ตุลาการ รธน. เดินเครื่องพิจารณาคดียุบพรรค แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ปชป.พร้อมยื่นพยานหลักฐานตามระเบียบใหม่ 12 ธ.ค. นัดตรวจสอบ 4 ม.ค. ก่อนไต่สวนทุกวันพฤหัสบดี เริ่มนัดแรก 18 ม.ค. 50 “ชวน”นำทีมกฎหมาย และแกนนำปชป.เข้ารับฟังคึกคัก เผย
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 ที่สำนักงานตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นวันกำหนดนัดพร้อมในคดียุบพรรคการเมือง 5 พรรค ซึ่งแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางไปร่วมรับฟังระเบียบ ข้อกำหนดการพิจารณาคดีโดยพร้อมเพรียง นำโดย นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ว่าคดี เป็นผู้นำทีมกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ มีผู้ร่วมเดินทางมาด้วยประมาณ 20 คน อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการการพรรคประชาธิปัตย์ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรค นายไตรงค์ สุวรรณคีรี นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ นายวิฑูรย์ นามบุตร นายกรณ์ จาติกวณิช นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายถาวร เสนเนียม นายชุมพล กาญจนะ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ฯลฯ
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์ เพื่อชี้แจงขั้นตอนและกระบวนการวิธีพิจารณาคดี โดยนายสมชาย พงษธา ตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ชี้แจงแทนคณะตุลาการ ว่า หลังจากที่คณะตุลการได้รับโอนคดีที่อัยการสูงสุดขอให้พิจารณาสั่งยุบพรรคการเมืองทั้ง 5 พรรคการเมืองมาจากศาลรัฐธรรมนูญแล้ว เห็นว่าทั้ง 5 คดีมีส่วนเกี่ยวเนื่องกันจึงได้มีการแบ่งคดีออกเป็น 2 กลุ่ม
โดยกลุ่มที่ 1 อัยการสูงสุดกล่าวหาว่า พรรคไทยรักไทยจ่ายเงินให้กับพรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการต้องให้ได้คะแนนในเขตเลือกไม่น้องกว่าร้อยละ 20 ของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ยังกล่าวหาว่าพรรคพัฒนาชาติไทย ได้มีการดำเนินการแก้ไข เปลี่ยนแปลงรายชื่อสมาชิกในระบบฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อให้มีสิทธิ์ได้ลงรับเลือกตั้ง
กลุ่มที่ 2 เกี่ยวเนื่องกับพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยอัยการสูงสุดกล่าวหาว่า นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนรู้เห็น ให้การสนับสนุนนายทัศนัย กี่สุ้น อดีตผู้ช่วยส.ส.ของนายสาทิตย์ ให้นำนางสาวนิภา จันโพธิ์ นางรัชนู ต่างสี และนายสุวิทย์ อบอุ่น ไปสมัครลงรับเลือกตั้งนามพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าบุคคลทั้ง 3 ไม่มีคุณสมบัติในการลงสมัครรับเลือกตั้ง
นายสมชาย ยังกล่าวอีกว่า ด้วยขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนด กระบวนวิธีพิจารณาคดีของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีการประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2549 ดังนั้นขั้นตอนต่อไปทั้งอัยการสูงสุด และผู้แทนของทั้ง 5 พรรคการเมือง จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานบุคคล พยานวัตถุและพยานหลักฐาน พร้อมกับแสดงเหตุผลความจำเป็นในการยื่นพยาน และชี้แจงถึงวิธีการได้มาของพยานดังกล่าว โดยคณะตุลาการฯ เห็นสมควรให้คู่กรณียื่นบัญชีระบุพยานภายในวันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2549 พร้อมกันนี้เพื่อให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาเป็นไปด้วยความยุติธรรม จึงกำหนดให้มีการตรวจพยานหลักฐานก่อนการไต่สวน โดยในวันตรวจพยานหลักฐาน คณะตุลาการฯจะมีการสอบถามคู่กรณีว่ารับได้กับพยานหลักฐานเอกสารของแต่ละฝ่ายหรือไม่ และจะมีการอนุญาตให้มีการไต่สวนพยานกี่ปาก ปากใดบ้าง ระยะเวลาการไต่สวน ของแต่ฝ่าย ฝ่ายละเท่าใด
ทั้งนี้ศาลขอนัดตรวจพยานหลักฐานของทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มคดียุบพรรคไทยรักไทย พัฒนาชาติไทย และแผ่นดินไทย ในวันที่ 3 มกราคม 2550 เวลา 10.00 น. และกำหนดให้มีการไต่สวนคดีในกลุ่มแรกทุกวันอังคาร เวลา 10 .00 น. โดยนัดแรกในวันที่ 16 มกราคม 2550
ส่วนกลุ่มที่ 2 คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 4 มกราคม 2550 เวลา 10.00 น. และกำหนดให้มีการไต่สวนคดีในกลุ่มที่ 2 ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 10.00 น. โดยนัดแรก ในวันที่ 18 มกราคม 2550
หลังจากนั้นคณะตุลาการฯได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนทั้ง 5 พรรคการเมืองได้ซักถามในประเด็นที่สงสัย ซึ่งนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ตัวแทนพรรคไทยรักไทย ขอให้ศาลเลื่อนระยะเวลาการยื่นบัญชีระบุพยาน และการนัดตรวจพยานหลักฐานออกไป โดยอ้างว่ากระชั้นชิดเกินไป และใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งการที่จะติดตามพยานทำได้ลำบาก นอกจากนี้ ต้องการทราบว่า คู่กรณีสามารถแถลงเปิดคดีด้วยวาจาได้หรือไม่
ขณะที่นายชวน หลีกภัย ในฐานะผู้ว่าคดีของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการให้ผู้ที่พรรคมอบหมายให้ดูแลในแต่ละประเด็นที่พรรคถูกร้องให้ยุบ รวม 4 ประเด็น เป็นผู้ที่ชี้แจง และสามารถซักค้านพยานได้ จะสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งคณะตุลาการฯได้ขอเวลา 15 นาที ในการหารือนอกรอบ
ในที่สุดคณะตุลาการฯ โดยม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ตุลการรัฐธรรมนูญ ได้แจ้งผลการหารือว่า คณะตุลการฯ เห็นว่า ระยะเวลาที่กำหนดให้มีการยื่นบัญชีพยานบุคคลในวันที่ 12 ธันวาคม 2549 นั้นเหมาะสมแล้ว เนื่องจากคดีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลายาวนาน และพรรคอื่นก็ไม่ได้ขัดข้องในการที่จะยื่นบัญชีในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนเรื่องการแถลงเปิดคดีนั้น สามารถทำได้แต่ต้องให้เป็นลายลักอักษร สำหรับการซักค้านพยานนั้น สามารถให้ผู้ที่รับผิดชอบในแต่ละประเด็นเป็นผู้ซักค้านได้ แต่ทั้งนี้การกระทำต้องไม่ให้เกิดความยืดเยื้อ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนด กระบวนวิธีพิจารณาคดีของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีปัญหาสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ ด้านนายชวน หลีกภัย กล่าวว่า เอกสาร หลักฐานของพรรค ที่เคยยื่นมาแล้ว เมื่อมีระเบียบใหม่ ศาลก็แนะให้มายื่นใหม่ เนื่องจากตามระเบียบเดิมไม่ได้กำหนดว่าต้องชี้แจงเหตุผล ในส่วนพยานบุคคลก็เช่นเดียวกัน จะยื่นใหม่หมด เพราะศาลกำหนดให้ยื่นภายในวันที่ 12 ธันวาคม ก็จะนำไปปรับปรุงใหม่ ซึ่งทางพรรคก็เตรียมไว้แล้ว
ภาพชุด : บรรยากาศ 'วันนัดพร้อม' คดียุบพรรค ที่ศาลรัฐธรรมนูญ 30 พ.ย.49
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 พ.ย. 2549--จบ--
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 ที่สำนักงานตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นวันกำหนดนัดพร้อมในคดียุบพรรคการเมือง 5 พรรค ซึ่งแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางไปร่วมรับฟังระเบียบ ข้อกำหนดการพิจารณาคดีโดยพร้อมเพรียง นำโดย นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ว่าคดี เป็นผู้นำทีมกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ มีผู้ร่วมเดินทางมาด้วยประมาณ 20 คน อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการการพรรคประชาธิปัตย์ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรค นายไตรงค์ สุวรรณคีรี นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ นายวิฑูรย์ นามบุตร นายกรณ์ จาติกวณิช นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายถาวร เสนเนียม นายชุมพล กาญจนะ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ฯลฯ
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์ เพื่อชี้แจงขั้นตอนและกระบวนการวิธีพิจารณาคดี โดยนายสมชาย พงษธา ตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ชี้แจงแทนคณะตุลาการ ว่า หลังจากที่คณะตุลการได้รับโอนคดีที่อัยการสูงสุดขอให้พิจารณาสั่งยุบพรรคการเมืองทั้ง 5 พรรคการเมืองมาจากศาลรัฐธรรมนูญแล้ว เห็นว่าทั้ง 5 คดีมีส่วนเกี่ยวเนื่องกันจึงได้มีการแบ่งคดีออกเป็น 2 กลุ่ม
โดยกลุ่มที่ 1 อัยการสูงสุดกล่าวหาว่า พรรคไทยรักไทยจ่ายเงินให้กับพรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการต้องให้ได้คะแนนในเขตเลือกไม่น้องกว่าร้อยละ 20 ของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ยังกล่าวหาว่าพรรคพัฒนาชาติไทย ได้มีการดำเนินการแก้ไข เปลี่ยนแปลงรายชื่อสมาชิกในระบบฐานข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อให้มีสิทธิ์ได้ลงรับเลือกตั้ง
กลุ่มที่ 2 เกี่ยวเนื่องกับพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยอัยการสูงสุดกล่าวหาว่า นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนรู้เห็น ให้การสนับสนุนนายทัศนัย กี่สุ้น อดีตผู้ช่วยส.ส.ของนายสาทิตย์ ให้นำนางสาวนิภา จันโพธิ์ นางรัชนู ต่างสี และนายสุวิทย์ อบอุ่น ไปสมัครลงรับเลือกตั้งนามพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าบุคคลทั้ง 3 ไม่มีคุณสมบัติในการลงสมัครรับเลือกตั้ง
นายสมชาย ยังกล่าวอีกว่า ด้วยขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนด กระบวนวิธีพิจารณาคดีของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีการประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2549 ดังนั้นขั้นตอนต่อไปทั้งอัยการสูงสุด และผู้แทนของทั้ง 5 พรรคการเมือง จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานบุคคล พยานวัตถุและพยานหลักฐาน พร้อมกับแสดงเหตุผลความจำเป็นในการยื่นพยาน และชี้แจงถึงวิธีการได้มาของพยานดังกล่าว โดยคณะตุลาการฯ เห็นสมควรให้คู่กรณียื่นบัญชีระบุพยานภายในวันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2549 พร้อมกันนี้เพื่อให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาเป็นไปด้วยความยุติธรรม จึงกำหนดให้มีการตรวจพยานหลักฐานก่อนการไต่สวน โดยในวันตรวจพยานหลักฐาน คณะตุลาการฯจะมีการสอบถามคู่กรณีว่ารับได้กับพยานหลักฐานเอกสารของแต่ละฝ่ายหรือไม่ และจะมีการอนุญาตให้มีการไต่สวนพยานกี่ปาก ปากใดบ้าง ระยะเวลาการไต่สวน ของแต่ฝ่าย ฝ่ายละเท่าใด
ทั้งนี้ศาลขอนัดตรวจพยานหลักฐานของทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มคดียุบพรรคไทยรักไทย พัฒนาชาติไทย และแผ่นดินไทย ในวันที่ 3 มกราคม 2550 เวลา 10.00 น. และกำหนดให้มีการไต่สวนคดีในกลุ่มแรกทุกวันอังคาร เวลา 10 .00 น. โดยนัดแรกในวันที่ 16 มกราคม 2550
ส่วนกลุ่มที่ 2 คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 4 มกราคม 2550 เวลา 10.00 น. และกำหนดให้มีการไต่สวนคดีในกลุ่มที่ 2 ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 10.00 น. โดยนัดแรก ในวันที่ 18 มกราคม 2550
หลังจากนั้นคณะตุลาการฯได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนทั้ง 5 พรรคการเมืองได้ซักถามในประเด็นที่สงสัย ซึ่งนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ตัวแทนพรรคไทยรักไทย ขอให้ศาลเลื่อนระยะเวลาการยื่นบัญชีระบุพยาน และการนัดตรวจพยานหลักฐานออกไป โดยอ้างว่ากระชั้นชิดเกินไป และใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งการที่จะติดตามพยานทำได้ลำบาก นอกจากนี้ ต้องการทราบว่า คู่กรณีสามารถแถลงเปิดคดีด้วยวาจาได้หรือไม่
ขณะที่นายชวน หลีกภัย ในฐานะผู้ว่าคดีของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการให้ผู้ที่พรรคมอบหมายให้ดูแลในแต่ละประเด็นที่พรรคถูกร้องให้ยุบ รวม 4 ประเด็น เป็นผู้ที่ชี้แจง และสามารถซักค้านพยานได้ จะสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งคณะตุลาการฯได้ขอเวลา 15 นาที ในการหารือนอกรอบ
ในที่สุดคณะตุลาการฯ โดยม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ตุลการรัฐธรรมนูญ ได้แจ้งผลการหารือว่า คณะตุลการฯ เห็นว่า ระยะเวลาที่กำหนดให้มีการยื่นบัญชีพยานบุคคลในวันที่ 12 ธันวาคม 2549 นั้นเหมาะสมแล้ว เนื่องจากคดีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลายาวนาน และพรรคอื่นก็ไม่ได้ขัดข้องในการที่จะยื่นบัญชีในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนเรื่องการแถลงเปิดคดีนั้น สามารถทำได้แต่ต้องให้เป็นลายลักอักษร สำหรับการซักค้านพยานนั้น สามารถให้ผู้ที่รับผิดชอบในแต่ละประเด็นเป็นผู้ซักค้านได้ แต่ทั้งนี้การกระทำต้องไม่ให้เกิดความยืดเยื้อ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนด กระบวนวิธีพิจารณาคดีของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีปัญหาสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ ด้านนายชวน หลีกภัย กล่าวว่า เอกสาร หลักฐานของพรรค ที่เคยยื่นมาแล้ว เมื่อมีระเบียบใหม่ ศาลก็แนะให้มายื่นใหม่ เนื่องจากตามระเบียบเดิมไม่ได้กำหนดว่าต้องชี้แจงเหตุผล ในส่วนพยานบุคคลก็เช่นเดียวกัน จะยื่นใหม่หมด เพราะศาลกำหนดให้ยื่นภายในวันที่ 12 ธันวาคม ก็จะนำไปปรับปรุงใหม่ ซึ่งทางพรรคก็เตรียมไว้แล้ว
ภาพชุด : บรรยากาศ 'วันนัดพร้อม' คดียุบพรรค ที่ศาลรัฐธรรมนูญ 30 พ.ย.49
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 พ.ย. 2549--จบ--