สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 เผย เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเมืองโคราชหวั่นใจ หลังผลผลิตฤดูกาลใหม่มีแนวโน้มราคาไม่สู้ดีนัก เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา สศข.5 เกรงอาจจะมีผลกระทบ เตือนเกษตรกรชะลอการเก็บเกี่ยวช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่ปลูกและเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมากกว่า 2 ล้านไร่ในรอบปี หรือมีเกษตรกรกว่า 2 แสนครัวเรือนเป็นผู้ปลูก ประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ
จากสถานการณ์ราคาผลผลิตมันสำปะหลัง ปีเก็บเกี่ยว 2550 (ตุลาคม 2549 — กันยายน 2550) ที่ราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มลดต่ำลง ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้ โดยราคาหัวมันสำปะหลังสดคละที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 0.84-0.92 บาท ราคาหัวมันสำปะหลังสด เชื้อแป้ง 25 % ที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 1.03-1.07 บาท เท่านั้น ในขณะที่ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 0.87 บาท
ถึงแม้ว่าในช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวและมีผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก แต่ตลาดกลับเงียบเหงาไม่คึกคักเช่นปีที่ผ่านมา ดังนั้น หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ ผลกระทบจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคมของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดสูงสุดในรอบปี จึงเตือนให้เกษตรกรระมัดระวัง และชะลอการเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาดังกล่าวออกไปก่อนหรือเก็บเกี่ยวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น นายอุดม กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่ปลูกและเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมากกว่า 2 ล้านไร่ในรอบปี หรือมีเกษตรกรกว่า 2 แสนครัวเรือนเป็นผู้ปลูก ประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ
จากสถานการณ์ราคาผลผลิตมันสำปะหลัง ปีเก็บเกี่ยว 2550 (ตุลาคม 2549 — กันยายน 2550) ที่ราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มลดต่ำลง ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้ โดยราคาหัวมันสำปะหลังสดคละที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 0.84-0.92 บาท ราคาหัวมันสำปะหลังสด เชื้อแป้ง 25 % ที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 1.03-1.07 บาท เท่านั้น ในขณะที่ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 0.87 บาท
ถึงแม้ว่าในช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวและมีผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก แต่ตลาดกลับเงียบเหงาไม่คึกคักเช่นปีที่ผ่านมา ดังนั้น หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ ผลกระทบจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคมของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดสูงสุดในรอบปี จึงเตือนให้เกษตรกรระมัดระวัง และชะลอการเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาดังกล่าวออกไปก่อนหรือเก็บเกี่ยวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น นายอุดม กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-