สศอ.เผยยานยนต์-คอมพ์ฯแรงไม่แผ่วผู้ผลิตเร่งทำตลาดสินค้าใหม่ต่อเนื่อง ส่งดัชนีอุตฯม.ค.เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 12.68 เทียบกับปี 2548 คาดทิศทางอุตฯไทยยังไปต่อเหตุปัจจัยหนุนหลายทาง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 152.16 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.25 จากเดือนก่อนที่ระดับ 152.54 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.68 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 จากระดับ 135.04 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 67.93
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม คือ ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 160.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.23 จากระดับ 157.27 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.47 จากระดับ 141.69 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 136.02 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.82 จากระดับ 129.77 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.32 จากระดับ 125.58 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 193.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35 จากระดับ 185.71 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.15 จากระดับ 164.01 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 143.63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.60 จากระดับ 139.99 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.42 จากระดับ 132.48
ส่วนดัชนีที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน คือ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 157.96 ลดลงร้อยละ 20.29 จากระดับ 198.17 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 จากระดับ 151.11 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 111.54 ลดลงร้อยละ 2.11จากระดับ 113.95 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 จากระดับ 109.74
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ และการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
โดย การผลิตยานยนต์ มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 16.7 ซึ่งเป็นผลจากการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4 และรถปิกอัพ ขนาด 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เนื่องจากในเดือนกุมภาพันธ์มีการแข่งขันสูง โดยบริษัทรถยนต์รายใหญ่ได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ออกมาทำการตลาดทั้งรถยนต์นั่งและรถปิกอัพ จึงส่งผลต่อการผลิตที่เพิ่มขึ้น
ส่วนการจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 17.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง โดยเฉพาะเครื่องยนต์ไม่เกิน 1,800 ซีซี ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 17.3 โดยยอดจำหน่ายนี้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ ส่วนรถปิกอัพ จำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เป็นยอดส่งออกเพิ่มจากเดือนก่อนร้อยละ 45.8 ในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 และยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วน การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 8 โดยสินค้าสำคัญในกลุ่มนี้ยังคงเป็น Hard Disk Drive มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เนื่องจากผู้ผลิตได้เร่งผลิตสินค้าให้มากขึ้นเพื่อชดเชยการผลิตที่ลดลงในเดือนก่อนที่มีการผลิตต่ำกว่าเป้า สำหรับแนวโน้มในภาพรวมของธุรกิจในสินค้ากลุ่มยังมีอัตราการขยายตัวได้อีก ดังนั้นผู้ประกอบการควรผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานและปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้สนองความต้องการของผู้ใช้ให้มีความพอใจมากที่สุด
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ ยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญได้แก่ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ และการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง
โดย การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ ในเดือนกุมภาพันธ์ มีคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าเข้ามาค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นเช่นทุกปี (ม.ค.-เม.ย.) และจะเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาอย่างหนาแน่นในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ดังนั้นจึงมีการผลิต ลดลงร้อยละ 14.2 และจำหน่ายลดลงร้อยละ 2.8
ส่วน การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง มีการผลิตลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.4 เนื่องจากมีโรงงานผู้ผลิตรายใหญ่ได้ปิดซ่อมบำรุงประจำปี ส่วนการจำหน่ายมีทิศทางลดลงเช่นกัน เนื่องจากราคากระดาษค่อนข้างสูงอีกทั้งมีการนำเข้าจากประเทศจีน ทำให้กลุ่มลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจากจีนที่มีราคาต่ำกว่า รวมทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายสินค้าในกลุ่มนี้ลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 152.16 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.25 จากเดือนก่อนที่ระดับ 152.54 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.68 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 จากระดับ 135.04 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 67.93
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม คือ ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 160.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.23 จากระดับ 157.27 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.47 จากระดับ 141.69 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 136.02 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.82 จากระดับ 129.77 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.32 จากระดับ 125.58 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 193.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35 จากระดับ 185.71 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.15 จากระดับ 164.01 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 143.63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.60 จากระดับ 139.99 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.42 จากระดับ 132.48
ส่วนดัชนีที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน คือ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 157.96 ลดลงร้อยละ 20.29 จากระดับ 198.17 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 จากระดับ 151.11 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 111.54 ลดลงร้อยละ 2.11จากระดับ 113.95 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 จากระดับ 109.74
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ และการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
โดย การผลิตยานยนต์ มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 16.7 ซึ่งเป็นผลจากการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4 และรถปิกอัพ ขนาด 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เนื่องจากในเดือนกุมภาพันธ์มีการแข่งขันสูง โดยบริษัทรถยนต์รายใหญ่ได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ออกมาทำการตลาดทั้งรถยนต์นั่งและรถปิกอัพ จึงส่งผลต่อการผลิตที่เพิ่มขึ้น
ส่วนการจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 17.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง โดยเฉพาะเครื่องยนต์ไม่เกิน 1,800 ซีซี ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 17.3 โดยยอดจำหน่ายนี้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ ส่วนรถปิกอัพ จำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เป็นยอดส่งออกเพิ่มจากเดือนก่อนร้อยละ 45.8 ในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 และยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วน การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 8 โดยสินค้าสำคัญในกลุ่มนี้ยังคงเป็น Hard Disk Drive มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เนื่องจากผู้ผลิตได้เร่งผลิตสินค้าให้มากขึ้นเพื่อชดเชยการผลิตที่ลดลงในเดือนก่อนที่มีการผลิตต่ำกว่าเป้า สำหรับแนวโน้มในภาพรวมของธุรกิจในสินค้ากลุ่มยังมีอัตราการขยายตัวได้อีก ดังนั้นผู้ประกอบการควรผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานและปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้สนองความต้องการของผู้ใช้ให้มีความพอใจมากที่สุด
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ ยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญได้แก่ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ และการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง
โดย การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ ในเดือนกุมภาพันธ์ มีคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าเข้ามาค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นเช่นทุกปี (ม.ค.-เม.ย.) และจะเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาอย่างหนาแน่นในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ดังนั้นจึงมีการผลิต ลดลงร้อยละ 14.2 และจำหน่ายลดลงร้อยละ 2.8
ส่วน การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง มีการผลิตลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.4 เนื่องจากมีโรงงานผู้ผลิตรายใหญ่ได้ปิดซ่อมบำรุงประจำปี ส่วนการจำหน่ายมีทิศทางลดลงเช่นกัน เนื่องจากราคากระดาษค่อนข้างสูงอีกทั้งมีการนำเข้าจากประเทศจีน ทำให้กลุ่มลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจากจีนที่มีราคาต่ำกว่า รวมทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายสินค้าในกลุ่มนี้ลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-