ปัจจุบัน "เดมเลอร์ไครสเลอร์" ผู้ผลิตรถยนต์หลายยี่ห้อ รวมถึงเมอร์เซเดซเบนซ์ ก็เป็นค่ายรถยนต์ระดับโลกอีกค่ายหนึ่ง
ที่พยายามก้าวขึ้นมาครองตลาดรถยนต์ "ไฮบริดจ์" หรือ รถยนต์ใช้เครื่องยนต์ลูกผสมระหว่างไฟฟ้า กับ น้ำมันเชื้อเพลิง
ขณะที่ค่ายอื่น เช่น "โตโยต้า" มุ่งไปในทิศทางผลิตรถยนต์ไฮบริดจ์ส่วนบุคคลอย่าง "พริอุส"
ฝ่ายเดมเลอร์ฯ ก็เน้นทางด้านการผลิตรถไฮบริดจ์เพื่อการโดยสารสาธารณะ
พูดง่ายๆ ก็คือ ผลิตรถเมล์ที่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้ามาแบ่งเบาภาระการใช้น้ำมันดีเซลหรือไบโอ-ดีเซล และลดปริมาณมลพิษจากไอเสียน้ำมันนั่นเอง
เมื่อสัปดาห์ก่อน นายกเทศมนตรีนครซาน ฟรานซิสโก เมืองใหญ่อันดับ 4 ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ ซึ่งมีประชากรราวๆ 1 ล้านคน แถลงข่าวแผนการร่วมมือกับทางเดมเลอร์ฯ เพื่อสั่งซื้อรถโดยสารไฮบริดจ์ 142 คันมาวิ่งรับ-ส่งประชากรในพื้นที่
แอนเดรียส เรนช์เชอร์ คณะกรรมการบริการเดมเลอร์ กล่าวว่า
รถโดยสารประจำทาง เหมาะสมมากสำหรับผลิตออกมาใช้ในลักษณะของรถไฮบริดจ์
สาเหตุเพราะรถไฮบริดจ์ในตลาดทุกวันนี้ มีระบบประจุกระแสไฟที่เรียกว่า
"รีเจเนเรทีฟ เบรกกิ้ง"
โดยเมื่อรถเบรกแต่ละครั้งจะเท่ากับเป็นการประจุ-ชาร์จกระแสไฟฟ้าบางส่วนกลับมาป้อนสู่เครื่องยนต์
ในส่วนของรถส่วนบุคคลไม่เหมาะที่จะใช้ระบบนี้เพราะมักวิ่งยาวๆ ไม่ค่อยหยุด
ผิดกับรถเมล์ ซึ่งต้องขับๆ หยุดๆ จอดรับผู้โดยสารไปทุกป้าย
นอกจากนั้น รถเมล์วิ่งทำระยะทางไม่ไกลเท่าไหร่นัก ทำให้ไม่ต้องกังวลกับปัญหาการหาจุดประจุไฟฟ้าใหม่
ในอนาคตถ้าพัฒนาตัวเครื่องยนต์รถไฮบริดจ์ให้ใช้พลังงาน "ไฮโดรเจน" ได้ด้วยก็จะยิ่งสะดวกมากขึ้น เนื่องจากเส้นทางการวิ่งของรถเมล์มีรัศมีจำกัด ช่วยให้การวางแผนติดตั้งสถานีจ่ายไฮโดรเจนทำได้อย่างง่ายดาย
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของรถเมล์ไฮบริดจ์ของเดมเลอร์ก็คือ ราคาต่อคันในขณะนี้แพงลิบลิ่วสุดกู่
คันหนึ่งตก 19 ล้านบาท!
ถ้าดูแลบำรุงรักษารถอย่างดีแน่นอนว่าในระยะยาวถ้าราคาน้ำมันยังวิกฤตแบบนี้ต่อไปน่าจะคุ้มทุน
แต่ถ้าปล่อยให้ขับแบบทิ้งๆ ขว้างๆ โอกาสที่หน่วยงานขนส่งมวลชนที่สั่งซื้อไปจะสร้างหนี้มหาศาลก็มีสูงเช่นกัน!
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ที่พยายามก้าวขึ้นมาครองตลาดรถยนต์ "ไฮบริดจ์" หรือ รถยนต์ใช้เครื่องยนต์ลูกผสมระหว่างไฟฟ้า กับ น้ำมันเชื้อเพลิง
ขณะที่ค่ายอื่น เช่น "โตโยต้า" มุ่งไปในทิศทางผลิตรถยนต์ไฮบริดจ์ส่วนบุคคลอย่าง "พริอุส"
ฝ่ายเดมเลอร์ฯ ก็เน้นทางด้านการผลิตรถไฮบริดจ์เพื่อการโดยสารสาธารณะ
พูดง่ายๆ ก็คือ ผลิตรถเมล์ที่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้ามาแบ่งเบาภาระการใช้น้ำมันดีเซลหรือไบโอ-ดีเซล และลดปริมาณมลพิษจากไอเสียน้ำมันนั่นเอง
เมื่อสัปดาห์ก่อน นายกเทศมนตรีนครซาน ฟรานซิสโก เมืองใหญ่อันดับ 4 ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ ซึ่งมีประชากรราวๆ 1 ล้านคน แถลงข่าวแผนการร่วมมือกับทางเดมเลอร์ฯ เพื่อสั่งซื้อรถโดยสารไฮบริดจ์ 142 คันมาวิ่งรับ-ส่งประชากรในพื้นที่
แอนเดรียส เรนช์เชอร์ คณะกรรมการบริการเดมเลอร์ กล่าวว่า
รถโดยสารประจำทาง เหมาะสมมากสำหรับผลิตออกมาใช้ในลักษณะของรถไฮบริดจ์
สาเหตุเพราะรถไฮบริดจ์ในตลาดทุกวันนี้ มีระบบประจุกระแสไฟที่เรียกว่า
"รีเจเนเรทีฟ เบรกกิ้ง"
โดยเมื่อรถเบรกแต่ละครั้งจะเท่ากับเป็นการประจุ-ชาร์จกระแสไฟฟ้าบางส่วนกลับมาป้อนสู่เครื่องยนต์
ในส่วนของรถส่วนบุคคลไม่เหมาะที่จะใช้ระบบนี้เพราะมักวิ่งยาวๆ ไม่ค่อยหยุด
ผิดกับรถเมล์ ซึ่งต้องขับๆ หยุดๆ จอดรับผู้โดยสารไปทุกป้าย
นอกจากนั้น รถเมล์วิ่งทำระยะทางไม่ไกลเท่าไหร่นัก ทำให้ไม่ต้องกังวลกับปัญหาการหาจุดประจุไฟฟ้าใหม่
ในอนาคตถ้าพัฒนาตัวเครื่องยนต์รถไฮบริดจ์ให้ใช้พลังงาน "ไฮโดรเจน" ได้ด้วยก็จะยิ่งสะดวกมากขึ้น เนื่องจากเส้นทางการวิ่งของรถเมล์มีรัศมีจำกัด ช่วยให้การวางแผนติดตั้งสถานีจ่ายไฮโดรเจนทำได้อย่างง่ายดาย
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของรถเมล์ไฮบริดจ์ของเดมเลอร์ก็คือ ราคาต่อคันในขณะนี้แพงลิบลิ่วสุดกู่
คันหนึ่งตก 19 ล้านบาท!
ถ้าดูแลบำรุงรักษารถอย่างดีแน่นอนว่าในระยะยาวถ้าราคาน้ำมันยังวิกฤตแบบนี้ต่อไปน่าจะคุ้มทุน
แต่ถ้าปล่อยให้ขับแบบทิ้งๆ ขว้างๆ โอกาสที่หน่วยงานขนส่งมวลชนที่สั่งซื้อไปจะสร้างหนี้มหาศาลก็มีสูงเช่นกัน!
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-