สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานสถานการณ์จากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ประมงพื้นบ้านเลี้ยงปลาในกระชังแก้วิกฤตน้ำมันแพง
นายพิศ นพรัตน์ ประมงจังหวัดสงขลาแจ้งว่า ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยกลไกระดับท้องถิ่นได้ เรื่องนี้ต้องดูที่นโยบายรัฐบาลเป็นหลัก ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาพบว่ารัฐบาลเองได้มี มาตรการช่วยเหลือชาวประมงแล้ว คือ การใช้น้ำมันม่วง ซึ่งเป็นน้ำมันดีเซลราคาพิเศษที่ขายให้แก่ชาวประมง น้ำมันม่วงนี้จะมีราคาถูกกว่าหน้าปั๊มลิตรละ 2 บาท แต่มาตรการดังกล่าวพบว่ายังไม่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมงเหล่านั้นได้ เพราะแม้ลดราคาน้ำมันลง 2 บาท แต่สัตว์น้ำที่จับได้ยังมีราคาเท่าเดิม ดังนั้น ชาวประมงยังเจอปัญหาการขาดทุนอยู่ดี และในปัจจุบันพบว่าชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสงขลางดออกทะเลแล้วกว่าร้อยละ 80
ประมงจังหวัดสงขลากล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่เกิดกับชาวประมงพื้นบ้านนั้นทางสำนักงานประมงจังหวัดก็มิได้นิ่งนอนใจ เพราะมีการเสนอปัญหาไปยังส่วนกลางแล้ว ขณะที่ในพื้นที่เองนั้นตนเห็นว่าชาวประมงเองก็ต้องปรับตัวโดยการลดต้นทุนค่าน้ำมันลง เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่ง เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ขณะที่คนที่มีที่ดินก็ต้องพึ่งพาการเพาะเลี้ยงสัตว์อื่นๆเพิ่มขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้วปัญหาก็จะแก้ไม่ได้
นายพีระ อ่าวสมบูรณ์ ประมงจังพังงากล่าวว่า ตนยอมรับว่าปัญหาเรื่องราคาน้ำมันเป็นปัญหาใหญ่และกระทบชาวประมงพื้นบ้านโดยภาพรวมจริง อย่างจังหวัดพังงานั้นพบว่าช่วงนี้เรือประมงพื้นบ้านจำนวนมากงดออกทะเล เพราะแบกรับค่าใช้จ่ายด้านราคาน้ำมันไม่ไหว ขณะที่ราคาสัตว์น้ำทุกชนิดที่จับได้มีราคาเท่าเดิมทั้งที่ยังจับได้ในปริมาณที่ลดลงจากเดิมด้วย
นายอิสมาแอน เบ็ญสะอาด กรรมการชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังกล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องให้ชาวประมงพื้นบ้านหันมาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งแทนการออกทะเลนั้นเป็นแนวคิดที่คิดง่ายเกินไป แต่ทำยาก เพราะปัจจุบันนอกจากราคาปลาในกระชัง โดยเฉพาะปลาเก๋าช่วงที่ราคาน้ำมันลิตรละ 18 บาทนั้น ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500 บาท แต่ปัจจุบันนั้นราคาน้ำมันราคาลิตรละเกือบ 30 บาท แต่ราคาปลาเก๋าในกระชังตกเหลือแค่กิโลกรัมละ 280 บาทเท่านั้น ซึ่งหากทำจริงชาวบ้านก็ไม่คุ้มและที่สำคัญอย่างชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดตรังนั้นมีจำนวนรวมประมาณเกือบ 1,000 ลำ หากทั้งหมดหันมาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่ง โดยการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังกันหมดแล้วจะเห็นว่าพื้นที่รองรับมีไม่เพียงพอแน่นอน นอกจากนี้ มาตรการเรื่องน้ำมันม่วงที่ขายราคาต่ำกว่าหน้าปั๊มลิตรละ 2 บาทก็เช่นเดียวกัน ชาวประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึง ส่วนใหญ่มาตรการเหล่านี้ประมงพาณิชย์เท่านั้นที่เข้าถึงได้ง่าย ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านต้องดิ้นรนกันเอง และปัจจุบันพบว่ามีชาวประมงพื้นบ้านจำนวนหนึ่งเริ่มออกไปเป็นแรงงานรับจ้างกันแล้ว จากปัญหาที่เกิดขึ้นภาครัฐต้องดูแลและให้ความช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านให้มากกว่านี้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ส่งเสริมให้มีการใช้ไบโอดีเซล การใช้แก๊สในเครื่องยนต์เรือ รวมทั้งการให้นักวิชาการประมงขยายแหล่งเพาะพันธุ์ปลาใหม่ โดยการสร้างปะการังเทียมขึ้นตามแนวชายฝั่ง เป็นต้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาในระยะยาวได้อีกทางหนึ่งด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.58 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.11 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 159.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 131.53 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.34 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 111.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 46.03 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.46 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.38 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 5 — 9 มิ.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.20 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.46 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 22 ประจำวันที่ 5 มิ.ย. - 11 มิ.ย. 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานสถานการณ์จากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ประมงพื้นบ้านเลี้ยงปลาในกระชังแก้วิกฤตน้ำมันแพง
นายพิศ นพรัตน์ ประมงจังหวัดสงขลาแจ้งว่า ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยกลไกระดับท้องถิ่นได้ เรื่องนี้ต้องดูที่นโยบายรัฐบาลเป็นหลัก ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาพบว่ารัฐบาลเองได้มี มาตรการช่วยเหลือชาวประมงแล้ว คือ การใช้น้ำมันม่วง ซึ่งเป็นน้ำมันดีเซลราคาพิเศษที่ขายให้แก่ชาวประมง น้ำมันม่วงนี้จะมีราคาถูกกว่าหน้าปั๊มลิตรละ 2 บาท แต่มาตรการดังกล่าวพบว่ายังไม่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมงเหล่านั้นได้ เพราะแม้ลดราคาน้ำมันลง 2 บาท แต่สัตว์น้ำที่จับได้ยังมีราคาเท่าเดิม ดังนั้น ชาวประมงยังเจอปัญหาการขาดทุนอยู่ดี และในปัจจุบันพบว่าชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสงขลางดออกทะเลแล้วกว่าร้อยละ 80
ประมงจังหวัดสงขลากล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่เกิดกับชาวประมงพื้นบ้านนั้นทางสำนักงานประมงจังหวัดก็มิได้นิ่งนอนใจ เพราะมีการเสนอปัญหาไปยังส่วนกลางแล้ว ขณะที่ในพื้นที่เองนั้นตนเห็นว่าชาวประมงเองก็ต้องปรับตัวโดยการลดต้นทุนค่าน้ำมันลง เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่ง เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ขณะที่คนที่มีที่ดินก็ต้องพึ่งพาการเพาะเลี้ยงสัตว์อื่นๆเพิ่มขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้วปัญหาก็จะแก้ไม่ได้
นายพีระ อ่าวสมบูรณ์ ประมงจังพังงากล่าวว่า ตนยอมรับว่าปัญหาเรื่องราคาน้ำมันเป็นปัญหาใหญ่และกระทบชาวประมงพื้นบ้านโดยภาพรวมจริง อย่างจังหวัดพังงานั้นพบว่าช่วงนี้เรือประมงพื้นบ้านจำนวนมากงดออกทะเล เพราะแบกรับค่าใช้จ่ายด้านราคาน้ำมันไม่ไหว ขณะที่ราคาสัตว์น้ำทุกชนิดที่จับได้มีราคาเท่าเดิมทั้งที่ยังจับได้ในปริมาณที่ลดลงจากเดิมด้วย
นายอิสมาแอน เบ็ญสะอาด กรรมการชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังกล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องให้ชาวประมงพื้นบ้านหันมาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งแทนการออกทะเลนั้นเป็นแนวคิดที่คิดง่ายเกินไป แต่ทำยาก เพราะปัจจุบันนอกจากราคาปลาในกระชัง โดยเฉพาะปลาเก๋าช่วงที่ราคาน้ำมันลิตรละ 18 บาทนั้น ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500 บาท แต่ปัจจุบันนั้นราคาน้ำมันราคาลิตรละเกือบ 30 บาท แต่ราคาปลาเก๋าในกระชังตกเหลือแค่กิโลกรัมละ 280 บาทเท่านั้น ซึ่งหากทำจริงชาวบ้านก็ไม่คุ้มและที่สำคัญอย่างชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดตรังนั้นมีจำนวนรวมประมาณเกือบ 1,000 ลำ หากทั้งหมดหันมาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่ง โดยการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังกันหมดแล้วจะเห็นว่าพื้นที่รองรับมีไม่เพียงพอแน่นอน นอกจากนี้ มาตรการเรื่องน้ำมันม่วงที่ขายราคาต่ำกว่าหน้าปั๊มลิตรละ 2 บาทก็เช่นเดียวกัน ชาวประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึง ส่วนใหญ่มาตรการเหล่านี้ประมงพาณิชย์เท่านั้นที่เข้าถึงได้ง่าย ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านต้องดิ้นรนกันเอง และปัจจุบันพบว่ามีชาวประมงพื้นบ้านจำนวนหนึ่งเริ่มออกไปเป็นแรงงานรับจ้างกันแล้ว จากปัญหาที่เกิดขึ้นภาครัฐต้องดูแลและให้ความช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านให้มากกว่านี้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ส่งเสริมให้มีการใช้ไบโอดีเซล การใช้แก๊สในเครื่องยนต์เรือ รวมทั้งการให้นักวิชาการประมงขยายแหล่งเพาะพันธุ์ปลาใหม่ โดยการสร้างปะการังเทียมขึ้นตามแนวชายฝั่ง เป็นต้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาในระยะยาวได้อีกทางหนึ่งด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.58 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.11 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 159.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 131.53 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.34 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 111.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 46.03 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.46 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.38 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 5 — 9 มิ.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.20 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.46 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 22 ประจำวันที่ 5 มิ.ย. - 11 มิ.ย. 2549--
-พห-