เศรษฐกิจไทย
จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ซึ่งชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2547 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 มีอัตราการขยายต้วร้อยละ 5.4 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อรวมทั้งปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ซึ่งชะลอตัวลงจากปี 2547 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ได้แก่ การใช้จ่ายของครัวเรือนที่ชะลอตัวจากการที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและจากการปรับตัวเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายของรัฐบาลและการลงทุนที่ชะลอลง ประกอบกับการส่งออกขยายตัวในอัตราชะลอลงในทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับดัชนีฤดูกาลในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ซึ่งต่ำกว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 ที่ขายตัวร้อยละ 2.3
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2547 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 6.0 เทียบกับร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 และร้อยละ 7.1 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 เนื่องจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 อุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมวัตถุดิบชะลอตัวลง ในขณะที่อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีขยายตัวต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวได้ดีประกอบด้วย อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์
สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าในปี 2549 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 โดยการส่งออกสุทธิของทั้งสินค้าและบริการจะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากกว่าปี 2548 เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวเต็มที่มากขึ้น การนำเข้าชะลอตัวลง ในขณะที่อุปสงค์ภาคในประเทศชะลอตัวลง
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 โดยจะเห็นว่าตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.9 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 โดยเพิ่มขึ้นในปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคพบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 2.7 และร้อยละ 8.2 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ อุตสาหรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
ดัขนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.6 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 3.4
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 3.9 และร้อยละ15.3 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตเป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมันของผู้บริโภคจัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ได้แก่ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ความไม่สงบทางภาคใต้ สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง เหล่านี้ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีค่า 82.0, 79.6 และ 77.9 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังคง ขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่าจะขยายตัวในระดับที่ดี เนื่องจากปัจจัยลบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีค่า 80.8, 79.3 และ 78.2 การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่าระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังคงขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทย โดยเห็นว่าโอกาสในการหางานทำยังไม่ดีมากนัก
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีค่า 98.5, 96.5 และ 94.9 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้น
จะเห็นว่าทิศทางการปรับตัวของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าในภาพรวมผู้บริโภคยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในเรื่องต่างๆ โดยสะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ข้างต้นส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อผู้บริโภคอย่างมาก
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 และ ค่าดัชนีโดยรวมมีค่าต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ ผลประกอบการของบริษัท ต้นทุนการประกอบการ และการผลิต
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 โดยค่าดัชนีอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ด้านอุตสาหกรรมในระดับดีขึ้น โดยในเดือนมีนาคม 2549 ดัชนีความเชื่อมั่นปริมาณการผลิตในอนาคตและดัชนีความเชื่อมั่นต้นทุนประกอบการในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2549 แสดงว่าผู้ประกอบการยังมีความกังวลในเรื่องต้นทุนการประกอบการที่ยังสูงอยู่ตามราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อย่าไรก็ตาม ยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมของผู้ประกอบการยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 125.5 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก เดือนกุมภาพันธ์ร้อยละ 0.2 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ได้แก่ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ราคาน้ำมันดิบที่แพงขึ้น
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีค่า 125.4
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนมีนาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 125.7 ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ร้อยละ 0.6 ตามการลดลงของเครื่องชี้ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้า
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีค่า 125.6
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 (ตารางที่ 5)
โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจะเป็นไปตามการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าของกิจการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ รวมทั้งปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง สำหรับปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ และปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศและยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่าดัชนีการลงทุนในภาคเอกชนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548
หากแยกตามรายการสินค้าพบว่าปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาค่าขนส่ง Housing, Furnishing สำหรับราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ตามราคาข้าว เนื้อสัตว์
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทั้งในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์เหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสแรกของปี 2549 (ตัวเลขเดือนมีนาคม) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 35.64 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 34.65 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.23 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.64 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.8)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปี 2549 มีจำนวน 5.96 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 17.20 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
ทางด้านจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีจำนวนผู้ประกันตนทั้งสิ้น 8,351,946 คน และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับแจ้งจำนวนลูกจ้าง ที่ถูกเลิกจ้างในระยะเวลา 12 เดือนแรกของปี 2548 มีจำนวน 180,071 คน โดยเป็นการเลิกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 83,250 คน อุตสาหกรรมที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม มีจำนวน 13,453 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย รวมทั้งการตกแต่งและย้อมสีขนสัตว์ จำนวน 10,113 คน อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก จำนวน 8,602 คน และ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเรือน และการผลิตซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น จำนวน 7,634 คน
ส่วนสถานประกอบการที่เลิกกิจการมีจำนวน 21,955 แห่ง ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการเลิกกิจการมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งรถพ่วง 986 แห่ง รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม 711 แห่ง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะประดิษฐ์ ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์ จำนวน 419 แห่ง
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 1 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 59,525.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 29,560.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 29,965.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.31 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดุลการค้าขาดดุล 404.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม เท่ากับ 8,946 , 9,515.2 และ 11,099.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
- โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกในไตรมาสแรก ปี 2549 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 22,939.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 77.6) สินค้าเกษตรกรรม 2,971.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 10.05) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 1,701.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 5.76) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 1,474.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.99) และสินค้าอื่นๆ 473.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.60) เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าทุกหมวดมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 อุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.9 และสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในไตรมาสแรก ปี 2549 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 3,441.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2,272.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 1,598.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 1,252 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 1,053 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 902.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป 783.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 730.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ น้ำมันสำเร็จรูป 708.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 693.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 13,436.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 45.45 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ตลาดส่งออก
ในไตรมาสแรก ปี 2549 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 62.6 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า ในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 6.8 ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 และตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในไตรมาสแรกปี 2549 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบมีมูลค่าสูงสุด 12073.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 40.3) รองลงมาเป็นนำเข้าสินค้าทุน 8914.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 29.8) น้ำมันเชื้อเพลิง 5548.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.5) สินค้าอุปโภคบริโภค 2155.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.2) สินค้าหมวดยานพาหนะ 320.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.1) และสินค้าอื่นๆ 952.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.2)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 สินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 สินค้าวัตถุดิบลดลงร้อยละ 3.5 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.00 และสินค้าหมวดยานพาหนะลดลงร้อยละ 23.0 สินค้าหมวดอื่นๆลดลงร้อยละ 7.1
- แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 55.8 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2548 พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 สหภาพยุโรป ร้อยละ 18.5 ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2.7 , สหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 2.6
- แนวโน้มการส่งออก
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 (มกราคม — มีนาคม) ไทยขาดดุลการค้า 404.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2548 ที่ขาดดุล 2,876.1 ล้านเหรียญสหรัฐ การขาดดุลการค้าในไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 86 คิดเป็นมูลค่า 2,471.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแนวโน้มการส่งออกปี 2549 กระทรวงพาณิชย์ได้มีการประชุมหารือกับผู้ส่งออกสินค้าสำคัญเป็นประจำ ซึ่งครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ ผู้ส่งออกสินค้าสำคัญมีความเชื่อมั่นว่า ในปี 2549 จะสามารถส่งออกได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท โดยในปี 2549 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอาจจะอยู่ที่ประมาณ 38-39 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2548 ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 40.2 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในระยะสั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันด้านราคาของสินค้าที่ไทยส่งออกในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่แข่งขันของไทยในภูมิภาคเอเชียต่างก็มีค่าเงินแข็งขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้สินค้าไทยได้รับผลกระทบไม่มากนัก ในขณะเดียวกัน โครงสร้างการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบ ดังนั้นผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบและสินค้าทุนจากต่างประเทศจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจะทำให้มีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น แต่สินค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้ารวมของไทย จึงไม่มีผลกระทบต่อดุลการค้าในภาพรวม อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพของค่าเงินบาทจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถวางแผนการผลิตและการตลาดล่วงหน้าเพื่อให้ส่งออกได้ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ ในระยะยาวปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกเพิ่มขึ้น จะขึ้นอยู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า (Value creation) การพัฒนาระบบ Logistics ด้านการตลาด และการทำให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ส่งออกตกอยู่กับผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยให้มากที่สุด (Value chain) มากกว่าการเน้นการแข่งขันในด้านราคาเป็นหลัก
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาส่งออกสินค้าของประเทศต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบรวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการปรับตัวและวางแผนการนำเข้าน้ำมันดิบ รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นมีผลกระทบต่อการส่งออกและดุลการค้าของไทยไม่มากนัก
นอกจากนี้ ได้มีการคาดหมายว่าในปี 2549 และในปีหน้า เศรษฐกิจการค้าโลกโดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญจะขยายตัว รวมทั้งจะมีการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก (IMF, ADB: มี.ค. 49) ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกและดุลการค้าของไทย ทั้งนี้จากสถานการณ์ดุลการค้าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ที่ขาดดุลลดลงมาก ประกอบกับการส่งออกซึ่งจะขยายตัวในอัตราที่สูงในช่วง 6 เดือนหลังของทุกปี และมาตรการดูแลการนำเข้าอย่างใกล้ชิด จึงคาดว่าในปี 2549 จะขาดดุลการค้าลดลงจาก ปี 2548 ค่อนข้างมากหรืออาจจะเกินดุลได้อีกครั้งหนึ่ง
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวม 68,067.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,180.96 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนมกราคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 68,078.37 ล้านบาท และเดือนกุมภาพันธ์ —11.32 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 สาขาการลงทุนและบริษัทโฮลดิ้งเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ 50,300.27 ล้านบาท สำหรับสาขาอุตสาหกรรมมีการลงทุนสุทธิ 4,266.59 ล้านบาท โดยหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีการลงทุนสุทธิมากที่สุด เป็นเงินลงทุน 1,649.63 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า 1,293.06 ล้านบาท และหมวดอื่นๆ 1,078.9 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ คือ ประเทศสิงคโปร์มีเงินลงทุนสุทธิ 39,501.57 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มีเงินลงทุนสุทธิ 31,047.4 ล้านบาท และ 6,199.45 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 329 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นเงินลงทุน 106,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 115 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 21,200 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 121 โครงการ เป็นเงินลงทุน 66,900 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่า ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 55,700 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 15,500 ล้านบาท และหมวดเกษตรกรรม มีเงินลงทุน 12,100 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 พบว่านักลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา มีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 11 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 45,203 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 108 โครงการ 21,273 ล้านบาท ประเทศไต้หวัน จำนวน 13 โครงการ เป็นเงินลงทุน 3,198 ล้านบาท ประเทศสิงคโปร์ 12 โครงการ เป็นเงินลงทุน 1,825 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ซึ่งชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2547 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 มีอัตราการขยายต้วร้อยละ 5.4 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อรวมทั้งปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ซึ่งชะลอตัวลงจากปี 2547 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ได้แก่ การใช้จ่ายของครัวเรือนที่ชะลอตัวจากการที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและจากการปรับตัวเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายของรัฐบาลและการลงทุนที่ชะลอลง ประกอบกับการส่งออกขยายตัวในอัตราชะลอลงในทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับดัชนีฤดูกาลในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ซึ่งต่ำกว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 ที่ขายตัวร้อยละ 2.3
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2547 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 6.0 เทียบกับร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 และร้อยละ 7.1 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 เนื่องจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 อุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมวัตถุดิบชะลอตัวลง ในขณะที่อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีขยายตัวต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวได้ดีประกอบด้วย อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์
สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าในปี 2549 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 โดยการส่งออกสุทธิของทั้งสินค้าและบริการจะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากกว่าปี 2548 เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวเต็มที่มากขึ้น การนำเข้าชะลอตัวลง ในขณะที่อุปสงค์ภาคในประเทศชะลอตัวลง
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 โดยจะเห็นว่าตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.9 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 โดยเพิ่มขึ้นในปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคพบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 2.7 และร้อยละ 8.2 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ อุตสาหรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
ดัขนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.6 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 3.4
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 3.9 และร้อยละ15.3 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตเป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมันของผู้บริโภคจัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ได้แก่ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ความไม่สงบทางภาคใต้ สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง เหล่านี้ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีค่า 82.0, 79.6 และ 77.9 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีปรับตัวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังคง ขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่าจะขยายตัวในระดับที่ดี เนื่องจากปัจจัยลบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีค่า 80.8, 79.3 และ 78.2 การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่าระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังคงขาดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานโดยรวมของไทย โดยเห็นว่าโอกาสในการหางานทำยังไม่ดีมากนัก
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีค่า 98.5, 96.5 และ 94.9 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้น
จะเห็นว่าทิศทางการปรับตัวของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าในภาพรวมผู้บริโภคยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในเรื่องต่างๆ โดยสะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ข้างต้นส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อผู้บริโภคอย่างมาก
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 และ ค่าดัชนีโดยรวมมีค่าต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ ผลประกอบการของบริษัท ต้นทุนการประกอบการ และการผลิต
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 โดยค่าดัชนีอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ด้านอุตสาหกรรมในระดับดีขึ้น โดยในเดือนมีนาคม 2549 ดัชนีความเชื่อมั่นปริมาณการผลิตในอนาคตและดัชนีความเชื่อมั่นต้นทุนประกอบการในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2549 แสดงว่าผู้ประกอบการยังมีความกังวลในเรื่องต้นทุนการประกอบการที่ยังสูงอยู่ตามราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อย่าไรก็ตาม ยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมของผู้ประกอบการยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฎว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 125.5 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก เดือนกุมภาพันธ์ร้อยละ 0.2 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ได้แก่ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ราคาน้ำมันดิบที่แพงขึ้น
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีค่า 125.4
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนมีนาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 125.7 ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ร้อยละ 0.6 ตามการลดลงของเครื่องชี้ได้แก่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการนำเข้าสินค้า
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีค่า 125.6
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 (ตารางที่ 5)
โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจะเป็นไปตามการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าของกิจการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ รวมทั้งปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง สำหรับปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ และปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศและยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่าดัชนีการลงทุนในภาคเอกชนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548
หากแยกตามรายการสินค้าพบว่าปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาค่าขนส่ง Housing, Furnishing สำหรับราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ตามราคาข้าว เนื้อสัตว์
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทั้งในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์เหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสแรกของปี 2549 (ตัวเลขเดือนมีนาคม) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 35.64 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 34.65 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.23 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.64 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.8)
สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปี 2549 มีจำนวน 5.96 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 17.20 ของผู้มีงานทำทั้งหมด
ทางด้านจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีจำนวนผู้ประกันตนทั้งสิ้น 8,351,946 คน และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับแจ้งจำนวนลูกจ้าง ที่ถูกเลิกจ้างในระยะเวลา 12 เดือนแรกของปี 2548 มีจำนวน 180,071 คน โดยเป็นการเลิกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 83,250 คน อุตสาหกรรมที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม มีจำนวน 13,453 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย รวมทั้งการตกแต่งและย้อมสีขนสัตว์ จำนวน 10,113 คน อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก จำนวน 8,602 คน และ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเรือน และการผลิตซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น จำนวน 7,634 คน
ส่วนสถานประกอบการที่เลิกกิจการมีจำนวน 21,955 แห่ง ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการเลิกกิจการมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งรถพ่วง 986 แห่ง รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม 711 แห่ง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะประดิษฐ์ ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์ จำนวน 419 แห่ง
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 1 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 59,525.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 29,560.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 29,965.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.31 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดุลการค้าขาดดุล 404.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่ามีมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม เท่ากับ 8,946 , 9,515.2 และ 11,099.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
- โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกในไตรมาสแรก ปี 2549 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 22,939.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 77.6) สินค้าเกษตรกรรม 2,971.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 10.05) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 1,701.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 5.76) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 1,474.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.99) และสินค้าอื่นๆ 473.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.60) เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าทุกหมวดมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 อุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.9 และสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในไตรมาสแรก ปี 2549 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 3,441.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2,272.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 1,598.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 1,252 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 1,053 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 902.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป 783.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 730.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ น้ำมันสำเร็จรูป 708.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 693.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 13,436.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 45.45 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ตลาดส่งออก
ในไตรมาสแรก ปี 2549 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 62.6 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า ในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 6.8 ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 และตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
- โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในไตรมาสแรกปี 2549 ประกอบด้วย สินค้าวัตถุดิบมีมูลค่าสูงสุด 12073.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 40.3) รองลงมาเป็นนำเข้าสินค้าทุน 8914.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 29.8) น้ำมันเชื้อเพลิง 5548.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.5) สินค้าอุปโภคบริโภค 2155.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.2) สินค้าหมวดยานพาหนะ 320.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.1) และสินค้าอื่นๆ 952.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.2)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 สินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 สินค้าวัตถุดิบลดลงร้อยละ 3.5 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.00 และสินค้าหมวดยานพาหนะลดลงร้อยละ 23.0 สินค้าหมวดอื่นๆลดลงร้อยละ 7.1
- แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 55.8 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2548 พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 สหภาพยุโรป ร้อยละ 18.5 ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2.7 , สหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 2.6
- แนวโน้มการส่งออก
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 (มกราคม — มีนาคม) ไทยขาดดุลการค้า 404.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2548 ที่ขาดดุล 2,876.1 ล้านเหรียญสหรัฐ การขาดดุลการค้าในไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 86 คิดเป็นมูลค่า 2,471.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแนวโน้มการส่งออกปี 2549 กระทรวงพาณิชย์ได้มีการประชุมหารือกับผู้ส่งออกสินค้าสำคัญเป็นประจำ ซึ่งครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ ผู้ส่งออกสินค้าสำคัญมีความเชื่อมั่นว่า ในปี 2549 จะสามารถส่งออกได้ตามเป้าหมาย แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท โดยในปี 2549 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอาจจะอยู่ที่ประมาณ 38-39 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2548 ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 40.2 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในระยะสั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันด้านราคาของสินค้าที่ไทยส่งออกในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่แข่งขันของไทยในภูมิภาคเอเชียต่างก็มีค่าเงินแข็งขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้สินค้าไทยได้รับผลกระทบไม่มากนัก ในขณะเดียวกัน โครงสร้างการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบ ดังนั้นผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบและสินค้าทุนจากต่างประเทศจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจะทำให้มีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น แต่สินค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้ารวมของไทย จึงไม่มีผลกระทบต่อดุลการค้าในภาพรวม อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพของค่าเงินบาทจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถวางแผนการผลิตและการตลาดล่วงหน้าเพื่อให้ส่งออกได้ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ ในระยะยาวปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกเพิ่มขึ้น จะขึ้นอยู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า (Value creation) การพัฒนาระบบ Logistics ด้านการตลาด และการทำให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ส่งออกตกอยู่กับผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยให้มากที่สุด (Value chain) มากกว่าการเน้นการแข่งขันในด้านราคาเป็นหลัก
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาส่งออกสินค้าของประเทศต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบรวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการปรับตัวและวางแผนการนำเข้าน้ำมันดิบ รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นมีผลกระทบต่อการส่งออกและดุลการค้าของไทยไม่มากนัก
นอกจากนี้ ได้มีการคาดหมายว่าในปี 2549 และในปีหน้า เศรษฐกิจการค้าโลกโดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญจะขยายตัว รวมทั้งจะมีการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก (IMF, ADB: มี.ค. 49) ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกและดุลการค้าของไทย ทั้งนี้จากสถานการณ์ดุลการค้าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 ที่ขาดดุลลดลงมาก ประกอบกับการส่งออกซึ่งจะขยายตัวในอัตราที่สูงในช่วง 6 เดือนหลังของทุกปี และมาตรการดูแลการนำเข้าอย่างใกล้ชิด จึงคาดว่าในปี 2549 จะขาดดุลการค้าลดลงจาก ปี 2548 ค่อนข้างมากหรืออาจจะเกินดุลได้อีกครั้งหนึ่ง
การลงทุนจากต่างประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวม 68,067.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,180.96 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนมกราคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 68,078.37 ล้านบาท และเดือนกุมภาพันธ์ —11.32 ล้านบาท
ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 สาขาการลงทุนและบริษัทโฮลดิ้งเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ 50,300.27 ล้านบาท สำหรับสาขาอุตสาหกรรมมีการลงทุนสุทธิ 4,266.59 ล้านบาท โดยหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีการลงทุนสุทธิมากที่สุด เป็นเงินลงทุน 1,649.63 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า 1,293.06 ล้านบาท และหมวดอื่นๆ 1,078.9 ล้านบาท
ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ คือ ประเทศสิงคโปร์มีเงินลงทุนสุทธิ 39,501.57 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มีเงินลงทุนสุทธิ 31,047.4 ล้านบาท และ 6,199.45 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 329 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นเงินลงทุน 106,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 115 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 21,200 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 121 โครงการ เป็นเงินลงทุน 66,900 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่า ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีเงินลงทุน 55,700 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ มีเงินลงทุน 15,500 ล้านบาท และหมวดเกษตรกรรม มีเงินลงทุน 12,100 ล้านบาท
สำหรับแหล่งลงทุนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 พบว่านักลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา มีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 11 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 45,203 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 108 โครงการ 21,273 ล้านบาท ประเทศไต้หวัน จำนวน 13 โครงการ เป็นเงินลงทุน 3,198 ล้านบาท ประเทศสิงคโปร์ 12 โครงการ เป็นเงินลงทุน 1,825 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-