สศก.รายงานสถานการณ์ลิ้นจี่ ปี 2548 ผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย เกษตรกรอาจประสบปัญหาราคาลิ้นจี่ตกต่ำ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานสถานการณ์ลิ้นจี่ ในปี 2548 คาดว่าผลผลิตในแหล่งผลิตที่สำคัญภาคเหนือจะมีประมาณ 7 — 8 หมื่นตันเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ เอื้ออำนวย ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรซึ่งอาจประสบปัญหาราคาตกต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกันจัดทำแนวทางแก้ไขปัญหาราคาลิ้นจี่ ปี 2548 โดยเร่งระบายผลผลิตเพื่อบริโภคสด ในประเทศเป้าหมาย 50,000 ตัน มอบหมาย อตก.(องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร) กรม ส่งเสริมการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การแปรรูปลิ้นจี่กระป๋อง เป้าหมาย 15,000 ตัน ให้กระทรวงอุตสาหกรรมประสาน โรงงานแปรรูปกระป๋อง การผลักดันส่งออกเป้าหมาย 20,000 ตัน ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการ เช่น ขยายการส่งออกในตลาดเดิม ได้แก่ จีน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เพิ่มตลาดใหม่ในตะวันออกกลางและออสเตรเลีย และการส่งเสริมการบริโภคเพิ่มขึ้น เช่น จัดงานวันเทศกาลลิ้นจี่ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะมุ่งผลักดันราคาลิ้นจี่ที่เกษตรกรขายได้เกรด AA จากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 12 — 15 บาท ในปีที่ผ่านมาเป็นกิโลกรัมละ 18 บาทในปีนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานสถานการณ์ลิ้นจี่ ในปี 2548 คาดว่าผลผลิตในแหล่งผลิตที่สำคัญภาคเหนือจะมีประมาณ 7 — 8 หมื่นตันเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ เอื้ออำนวย ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรซึ่งอาจประสบปัญหาราคาตกต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกันจัดทำแนวทางแก้ไขปัญหาราคาลิ้นจี่ ปี 2548 โดยเร่งระบายผลผลิตเพื่อบริโภคสด ในประเทศเป้าหมาย 50,000 ตัน มอบหมาย อตก.(องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร) กรม ส่งเสริมการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การแปรรูปลิ้นจี่กระป๋อง เป้าหมาย 15,000 ตัน ให้กระทรวงอุตสาหกรรมประสาน โรงงานแปรรูปกระป๋อง การผลักดันส่งออกเป้าหมาย 20,000 ตัน ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการ เช่น ขยายการส่งออกในตลาดเดิม ได้แก่ จีน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เพิ่มตลาดใหม่ในตะวันออกกลางและออสเตรเลีย และการส่งเสริมการบริโภคเพิ่มขึ้น เช่น จัดงานวันเทศกาลลิ้นจี่ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะมุ่งผลักดันราคาลิ้นจี่ที่เกษตรกรขายได้เกรด AA จากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 12 — 15 บาท ในปีที่ผ่านมาเป็นกิโลกรัมละ 18 บาทในปีนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-