ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. บ.จีอีฯ ต้องคืนใบอนุญาต ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยให้ ธปท. หลังซื้อหุ้น ธ.กรุงศรีฯ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการด้าน
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยถึงกรณี บ.จีอี แคปปิตอล เอเชียแปซิฟิก เข้าซื้อหุ้น ธ.กรุงศรีอยุธยาเกินร้อยละ 25 ว่า หลังจาก
ได้รับอนุญาตให้ซื้อหุ้นได้แล้ว บ.จีอีฯ สามารถเข้าไปซื้อหุ้นจาก ธ.กรุงศรีฯ ได้ตามขั้นตอนปกติ และจะต้องคืนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ
ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยของ ธ.จีอี มันนี่ เพื่อรายย่อย ให้กับ ธปท. ซึ่งมีกำหนดเวลาอยู่แล้วว่าจะต้องคืนภายในเมื่อไหร่ ทั้งนี้ ในระหว่างคืนใบ
อนุญาต หากเงินฝากของลูกค้าใดครบกำหนดอายุ ธนาคารสามารถคืนเงินให้ลูกค้าตามปกติ ส่วนฐานเงินฝากลูกค้าที่ยังค้างอยู่สามารถไปขาย
ต่อให้กับสถาบันการเงินอื่นได้ แต่ทรัพย์สินต้องมีที่มาที่ไป (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ส่งเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้ ก.คลังพิจารณาแล้ว นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบัน
การเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ส่งความเห็นและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการกำกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตตามหลักเกณฑ์ใหม่ไปให้
ก.คลังพิจารณาแล้ว หาก ก.คลังตัดสินใจอย่างไรจึงจะส่งกลับมาที่ ธปท. เพื่อออกประกาศบังคับใช้ต่อไป ส่วน ก.คลังจะมีความเห็นเหมือนกับที่
ธปท. เสนอไปหรือไม่คงไม่สามารถบอกได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับอำนาจของ รมว.คลัง (โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. รอผลสอบกรณีทุจริต บค.ไทยเคหะ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า
การจะอนุมัติยกระดับ บค.ไทยเคหะ เป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยหรือไม่ขึ้นกับการตัดสินใจของ ก.คลัง ขณะนี้เรื่องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ
ธปท. โดยจะมีการนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงินเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง ด้าน นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วย
ผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า หลังจาก ก.คลังส่งเรื่องกลับมาให้ ธปท. พิจารณาว่า บค.ไทยเคหะ มีส่วนร่วมในการ
ทุจริตในบรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่ออยู่อาศัย (บตท.) หรือไม่นั้น ธปท. ยังไม่มีความเห็นส่งกลับไปที่ ก.คลัง เนื่องจากมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ
ไปยัง สนง. ตำรวจแห่งชาติ จึงต้องรอดูผลจากตำรวจซึ่งเป็นคนกลางอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ธปท. มีความเห็นว่า บค.ไทยเหคะ
ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตใน บตท. (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. ไทยขาดดุลการค้า 7 เดือนแรกปีนี้ 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 71.6 นางจันทรา บูรณฤกษ์
อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกในเดือน ก.ค.49 อยู่ที่ 11,153.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7
ส่วนการนำเข้ามีจำนวน 11,322.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.9 ทำให้เดือน ก.ค. ขาดดุล
169.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 60.4 ในขณะที่ยอดรวมการส่งออกช่วง 7 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่า 71,711.5 ล้านดอลลาร์
สรอ. และการนำเข้ามีมูลค่า 73,910.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ไทยขาดดุลการค้าช่วง 7 เดือนแรก จำนวน 2,198.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ลดลงร้อยละ 71.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุลการค้ารวมถึง 7,753.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าการส่งออกในช่วง
5 เดือนหลังของปีนี้ยังมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีปัญหาอยู่บ้างเรื่องราคาน้ำมันและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่คาดว่าการส่งออก
ในปีนี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15.0 — 17.5 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 130,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยูโรโซนเกินดุลการค้าจำนวน 2.0 พัน ล.ยูโรในเดือน มิ.ย.49 หลังจากที่ขาดดุลในเดือนก่อนหน้า รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 21 ส.ค.49 The European Union’s Statistics Office (Eurostat) เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.49 กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่
ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) เกินดุลการค้าเป็นจำนวน 2.0 พัน ล.ยูโร (2.57 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เทียบกับที่ขาดดุลการค้าเป็นจำนวน
3.2 พัน ล.ยูโรในเดือนก่อนหน้า โดยการนำเข้ามีมูลค่า 114.9 พัน ล.ยูโร และการส่งออกมีมูลค่า 116.9 พัน ล.ยูโร ขยายตัวร้อยละ 13
และร้อยละ 8 ตามลำดับ สะท้อนภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันเป็นผลการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศและความแข็งแกร่งของการค้า
กับต่างประเทศ แม้ว่าราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ในระดับสูงและเงินยูโรจะแข็งค่าขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ ความต้องการในประเทศที่ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น
ประกอบกับการส่งออกที่ยังคงแข็งแกร่ง เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจของยูโรโซนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จาก
ไตรมาสแรก นับเป็นการขยายตัว(เทียบต่อไตรมาส)สูงสุดในรอบ 6 ปี และสูงกว่าการขยายตัวของ สรอ.และญี่ปุ่น สำหรับดุลการค้าในเดือน
มิ.ย.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เกินดุลลดลงมากจากจำนวน 6.8 พัน ล.ยูโรในเดือน มิ.ย.48 ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือนดุลการค้า
ในเดือน มิ.ย.49 หลังปรับฤดูกาลขาดดุลจำนวน 1.1 พัน ล.ยูโร ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลจำนวน 1.2 พัน ล.ยูโร โดยการ
ส่งออกและการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 0.3 เท่ากัน (รอยเตอร์)
2. แรงกดดันด้านเงินเฟ้อของยูโรโซนเพิ่มขึ้นหลังจากธ.กลางยุโรปปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รอยเตอร์เปิดเผยเมื่อวันที่
21 ส.ค. 49 ว่า ธ.กลางยุโรปเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดในเรื่องแรงกดดันจากเงินเฟ้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความเสี่ยงด้านราคาที่เพิ่มสูงขึ้น
ในเขตยูโรโซน เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ราคาสินค้าส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น เกิดความเสี่ยงด้านราคา ภายหลังการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของ ธ.กลางยุโรป ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. ผ่อนคลายลงเหลือร้อยละ 2.4 จากร้อยละ 2.5 เมื่อ 2 เดือนก่อนหน้าที่เกือบ
ถึงระดับสูงสุดร้อยละ 2.6 เมื่อเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว แต่หากไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของยูโรโซนจะอยู่ที่ร้อยละ
1.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 เมื่อเดือนที่แล้ว นอกจากนั้น ธ.กลางยุโรปยังให้ความสนใจในดัชนีทางเศรษฐกิจอีกหลายตัว อาทิเช่น
Purchasing Managers’ Index, Gross Domestic Product Deflator, Labour Costs และ Eu Consumer and
Business Economic Seentiment Survey โดยพิจารณาว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อในระดับใด (รอยเตอร์)
3. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ
22 ส.ค.49 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่น ซึ่งครอบคลุมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่รวมถึงดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการ
(Tertiary sector index) ในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนี Final demand components
(ซึ่งเป็นดัชนีตัวใหม่ของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม) ในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม
ปกติเคยออกเผยแพร่ภายหลังดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการ แต่สำหรับเดือน มิ.ย.ตัวเลขดังกล่าวออกเผยแพร่หลังดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการ
หลายวัน เนื่องจากดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการออกเผยแพร่ก่อนกำหนด โดยดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการของอุตสาหกรรมภาคบริการในเดือน
มิ.ย.49 ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบต่อเดือน (รอยเตอร์)
4. รัฐบาลเกาหลีใต้จะจ่ายคืนเงินภาษีแก่ครอบครัวชาวเกาหลีที่มีรายได้ต่ำ รายงานจากโซลเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 49 รมว. คลัง
เกาหลีใต้เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมสวัสดิการสังคมในประเทศ รัฐบาลเกาหลีใต้มีโครงการที่จะจ่ายคืนภาษีเงินได้แก่ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ
ซึ่งคาดว่าในปีแรกคือปี 2551 จะมีครอบครัวที่มีรายได้ต่ำที่อยู่ ในเกณฑ์ได้รับประโยชน์ประมาณ 310,000 ครอบครัว หรือร้อยละ 1.8 ของ
ครัวเรือนทั้งหมดในประเทศ และภายใต้ระบบดังกล่าวครอบครัวที่มีลูก 2 คนหรือมากกว่า มีรายได้น้อยกว่า 17 ล้านวอน (17,770 ดอลลาร์
สรอ.) ต่อปี และไม่มีบ้านเป็นของตนเอง จะเริ่มได้รับเงินคืนปีละ 800,000 วอนตั้งแต่ปี 51 ทั้งนี้ในช่วง 6 ปีแรกจะให้สิทธิดังกล่าวแก่ครัวเรือน
ที่มีรายได้จากค่าจ้างเท่านั้น นอกจากนั้นจะมีการปรับลดอัตราภาษีรายได้จากอัตราดอกเบี้ยสำหรับชาวต่างชาติที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของ
เกาหลีใต้ให้เหลือเพียงร้อยละ 14 จากปัจจุบันที่จัดเก็บถึงร้อยละ 25 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่จัดเก็บกับคนในประเทศ เพื่อเป็นการจูงใจนัก
ลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรของเกาหลีใต้ให้มากขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ส.ค. 49 21 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.473 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.2791/37.5751 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 705.93/ 8.02 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 10,950/11,050 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.32 67.81 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 ส.ค. 49 29.39*/27.54 29.39*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. บ.จีอีฯ ต้องคืนใบอนุญาต ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยให้ ธปท. หลังซื้อหุ้น ธ.กรุงศรีฯ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการด้าน
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยถึงกรณี บ.จีอี แคปปิตอล เอเชียแปซิฟิก เข้าซื้อหุ้น ธ.กรุงศรีอยุธยาเกินร้อยละ 25 ว่า หลังจาก
ได้รับอนุญาตให้ซื้อหุ้นได้แล้ว บ.จีอีฯ สามารถเข้าไปซื้อหุ้นจาก ธ.กรุงศรีฯ ได้ตามขั้นตอนปกติ และจะต้องคืนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ
ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยของ ธ.จีอี มันนี่ เพื่อรายย่อย ให้กับ ธปท. ซึ่งมีกำหนดเวลาอยู่แล้วว่าจะต้องคืนภายในเมื่อไหร่ ทั้งนี้ ในระหว่างคืนใบ
อนุญาต หากเงินฝากของลูกค้าใดครบกำหนดอายุ ธนาคารสามารถคืนเงินให้ลูกค้าตามปกติ ส่วนฐานเงินฝากลูกค้าที่ยังค้างอยู่สามารถไปขาย
ต่อให้กับสถาบันการเงินอื่นได้ แต่ทรัพย์สินต้องมีที่มาที่ไป (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ส่งเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้ ก.คลังพิจารณาแล้ว นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบัน
การเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ส่งความเห็นและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการกำกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตตามหลักเกณฑ์ใหม่ไปให้
ก.คลังพิจารณาแล้ว หาก ก.คลังตัดสินใจอย่างไรจึงจะส่งกลับมาที่ ธปท. เพื่อออกประกาศบังคับใช้ต่อไป ส่วน ก.คลังจะมีความเห็นเหมือนกับที่
ธปท. เสนอไปหรือไม่คงไม่สามารถบอกได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับอำนาจของ รมว.คลัง (โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. รอผลสอบกรณีทุจริต บค.ไทยเคหะ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า
การจะอนุมัติยกระดับ บค.ไทยเคหะ เป็น ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยหรือไม่ขึ้นกับการตัดสินใจของ ก.คลัง ขณะนี้เรื่องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ
ธปท. โดยจะมีการนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงินเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง ด้าน นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วย
ผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า หลังจาก ก.คลังส่งเรื่องกลับมาให้ ธปท. พิจารณาว่า บค.ไทยเคหะ มีส่วนร่วมในการ
ทุจริตในบรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่ออยู่อาศัย (บตท.) หรือไม่นั้น ธปท. ยังไม่มีความเห็นส่งกลับไปที่ ก.คลัง เนื่องจากมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ
ไปยัง สนง. ตำรวจแห่งชาติ จึงต้องรอดูผลจากตำรวจซึ่งเป็นคนกลางอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ธปท. มีความเห็นว่า บค.ไทยเหคะ
ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตใน บตท. (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. ไทยขาดดุลการค้า 7 เดือนแรกปีนี้ 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 71.6 นางจันทรา บูรณฤกษ์
อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกในเดือน ก.ค.49 อยู่ที่ 11,153.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7
ส่วนการนำเข้ามีจำนวน 11,322.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.9 ทำให้เดือน ก.ค. ขาดดุล
169.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 60.4 ในขณะที่ยอดรวมการส่งออกช่วง 7 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่า 71,711.5 ล้านดอลลาร์
สรอ. และการนำเข้ามีมูลค่า 73,910.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ไทยขาดดุลการค้าช่วง 7 เดือนแรก จำนวน 2,198.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ลดลงร้อยละ 71.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุลการค้ารวมถึง 7,753.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าการส่งออกในช่วง
5 เดือนหลังของปีนี้ยังมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีปัญหาอยู่บ้างเรื่องราคาน้ำมันและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่คาดว่าการส่งออก
ในปีนี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15.0 — 17.5 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 130,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยูโรโซนเกินดุลการค้าจำนวน 2.0 พัน ล.ยูโรในเดือน มิ.ย.49 หลังจากที่ขาดดุลในเดือนก่อนหน้า รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 21 ส.ค.49 The European Union’s Statistics Office (Eurostat) เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.49 กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่
ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) เกินดุลการค้าเป็นจำนวน 2.0 พัน ล.ยูโร (2.57 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เทียบกับที่ขาดดุลการค้าเป็นจำนวน
3.2 พัน ล.ยูโรในเดือนก่อนหน้า โดยการนำเข้ามีมูลค่า 114.9 พัน ล.ยูโร และการส่งออกมีมูลค่า 116.9 พัน ล.ยูโร ขยายตัวร้อยละ 13
และร้อยละ 8 ตามลำดับ สะท้อนภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจ อันเป็นผลการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศและความแข็งแกร่งของการค้า
กับต่างประเทศ แม้ว่าราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ในระดับสูงและเงินยูโรจะแข็งค่าขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ ความต้องการในประเทศที่ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น
ประกอบกับการส่งออกที่ยังคงแข็งแกร่ง เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจของยูโรโซนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จาก
ไตรมาสแรก นับเป็นการขยายตัว(เทียบต่อไตรมาส)สูงสุดในรอบ 6 ปี และสูงกว่าการขยายตัวของ สรอ.และญี่ปุ่น สำหรับดุลการค้าในเดือน
มิ.ย.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เกินดุลลดลงมากจากจำนวน 6.8 พัน ล.ยูโรในเดือน มิ.ย.48 ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือนดุลการค้า
ในเดือน มิ.ย.49 หลังปรับฤดูกาลขาดดุลจำนวน 1.1 พัน ล.ยูโร ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลจำนวน 1.2 พัน ล.ยูโร โดยการ
ส่งออกและการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 0.3 เท่ากัน (รอยเตอร์)
2. แรงกดดันด้านเงินเฟ้อของยูโรโซนเพิ่มขึ้นหลังจากธ.กลางยุโรปปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รอยเตอร์เปิดเผยเมื่อวันที่
21 ส.ค. 49 ว่า ธ.กลางยุโรปเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดในเรื่องแรงกดดันจากเงินเฟ้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความเสี่ยงด้านราคาที่เพิ่มสูงขึ้น
ในเขตยูโรโซน เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ราคาสินค้าส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น เกิดความเสี่ยงด้านราคา ภายหลังการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของ ธ.กลางยุโรป ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. ผ่อนคลายลงเหลือร้อยละ 2.4 จากร้อยละ 2.5 เมื่อ 2 เดือนก่อนหน้าที่เกือบ
ถึงระดับสูงสุดร้อยละ 2.6 เมื่อเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว แต่หากไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของยูโรโซนจะอยู่ที่ร้อยละ
1.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 เมื่อเดือนที่แล้ว นอกจากนั้น ธ.กลางยุโรปยังให้ความสนใจในดัชนีทางเศรษฐกิจอีกหลายตัว อาทิเช่น
Purchasing Managers’ Index, Gross Domestic Product Deflator, Labour Costs และ Eu Consumer and
Business Economic Seentiment Survey โดยพิจารณาว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อในระดับใด (รอยเตอร์)
3. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ
22 ส.ค.49 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่น ซึ่งครอบคลุมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่รวมถึงดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการ
(Tertiary sector index) ในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนี Final demand components
(ซึ่งเป็นดัชนีตัวใหม่ของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม) ในเดือน มิ.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม
ปกติเคยออกเผยแพร่ภายหลังดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการ แต่สำหรับเดือน มิ.ย.ตัวเลขดังกล่าวออกเผยแพร่หลังดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการ
หลายวัน เนื่องจากดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการออกเผยแพร่ก่อนกำหนด โดยดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการของอุตสาหกรรมภาคบริการในเดือน
มิ.ย.49 ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบต่อเดือน (รอยเตอร์)
4. รัฐบาลเกาหลีใต้จะจ่ายคืนเงินภาษีแก่ครอบครัวชาวเกาหลีที่มีรายได้ต่ำ รายงานจากโซลเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 49 รมว. คลัง
เกาหลีใต้เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมสวัสดิการสังคมในประเทศ รัฐบาลเกาหลีใต้มีโครงการที่จะจ่ายคืนภาษีเงินได้แก่ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ
ซึ่งคาดว่าในปีแรกคือปี 2551 จะมีครอบครัวที่มีรายได้ต่ำที่อยู่ ในเกณฑ์ได้รับประโยชน์ประมาณ 310,000 ครอบครัว หรือร้อยละ 1.8 ของ
ครัวเรือนทั้งหมดในประเทศ และภายใต้ระบบดังกล่าวครอบครัวที่มีลูก 2 คนหรือมากกว่า มีรายได้น้อยกว่า 17 ล้านวอน (17,770 ดอลลาร์
สรอ.) ต่อปี และไม่มีบ้านเป็นของตนเอง จะเริ่มได้รับเงินคืนปีละ 800,000 วอนตั้งแต่ปี 51 ทั้งนี้ในช่วง 6 ปีแรกจะให้สิทธิดังกล่าวแก่ครัวเรือน
ที่มีรายได้จากค่าจ้างเท่านั้น นอกจากนั้นจะมีการปรับลดอัตราภาษีรายได้จากอัตราดอกเบี้ยสำหรับชาวต่างชาติที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของ
เกาหลีใต้ให้เหลือเพียงร้อยละ 14 จากปัจจุบันที่จัดเก็บถึงร้อยละ 25 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่จัดเก็บกับคนในประเทศ เพื่อเป็นการจูงใจนัก
ลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรของเกาหลีใต้ให้มากขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ส.ค. 49 21 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.473 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.2791/37.5751 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 705.93/ 8.02 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,100/11,200 10,950/11,050 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.32 67.81 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 19 ส.ค. 49 29.39*/27.54 29.39*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--