สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการได้ควบคุมปริมาณการผลิต ปริมาณไก่ในตลาดมีน้อย และราคาเนื้อไก่ถูกกว่าสินค้าชนิดอื่นๆ แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
กรมปศุสัตว์ รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนกของประเทศไทยยังไม่พบการระบาดเพิ่มเติม หลังจากพบการระบาดของโรคในรอบที่ 4 จ.พิจิตร และ จ.นครพนม เชื่อว่าเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการเชิงรุก ในการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-ray) ทำให้สามารถค้นหาโรคไข้หวัดนกที่อาจแฝงตัวอยู่ในพื้นที่ได้ และเมื่อพบโรคก็สามารถควบคุมและจำกัดโรคได้รวดเร็วและทันการ ซึ่งยังต้องดำเนินการให้เข้มงวดต่อไป ส่วนการปรับการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเข้าสู่การเลี้ยงระบบฟาร์มปิด ได้จัดการเข้าสู่ระบบกว่า 50 % และจะเร่งดำเนินการให้เป็ดไล่ทุ่งเข้าระบบให้เสร็จปลายปีนี้ โดยเฉพาะพื้นที่เป้าหมายใน 3 จังหวัด คือ นครสรรค์ สุพรรณบุรี และปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีนกอพยพเข้ามาในช่วงเดือนตุลาคม — พฤศจิกายน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก และจะได้ขยายการดำเนินงานไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 29.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.57บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือไม่มีรายงาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.11 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 26.75บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 4.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 11.63 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 30.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.39
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 18 - 24 กันยายน 2549--
-พห-
สัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการได้ควบคุมปริมาณการผลิต ปริมาณไก่ในตลาดมีน้อย และราคาเนื้อไก่ถูกกว่าสินค้าชนิดอื่นๆ แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
กรมปศุสัตว์ รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนกของประเทศไทยยังไม่พบการระบาดเพิ่มเติม หลังจากพบการระบาดของโรคในรอบที่ 4 จ.พิจิตร และ จ.นครพนม เชื่อว่าเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการเชิงรุก ในการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-ray) ทำให้สามารถค้นหาโรคไข้หวัดนกที่อาจแฝงตัวอยู่ในพื้นที่ได้ และเมื่อพบโรคก็สามารถควบคุมและจำกัดโรคได้รวดเร็วและทันการ ซึ่งยังต้องดำเนินการให้เข้มงวดต่อไป ส่วนการปรับการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเข้าสู่การเลี้ยงระบบฟาร์มปิด ได้จัดการเข้าสู่ระบบกว่า 50 % และจะเร่งดำเนินการให้เป็ดไล่ทุ่งเข้าระบบให้เสร็จปลายปีนี้ โดยเฉพาะพื้นที่เป้าหมายใน 3 จังหวัด คือ นครสรรค์ สุพรรณบุรี และปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีนกอพยพเข้ามาในช่วงเดือนตุลาคม — พฤศจิกายน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก และจะได้ขยายการดำเนินงานไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 29.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.57บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือไม่มีรายงาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.11 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 26.75บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 4.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 11.63 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 30.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.39
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำวันที่ 18 - 24 กันยายน 2549--
-พห-