แท็ก
จระเข้
คำถาม : อยากทราบสถานการณ์ส่งออกเนื้อจระเข้แช่แข็งของไทยไปจีน
คำตอบ : ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเพาะเลี้ยงจระเข้และเป็นผู้ส่งออกจระเข้รายใหญ่ของโลก อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์จากจระเข้ที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยกลับเป็นหนังจระเข้ ขณะที่เนื้อจระเข้ยังมีมูลค่าส่งออกน้อยมาก แม้ว่ากำลังเป็นที่นิยมบริโภคและมีตลาดรองรับอีกมาก โดยเฉพาะตลาดจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่และประชาชนจำนวนมากนิยมบริโภคเนื้อจระเข้ เพราะมีความเชื่อว่า เนื้อจระเข้มีสรรพคุณทางยาและเป็นอาหารบำรุงกำลัง ทั้งนี้ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกเนื้อจระเข้ไปจีน เนื่องจากจีนไม่มีระเบียบรองรับการนำเข้าเนื้อจระเข้จากต่างประเทศ ส่งผลให้การส่งออกจระเข้จากไทยไปจีนในปัจจุบันยังจำกัดอยู่เฉพาะจระเข้มีชีวิตเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดดังกล่าวกำลังจะหมดไปในปี 2549 เนื่องจากไทยและจีนได้ร่วมลงนามพิธีสารว่าด้วย "การตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้ของไทยไปจีน" เมื่อเดือนกันยายน 2548 หลังจากที่เจ้าหน้าที่จีนเข้ามาตรวจสอบวิธีการควบคุมการเลี้ยงและการชำแหละเนื้อจระเข้ของไทย (โดยมี กรมประมงเป็นผู้ให้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบบ่อเลี้ยงและโรงชำแหละเนื้อจระเข้) พิธีสารดังกล่าวคาดว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดส่งออกเนื้อจระเข้ของไทย เพื่อรองรับความ ต้องการบริโภคเนื้อจระเข้ที่เพิ่มขึ้นในจีน โดยคาดว่าจีนจะเริ่มนำเข้าเนื้อจระเข้จากไทยภายในปี 2549
ทั้งนี้ สาระสำคัญของพิธีสารว่าด้วยการตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้ของไทยไปจีน มีดังนี้
คุณสมบัติของเนื้อจระเข้ :
- เนื้อจระเข้ที่ส่งออกไปจีนต้องมาจากจระเข้ในฟาร์มเพาะเลี้ยงที่กรมประมงรับรองมาตรฐาน วิธีเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice : GAP)
- เนื้อไก่ที่เป็นอาหารของจระเข้ต้องมาจากโรงชำแหละไก่เพื่อการส่งออกเท่านั้น
- เนื้อจระเข้ส่งออกต้องมาจากจระเข้ที่มีสุขภาพดี ปลอดจากพยาธิและเชื้ออหิวาตกโรค
- โรงชำแหละและโรงงานแปรรูปต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน พร้อมขึ้นทะเบียนกับกรมประมง ของไทย
ปริมาณการนำเข้า :
- จีนอนุญาตให้นำเข้าเนื้อจระเข้แช่แข็งจากไทยได้ไม่จำกัดปริมาณ
จากการที่ไทยประสบความสำเร็จในการลงนามพิธีสารว่าด้วยการตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้กับจีนเป็นประเทศแรกและเป็นประเทศเดียวในปัจจุบัน ประกอบกับไทยมีกำลังการผลิตจระเข้สำหรับส่งออกรวมประมาณ 4-5 แสนตัวต่อปี จากฟาร์มเพาะเลี้ยงจระเข้ 18 รายที่ขึ้นทะเบียนส่งออกกับกรมประมง ขณะที่จีนมีความต้องการบริโภคเนื้อจระเข้มากขึ้น ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเอื้อต่อการส่งออกเนื้อจระเข้ของไทยไปจีน ผู้ประกอบการไทยจึงควรรักษาโอกาสนี้ ด้วยการเน้นคุณภาพ
เนื้อจระเข้ส่งออก รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตที่จีนกำหนดอย่างเข้มงวด อันจะส่งผลดีต่อชื่อเสียงของผู้ส่งออก และเป็นผลดีต่อการส่งออกเนื้อจระเข้ของไทยในระยะยาว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเพาะเลี้ยงจระเข้และเป็นผู้ส่งออกจระเข้รายใหญ่ของโลก อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์จากจระเข้ที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยกลับเป็นหนังจระเข้ ขณะที่เนื้อจระเข้ยังมีมูลค่าส่งออกน้อยมาก แม้ว่ากำลังเป็นที่นิยมบริโภคและมีตลาดรองรับอีกมาก โดยเฉพาะตลาดจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่และประชาชนจำนวนมากนิยมบริโภคเนื้อจระเข้ เพราะมีความเชื่อว่า เนื้อจระเข้มีสรรพคุณทางยาและเป็นอาหารบำรุงกำลัง ทั้งนี้ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกเนื้อจระเข้ไปจีน เนื่องจากจีนไม่มีระเบียบรองรับการนำเข้าเนื้อจระเข้จากต่างประเทศ ส่งผลให้การส่งออกจระเข้จากไทยไปจีนในปัจจุบันยังจำกัดอยู่เฉพาะจระเข้มีชีวิตเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดดังกล่าวกำลังจะหมดไปในปี 2549 เนื่องจากไทยและจีนได้ร่วมลงนามพิธีสารว่าด้วย "การตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้ของไทยไปจีน" เมื่อเดือนกันยายน 2548 หลังจากที่เจ้าหน้าที่จีนเข้ามาตรวจสอบวิธีการควบคุมการเลี้ยงและการชำแหละเนื้อจระเข้ของไทย (โดยมี กรมประมงเป็นผู้ให้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบบ่อเลี้ยงและโรงชำแหละเนื้อจระเข้) พิธีสารดังกล่าวคาดว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดส่งออกเนื้อจระเข้ของไทย เพื่อรองรับความ ต้องการบริโภคเนื้อจระเข้ที่เพิ่มขึ้นในจีน โดยคาดว่าจีนจะเริ่มนำเข้าเนื้อจระเข้จากไทยภายในปี 2549
ทั้งนี้ สาระสำคัญของพิธีสารว่าด้วยการตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้ของไทยไปจีน มีดังนี้
คุณสมบัติของเนื้อจระเข้ :
- เนื้อจระเข้ที่ส่งออกไปจีนต้องมาจากจระเข้ในฟาร์มเพาะเลี้ยงที่กรมประมงรับรองมาตรฐาน วิธีเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice : GAP)
- เนื้อไก่ที่เป็นอาหารของจระเข้ต้องมาจากโรงชำแหละไก่เพื่อการส่งออกเท่านั้น
- เนื้อจระเข้ส่งออกต้องมาจากจระเข้ที่มีสุขภาพดี ปลอดจากพยาธิและเชื้ออหิวาตกโรค
- โรงชำแหละและโรงงานแปรรูปต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน พร้อมขึ้นทะเบียนกับกรมประมง ของไทย
ปริมาณการนำเข้า :
- จีนอนุญาตให้นำเข้าเนื้อจระเข้แช่แข็งจากไทยได้ไม่จำกัดปริมาณ
จากการที่ไทยประสบความสำเร็จในการลงนามพิธีสารว่าด้วยการตรวจสอบกักกันการนำเข้าเนื้อจระเข้กับจีนเป็นประเทศแรกและเป็นประเทศเดียวในปัจจุบัน ประกอบกับไทยมีกำลังการผลิตจระเข้สำหรับส่งออกรวมประมาณ 4-5 แสนตัวต่อปี จากฟาร์มเพาะเลี้ยงจระเข้ 18 รายที่ขึ้นทะเบียนส่งออกกับกรมประมง ขณะที่จีนมีความต้องการบริโภคเนื้อจระเข้มากขึ้น ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเอื้อต่อการส่งออกเนื้อจระเข้ของไทยไปจีน ผู้ประกอบการไทยจึงควรรักษาโอกาสนี้ ด้วยการเน้นคุณภาพ
เนื้อจระเข้ส่งออก รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตที่จีนกำหนดอย่างเข้มงวด อันจะส่งผลดีต่อชื่อเสียงของผู้ส่งออก และเป็นผลดีต่อการส่งออกเนื้อจระเข้ของไทยในระยะยาว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2549--
-พห-