อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ไตรมาส 3 ปี 2548 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียปรับสูงขึ้น อันเนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้นมาโดยตลอด โดยเป็นผลจากปัยจัย
ภายนอกเอเชียเป็นหลัก เหตุการณ์สำคัญได้แก่ การสิ้นพระชนม์ของ King Fahd แห่งซาอุดิอาระเบีย มีส่วนทำให้ตลาดมีความกังวลต่อนโยบายการ
ผลิตน้ำมันของผู้ผลิตรายใหญ่ในกลุ่มโอเปค นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองต่าง ๆ ตลอดจนผลของเฮอริเคนในสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้
โรงกลั่นน้ำมันและหน่วยผลิตปิโตรเคมีหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาต้องหยุดผลิตเป็นการชั่วคราว ทำให้ตลาดปิโตรเคมีตึงตัว ทั้งนี้ ราคาแนฟธาโดยเฉลี่ย
ในเดือนกันยายนปรับสูงขึ้นกว่าราคาน้ำมันดิบมาก เนื่องจากภาวการณ์ตึงตัวของตลาดแนฟธา ซึ่งมีผลจากโรงกลั่นน้ำมันในบางประเทศลดปริมาณการขาย
แนฟธาออกสู่ตลาด ส่วนราคาเอทิลีนตลาดเอเชียก็ปรับสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเอทิลีนแครกเกอร์บางแห่งมีการลดกำลังการผลิตลง เพราะแนฟธาไม่
เพียงพอต่อการผลิต ในส่วนของตลาดยุโรปมีความต้องการเม็ดพลาสติกมากขึ้น ในขณะที่แครกเกอร์หลายแห่งในยุโรปมีการปิดฉุกเฉินและต้องหยุดส่งเอทิ
ลีนชั่วคราว ส่งผลต่อการผลิต PE ทำให้ราคา PE ในตลาดยุโรปปรับสูงขึ้น
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP อยู่ในภาวะทรงตัวตามภาวะอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ชะลอตัว เนื่องจากการ
ลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลในเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลง ส่วนสถานการณ์ตลาดเอทิลีนและโพรพิลีนยังคงตึงตัวอยู่
การผลิต
ไตรมาส 3 ปี 2548 อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่ง
เป็นผลจากปัญหาภัยแล้ง ส่งผลต่อความกังวลของผู้ผลิตปิโตรเคมีเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตได้พยายามป้องกันความเสี่ยงด้วยการหาน้ำจากแหล่ง
อื่นเข้ามาสำรองใช้ รวมทั้งได้ร่วมกันรณรงค์ประหยัดการใช้น้ำ โดยผู้ผลิตบางรายจำเป็นต้องลดปริมาณการผลิตลงบางส่วน
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีโครงการขยายการผลิต โดยประเทศอินเดียจะขยายกำลังการผลิต PP จาก
600,000 ตัน/ปี เป็น 700,000 ตัน/ปี ส่วนจีนมีโครงการขยายกำลังการผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ 800,000 ตัน/ปี
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2548 ระดับราคาปรับเพิ่มขี้น โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE
Asia CIF) ในเดือนกันยายน 2548 ของ LDPE, HDPE, และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 44.75, 44.18 และ 46.42 บาท/
กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE มีระดับราคาเฉลี่ยลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย ที่ระดับราคา 44.05 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่ HDPE และ PP
มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ระดับราคา 42.19 แล 44.97 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2548 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 2,756.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 11,238.68 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.41 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 19,391.27 ล้านบาทเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 20.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2547 Q2/2548 Q3/2548 Q3/Q2 2548 Q3 2548 /Q3 2547
ขั้นต้น 1,974.25 2,630 2,756.47 4.81 39.62
ขั้นกลาง 11,025.12 12,406 11,238.68 -9.41 1.94
ขั้นปลาย 14,828.58 16,126 19,391.27 20.25 30.77
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2548 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 10,515.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่
แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 5,778.49 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.66
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 39,724.61 ล้าน
บาท ลดลงร้อยละ 10.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2547 Q2/2548 Q3/2548 Q3/Q2 2548 Q3 2548 /Q3 2547
ขั้นต้น 8,773.11 10,118 10515.73 3.93 19.86
ขั้นกลาง 4,560.88 7,018 5,778.49 -17.66 26.69
ขั้นปลาย 29845.47 44,178 39724.61 -10.08 33.1
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
แนวโน้ม
สถานการณ์ตลาดเอทิลีนจะยังคงมีแนวโน้มตึงตัวต่อไป เนื่องจากเอทิลีนแครกเกอร์หลายแหล่งทั้งในจีนและเกาหลีใต้มีการปิดซ่อมบำรุง
และหลังจากหมดช่วงวันหยุดยาวในจีน คาดว่าความต้องการเอทิลีนจะสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเอทิลีนและ PE มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
สำหรับประเทศไทยแนวโน้มความต้องการใช้เม็ดพลาสติกน่าจะสูงขึ้น เพื่อใช้รองรับกับการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้นในช่วง
เทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ไตรมาส 3 ปี 2548 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียปรับสูงขึ้น อันเนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้นมาโดยตลอด โดยเป็นผลจากปัยจัย
ภายนอกเอเชียเป็นหลัก เหตุการณ์สำคัญได้แก่ การสิ้นพระชนม์ของ King Fahd แห่งซาอุดิอาระเบีย มีส่วนทำให้ตลาดมีความกังวลต่อนโยบายการ
ผลิตน้ำมันของผู้ผลิตรายใหญ่ในกลุ่มโอเปค นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองต่าง ๆ ตลอดจนผลของเฮอริเคนในสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้
โรงกลั่นน้ำมันและหน่วยผลิตปิโตรเคมีหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาต้องหยุดผลิตเป็นการชั่วคราว ทำให้ตลาดปิโตรเคมีตึงตัว ทั้งนี้ ราคาแนฟธาโดยเฉลี่ย
ในเดือนกันยายนปรับสูงขึ้นกว่าราคาน้ำมันดิบมาก เนื่องจากภาวการณ์ตึงตัวของตลาดแนฟธา ซึ่งมีผลจากโรงกลั่นน้ำมันในบางประเทศลดปริมาณการขาย
แนฟธาออกสู่ตลาด ส่วนราคาเอทิลีนตลาดเอเชียก็ปรับสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเอทิลีนแครกเกอร์บางแห่งมีการลดกำลังการผลิตลง เพราะแนฟธาไม่
เพียงพอต่อการผลิต ในส่วนของตลาดยุโรปมีความต้องการเม็ดพลาสติกมากขึ้น ในขณะที่แครกเกอร์หลายแห่งในยุโรปมีการปิดฉุกเฉินและต้องหยุดส่งเอทิ
ลีนชั่วคราว ส่งผลต่อการผลิต PE ทำให้ราคา PE ในตลาดยุโรปปรับสูงขึ้น
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP อยู่ในภาวะทรงตัวตามภาวะอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ชะลอตัว เนื่องจากการ
ลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลในเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลง ส่วนสถานการณ์ตลาดเอทิลีนและโพรพิลีนยังคงตึงตัวอยู่
การผลิต
ไตรมาส 3 ปี 2548 อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่ง
เป็นผลจากปัญหาภัยแล้ง ส่งผลต่อความกังวลของผู้ผลิตปิโตรเคมีเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตได้พยายามป้องกันความเสี่ยงด้วยการหาน้ำจากแหล่ง
อื่นเข้ามาสำรองใช้ รวมทั้งได้ร่วมกันรณรงค์ประหยัดการใช้น้ำ โดยผู้ผลิตบางรายจำเป็นต้องลดปริมาณการผลิตลงบางส่วน
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีโครงการขยายการผลิต โดยประเทศอินเดียจะขยายกำลังการผลิต PP จาก
600,000 ตัน/ปี เป็น 700,000 ตัน/ปี ส่วนจีนมีโครงการขยายกำลังการผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ 800,000 ตัน/ปี
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2548 ระดับราคาปรับเพิ่มขี้น โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE
Asia CIF) ในเดือนกันยายน 2548 ของ LDPE, HDPE, และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 44.75, 44.18 และ 46.42 บาท/
กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE มีระดับราคาเฉลี่ยลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย ที่ระดับราคา 44.05 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่ HDPE และ PP
มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ระดับราคา 42.19 แล 44.97 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2548 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 2,756.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 11,238.68 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.41 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 19,391.27 ล้านบาทเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 20.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2547 Q2/2548 Q3/2548 Q3/Q2 2548 Q3 2548 /Q3 2547
ขั้นต้น 1,974.25 2,630 2,756.47 4.81 39.62
ขั้นกลาง 11,025.12 12,406 11,238.68 -9.41 1.94
ขั้นปลาย 14,828.58 16,126 19,391.27 20.25 30.77
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2548 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 10,515.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่
แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 5,778.49 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.66
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 39,724.61 ล้าน
บาท ลดลงร้อยละ 10.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2547 Q2/2548 Q3/2548 Q3/Q2 2548 Q3 2548 /Q3 2547
ขั้นต้น 8,773.11 10,118 10515.73 3.93 19.86
ขั้นกลาง 4,560.88 7,018 5,778.49 -17.66 26.69
ขั้นปลาย 29845.47 44,178 39724.61 -10.08 33.1
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
แนวโน้ม
สถานการณ์ตลาดเอทิลีนจะยังคงมีแนวโน้มตึงตัวต่อไป เนื่องจากเอทิลีนแครกเกอร์หลายแหล่งทั้งในจีนและเกาหลีใต้มีการปิดซ่อมบำรุง
และหลังจากหมดช่วงวันหยุดยาวในจีน คาดว่าความต้องการเอทิลีนจะสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเอทิลีนและ PE มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
สำหรับประเทศไทยแนวโน้มความต้องการใช้เม็ดพลาสติกน่าจะสูงขึ้น เพื่อใช้รองรับกับการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้นในช่วง
เทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-