นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลัง แถลงผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนมกราคม 2548 ซึ่งยังคงสูงกว่าอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 แม้จะได้รับผลกระทบจากการเกิดธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ ก็ตาม การจัดเก็บรายได้สุทธิมีจำนวน 358,525 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 20,425 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 และสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 13.7 พร้อมทั้งคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2548 เชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่ตั้งไว้ 1,200,000 ล้านบาท โดยสรุปได้ ดังนี้
1. เดือนมกราคม 2548 รัฐบาลจัดเก็บได้สุทธิ 100,212 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6,262 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.5) เนื่องจากหน่วยงานจัดเก็บรายได้สูงกว่าที่คาดไว้ (ยกเว้นกรมสรรพสามิต) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐวิสาหกิจ รองลงมาได้แก่ กรมสรรพากร ส่วนราชการอื่น และกรมศุลกากร ตามลำดับภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,735 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.0)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,048 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.5)
- ส่วนราชการอื่น จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,723 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.4 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 25.2) สาเหตุสำคัญเนื่องจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมนำส่งรายได้ 4,993 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการร้อยละ 54.2
- รัฐวิสาหกิจ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 7,286 ล้านบาท หรือร้อยละ 259.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 208.0) เนื่องจากโรงงานยาสูบได้ชะลอการสร้างโรงงาน จึงได้นำส่งรายได้จำนวน 3,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้นำส่งรายได้จำนวน 3,000 ล้านบาท
สำหรับภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,181 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.4 เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างรถยยนต์ ตลอดจนการรณรงค์ลดการบริโภคสุราและบุหรี่ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
- ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,305 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.5 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.0)
- ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณ 1,247 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.0 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.0)
- ภาษียาสูบ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 913 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.7 (ต่ำกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 24.8)
- ภาษีน้ำมัน ต่ำกว่าประมาณการ 546 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.0 (แต่สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.7)
2. ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม 2547 — มกราคม 2548 )
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 358,525 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 20,425 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.4 ถ้าไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง)
ผลการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 229,173 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 23,365 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.6) เนื่องจากภาษีที่สำคัญส่วนใหญ่จัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 12,293 6,799 และ 2,017 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.5 15.5 และ 4.6 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.7 22.7 และ 5.2 ตามลำดับ) โดยการผลิตและการ บริโภคภายในประเทศยังเป็นพื้นฐานหลักในการส่งผลให้จัดเก็บได้เกินกว่าเป้าหมาย
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 96,459 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 6,902 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.3) เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีรถยนต์ต่ำกว่าประมาณการ 4,036 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.6) นอกจากนี้ภาษีเบียร์ยังจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,779 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.2 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 14.7)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 37,413 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,713 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.3) โดยอากรขาเข้าซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,601 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.4 เนื่องจากมูลค่านำเข้าที่สูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 (สกุลดอลล่าร์สหรัฐ) ถึงแม้จะมีผลกระทบจาก การปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร และการค้าเสรีไทยกับออสเตรเลียก็ตาม
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 40,134 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 15,516 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 50.6 ไม่รวมการขายหุ้นให้กองทุนฯ)
เนื่องจากรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมสูงกว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ โรงงานยาสูบได้ชะลอการสร้างโรงงาน จึงได้นำส่งรายได้จำนวน 3,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้นำส่งรายได้จำนวน 6,000 ล้านบาท
3. สรุป
การจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย โดยการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 18,176 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.3
ทั้งนี้ ผลการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวเมื่อจำแนกตามฐานภาษีปรากฏว่าภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ ฐานการค้าระหว่างประเทศ และฐานการบริโภคจัดเก็บได้สูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 15.4 10.4 และ 4.7 ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มที่ดี
4. การคาดการณ์รายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2548
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลใน 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 ยังคงสูงกว่าประมาณการร้อยละ 5.8 ตลอดจนการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่ายังมีทิศทางที่ดี ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และการปรับโครงสร้างภาษีสรรพากรทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตลอดจนกรณีการเกิดธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ ก็ตาม เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บได้รายได้สูงกว่า 1,200,000 ล้านบาท ที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 13/2548 7 กุมภาพันธ์ 2548--
1. เดือนมกราคม 2548 รัฐบาลจัดเก็บได้สุทธิ 100,212 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6,262 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.5) เนื่องจากหน่วยงานจัดเก็บรายได้สูงกว่าที่คาดไว้ (ยกเว้นกรมสรรพสามิต) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐวิสาหกิจ รองลงมาได้แก่ กรมสรรพากร ส่วนราชการอื่น และกรมศุลกากร ตามลำดับภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,735 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.0)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,048 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.5)
- ส่วนราชการอื่น จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,723 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.4 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 25.2) สาเหตุสำคัญเนื่องจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมนำส่งรายได้ 4,993 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการร้อยละ 54.2
- รัฐวิสาหกิจ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 7,286 ล้านบาท หรือร้อยละ 259.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 208.0) เนื่องจากโรงงานยาสูบได้ชะลอการสร้างโรงงาน จึงได้นำส่งรายได้จำนวน 3,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้นำส่งรายได้จำนวน 3,000 ล้านบาท
สำหรับภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,181 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.4 เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างรถยยนต์ ตลอดจนการรณรงค์ลดการบริโภคสุราและบุหรี่ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
- ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,305 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.5 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.0)
- ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณ 1,247 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.0 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.0)
- ภาษียาสูบ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 913 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.7 (ต่ำกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 24.8)
- ภาษีน้ำมัน ต่ำกว่าประมาณการ 546 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.0 (แต่สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.7)
2. ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม 2547 — มกราคม 2548 )
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 358,525 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 20,425 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.4 ถ้าไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง)
ผลการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 229,173 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 23,365 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.6) เนื่องจากภาษีที่สำคัญส่วนใหญ่จัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 12,293 6,799 และ 2,017 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.5 15.5 และ 4.6 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.7 22.7 และ 5.2 ตามลำดับ) โดยการผลิตและการ บริโภคภายในประเทศยังเป็นพื้นฐานหลักในการส่งผลให้จัดเก็บได้เกินกว่าเป้าหมาย
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 96,459 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 6,902 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.3) เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีรถยนต์ต่ำกว่าประมาณการ 4,036 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.6 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.6) นอกจากนี้ภาษีเบียร์ยังจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,779 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.2 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 14.7)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 37,413 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,713 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.3) โดยอากรขาเข้าซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,601 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.4 เนื่องจากมูลค่านำเข้าที่สูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 (สกุลดอลล่าร์สหรัฐ) ถึงแม้จะมีผลกระทบจาก การปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร และการค้าเสรีไทยกับออสเตรเลียก็ตาม
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 40,134 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 15,516 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 50.6 ไม่รวมการขายหุ้นให้กองทุนฯ)
เนื่องจากรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมสูงกว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ โรงงานยาสูบได้ชะลอการสร้างโรงงาน จึงได้นำส่งรายได้จำนวน 3,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้นำส่งรายได้จำนวน 6,000 ล้านบาท
3. สรุป
การจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย โดยการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 18,176 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.3
ทั้งนี้ ผลการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวเมื่อจำแนกตามฐานภาษีปรากฏว่าภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ ฐานการค้าระหว่างประเทศ และฐานการบริโภคจัดเก็บได้สูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 15.4 10.4 และ 4.7 ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มที่ดี
4. การคาดการณ์รายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2548
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลใน 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 ยังคงสูงกว่าประมาณการร้อยละ 5.8 ตลอดจนการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่ายังมีทิศทางที่ดี ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และการปรับโครงสร้างภาษีสรรพากรทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตลอดจนกรณีการเกิดธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ ก็ตาม เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บได้รายได้สูงกว่า 1,200,000 ล้านบาท ที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 13/2548 7 กุมภาพันธ์ 2548--