จากการที่อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศต่างๆ มีข้อกำหนดด้านมาตรฐานสินค้าที่ซับซ้อนและแตกต่างกันไป ทำให้การส่งออกยานยนต์ไปยังตลาดต่าง ๆ มีต้นทุนที่สูงขึ้นจากการออกแบบ ดัดแปลง และการตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนด ขณะเดียวกัน ข้อกำหนดต่าง ๆ ทางเทคนิคในการผลิตยานยนต์ยังมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้า ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดแนวคิด ในการกำหนดหลักเกณฑ์และกฎระเบียบทางด้านเทคนิคให้เป็นมาตรฐานสากลและสอดคล้องกัน เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้การค้ายานยนต์ระหว่างประเทศเป็นไปอย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในบรรดาข้อกำหนดทางเทคนิคยานยนต์ที่ได้รับการกล่าวถึงมากในปัจจุบัน ซึ่งผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยควรให้ความสำคัญ ได้แก่ WP.29
WP.29 คืออะไร
ในปี พ.ศ. 2501 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรปของสหประชาชาติ (United Nations Economic Commission for Europe : UNECE) ได้ริเริ่มจัดตั้งคณะทำงานที่ 29 ว่าด้วยการสร้างยานยนต์ (Working Party on the Construction of Vehicles) ขึ้นภายใต้คณะกรรมการขนส่งภายใน (The Inland Transport Committee : ITC) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประสานข้อกำหนดทางเทคนิคด้านยานยนต์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยในระยะแรก ข้อกำหนดดังกล่าวมีการใช้กันเฉพาะภายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้ขยายความร่วมมือดังกล่าวให้เป็นสากลครอบคลุมประเทศนอกภูมิภาคมากขึ้น และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะทำงานที่ 29 ว่าด้วยการประสานข้อกำหนดทางเทคนิคด้านยานยนต์ (World Forum for
Harmonization of Vehicle Regulation : WP.29)
WP.29 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
WP.29 แบ่งคณะทำงานตามระบบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านโคมไฟและสัญญาณไฟ ด้านระบบห้ามล้อและแชสซี ด้านการลดผลกระทบจากการชน ด้านมลพิษและพลังงาน ด้านเสียง และด้านความปลอดภัยทั่วไป นอกจากนี้ ภายใต้ WP. 29 ยังประกอบด้วยความตกลงฯ หลายฉบับ ที่สำคัญที่สุดคือ ความตกลงฯ
ปี พ.ศ. 2501 ซึ่งหากประเทศใดเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงฯ นี้ จะทำให้สามารถส่งชิ้นส่วนหรือระบบยานยนต์ไปจำหน่ายยังประเทศภาคีอื่นที่รับรองข้อกำหนดเดียวกันได้โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์/ตรวจสอบชิ้นส่วนหรือ ระบบยานยนต์จากประเทศผู้นำเข้าอีกครั้ง นอกจากความตกลงฯ ปี พ.ศ. 2501 แล้ว WP.29 ยังประกอบด้วย ความตกลงฯ อื่น ๆ ได้แก่ ความตกลงฯ ปี พ.ศ. 2540 และความตกลงฯ ปี พ.ศ. 2541 แต่ยังไม่มีความเด่นชัดในการปรับใช้มากนัก ปัจจุบัน ประเทศที่เข้าร่วมภาคี WP.29 ประกอบด้วยประเทศผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก ทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้เป็นที่คาดว่า WP.29 จะกลายเป็นกรอบกำหนดมาตรฐาน การผลิตยานยนต์ที่สำคัญต่อไปในอนาคต
สถานะปัจจุบันและแผนรองรับของประเทศไทย
ประเทศไทยได้เข้าร่วมประชุมกับ WP.29 มาโดยตลอด และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงฯ ปี พ.ศ. 2501 ซึ่งขณะนี้กรมการขนส่งทางบกได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว แต่ยังต้องมีการปรับระบบรองรับอีกหลายด้าน โดยเฉพาะความพร้อมในการพัฒนาระบบการผลิตและการทดสอบคุณภาพ ซึ่งต้องร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการสร้างศูนย์ทดสอบและวิจัยยานยนต์ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าว
เป็นที่คาดว่าเมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงฯ ปี พ.ศ. 2501 เรียบร้อยแล้ว จะช่วยลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ทำให้สามารถส่งออกไปประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่มีข้อกำหนดที่เข้มงวดกว่าได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันไม่ให้สินค้าด้อยคุณภาพเข้ามา ตีตลาดในประเทศ ขณะเดียวกัน ต้นทุนการทำวิจัย พัฒนาและทดสอบที่มีแนวโน้มลดลงมาก จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในการก้าวขึ้นสู่การเป็น Detroit of Asia ได้ อีกทางหนึ่ง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2548--
-พห-
WP.29 คืออะไร
ในปี พ.ศ. 2501 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรปของสหประชาชาติ (United Nations Economic Commission for Europe : UNECE) ได้ริเริ่มจัดตั้งคณะทำงานที่ 29 ว่าด้วยการสร้างยานยนต์ (Working Party on the Construction of Vehicles) ขึ้นภายใต้คณะกรรมการขนส่งภายใน (The Inland Transport Committee : ITC) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประสานข้อกำหนดทางเทคนิคด้านยานยนต์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยในระยะแรก ข้อกำหนดดังกล่าวมีการใช้กันเฉพาะภายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้ขยายความร่วมมือดังกล่าวให้เป็นสากลครอบคลุมประเทศนอกภูมิภาคมากขึ้น และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะทำงานที่ 29 ว่าด้วยการประสานข้อกำหนดทางเทคนิคด้านยานยนต์ (World Forum for
Harmonization of Vehicle Regulation : WP.29)
WP.29 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
WP.29 แบ่งคณะทำงานตามระบบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านโคมไฟและสัญญาณไฟ ด้านระบบห้ามล้อและแชสซี ด้านการลดผลกระทบจากการชน ด้านมลพิษและพลังงาน ด้านเสียง และด้านความปลอดภัยทั่วไป นอกจากนี้ ภายใต้ WP. 29 ยังประกอบด้วยความตกลงฯ หลายฉบับ ที่สำคัญที่สุดคือ ความตกลงฯ
ปี พ.ศ. 2501 ซึ่งหากประเทศใดเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงฯ นี้ จะทำให้สามารถส่งชิ้นส่วนหรือระบบยานยนต์ไปจำหน่ายยังประเทศภาคีอื่นที่รับรองข้อกำหนดเดียวกันได้โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์/ตรวจสอบชิ้นส่วนหรือ ระบบยานยนต์จากประเทศผู้นำเข้าอีกครั้ง นอกจากความตกลงฯ ปี พ.ศ. 2501 แล้ว WP.29 ยังประกอบด้วย ความตกลงฯ อื่น ๆ ได้แก่ ความตกลงฯ ปี พ.ศ. 2540 และความตกลงฯ ปี พ.ศ. 2541 แต่ยังไม่มีความเด่นชัดในการปรับใช้มากนัก ปัจจุบัน ประเทศที่เข้าร่วมภาคี WP.29 ประกอบด้วยประเทศผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก ทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้เป็นที่คาดว่า WP.29 จะกลายเป็นกรอบกำหนดมาตรฐาน การผลิตยานยนต์ที่สำคัญต่อไปในอนาคต
สถานะปัจจุบันและแผนรองรับของประเทศไทย
ประเทศไทยได้เข้าร่วมประชุมกับ WP.29 มาโดยตลอด และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงฯ ปี พ.ศ. 2501 ซึ่งขณะนี้กรมการขนส่งทางบกได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว แต่ยังต้องมีการปรับระบบรองรับอีกหลายด้าน โดยเฉพาะความพร้อมในการพัฒนาระบบการผลิตและการทดสอบคุณภาพ ซึ่งต้องร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการสร้างศูนย์ทดสอบและวิจัยยานยนต์ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าว
เป็นที่คาดว่าเมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงฯ ปี พ.ศ. 2501 เรียบร้อยแล้ว จะช่วยลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ทำให้สามารถส่งออกไปประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่มีข้อกำหนดที่เข้มงวดกว่าได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันไม่ให้สินค้าด้อยคุณภาพเข้ามา ตีตลาดในประเทศ ขณะเดียวกัน ต้นทุนการทำวิจัย พัฒนาและทดสอบที่มีแนวโน้มลดลงมาก จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในการก้าวขึ้นสู่การเป็น Detroit of Asia ได้ อีกทางหนึ่ง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2548--
-พห-