นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เนื่องจากรัฐบาลมีการจัดทำเขตการค้าเสรี ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ทางด้านการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น แต่จะมีสินค้าบางกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้า ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่อาจได้รับผลกระทบจากเขตการค้าเสรี คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยมีงบประมาณรองรับ 10,000 ล้านบาท แต่ในเบื้องต้นได้รับการจัดสรรงบประมาณให้แล้ว 300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าของสินค้าเกษตรและอาหาร และช่วยเหลือให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนาช่องทางการตลาดของสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากข้อตกลงภายใต้เขตการค้าเสรี (FTA)
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนฯ ดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ส่วนราชการ เอกชน และเกษตรกรที่มาติดต่ออย่างมีประสิทธิผลสูงสุด จึงได้ตั้งสำนักงานกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (สกค. หรือสำนักงานกองทุน FTA) ขึ้น ณ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยสำนักงานฯ จะทำหน้าที่ประสานงานและให้คำแนะนำการจัดทำแผนงาน/โครงการที่ขอมา สอดคล้องกับกรอบนโยบายการปรับโครงสร้างภาคเกษตร ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ นอกจากนี้ยังเป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
ขณะนี้ ทางสำนักงานฯ ได้กำหนดกรอบให้ความช่วยเหลือเกษตรกร โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการทำ FTA แล้ว เช่น เนื้อโค นม และผลิตภัณฑ์ กระเทียม หอมหัวใหญ่ และส้ม เป็นต้น ซึ่งกองทุนฯ จะต้องเข้าไปช่วยดูแลทั้งระบบตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด และกลุ่มสินค้าซึ่งปัจจุบันยังไม่เกิดปัญหา แต่คาดว่าในอนาคตจะได้รับผลกระทบเมื่อทำ FTA เช่น ชา ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งกองทุนฯ จะต้องเข้าไปช่วยเหลือด้านปรับโครงสร้างการผลิต เปลี่ยนพันธุ์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรได้ปรับตัวเองก่อน เพื่อลดความเสียหาย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนฯ ดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ส่วนราชการ เอกชน และเกษตรกรที่มาติดต่ออย่างมีประสิทธิผลสูงสุด จึงได้ตั้งสำนักงานกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (สกค. หรือสำนักงานกองทุน FTA) ขึ้น ณ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยสำนักงานฯ จะทำหน้าที่ประสานงานและให้คำแนะนำการจัดทำแผนงาน/โครงการที่ขอมา สอดคล้องกับกรอบนโยบายการปรับโครงสร้างภาคเกษตร ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ นอกจากนี้ยังเป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
ขณะนี้ ทางสำนักงานฯ ได้กำหนดกรอบให้ความช่วยเหลือเกษตรกร โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการทำ FTA แล้ว เช่น เนื้อโค นม และผลิตภัณฑ์ กระเทียม หอมหัวใหญ่ และส้ม เป็นต้น ซึ่งกองทุนฯ จะต้องเข้าไปช่วยดูแลทั้งระบบตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด และกลุ่มสินค้าซึ่งปัจจุบันยังไม่เกิดปัญหา แต่คาดว่าในอนาคตจะได้รับผลกระทบเมื่อทำ FTA เช่น ชา ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งกองทุนฯ จะต้องเข้าไปช่วยเหลือด้านปรับโครงสร้างการผลิต เปลี่ยนพันธุ์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรได้ปรับตัวเองก่อน เพื่อลดความเสียหาย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-