กูรูโลจิสติกส์ เผยแนวโน้มธุรกิจ "โลจิสติกส์" ในอนาคตกำลังขับเคลื่อนจาก 4PL (4th Party Logistics) ไปสู่การรวมตัวกันของผู้ให้บริการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่เรียกว่า JSC (Joint Sevice Company)
แม้ว่าปัจจุบันเราจะเริ่มได้ยินการบริหารจัดการ "ห่วงโซ่อุปสงค์" หรือ Demand Chain Management ว่ามีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการบริหารธุรกิจ ทว่าปฏิเสธความจาเป็นของ "ห่วงโซ่อุปทาน) Supply Chain Management ไปไม่ได้ เพราะซัพพลายเชนมีบทบาทสำคัญหรือเป็น Key Success Factor ของแทบทุกองค์กร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการที่ต้องตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้ "เร็ว" ที่สุด อย่างไรก็ตาม วันนี้ "ซัพพลายเชน" กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ดังนั้นผู้ประกอบการที่ต้องการอยู่รอดในธุรกิจจึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือหให้ทันการเปลี่ยนแปลง และ "ดร.จอห์น แกททอนา" ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโลจิสติกส์ ห่วงโซ่อุปทานและการตลาดระดับโลกกำลังมาอ่านเทรนด์ของธุรกิจโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน ให้รู้กัน เขากล่าวถึงแนวโน้มการจัดการซัพพลายเชนว่า ในภาวะที่ผู้ประกอบการทุกรายมีซัพพลายเชนเป็นส่วนสำคัญในการขนส่งสินค้าและบริการ ผู้ประกอบการต้องมีรูปแบบของระบบซัพพลายเชนที่ออกแบบและใช้งานอย่างทันสมัย ซึ่งในระบบซัพพลายเชนที่ทันสมัยนั้น 45% มาจากพฤติกรรมของคน อีก 45% มาจากเทคโนโลยี และอีก 10% มาจากระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่เข้ามาสนับสนุนระบบซัพพลายเชน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบซัพพลายเชนมี 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย ลูกค้าผู้ใช้บริการ และกลุ่มซัพพลายเออร์ ปัจจัยภายในคือกลุ่มพนักงานและผู้บริหาร "คุณไม่สามารถจะทำให้บริษัทเติบโตได้เลยหากคุณตัดงบในการพัฒนาบุคลากรทั้งสองด้านที่กล่าวมาออกอยู่เรื่อย ๆ เพราะการลงทุนเพื่อพัฒนาทางด้านซัพพลายเชน จำเป็นต่อความสำเร็จของทุกธุรกิจหลักด้านการกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไมเคิล พอร์ตเตอร์เพียงลำพังยังไม่เพียงพอต่อการให้ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นต้องการ"
ดร.แกททอนา กล่าวต่อไปว่า ธุรกิจสมัยใหม่จะต้องสามารถตอบรับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าด้วยระบบซัพพลายเชนที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับลูกค้าต่าง ๆ ที่สำคัญต้อง "มิกซ์" แอนด์ แมทช์" หรือผสมผสานความสามารถที่มีเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากที่สุด การจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบรับกระแสการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการนำกลวิธีทางการตลาดเข้ามาบริหารงาน โดยผู้ประกอบการยุคใหม่จะต้องออกแบบซัพพลายเชน ให้ตอบรับความต้องการของลูกค้าในหลายมิติ โดยแบ่งแยกกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่ม Segmentation นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร และการพัฒนาบุคลากรไปในเวลาเดียวกัน
"ในอีก 10 ปีต่อจากนี้ ธุรกิจจะต้องต่อสู้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชน coincident supply chain ไม่ใช่ต่อสู้ด้วยห่วงโซ่อุปทานเพียงหนึ่งเดียวโดยลำพัง free standing และปัญหาสำคัญที่สุดคือการสร้างระบบซัพพลายเชนที่มีคุณภาพสูงขึ้น เกิดจกาหน่วยงานภายในของคุณเอง ไม่ใช่ปัญหาเรื่องแข่งภายนอก โดยระบบซัพพลายเชนที่มีคุณภาพสูง จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการองค์ที่มีความซับซ้อนภายในบริษัท
นอกจากนี้ ควรระวังทฤษฎีหลักการบริหารนั้นไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ตายตัว เช่นระบบ ERP, Balanced Scored Card, Six Sigma หรือ FRID เป็นต้น เพราะแค่หลักการไม่อาจทำให้ธุรกิจดีขึ้นได้" เขากล่าวว่า เมามักเข้าใจผิดกันว่าซัพพลายเชน คือ "โลจิสติกส์" เข้ารับ" เครือข่าย" ทั้งหมาดที่มีโดยเน้นที่การจัดการความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญซัพพลายเชนจะถูกขับเคลื่อนโดย "มนุษย์" ไม่ใช่ "เทคโนโลยี" การออกแบบการดำเนินงานในระบบซัพพลายเชนที่ต้องเริ่มต้นที่ตัวลูกค้า ไม่ใช่ซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิต หรือที่เรียกว่า reserved engineering เขากล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การเลือก 4PL (Fourth Party Logistics) ซึ่งเป็นองค์ที่ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ซึ่งจะเชื่อมโยงระบบซัพพลายเชนทั้งหมดของลูกค้าเข้าด้วยกัน และเทคโนโลยีของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายทั้งภายในเทคโนโลยของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กรเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณา
องค์กรที่ให้บริการ 4PL จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่จัดหาวัตถุดิบในการผลิต และผู้ผลิตรายหลัก ผู้ให้บริการด้าน โลจิสติกส์ผู้ให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์และโกดังสินค้า ผู้แทนจำหน่าย ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค "มีหลักฐานยืนยันมากมายถึงบริษัทที่ใช้บริการจกา 4PL และประสบความสำเร็จ อาทิ New Holland ซึ่งเป็นรายแรก ๆ ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1994 และสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 67 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 ปีแรก โดยค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้นั้น 20% เป็นค่าใช้จ่ายด้านสินค้าคงคลัง 65%% เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการงาน และ 15 % เป็นค่าใช้จ่ายด้านขนส่ง หรืออยาง Ford Clasa ที่นำมาใช้ในปี 1997 ก็สามารถลดต้นทุนดานซัพพลายเชนทั้งหมดได้ปีละ 6.7 ล้านดอลลาร์เป็นต้น" แม้ปัจจุบันจะมีผู้ให้บริการ 4PLระดับโลกหลายราย อาทิ DHL, UPS, FedEx ฯลฯ รวมทั้งยังมีผู้ให้บริการในแต่ละท้องถิ่นอีกจำนวนมาก แต่ดร.แกททอนา ทำนายอนาคตไว้ว่าธุรกิจโลจิสติกส์จะเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Joint Service Company (JSC)
JSC จะเป็นการร่วมมือและร่วมบริหารงานของบริษัทผู้ให้บริการด้านซัพพลายเชน และเป็นรูปแบบองค์กรที่มี "นวัตกรรม" ใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยองค์กรนี้จะให้บริการด้านซัพพลายเชนที่เป็นแบบ one stop shop สำหรับลูกค้า
"รูปแบบธุรกิจโมเดลใหม่นี้จะมาแทนที่ 4PL ในอนาคต จะเป็นการรวมตัวกันของผู้ให้บริการในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ รวมตัวกันเป็นองค์การแบบ JSC" ทว่าการปรับระบบดำเนินการในบริษัทใหม่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้บริหาร เพราะนักลงทุนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นล้วนต้องการความเชื่อมั่นว่า โมเดลการดำเนินงานแบบใหม่จะต้องมีประสิทธิภาพและคุ้มกับเงินที่ต้องเสียไป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงอาจจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่ว่าการไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย และบริหารแบบเดิมไปเรื่อย นั้น มีความเสี่ยงมากกว่า "ผมไม่รู้ว่สภาพการณ์ของซัพพลายเช่นในประเทศไทยเป็นอย่างไร แต่ในต่างประเทศนั้น การวางระบบซัพพลายเชนอาจต้องใช้เงินถึง 80% ของเงินทุนทั้งหมดของบริษัท และ 50% ของเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท ทำให้ต้องพิจารณารอบคอบมาก เพื่อให้คุ้มค่าเงินทุน และต้องการเงินลงทุนน้อยที่สุด"
การจัดอันดับกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาของซัพพลายเชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มประเทศที่พัฒนาระบบซัพพลายเชนแล้ว นำด้วยประเทศญี่ปุ่น ตามมาด้วยสิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้
กลุ่มที่สองคือกลุ่มกำลังพัฒนานำโดยประเทศมาเลเซีย ตามด้วยไทย จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ส่วนประเทศที่กำลังเติบโต ประกอบด้วยเวียดนาม กัมพูชา และลาว "เรียกได้ว่าประเทศไทยพัฒนาไปมากพอควรแม้จะเป็นรองมาเลเซีย แต่จากนโนบายภาครัฐที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนรายได้ในส่วนซัพพลายเชนในอนาคตน่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี"
"อย่างไรก็ตาม ในอนาคต อย่างไปคิดว่าในการผลิตในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน มาเลเซีย นั้นต้องเน้นไปที่ low cost อย่างเดียว จริงอยู่ที่ low cost จะทำให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดได้ แต่ในระยะยาวนั้น ต้องอยู่ได้ด้วยวัตกรรมและการสนองตอบที่รวดเร็วต่อลูกค้าซึ่งรูปแบบธุรกิจโมเดลใหม่นี้จะเริ่มใช้ในยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เอเชีย และอเมริกาในไม่ช้านี้ "
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
แม้ว่าปัจจุบันเราจะเริ่มได้ยินการบริหารจัดการ "ห่วงโซ่อุปสงค์" หรือ Demand Chain Management ว่ามีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการบริหารธุรกิจ ทว่าปฏิเสธความจาเป็นของ "ห่วงโซ่อุปทาน) Supply Chain Management ไปไม่ได้ เพราะซัพพลายเชนมีบทบาทสำคัญหรือเป็น Key Success Factor ของแทบทุกองค์กร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการที่ต้องตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้ "เร็ว" ที่สุด อย่างไรก็ตาม วันนี้ "ซัพพลายเชน" กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ดังนั้นผู้ประกอบการที่ต้องการอยู่รอดในธุรกิจจึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือหให้ทันการเปลี่ยนแปลง และ "ดร.จอห์น แกททอนา" ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโลจิสติกส์ ห่วงโซ่อุปทานและการตลาดระดับโลกกำลังมาอ่านเทรนด์ของธุรกิจโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน ให้รู้กัน เขากล่าวถึงแนวโน้มการจัดการซัพพลายเชนว่า ในภาวะที่ผู้ประกอบการทุกรายมีซัพพลายเชนเป็นส่วนสำคัญในการขนส่งสินค้าและบริการ ผู้ประกอบการต้องมีรูปแบบของระบบซัพพลายเชนที่ออกแบบและใช้งานอย่างทันสมัย ซึ่งในระบบซัพพลายเชนที่ทันสมัยนั้น 45% มาจากพฤติกรรมของคน อีก 45% มาจากเทคโนโลยี และอีก 10% มาจากระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่เข้ามาสนับสนุนระบบซัพพลายเชน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบซัพพลายเชนมี 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย ลูกค้าผู้ใช้บริการ และกลุ่มซัพพลายเออร์ ปัจจัยภายในคือกลุ่มพนักงานและผู้บริหาร "คุณไม่สามารถจะทำให้บริษัทเติบโตได้เลยหากคุณตัดงบในการพัฒนาบุคลากรทั้งสองด้านที่กล่าวมาออกอยู่เรื่อย ๆ เพราะการลงทุนเพื่อพัฒนาทางด้านซัพพลายเชน จำเป็นต่อความสำเร็จของทุกธุรกิจหลักด้านการกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไมเคิล พอร์ตเตอร์เพียงลำพังยังไม่เพียงพอต่อการให้ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นต้องการ"
ดร.แกททอนา กล่าวต่อไปว่า ธุรกิจสมัยใหม่จะต้องสามารถตอบรับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าด้วยระบบซัพพลายเชนที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับลูกค้าต่าง ๆ ที่สำคัญต้อง "มิกซ์" แอนด์ แมทช์" หรือผสมผสานความสามารถที่มีเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากที่สุด การจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบรับกระแสการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการนำกลวิธีทางการตลาดเข้ามาบริหารงาน โดยผู้ประกอบการยุคใหม่จะต้องออกแบบซัพพลายเชน ให้ตอบรับความต้องการของลูกค้าในหลายมิติ โดยแบ่งแยกกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่ม Segmentation นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร และการพัฒนาบุคลากรไปในเวลาเดียวกัน
"ในอีก 10 ปีต่อจากนี้ ธุรกิจจะต้องต่อสู้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชน coincident supply chain ไม่ใช่ต่อสู้ด้วยห่วงโซ่อุปทานเพียงหนึ่งเดียวโดยลำพัง free standing และปัญหาสำคัญที่สุดคือการสร้างระบบซัพพลายเชนที่มีคุณภาพสูงขึ้น เกิดจกาหน่วยงานภายในของคุณเอง ไม่ใช่ปัญหาเรื่องแข่งภายนอก โดยระบบซัพพลายเชนที่มีคุณภาพสูง จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการองค์ที่มีความซับซ้อนภายในบริษัท
นอกจากนี้ ควรระวังทฤษฎีหลักการบริหารนั้นไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ตายตัว เช่นระบบ ERP, Balanced Scored Card, Six Sigma หรือ FRID เป็นต้น เพราะแค่หลักการไม่อาจทำให้ธุรกิจดีขึ้นได้" เขากล่าวว่า เมามักเข้าใจผิดกันว่าซัพพลายเชน คือ "โลจิสติกส์" เข้ารับ" เครือข่าย" ทั้งหมาดที่มีโดยเน้นที่การจัดการความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญซัพพลายเชนจะถูกขับเคลื่อนโดย "มนุษย์" ไม่ใช่ "เทคโนโลยี" การออกแบบการดำเนินงานในระบบซัพพลายเชนที่ต้องเริ่มต้นที่ตัวลูกค้า ไม่ใช่ซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิต หรือที่เรียกว่า reserved engineering เขากล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การเลือก 4PL (Fourth Party Logistics) ซึ่งเป็นองค์ที่ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ซึ่งจะเชื่อมโยงระบบซัพพลายเชนทั้งหมดของลูกค้าเข้าด้วยกัน และเทคโนโลยีของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายทั้งภายในเทคโนโลยของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กรเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณา
องค์กรที่ให้บริการ 4PL จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่จัดหาวัตถุดิบในการผลิต และผู้ผลิตรายหลัก ผู้ให้บริการด้าน โลจิสติกส์ผู้ให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์และโกดังสินค้า ผู้แทนจำหน่าย ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค "มีหลักฐานยืนยันมากมายถึงบริษัทที่ใช้บริการจกา 4PL และประสบความสำเร็จ อาทิ New Holland ซึ่งเป็นรายแรก ๆ ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1994 และสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 67 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 ปีแรก โดยค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้นั้น 20% เป็นค่าใช้จ่ายด้านสินค้าคงคลัง 65%% เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการงาน และ 15 % เป็นค่าใช้จ่ายด้านขนส่ง หรืออยาง Ford Clasa ที่นำมาใช้ในปี 1997 ก็สามารถลดต้นทุนดานซัพพลายเชนทั้งหมดได้ปีละ 6.7 ล้านดอลลาร์เป็นต้น" แม้ปัจจุบันจะมีผู้ให้บริการ 4PLระดับโลกหลายราย อาทิ DHL, UPS, FedEx ฯลฯ รวมทั้งยังมีผู้ให้บริการในแต่ละท้องถิ่นอีกจำนวนมาก แต่ดร.แกททอนา ทำนายอนาคตไว้ว่าธุรกิจโลจิสติกส์จะเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Joint Service Company (JSC)
JSC จะเป็นการร่วมมือและร่วมบริหารงานของบริษัทผู้ให้บริการด้านซัพพลายเชน และเป็นรูปแบบองค์กรที่มี "นวัตกรรม" ใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยองค์กรนี้จะให้บริการด้านซัพพลายเชนที่เป็นแบบ one stop shop สำหรับลูกค้า
"รูปแบบธุรกิจโมเดลใหม่นี้จะมาแทนที่ 4PL ในอนาคต จะเป็นการรวมตัวกันของผู้ให้บริการในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ รวมตัวกันเป็นองค์การแบบ JSC" ทว่าการปรับระบบดำเนินการในบริษัทใหม่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้บริหาร เพราะนักลงทุนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นล้วนต้องการความเชื่อมั่นว่า โมเดลการดำเนินงานแบบใหม่จะต้องมีประสิทธิภาพและคุ้มกับเงินที่ต้องเสียไป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงอาจจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่ว่าการไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย และบริหารแบบเดิมไปเรื่อย นั้น มีความเสี่ยงมากกว่า "ผมไม่รู้ว่สภาพการณ์ของซัพพลายเช่นในประเทศไทยเป็นอย่างไร แต่ในต่างประเทศนั้น การวางระบบซัพพลายเชนอาจต้องใช้เงินถึง 80% ของเงินทุนทั้งหมดของบริษัท และ 50% ของเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท ทำให้ต้องพิจารณารอบคอบมาก เพื่อให้คุ้มค่าเงินทุน และต้องการเงินลงทุนน้อยที่สุด"
การจัดอันดับกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาของซัพพลายเชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มประเทศที่พัฒนาระบบซัพพลายเชนแล้ว นำด้วยประเทศญี่ปุ่น ตามมาด้วยสิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้
กลุ่มที่สองคือกลุ่มกำลังพัฒนานำโดยประเทศมาเลเซีย ตามด้วยไทย จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ส่วนประเทศที่กำลังเติบโต ประกอบด้วยเวียดนาม กัมพูชา และลาว "เรียกได้ว่าประเทศไทยพัฒนาไปมากพอควรแม้จะเป็นรองมาเลเซีย แต่จากนโนบายภาครัฐที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนรายได้ในส่วนซัพพลายเชนในอนาคตน่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี"
"อย่างไรก็ตาม ในอนาคต อย่างไปคิดว่าในการผลิตในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน มาเลเซีย นั้นต้องเน้นไปที่ low cost อย่างเดียว จริงอยู่ที่ low cost จะทำให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดได้ แต่ในระยะยาวนั้น ต้องอยู่ได้ด้วยวัตกรรมและการสนองตอบที่รวดเร็วต่อลูกค้าซึ่งรูปแบบธุรกิจโมเดลใหม่นี้จะเริ่มใช้ในยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เอเชีย และอเมริกาในไม่ช้านี้ "
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-