัดสตูล
รองลงมาคือจังหวัดระนอง และชุมพร เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.4 22.2 และ 16.3 ขณะที่จังหวัดที่มีการจด
ทะเบียนใหม่ลดลง คือจังหวัดกระบี่ พัทลุง และนราธิวาส ลดลงร้อยละ 10.9 9.5 และ 3.6
การลงทุนภาคเอกชนและการจ้างงาน
การลงทุนชะลอลงจากปัจจัยลบ ได้แก่ ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ
ราคาน้ำมันสูงขึ้น กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
การอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน จากปัญหาความไม่สงบที่มีต่อเนื่อง ส่งผลให้
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่สนใจลงทุนในภาคใต้ตอนบน โดยเดือนนี้มีโครงการได้รับอนุมัติการส่งเสริม
การลงทุนจำนวน 6 ราย เพิ่มขึ้นจาก 5 รายของเดือนเดียวกันปีก่อน ส่วนเงินลงทุน 770.0 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 39.8 และการจ้างงานคนไทย 603 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 เป็นการลงทุนการผลิต
น้ำมันปาล์มดิบและเมล็ดในปาล์มอบแห้ง การผลิตพลังงานไฟฟ้า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัด
ชุมพร รวม 4 ราย การผลิตยางแผ่นรมควัน ในจังหวัดตรัง 1 ราย และโรงพยาบาลขนาด 64 เตียง
ในจังหวัดภูเก็ต 1 ราย และการลงทุนทั้งหมดเป็นการถือหุ้นของคนไทยทุกโครงการ
ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 17 ราย เพิ่มขึ้นจาก
14 รายในช่วงเดียวกันปีก่อน และเงินลงทุนมีจำนวน 2,457.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.5 อย่างไร
ก็ตามการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยมีการจ้างงานทั้งสิ้น 2,326 คน เพิ่มขึ้นจาก 1,775 คน หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 31.0 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคใต้ตอนบน โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการลงทุน 4 ราย
จังหวัดชุมพร 2 ราย จังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต จังหวัดละ 1 ราย ส่วนภาคใต้
ตอนล่างไตรมาสนี้มีเพียงการลงทุนในจังหวัดสงขลา 4 ราย จังหวัดตรังและจังหวัดปัตตานี จังหวัดละ
1 ราย การลงทุนส่วนใหญ่เป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล จากสถิติการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลของสำนักงาน
พาณิชย์จังหวัดในภาคใต้ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนเพื่อประกอบกิจการรวม 454 ราย เงิน
ทุนจดทะเบียน 976.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 และร้อยละ 21.0 ส่วนใหญ่เป็นการจดทะเบียนในภาคใต้ตอนบน เป็นที่น่าสังเกตว่าเดือนนี้การจดทะเบียนกระเตื้องขึ้น
เกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาสมีการจดทะเบียนด้านรับเหมาก่อสร้างถึง 5 ราย เงินทุน
จดทะเบียน 108.6 ล้านบาท
การจดทะเบียนเพิ่มทุนเดือนนี้ มีจำนวน 96 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
20.0 และมีเงินทุนจดทะเบียน 954.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 31.4 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มทุนใน
ภาคใต้ตอนบน
สำหรับการจดทะเบียนเลิกกิจการ เดือนนี้มีการเลิกกิจการจำนวน 120 ราย เงินทุน 238.8
ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.6 และร้อยละ 23.7 ตามลำดับ จังหวัดสงขลามี
การเลิกกิจการสูงสุด 42 ราย รองลงไปคือ จังหวัดภูเก็ต 26 ราย
ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ มีการจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 1,193 ราย เงินทุนจดทะเบียน 2,588.4
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.1 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ และการจด
ทะเบียนเพิ่มทุนมีจำนวน 243 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 เงินทุนจดทะเบียน 2,744.7 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 17.6 ส่วนการจดทะเบียนเลิกกิจการมีจำนวน 347 ราย ลดลงร้อยละ 2.3 เงินทุนจด
ทะเบียน 667.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1
การก่อสร้าง เดือนนี้มีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างผ่านเทศบาลเมือง เทศบาลนคร
และเทศบาลตำบล 171,613 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 เป็น
การเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 78.0 ของพื้นที่ได้รับอนุญาตทั้งหมด จังหวัดที่
มีการก่อสร้างมากที่สุด คือ จังหวัดสงขลา คิดเป็นร้อยละ 22.3 รองลงไปคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช
และจังหวัดสุราษฎร์ธานี คิดเป็นร้อยละ 14.7 และร้อยละ 13.9 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ มีพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างทั้งสิ้น 413,600 ตารางเมตร ลดลงจากช่วง
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.8 จากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมัน แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และปัญหา
ความไม่สงบ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดยะลาได้ย้ายฐานการผลิตไปที่
ภาคใต้ตอนบน ส่วนจังหวัดสงขลามีการก่อสร้างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.3 ของการก่อสร้าง
ทั้งหมด รองลงไปได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช คิดเป็นร้อยละ 13.7 และ
ร้อยละ 13.4 ตามลำดับ
การจ้างงานและการจัดหางานของรัฐ เดือนนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงาน
ผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 6,100 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.8
ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ตอนบน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.4 และจังหวัดที่มีตำแหน่งงาน
ว่างสูง คือ จังหวัดภูเก็ต รองลงไปเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสัดส่วนร้อยละ 20.8 และร้อยละ 19.2
ของตำแหน่งงานว่างในภาคใต้ ตามลำดับ
ผู้สมัครงาน มีจำนวน 10,330 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 95.5 จังหวัด
ที่มีผู้สมัครงานมากที่สุด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช รองลงไป ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดตรัง และจังหวัดสงขลา ตามลำดับ
การบรรจุงาน มีจำนวน 3,739 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 และคิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 36.2 ของผู้สมัครงาน จังหวัดที่มีการบรรจุงานมาก คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน 624 อัตรา รองลงไปคือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการบรรจุงาน 590 อัตรา 526 อัตรา และ 522 อัตรา ตามลำดับ ผู้
สำหรับจำนวนแรงงานในภาคใต้ที่เข้าโครงการประกันสังคมเดือนนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 542,500 คน
เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนพฤษภาคม 2548 ของสำนักงานสถิติ
แห่งชาติ ภาคใต้มีผู้ว่างงาน 0.08 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ของกำลังแรงงานรวมของภาคใต้ ลดลง
จากร้อยละ 2.3 ของปีก่อน ส่วนผู้มีงานทำคิดเป็นร้อยละ 98. 3 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 97.5 เดือนเดียวกันปีก่อน ผู้มีงานทำส่วนใหญ่อยู่ในนอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ 54.3
และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 45.7 1
ไตรมาส 2 ปีนี้ ตำแหน่งงานว่างมีทั้งสิ้น 18,436 อัตรา ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 26.9 จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีตำแหน่งงานว่างสูงสุด 3,455 อัตรา รองลงไปได้แก่ จังหวัดภูเก็ต
และจังหวัดสงขลา มีจำนวน 2,513 อัตรา และ 2,076 อัตรา ตามลำดับ
ผู้สมัครงานมีทั้งสิ้น 22,608 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.0 จังหวัดสงขลามี
ผู้สมัครงานมากที่สุด จำนวน 3,354 คน รองลงไปได้แก่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และจังหวัดภูเก็ต มีจำนวน 3,085 คน 2,602 คน และ 2,025 คน ตามลำดับ
การบรรจุงานมีจำนวน 9,287 อัตรา ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.8 จังหวัดที่มี
การบรรจุงานมากที่สุด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน 1,876 คน รองลงไปได้แก่ จังหวัด
สุราษฎร์ธานี จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสงขลา จำนวน 1,752 อัตรา 1,309 อัตรา และ 1,197 อัตรา
ตามลำดับ
จากการที่ภาครัฐยังมีโครงการสร้างงาน จ้างงานเร่งด่วนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ
5 อำเภอจังหวัดสงขลา ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนประสบภาวะขาดแคลนแรงงานยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกันมีการ Turn Over สูง เพราะปัญหาความไม่ปลอดภัย ส่วนการจ้างงานเร่งด่วนใน 6
จังหวัดที่ประสบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย นั้น การจ้างงานสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2548 นี้ ส่วนใหญ่
เป็นการจ้างงานในด้านการฟื้นฟู ซึ่งเป็นงานภาคสนาม ลูกจ้างส่วนใหญ่เคยทำงานบริการด้านโรงแรม
ซึ่งเป็นงานเบากว่า ส่งผลให้โครงการนี้มีการ Turn Over สูงเช่นกัน
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนมิถุนายน 2548 ดุลการค้าเกินดุล 300.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เกินดุล
เพิ่มขึ้นจากเดือน มิถุนายนปีก่อนร้อยละ 5.3 และเกินดุลลดลงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ร้อยละ 2.6
เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่ม
ขึ้นค่อนข้างมากเป็นสำคัญ
การส่งออก มูลค่าการส่งออกในเดือนนี้เท่ากับ 596.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเมื่อ
เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 และ 4.9 ตามลำดับ เป็นการเพิ่ม
ขึ้นจากการส่งออกสัตว์น้ำ น้ำมันดิบ และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เป็นสำคัญ
การนำเข้า มูลค่าการนำเข้าในเดือนนี้เท่ากับ 295.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเมื่อ
เทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 13.9 และ 21.9 ตามลำดับ เนื่องจากมีการนำเข้า
สินค้าทุนโดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 26.5
และ 37.4 ตามลำดับ
การค้าผ่านด่านชายแดนไทย - มาเลเซีย
ในเดือนมิถุนายน 2548 ดุลการค้า เกินดุล 166.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. อัตราการเกินดุลเดือนนี้เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงมาก โดยลดลงมากถึงร้อยละ 22.9 และลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.8
เนื่องจากการส่งออกลดลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี
การส่งออกในเดือนมิถุนายน 2548 มีมูลค่า 346.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเป็นครั้ง
แรกในรอบหลายปี โดยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 และลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9
การนำเข้า ในเดือนมิถุนายน 2548 มีมูลค่ารวม 180.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 36.2 เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ และเหล็กและเหล็กกล้าเพิ่มขึ้น
อย่างน่าสังเกต คือ ร้อยละ 377.4 และ 160.0 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 0.9
เนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ลดลงมาก
ในไตรมาส 2/2548 การค้าต่างประเทศของภาคใต้ ดุลการค้าเกินดุล 933.7 ล้านดอลลาร์
สรอ. เทียบกับไตรมาส 2/2547 เกินดุลลดลงร้อยละ 7.9 และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2548 เกินดุล
ลดลงร้อยละ 6.7 เป็นผลทางด้านการนำเข้าเป็นสำคัญ และโดยเฉพาะเป็นการนำเข้าเครื่องจักรและ
อุปกรณ์
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาทางด้านการส่งออก ในไตรมาส 2/2548 ส่งออกได้ 1,710.0 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ตาม การส่งออกไตรมาสนี้
ลดลงจากไตรมาส 1/2548 ร้อยละ 5.3 ส่วนการนำเข้า ในไตรมาส 1/2548 มีมูลค่า 776.3 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 แต่ลดลงจากไตรมาส 1/2548 ร้อยละ
5.3
ทางด้านการค้าผ่านด่านชายแดนไทย - มาเลเซีย ไตรมาส 2/2548 ดุลการค้าเกินดุล
541.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. อัตราการเกินดุล เทียบกับไตรมาส 2/2547 และไตรมาส 1/2548 ลดลง
ร้อยละ 5.2 และ 6.9 เป็นผลทางด้านการนำเข้าเป็นสำคัญ
การส่งออก ในไตรมาส 2/2548 มีมูลค่า 1,065.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
เดียวกันปีก่อน ร้อยละ 10.2 เนื่องจากสินค้าสำคัญเกือบทุกประเภทส่งออกได้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 2.4
การนำเข้า ในไตรมาส 2/2548 มีมูลค่ารวม 524.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
เดียวกันปีก่อน ร้อยละ 32.5 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 2.8 เป็นการนำเข้าสินค้าทุน คือ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น
การคลัง
ด้านรายได้ ในเดือนมิถุนายน 2548 สามารถจัดเก็บภาษีได้จำนวน 1,587.3 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 และลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 38.1 เมื่อพิจารณาตาม
ประเภทการจัดเก็บ พบว่าภาษีสรรพากร จัดเก็บได้จำนวน 1,371.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียว
กันปีก่อนร้อยละ 7.6 ส่วนภาษีสรรพสามิต จัดเก็บได้จำนวน 122.69 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียว
กันปีก่อนร้อยละ 9.4 เป็นการลดลงของหมวดรถยนต์ หมวดสุรา และหมวดเครื่องดื่มเป็นสำคัญ
ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้จำนวน 93.43 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.0 เป็น
การลดลงของการเก็บภาษีนำเข้าของรถและอุปกรณ์เป็นสำคัญ
ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ผลการจัดเก็บรายได้ซึ่งประกอบด้วย สรรพากร สรรพสามิต และ
ศุลกากร รวมแล้วสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 โดยไตรมาสนี้มีการจัดเก็บได้ 5,965.65 ล้าน
บาท ในขณะที่ระยะเดียวกันปีก่อนเก็บได้ 5,568.7 ล้านบาท
ภาคการเงิน
จากกระแสข่าวของการให้สินเชื่อส่วนบุคคลรายย่อย ที่มีอัตราดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียม
ค่อนข้างสูง ส่งผลให้กระทรวงการคลังโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาควบคุมอัตราดอกเบี้ยและ
ค่าธรรมเนียมสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และผู้ประกอบธุรกิจที่
มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) ในขณะที่ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น จากปัญหา
ราคาน้ำมัน และจากข่าวการออกพันธบัตรรัฐบาล ประเภทออมทรัพย์ขายให้กับประชาชนเพื่อเป็น
การส่งเสริมการออมระยะยาวและสม่ำเสมอ ทำให้ส่วนหนึ่งชะลอการลงทุน เพื่อลงทุนในพันธบัตร
เหตุการณ์ทางการเงินที่สำคัญในเดือนมิถุนายน 2548
1. คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14
วัน จากร้อยละ 2.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2548 และต่อมาในวันที่ 30
มิถุนายน 2548 Fed มีมติเป็นให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ
3.25
2. กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง ให้การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วน
บุคคลเป็นกิจการที่ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งมอบอำนาจ
ให้ ธปท. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล โดยมีผล
บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 โดย ธปท. ได้ออกประกาศให้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปรับลด
ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใด ๆ และค่าใช้จ่าย ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควร
แก่เหตุที่ได้มีการทำสัญญาไว้แล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ให้อยู่ในอัตราที่ ธปท. กำหนด ภายใน
1 ปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศ ธปท. มีผลใช้บังคับ
การดำเนินงานของสาขาธนาคารพาณิชย์
ข้อมูลเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้มีเงินฝาก
จำนวน 322,000 ล้านบาท เป็นการเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 แต่เป็นลักษณะ
ชะลอตัว เนื่องจากผู้ฝากเงินได้รับผลตอบแทนในการฝากเงินค่อนข้างต่ำ และมีทางเลือกจำกัด
ในส่วนของสินเชื่อคงค้าง ยังคงให้ความสำคัญ กับลูกค้าที่มีคุณ ภาพสามารถชำระหนี้ได้ โดยคาดว่า
จะมีประมาณ 217,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 ทำให้สัดส่วนสิน
เชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 67.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 64.1
ในไตรมาสที่ 2 เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ยังเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ลดลง เมื่อเทียบกับ
ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลตอบแทนต่ำ มีการกระจายเงินลงทุนในรูปของตราสารหนี้ระยะสั้น
เพื่อรอการลงทุนในเมกกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาลซึ่งคาดว่าจะได้ดอกผลสูงกว่า และจากการเปลี่ยน
ระบบการบริหารการเงินการคลังของภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายผ่านธนาคารของรัฐ ทำให้มีเม็ดเงิน
หมุนเวียนในระบบค่อนข้างสูง เพื่อรอการเบิกจ่าย เช่น เงินช่วยเหลือเรื่องสึนามิ และเงินงบ
ประมาณที่เกี่ยวกับความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 2 เป็นไปด้วยความเข้มงวด
และคำนึงถึงคุณภาพของลูกค้าเป็นสำคัญ เพื่อลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แต่อย่างไรก็ตาม
ธนาคารพาณิชย์ยังคงมียอดสินเชื่อตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากแข่งขันกันออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่
เพื่อดึงดูดลูกค้า
การใช้เช็คของภาคธุรกิจที่ผ่านสำนักหักบัญชีในภาคใต้ ในเดือนนี้มีปริมาณ 375,351 ฉบับ
ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 โดยมีสัดส่วนของมูลค่าเช็คคืน
ต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้เป็นอัตราร้อยละ 0.8 เท่ากับเดือนเดียวกันปีก่อน
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ
เกษตร ธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีผลสรุปในการ
ดำเนินงานดังนี้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในเดือนนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในภาคใต้ ได้จ่ายเงินกู้ให้กับลูกค้าทุกประเภทรวม 3,034.46 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.01 เป็นการให้กู้กับเกษตรกรโดยตรงเป็นสำคัญ
ขณะที่มียอดรับชำระเงินคืนจำนวน 2,228.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ทำให้สินเชื่อคงค้างมี
ทั้งสิ้น 50,288.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ สินเชื่อ ธ.ก.ส. ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน
โดยมีการให้เงินกู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 และมีการรับชำระหนี้คืนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7
ธนาคารออมสิน ธนาคารมีแผนการปรับโครงสร้างธนาคารใหม่เพื่อให้การดำเนินการมี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการปรับภาพลักษณ์ธนาคารเพื่อรองรับการแข่งขันกับสถาบันการเงินอื่น
โดยมีการจัดกลุ่มสินเชื่อใหม่ เนื่องจากธนาคารมีการให้สินเชื่อหลายประเภททำให้ผู้ใช้บริการเกิดการ
สับสน โดยในเดือนนี้มีสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 31,895.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 18.7 ส่วนด้านธุรกรรมเงินฝาก มียอดเงินรับฝากคงค้าง 54,567.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน
ยอดสินเชื่อคงค้างมีทั้งสิ้น 2,105.61 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 ใน
ขณะที่ยอดให้สินเชื่อรวม 851.27 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5 ตามภาคการ
ส่งออกที่ลดลง ส่วนปริมาณธุรกรรมต่างประเทศมีปริมาณ 854.94 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.0
ในไตรมาสที่สองของปีนี้ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
มีการเบิกเงินกู้เพื่อส่งออกทั้งสิ้น 2,236.84 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.6 และ
ธุรกรรมต่างประเทศรวม 2,915.04 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2
--ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้--