นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2548 ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP มีมูลค่า 6,883.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 7,032.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงคิดเป็นร้อยละ 2.12 เมื่อพิจารณาสัดส่วนการใช้สิทธิฯ GSP เทียบกับการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 18.99 ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 21.31
การใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ตลาดหลักของไทยอยู่ที่สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ในปี 2548 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ไปสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 5.50 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากสหภาพยุโรปประกาศตัดสิทธิ GSP กลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์แก้วและเซรามิก ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2547 และ 1 มกราคม 2548 ตามลำดับ ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 11.29 เนื่องจากญี่ปุ่นมีการปรับอัตราภาษีนำเข้าปกติบางรายการลง รวมทั้งรายการที่ได้รับสิทธิพิเศษฯ มีอัตราภาษีการให้สิทธิ GSP ลดลง สำหรับสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.23 ส่วนตลาดอื่น ๆ ได้แก่ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แคนาดา และตุรกี เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.16
สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ ส่งออกสูง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี ยานยนต์สำหรับขนส่งของ อัญมณีและเครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า ถุงมือทำจากยาง อัญมณีทำด้วยเงิน ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศ ถุงทำจากพลาสติก เลนส์แว่นตา เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร นาย
ราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่าสถานะล่าสุดของ GSP สหภาพยุโรปประกาศต่ออายุ โครงการ GSP รอบใหม่โดยจะเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 รวมเวลา 10 ปี แต่จะเริ่มใช้ในช่วงแรกจนถึง 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งการต่ออายุโครงการรอบใหม่จะให้สิทธิพิเศษ GSP กับสินค้าเกือบทุกกลุ่มสินค้า ยกเว้นกลุ่มอัญมณี/เครื่องประดับ และกลุ่มยานยนต์/อุปกรณ์ สินค้าที่ไทยสามารถใช้สิทธิ GSP ไปสหภาพยุโรปสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อิเลกทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารปรุงแต่ง เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้า รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร สายด่วน1385 โทร.0 25474872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.@moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
การใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ตลาดหลักของไทยอยู่ที่สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ในปี 2548 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ไปสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 5.50 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากสหภาพยุโรปประกาศตัดสิทธิ GSP กลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์แก้วและเซรามิก ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2547 และ 1 มกราคม 2548 ตามลำดับ ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 11.29 เนื่องจากญี่ปุ่นมีการปรับอัตราภาษีนำเข้าปกติบางรายการลง รวมทั้งรายการที่ได้รับสิทธิพิเศษฯ มีอัตราภาษีการให้สิทธิ GSP ลดลง สำหรับสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.23 ส่วนตลาดอื่น ๆ ได้แก่ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แคนาดา และตุรกี เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.16
สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ ส่งออกสูง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี ยานยนต์สำหรับขนส่งของ อัญมณีและเครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า ถุงมือทำจากยาง อัญมณีทำด้วยเงิน ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศ ถุงทำจากพลาสติก เลนส์แว่นตา เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร นาย
ราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่าสถานะล่าสุดของ GSP สหภาพยุโรปประกาศต่ออายุ โครงการ GSP รอบใหม่โดยจะเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 รวมเวลา 10 ปี แต่จะเริ่มใช้ในช่วงแรกจนถึง 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งการต่ออายุโครงการรอบใหม่จะให้สิทธิพิเศษ GSP กับสินค้าเกือบทุกกลุ่มสินค้า ยกเว้นกลุ่มอัญมณี/เครื่องประดับ และกลุ่มยานยนต์/อุปกรณ์ สินค้าที่ไทยสามารถใช้สิทธิ GSP ไปสหภาพยุโรปสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อิเลกทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารปรุงแต่ง เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้า รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร สายด่วน1385 โทร.0 25474872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.@moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-