ดัชนีการผลิตอุตฯไตรมาสแรกยังแรง ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากทั้งไตรมาสที่ 4 และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ชี้การผลิตยานยนต์-หลอดอิเล็กทรอนิกส์ของไทยแข็งแกร่ง หนุนภาคอุตฯโตต่อเนื่องได้อีก
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สศอ. ได้สรุปภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2549 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม 215 ผลิตภัณฑ์ พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปี 2548 และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสที่ 1ของปี 2549 อยู่ที่ระดับ 68.60 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2548 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เช่นกัน
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 ที่สำคัญประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
โดย การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ในไตรมาสที่ 1ของปี 2549 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมยังคงขยายตัวได้ดี ตลาดรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยังคงขยายตัวได้อีก เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆออกมากระตุ้นตลาดหลายรุ่น
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.80 ซึ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.60 รถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.12 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.35 ในด้านการจำหน่ายในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 โดยการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ รถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.46 และ 5.20 ตามลำดับ ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.24 ส่วนการส่งออกรถยนต์ของไทยในไตรมาสที่ 1 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 138,702 คัน มูลค่าการส่งออก 61,979.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 จะคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.66
ส่วน อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตและการส่งออกเป็นไปตามภาพรวมของสินค้าในกลุ่ม โดยไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ยังขยายตัวได้ในระดับสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ซึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 3.76 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ซึ่งเป็นผลมาจากส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลักๆที่เพิ่มขึ้นมาก เช่น ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ IC รวมทั้งหลอดภาพอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า สินค้าจากภาคอุตสาหกรรมยังเป็นสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรกของการส่งออกไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมดมีมูลค่ารวมสูงถึง 22,939.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 77.6 ของสินค้าส่งออกไทยทั้งหมด ซึ่งสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 3,441.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2,272.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และแผงวงจรไฟฟ้า 1,598.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สศอ. ได้สรุปภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2549 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม 215 ผลิตภัณฑ์ พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปี 2548 และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสที่ 1ของปี 2549 อยู่ที่ระดับ 68.60 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2548 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เช่นกัน
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 ที่สำคัญประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
โดย การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ในไตรมาสที่ 1ของปี 2549 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมยังคงขยายตัวได้ดี ตลาดรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยังคงขยายตัวได้อีก เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆออกมากระตุ้นตลาดหลายรุ่น
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.80 ซึ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.60 รถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.12 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.35 ในด้านการจำหน่ายในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 โดยการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ รถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.46 และ 5.20 ตามลำดับ ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.24 ส่วนการส่งออกรถยนต์ของไทยในไตรมาสที่ 1 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 138,702 คัน มูลค่าการส่งออก 61,979.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 จะคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.66
ส่วน อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตและการส่งออกเป็นไปตามภาพรวมของสินค้าในกลุ่ม โดยไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ยังขยายตัวได้ในระดับสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ซึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 3.76 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ซึ่งเป็นผลมาจากส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลักๆที่เพิ่มขึ้นมาก เช่น ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ IC รวมทั้งหลอดภาพอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า สินค้าจากภาคอุตสาหกรรมยังเป็นสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรกของการส่งออกไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมดมีมูลค่ารวมสูงถึง 22,939.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 77.6 ของสินค้าส่งออกไทยทั้งหมด ซึ่งสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 3,441.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2,272.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และแผงวงจรไฟฟ้า 1,598.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-