ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยกับการแก้ไขวิกฤติน้ำมัน
Strategies for Logistics Development in Thailand
in Coping with the Oil Crisis
ปัญหาของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยมีสาเหตุหลักคือการไม่มีนโยบายที่ชัดเจนและไม่มีกลไกในการผลักดันนโยบาย จึงได้มีการ
กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ Logistics ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยทางบกและทางน้ำ ได้แก่ การพัฒนาท่าเรือไทยให้เป็นประตู
(Gateway) สู่ภูมิภาค, การพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Hub & Spokes), การปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่ง (Modal Shift) ส่วนทาง
อากาศ ได้แก่ Global Destination Network, การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็น Gateway ระดับโลก
ส่วนการกำหนดยุทธศาสตร์ลดการใช้พลังงานได้เสนอว่าควรมีการสนับสนุน ส่งเสริม เร่งรัดจัดให้มีการขนส่งในระบบการขนส่งคราวละ
มาก ๆ (Mass Transportation), จัดระบบการขนส่งทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ ให้มีความต่อเนื่อง, สนับสนุน ส่งเสริมระบบ Logistics ใน
ภาคการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนให้สมบูรณ์, ใช้ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุด และให้ผู้ใช้พลังงานรับภาระค่าใช้จ่าย
ตามที่เป็นจริง
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในอนาคตเสนอว่าควรสร้างเมืองใหม่โดยใช้ High Speed Train เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งในภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือเข้าด้วยกัน
คำสำคัญ : โลจิสติกส์, วิกฤติน้ำมัน
Abstract
The problems of logistics development in Thailand stem from two major causes. First, the policy on
logistics is not clear. Second, there is not mechanism for logistics implementation in place. Thus, the
strategy for logistics development in Thailand has been developed, including land, air, and water logistics.
Several proposals have been included in this strategy: the development of seaport of Thailand to serve as a
gateway of the region, the development of hub & spokes for product distributions, a modal shift of
transportation systems. For air transportation, a global destination network needs to be developed.
International airport needs to be developed to the level of world-class.
Suggestions for energy saving strategies include supporting, promoting, and expediting mass
transportation. Managing transportation systems of water, land, and air transportations to be
interconnected. Support and promote the logistics systems of public and private sectors. Make use of
telecommunication. Maximize technology. Finally, make energy users absorb the real costs of energies.
For future logistics development, it is suggested that a new city should be developed. High-speed
trains should be built. This is to connect between the east, northeast, and north regions of Thailand.
Keywords: logistics, Oil Crisis
โลจิสติกส์ (Logistics) หากแปลตามพจนานุกรมมีความหมายถึงการส่งกำลังบำรุงในทางทหาร ซึ่งก็คือการขนส่งยุทโธปกรณ์จากแนว
หลังไปสู่แนวหน้าให้ถูกสถานที่ ทันเวลา อันจะเป็นการดำเนินการสุดท้ายของการขนส่ง จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง จึงมักนำเอาวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์
ใช้กับระบบการขนส่ง คมนาคม ทำให้โลจิสติกส์ถูกบัญญัติให้เป็นความหมายของระบบการขนส่งในอีกนัยหนึ่ง ซึ่งหมายถึงการจัดการวางแผน กำหนดสาย
งาน และควบคุมกิจกรรมทั้งการเคลื่อนย้ายและไม่เคลื่อนย้ายในการลำเลียงสินค้าจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งที่มีการบริโภค
หากอธิบายความหมายตามสภาการจัดการโลจิสติกส์ (Council of Logistics Management: CLM) ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำ
จำกัดความของโลจิสติกส์ (Logistics) ไว้ดังนี้ "โลจิสติกส์ คือ กระบวนการ การวางแผน การนำไปใช้งาน พร้อมกับควบคุมการเคลื่อนย้ายอย่างมี
ประสิทธิภาพ และการเคลื่อนที่พร้อมด้วยการจัดเก็บของวัตถุดิบ สินค้าคงคลัง สินค้าระหว่างกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูป และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุด
เริ่มต้นของการจัดหาจนถึงจุดของการบริโภค โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า"
ดังนั้น โลจิสติกส์ ก็คือกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบและสินค้า ข้อมูล และการชำระเงินระหว่างผู้จัดส่ง
วัตถุดิบ ผู้ผลิต และผู้บริโภคจากจุดเริ่มต้นของวัตถุดิบจนไปถึงมือลูกค้า ยิ่งไปกว่านั้นโลจิสติกส์ยังขยายขอบเขตออกไปจนถึงการกำจัดทิ้งหรือการนำมาใช้
ใหม่ด้วย โดยมีข้อสังเกตได้ง่าย คือ โลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่การไหลของทรัพยากร วัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ (Flow of
Material) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การนำเอาไปใช้ และควบคุมการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบที่เข้าสู่กระบวนการเพิ่มคุณค่าในตัวสินค้า
ชี้ปัญหาการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย
ปัญหาของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยมีสาเหตุหลักคือการไม่มีนโยบายที่ชัดเจนและไม่มีกลไกในการผลักดันนโยบาย เมื่อพิจารณาถึง
องค์ประกอบด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยแล้วถือว่ายังอยู่ในขั้นระหว่างการพัฒนาจากช่วง Physical Distribution ไปสู่ขั้น Internally
Integrated Logistics ซึ่งปัญหาของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ ดังนี้
ด้านการขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานของไทยถือว่ามีความเพียงพอในระดับหนึ่งเนื่องจากภาครัฐบาลมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อ
เนื่อง เช่น การวางเครือข่ายถนนทั่วประเทศ การสร้างสนามบินใหม่ แต่การขนส่งยังคงมีการกระจุกตัวอยู่ที่การใช้รถบรรทุก และขั้นตอนการส่งออก
และนำเข้าสินค้ายังซับซ้อนทำให้เกิดความล่าช้า และยังไม่มีการคำนึงถึงผลกระทบของการขนส่งต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคธุรกิจในระดับ SME ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริการระบบโลจิสติกส์ภายใน
องค์กรมากนัก ส่วนใหญ่ยังเป็นการใช้ Software และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงต่อระหว่างองค์กรซึ่งมีอย่างจำกัด และระบบการแลกเปลี่ยนข้อ
มูลทางอิเลกทรอนิกส์ของกรมศุลกากร (Custom EDI) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในกระบวนการศุลกากรที่เพิ่งเริ่มใช้นั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักเนื่อง
จากมีค่าใช้จ่ายสูง
ด้านความรู้ของบุคลากร โดยทั่วไปยังมองโลจิสติกส์เป็นเรื่องของการขนส่งแต่เพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบการยังขาดข้อมูลและความรู้ใน
การประยุกต์การจัดการโลจิสติกส์อยู่
ด้านปัจจัยพื้นฐานในกฎระเบียบยังขาดความชัดเจน กฎระเบียบทางการขนส่งในปัจจุบันยังคงมีความซ้ำซ้อนและล้าหลัง เช่น ไม่มีกฎหมาย
เฉพาะสำหรับการขนส่งภายในประเทศโดยทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ จึงต้องใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือ พ.ร.บ. รถไฟที่ไม่ได้มีการปรับปรุง
ตั้งแต่ปี 2464 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันจะมีการตั้งอนุกรรมการในด้านต่าง ๆ ขึ้นมาดูแลโลจิสติกส์แล้วก็ตาม แต่การผลักดันพ.ร.บ.การขนส่งต่อ
เนื่องหลายรูปแบบนั้นยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสมาชิกวุฒิสภา
เนื่องจากว่าต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยสูงกว่าของต่างประเทศนั้นมาจากที่ประเทศไทยต้องพึ่งพาการขนส่งทางรถบรรทุกถึงร้อยละ 88 ขณะที่
พึ่งพาการขนส่งทางรถไฟและทางเรือซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเพียงร้อยละ 1.98 และร้อยละ 5 ตามลำดับ สะท้อนความไม่สมดุลระบบขนส่งของประเทศ
ไทยอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในระยะยาวจึงมีมาตรการปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งทางรถบรรทุกไปสู่การขนส่งทาง
รถไฟ การขนส่งทางเรือ และทางท่อมากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับการแข่งขันสินค้าไทยทั้งในประเทศและเวทีโลก
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมจึงร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์และโครงการต่าง ๆ ในการพัฒนา
ระบบโลจิสติกส์ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ Logistics ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
การพัฒนาระบบ Logistics Management Service
ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
-Modal Shift การขนส่งไปสู่ระบบราง ทางน้ำ และท่อ -การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติ ให้เป็น Gateway ระดับโลก
-พัฒนาระบบ Hub and Spokes ในการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในประเทศ -Global Destination Network ของสายการบิน
-การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นGateway ของภูมิภาคอินโดจีนและจีนตอนใต้
ทางบกและทางน้ำ ได้แก่
1. การพัฒนาท่าเรือไทยให้เป็นประตู (Gateway) สู่ภูมิภาค
การพัฒนาท่าเรือไทยให้เป็นประตูสู่ภูมิภาคเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าไปสู่อินโดจีนและจีนตอนใต้ พร้อมกับพัฒนาขีดความสามารถของท่า
เรือแหลมฉบังและท่าเรือภูมิภาค ดังนี้
1.1 จัดตั้งสถานีบรรจุและขนถ่ายตู้สินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออกย่านพหลโยธิน
1.2 ปรับระบบยกขนตู้สินค้าที่สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot: ICD) ลาดกระบังกับท่าเรือแหลมฉบัง
1.3 ปรับปรุงท่าเทียบเรือ CO รองรับเรือ RO-RO ระหว่างประเทศ
2. การพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Hub & Spokes)
โดยมีโครงการพัฒนาการขนส่งด้านอื่น ๆ (การขนส่งเหล็กม้วน ข้าว การใช้สถานีป๊อกแป๊กเป็นศูนย์การจายน้ำมัน การจัดเดินกระบวนรถ
ผลิตภัณฑ์น้ำมันและก๊าซเพิ่มเติม การขนส่งแร่โปแตซฯ) มีการสร้างสถานีพักตู้คอนเทนเนอร์ และรถบรรทุกสินค้า พร้อมเชื่อมต่อการขนส่งเข้าด้วยกัน
3. การปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่ง (Modal Shift)
การปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งจากการขนส่งโดยรถบรรทุกเป็นหลักไปสู่ระบบขนส่งทางรถไฟ ทางเรือ และทางท่อให้มากขึ้น ตลอดทั้งมีการ
เชื่อมโยงกัน การพัฒนาระบบการขนส่งชายฝั่งและลำน้ำอย่างจริงจัง ได้แก่
3.1 ส่งเสริมการใช้บริการ Roll on - Roll off
3.2 ปรับปรุงทาง (Track Rehabilitation) Phase 4-5-6
ทางอากาศ ได้แก่
1. Global Destination Network
1.1 การขยายเส้นทางบินและพื้นที่ระวางบรรทุกสินค้าไปยังเมืองสำคัญทั่วโลก โดยการทำ Interline Agreement กับสายการบินอื่น ๆ
1.2 การดำเนินการ Freighter Charter Flights
1.3 โครงการนำส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ด่วนถึงมือผู้รับ (Door to Door Services)
2. การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็น Gateway ระดับโลก
โดยมีโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลกทรอนิกส์ระหว่างบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และกรมศุลกากร (Customs EDI)
ยุทธศาสตร์ลดการใช้พลังงานของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงคมนาคมเห็นควรกำหนดแผนกลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์การใช้พลังงานของกระทรวงคมนาคมสรุปได้ ดังนี้
1. สนับสนุน ส่งเสริม เร่งรัดจัดให้มีการขนส่งในระบบการขนส่งคราวละมาก ๆ (Mass Transportation)
เนื่องจากว่าโดยรวมแล้ว 95 % ของการขนส่งทั่วโลกเป็นการขนส่งทางเรือเพราะขนส่งได้ครั้งละมาก ๆ รองลงมาก็คือทางรถไฟและ
ทางรถบรรทุก ซึ่งในการใช้น้ำมัน 1 ลิตร ระยะทาง 1 กม. ถ้าขนส่งทางเรือจะขนส่งสินค้าได้ประมาณ 217 ตัน แต่ถ้าขนส่งทางรถไฟโดยใช้น้ำมัน
1 ลิตร ระยะทาง 1 กม. จะขนได้ 85 ตัน แต่ถ้าทางรถบรรทุกจะเหลือ 25 ตัน ทั้งนี้เป็นข้อเปรียบเทียบให้เห็นว่าในการขนส่งทางเรือกับทางรถไฟ
จะถูกที่สุด
ผลการศึกษาของ ESCAP เกี่ยวกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของการขนส่งแต่ละสาขาสรุปได้ ดังนี้
ยานพาหนะ ปริมาณการขนส่ง (ตัน-กิโลเมตร/ลิตร)
รถบรรทุก 25.00
รถไฟ 85.50
เรือ 217.60
โดยสรุปแล้ว การขนส่งที่ประหยัดการใช้พลังงานมากที่สุดคือการขนส่งโดยทางเรือและทางรถไฟ จึงเห็นสมควรให้มีการพัฒนาระบบการขน
ส่งทางเรือและทางรถไฟเป็นเส้นทางสายหลัก (Main Line) และจัดให้การขนส่งทางรถบรรทุกรวมทั้งการขนส่งทางอากาศหรือทางเครื่องบินนั้นให้มี
ความเชื่อมโยงเข้าสู่เส้นทางสายหลักเพื่อสนับสนุนให้มีการขนส่งสินค้าคราวละมาก ๆ (Mass Transportation) ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงาน
แล้วยังจะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง รวมทั้งช่วยลดการสึกหรอของถนนลงได้อีกส่วนหนึ่งด้วย
2. จัดระบบการขนส่งทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ ให้มีความต่อเนื่อง
โดยในส่วนของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีได้วางแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้การขนส่งทางน้ำเป็นเส้นทางหลักในการขนส่ง ในชั้นต้นนี้
เห็นว่าสมควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ ทางบก (หมายความรวมถึงทางถนนและทางรถไฟ) ที่จะเชื่อมโยงการขนส่งทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มายังท่าเรือต่าง ๆ ทั้งในแม่น้ำเจ้าพระยายาวตลอดลงมาจนถึงเขตท่าเรือศรีราชา และท่าเรือแหลมฉบัง
3. สนับสนุน ส่งเสริมระบบ Logistics ในภาคการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนให้สมบูรณ์
จากการสัมมนาสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับยุทธศาสตร์เชิงลึกการพัฒนาระบบ
Logistics ของประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลาง Logistics ของภูมิภาคในปี 2547 - 2551 ได้เห็นควรแก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้อย่าง
เพียงพอในระดับหนึ่ง โดยให้มีการเชื่อมโยงระหว่างสาขาการขนส่ง มีการพัฒนาข้อมูลและความรู้ในการบริหาร Logistics แบบองค์รวม การส่ง
เสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงระหว่างองค์กร และจัดให้มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ซึ่งให้มีความพร้อมทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและ
การเชื่อมโยง รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุด
4. ใช้ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุด
การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ อันจะช่วยให้เป็นการลดต้นทุนการขนส่ง รวมทั้งประหยัด
พลังงานด้วยการเชื่อมโยงกับกรมศุลกากรซึ่งเป็นหน่วยงานให้อนุญาตในการนำเข้าและส่งออก ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงข้อมูลและบริการของภาครัฐอย่าง
บูรณาการ (เชื่อมโยงกระบวนการนำเข้าและส่งออกให้เป็น Single Window Entry/Paperless)
5. ให้ผู้ใช้พลังงานรับภาระค่าใช้จ่ายตามที่เป็นจริง
ทั้งนี้เพื่อให้มีการใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าตรงตามหลักความเป็นธรรมและทั่วถึง หากให้ผู้ใช้พลังงานเป็นผู้
รับภาระค่าใช้จ่าย ผู้ใช้พลังงานหรือผู้บริโภคจะใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า ดังนั้น เห็นควรสนับสนุนให้ผู้บริโภครับภาระค่าใช้จ่ายตามที่เป็นจริง
ยกเว้นการใช้พลังงานเพื่อเศรษฐกิจโดยรวม รัฐบาลจะช่วยรับภาระบางส่วนเพื่อมิให้มีผลกระทบกับประชาชนหรือหากจะมีผลกระทบก็จะให้มีผลกระทบ
น้อยที่สุด
เส้นทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย
แม้ว่าการพัฒนาระบบขนส่งทางเรือจะมีต้นทุนต่ำกว่าการขนส่งทางรถไฟและรถบรรทุกหลายเท่าตัว แต่ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากโครงข่ายการ
ขนส่งทางเรือในประเทศไทยมีจำกัด เส้นทางคมนาคมทางเรือโดยส่วนใหญ่ไม่ครอบคลุมพื้นที่ยุทธศาสตร์ ทำให้โครงข่ายการขนส่งทางเรือมีจำกัดอยู่
เพียงเฉพาะแม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา และสายหลักอื่น ๆ อีกไม่กี่สายเท่านั้น
ส่วนการขนส่งทางรถไฟซึ่งมีต้นทุนถูกกว่าการขนส่งทางรถบรรทุกและไม่มีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ เพราะสามารถวางโครงข่ายเข้าไปยัง
พื้นที่ใดก็ได้โดยเฉพาะหัวเมืองหลักที่เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าเกษตร เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมการขนส่งสินค้าเกษตรด้วยรถบรรทุก
ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงมาก ทำให้บั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก จึงควรมีมาตรการในการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งโดยพัฒนา
ระบบรางคู่ เพิ่มอุปกรณ์ในการยกขน หัวรถลาก และตู้สินค้า โดยหาทางเชื่อมโยงระบบรางเข้าไปให้ทั่วถึง
การขนส่งทางรถบรรทุกเนื่องจากการกำหนดให้บรรทุกได้ไม่เกิน 26 ตัน ขณะที่ขีดความสามารถในการบรรทุกจริงนั้นสามารถรองรับได้
ถึง 30-35 ตัน ทำให้ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้นเพราะรถบรรทุกต้องเพิ่มเที่ยววิ่งมากขึ้น รัฐบาลจึงควรก่อสร้างถนนเพื่อรถบรรทุกโดยเฉพาะเป็น Truck
Road จากสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบังไปยังท่าเรือแหลมฉบังซึ่งเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่มีปริมาณรถบรรทุกใช้มากที่สุด
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เมื่อถึงเวลา Back to The Origin
ในอดีตแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เคยมีการวางรากฐานมาเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยรัฐกาลที่ 5 เพียงแต่ปัจจุบันได้นำแนวคิดเดิมมาใช้
ในการจัดรูปที่ดินใหม่ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยควรมีการจัดที่ดินเป็น Block แล้วนำระบบชลประทาน
เข้าไป ซึ่งการลงทุนในการขุดขยายร่องน้ำหรือแม่น้ำ เช่น แม่น้ำท่าจีน แม่กลอง และแม่น้ำสมุทรสาคร เหล่านี้เป็นการลงทุนที่ไม่สูงมากนัก แต่สามารถ
จะนำเอาระบบโลจิสติกส์มาใช้ได้อย่างครบวงจร รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีมาตรการทยอยประกาศเขตจัดรูปที่ดินเป็นพื้น ๆ ไป โดยดำเนินการควบคู่กับ
การตัดถนนใหม่ที่ไม่ปล่อยให้เฉพาะคนที่มีที่ดินติดถนนเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ แต่ต้องออกกฎหมายกำหนดให้การสร้างบ้านเรือนจะต้องมีแนวร่นจากถนนพอ
สมควร ซึ่งจะทำให้ความเจริญกระจายออกไปยังพื้นที่ที่ไม่ได้ติดอยู่กับเส้นทางอันจะเป็นการกระจายความเจริญอย่างเท่าเทียมกัน
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เมื่อถึงเวลา Back to The Future
การสร้างเมืองใหม่โดยใช้ High Speed Train เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือเข้า
ด้วยกัน เส้นทางแรกคือเส้นทางสนามบินสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ซึ่งจะเชื่อมโยงการขนส่งในภาคตะวันออกกับสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อกระจายความคับคั่งของ
เมืองออกไปยังภูมิภาค กระจายความเจริญของเมืองออกไปยังชลบุรี-ระยอง ทำให้ไม่กระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพ
ส่วนเส้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือนั้น การสร้างระบบขนส่งแบบ High Speed Train นี้ควรเชื่อมโยงมายังกรุงเทพและต่อ
ไปยังภาคตะวันออก โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรมากแต่กลับไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น ความเก่าแก่ทาง
ศิลปวัฒนธรรม โบราณคดี การสร้างระบบขนส่งแบบ High Speed Train นี้จะมีผลทำให้ผู้คนมีความรู้สึกว่าสามารถเดินทางไปยังศูนย์กลางของเมือง
ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะก่อให้เกิดการกระจายตัวของเมืองเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
Strategies for Logistics Development in Thailand
in Coping with the Oil Crisis
ปัญหาของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยมีสาเหตุหลักคือการไม่มีนโยบายที่ชัดเจนและไม่มีกลไกในการผลักดันนโยบาย จึงได้มีการ
กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ Logistics ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยทางบกและทางน้ำ ได้แก่ การพัฒนาท่าเรือไทยให้เป็นประตู
(Gateway) สู่ภูมิภาค, การพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Hub & Spokes), การปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่ง (Modal Shift) ส่วนทาง
อากาศ ได้แก่ Global Destination Network, การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็น Gateway ระดับโลก
ส่วนการกำหนดยุทธศาสตร์ลดการใช้พลังงานได้เสนอว่าควรมีการสนับสนุน ส่งเสริม เร่งรัดจัดให้มีการขนส่งในระบบการขนส่งคราวละ
มาก ๆ (Mass Transportation), จัดระบบการขนส่งทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ ให้มีความต่อเนื่อง, สนับสนุน ส่งเสริมระบบ Logistics ใน
ภาคการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนให้สมบูรณ์, ใช้ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุด และให้ผู้ใช้พลังงานรับภาระค่าใช้จ่าย
ตามที่เป็นจริง
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในอนาคตเสนอว่าควรสร้างเมืองใหม่โดยใช้ High Speed Train เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งในภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือเข้าด้วยกัน
คำสำคัญ : โลจิสติกส์, วิกฤติน้ำมัน
Abstract
The problems of logistics development in Thailand stem from two major causes. First, the policy on
logistics is not clear. Second, there is not mechanism for logistics implementation in place. Thus, the
strategy for logistics development in Thailand has been developed, including land, air, and water logistics.
Several proposals have been included in this strategy: the development of seaport of Thailand to serve as a
gateway of the region, the development of hub & spokes for product distributions, a modal shift of
transportation systems. For air transportation, a global destination network needs to be developed.
International airport needs to be developed to the level of world-class.
Suggestions for energy saving strategies include supporting, promoting, and expediting mass
transportation. Managing transportation systems of water, land, and air transportations to be
interconnected. Support and promote the logistics systems of public and private sectors. Make use of
telecommunication. Maximize technology. Finally, make energy users absorb the real costs of energies.
For future logistics development, it is suggested that a new city should be developed. High-speed
trains should be built. This is to connect between the east, northeast, and north regions of Thailand.
Keywords: logistics, Oil Crisis
โลจิสติกส์ (Logistics) หากแปลตามพจนานุกรมมีความหมายถึงการส่งกำลังบำรุงในทางทหาร ซึ่งก็คือการขนส่งยุทโธปกรณ์จากแนว
หลังไปสู่แนวหน้าให้ถูกสถานที่ ทันเวลา อันจะเป็นการดำเนินการสุดท้ายของการขนส่ง จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง จึงมักนำเอาวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์
ใช้กับระบบการขนส่ง คมนาคม ทำให้โลจิสติกส์ถูกบัญญัติให้เป็นความหมายของระบบการขนส่งในอีกนัยหนึ่ง ซึ่งหมายถึงการจัดการวางแผน กำหนดสาย
งาน และควบคุมกิจกรรมทั้งการเคลื่อนย้ายและไม่เคลื่อนย้ายในการลำเลียงสินค้าจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งที่มีการบริโภค
หากอธิบายความหมายตามสภาการจัดการโลจิสติกส์ (Council of Logistics Management: CLM) ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำ
จำกัดความของโลจิสติกส์ (Logistics) ไว้ดังนี้ "โลจิสติกส์ คือ กระบวนการ การวางแผน การนำไปใช้งาน พร้อมกับควบคุมการเคลื่อนย้ายอย่างมี
ประสิทธิภาพ และการเคลื่อนที่พร้อมด้วยการจัดเก็บของวัตถุดิบ สินค้าคงคลัง สินค้าระหว่างกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูป และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุด
เริ่มต้นของการจัดหาจนถึงจุดของการบริโภค โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า"
ดังนั้น โลจิสติกส์ ก็คือกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบและสินค้า ข้อมูล และการชำระเงินระหว่างผู้จัดส่ง
วัตถุดิบ ผู้ผลิต และผู้บริโภคจากจุดเริ่มต้นของวัตถุดิบจนไปถึงมือลูกค้า ยิ่งไปกว่านั้นโลจิสติกส์ยังขยายขอบเขตออกไปจนถึงการกำจัดทิ้งหรือการนำมาใช้
ใหม่ด้วย โดยมีข้อสังเกตได้ง่าย คือ โลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่การไหลของทรัพยากร วัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ (Flow of
Material) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การนำเอาไปใช้ และควบคุมการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบที่เข้าสู่กระบวนการเพิ่มคุณค่าในตัวสินค้า
ชี้ปัญหาการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย
ปัญหาของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยมีสาเหตุหลักคือการไม่มีนโยบายที่ชัดเจนและไม่มีกลไกในการผลักดันนโยบาย เมื่อพิจารณาถึง
องค์ประกอบด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยแล้วถือว่ายังอยู่ในขั้นระหว่างการพัฒนาจากช่วง Physical Distribution ไปสู่ขั้น Internally
Integrated Logistics ซึ่งปัญหาของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ ดังนี้
ด้านการขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานของไทยถือว่ามีความเพียงพอในระดับหนึ่งเนื่องจากภาครัฐบาลมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อ
เนื่อง เช่น การวางเครือข่ายถนนทั่วประเทศ การสร้างสนามบินใหม่ แต่การขนส่งยังคงมีการกระจุกตัวอยู่ที่การใช้รถบรรทุก และขั้นตอนการส่งออก
และนำเข้าสินค้ายังซับซ้อนทำให้เกิดความล่าช้า และยังไม่มีการคำนึงถึงผลกระทบของการขนส่งต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคธุรกิจในระดับ SME ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริการระบบโลจิสติกส์ภายใน
องค์กรมากนัก ส่วนใหญ่ยังเป็นการใช้ Software และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงต่อระหว่างองค์กรซึ่งมีอย่างจำกัด และระบบการแลกเปลี่ยนข้อ
มูลทางอิเลกทรอนิกส์ของกรมศุลกากร (Custom EDI) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในกระบวนการศุลกากรที่เพิ่งเริ่มใช้นั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักเนื่อง
จากมีค่าใช้จ่ายสูง
ด้านความรู้ของบุคลากร โดยทั่วไปยังมองโลจิสติกส์เป็นเรื่องของการขนส่งแต่เพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบการยังขาดข้อมูลและความรู้ใน
การประยุกต์การจัดการโลจิสติกส์อยู่
ด้านปัจจัยพื้นฐานในกฎระเบียบยังขาดความชัดเจน กฎระเบียบทางการขนส่งในปัจจุบันยังคงมีความซ้ำซ้อนและล้าหลัง เช่น ไม่มีกฎหมาย
เฉพาะสำหรับการขนส่งภายในประเทศโดยทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ จึงต้องใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือ พ.ร.บ. รถไฟที่ไม่ได้มีการปรับปรุง
ตั้งแต่ปี 2464 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันจะมีการตั้งอนุกรรมการในด้านต่าง ๆ ขึ้นมาดูแลโลจิสติกส์แล้วก็ตาม แต่การผลักดันพ.ร.บ.การขนส่งต่อ
เนื่องหลายรูปแบบนั้นยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสมาชิกวุฒิสภา
เนื่องจากว่าต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยสูงกว่าของต่างประเทศนั้นมาจากที่ประเทศไทยต้องพึ่งพาการขนส่งทางรถบรรทุกถึงร้อยละ 88 ขณะที่
พึ่งพาการขนส่งทางรถไฟและทางเรือซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเพียงร้อยละ 1.98 และร้อยละ 5 ตามลำดับ สะท้อนความไม่สมดุลระบบขนส่งของประเทศ
ไทยอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในระยะยาวจึงมีมาตรการปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งทางรถบรรทุกไปสู่การขนส่งทาง
รถไฟ การขนส่งทางเรือ และทางท่อมากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับการแข่งขันสินค้าไทยทั้งในประเทศและเวทีโลก
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมจึงร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์และโครงการต่าง ๆ ในการพัฒนา
ระบบโลจิสติกส์ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ Logistics ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
การพัฒนาระบบ Logistics Management Service
ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
-Modal Shift การขนส่งไปสู่ระบบราง ทางน้ำ และท่อ -การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติ ให้เป็น Gateway ระดับโลก
-พัฒนาระบบ Hub and Spokes ในการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในประเทศ -Global Destination Network ของสายการบิน
-การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นGateway ของภูมิภาคอินโดจีนและจีนตอนใต้
ทางบกและทางน้ำ ได้แก่
1. การพัฒนาท่าเรือไทยให้เป็นประตู (Gateway) สู่ภูมิภาค
การพัฒนาท่าเรือไทยให้เป็นประตูสู่ภูมิภาคเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าไปสู่อินโดจีนและจีนตอนใต้ พร้อมกับพัฒนาขีดความสามารถของท่า
เรือแหลมฉบังและท่าเรือภูมิภาค ดังนี้
1.1 จัดตั้งสถานีบรรจุและขนถ่ายตู้สินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออกย่านพหลโยธิน
1.2 ปรับระบบยกขนตู้สินค้าที่สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot: ICD) ลาดกระบังกับท่าเรือแหลมฉบัง
1.3 ปรับปรุงท่าเทียบเรือ CO รองรับเรือ RO-RO ระหว่างประเทศ
2. การพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Hub & Spokes)
โดยมีโครงการพัฒนาการขนส่งด้านอื่น ๆ (การขนส่งเหล็กม้วน ข้าว การใช้สถานีป๊อกแป๊กเป็นศูนย์การจายน้ำมัน การจัดเดินกระบวนรถ
ผลิตภัณฑ์น้ำมันและก๊าซเพิ่มเติม การขนส่งแร่โปแตซฯ) มีการสร้างสถานีพักตู้คอนเทนเนอร์ และรถบรรทุกสินค้า พร้อมเชื่อมต่อการขนส่งเข้าด้วยกัน
3. การปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่ง (Modal Shift)
การปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่งจากการขนส่งโดยรถบรรทุกเป็นหลักไปสู่ระบบขนส่งทางรถไฟ ทางเรือ และทางท่อให้มากขึ้น ตลอดทั้งมีการ
เชื่อมโยงกัน การพัฒนาระบบการขนส่งชายฝั่งและลำน้ำอย่างจริงจัง ได้แก่
3.1 ส่งเสริมการใช้บริการ Roll on - Roll off
3.2 ปรับปรุงทาง (Track Rehabilitation) Phase 4-5-6
ทางอากาศ ได้แก่
1. Global Destination Network
1.1 การขยายเส้นทางบินและพื้นที่ระวางบรรทุกสินค้าไปยังเมืองสำคัญทั่วโลก โดยการทำ Interline Agreement กับสายการบินอื่น ๆ
1.2 การดำเนินการ Freighter Charter Flights
1.3 โครงการนำส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ด่วนถึงมือผู้รับ (Door to Door Services)
2. การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็น Gateway ระดับโลก
โดยมีโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลกทรอนิกส์ระหว่างบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และกรมศุลกากร (Customs EDI)
ยุทธศาสตร์ลดการใช้พลังงานของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงคมนาคมเห็นควรกำหนดแผนกลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์การใช้พลังงานของกระทรวงคมนาคมสรุปได้ ดังนี้
1. สนับสนุน ส่งเสริม เร่งรัดจัดให้มีการขนส่งในระบบการขนส่งคราวละมาก ๆ (Mass Transportation)
เนื่องจากว่าโดยรวมแล้ว 95 % ของการขนส่งทั่วโลกเป็นการขนส่งทางเรือเพราะขนส่งได้ครั้งละมาก ๆ รองลงมาก็คือทางรถไฟและ
ทางรถบรรทุก ซึ่งในการใช้น้ำมัน 1 ลิตร ระยะทาง 1 กม. ถ้าขนส่งทางเรือจะขนส่งสินค้าได้ประมาณ 217 ตัน แต่ถ้าขนส่งทางรถไฟโดยใช้น้ำมัน
1 ลิตร ระยะทาง 1 กม. จะขนได้ 85 ตัน แต่ถ้าทางรถบรรทุกจะเหลือ 25 ตัน ทั้งนี้เป็นข้อเปรียบเทียบให้เห็นว่าในการขนส่งทางเรือกับทางรถไฟ
จะถูกที่สุด
ผลการศึกษาของ ESCAP เกี่ยวกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของการขนส่งแต่ละสาขาสรุปได้ ดังนี้
ยานพาหนะ ปริมาณการขนส่ง (ตัน-กิโลเมตร/ลิตร)
รถบรรทุก 25.00
รถไฟ 85.50
เรือ 217.60
โดยสรุปแล้ว การขนส่งที่ประหยัดการใช้พลังงานมากที่สุดคือการขนส่งโดยทางเรือและทางรถไฟ จึงเห็นสมควรให้มีการพัฒนาระบบการขน
ส่งทางเรือและทางรถไฟเป็นเส้นทางสายหลัก (Main Line) และจัดให้การขนส่งทางรถบรรทุกรวมทั้งการขนส่งทางอากาศหรือทางเครื่องบินนั้นให้มี
ความเชื่อมโยงเข้าสู่เส้นทางสายหลักเพื่อสนับสนุนให้มีการขนส่งสินค้าคราวละมาก ๆ (Mass Transportation) ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงาน
แล้วยังจะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง รวมทั้งช่วยลดการสึกหรอของถนนลงได้อีกส่วนหนึ่งด้วย
2. จัดระบบการขนส่งทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ ให้มีความต่อเนื่อง
โดยในส่วนของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีได้วางแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้การขนส่งทางน้ำเป็นเส้นทางหลักในการขนส่ง ในชั้นต้นนี้
เห็นว่าสมควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ ทางบก (หมายความรวมถึงทางถนนและทางรถไฟ) ที่จะเชื่อมโยงการขนส่งทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มายังท่าเรือต่าง ๆ ทั้งในแม่น้ำเจ้าพระยายาวตลอดลงมาจนถึงเขตท่าเรือศรีราชา และท่าเรือแหลมฉบัง
3. สนับสนุน ส่งเสริมระบบ Logistics ในภาคการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนให้สมบูรณ์
จากการสัมมนาสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับยุทธศาสตร์เชิงลึกการพัฒนาระบบ
Logistics ของประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลาง Logistics ของภูมิภาคในปี 2547 - 2551 ได้เห็นควรแก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้อย่าง
เพียงพอในระดับหนึ่ง โดยให้มีการเชื่อมโยงระหว่างสาขาการขนส่ง มีการพัฒนาข้อมูลและความรู้ในการบริหาร Logistics แบบองค์รวม การส่ง
เสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงระหว่างองค์กร และจัดให้มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ซึ่งให้มีความพร้อมทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและ
การเชื่อมโยง รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุด
4. ใช้ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุด
การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ อันจะช่วยให้เป็นการลดต้นทุนการขนส่ง รวมทั้งประหยัด
พลังงานด้วยการเชื่อมโยงกับกรมศุลกากรซึ่งเป็นหน่วยงานให้อนุญาตในการนำเข้าและส่งออก ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงข้อมูลและบริการของภาครัฐอย่าง
บูรณาการ (เชื่อมโยงกระบวนการนำเข้าและส่งออกให้เป็น Single Window Entry/Paperless)
5. ให้ผู้ใช้พลังงานรับภาระค่าใช้จ่ายตามที่เป็นจริง
ทั้งนี้เพื่อให้มีการใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าตรงตามหลักความเป็นธรรมและทั่วถึง หากให้ผู้ใช้พลังงานเป็นผู้
รับภาระค่าใช้จ่าย ผู้ใช้พลังงานหรือผู้บริโภคจะใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า ดังนั้น เห็นควรสนับสนุนให้ผู้บริโภครับภาระค่าใช้จ่ายตามที่เป็นจริง
ยกเว้นการใช้พลังงานเพื่อเศรษฐกิจโดยรวม รัฐบาลจะช่วยรับภาระบางส่วนเพื่อมิให้มีผลกระทบกับประชาชนหรือหากจะมีผลกระทบก็จะให้มีผลกระทบ
น้อยที่สุด
เส้นทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย
แม้ว่าการพัฒนาระบบขนส่งทางเรือจะมีต้นทุนต่ำกว่าการขนส่งทางรถไฟและรถบรรทุกหลายเท่าตัว แต่ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากโครงข่ายการ
ขนส่งทางเรือในประเทศไทยมีจำกัด เส้นทางคมนาคมทางเรือโดยส่วนใหญ่ไม่ครอบคลุมพื้นที่ยุทธศาสตร์ ทำให้โครงข่ายการขนส่งทางเรือมีจำกัดอยู่
เพียงเฉพาะแม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา และสายหลักอื่น ๆ อีกไม่กี่สายเท่านั้น
ส่วนการขนส่งทางรถไฟซึ่งมีต้นทุนถูกกว่าการขนส่งทางรถบรรทุกและไม่มีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ เพราะสามารถวางโครงข่ายเข้าไปยัง
พื้นที่ใดก็ได้โดยเฉพาะหัวเมืองหลักที่เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าเกษตร เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมการขนส่งสินค้าเกษตรด้วยรถบรรทุก
ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงมาก ทำให้บั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก จึงควรมีมาตรการในการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งโดยพัฒนา
ระบบรางคู่ เพิ่มอุปกรณ์ในการยกขน หัวรถลาก และตู้สินค้า โดยหาทางเชื่อมโยงระบบรางเข้าไปให้ทั่วถึง
การขนส่งทางรถบรรทุกเนื่องจากการกำหนดให้บรรทุกได้ไม่เกิน 26 ตัน ขณะที่ขีดความสามารถในการบรรทุกจริงนั้นสามารถรองรับได้
ถึง 30-35 ตัน ทำให้ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้นเพราะรถบรรทุกต้องเพิ่มเที่ยววิ่งมากขึ้น รัฐบาลจึงควรก่อสร้างถนนเพื่อรถบรรทุกโดยเฉพาะเป็น Truck
Road จากสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบังไปยังท่าเรือแหลมฉบังซึ่งเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่มีปริมาณรถบรรทุกใช้มากที่สุด
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เมื่อถึงเวลา Back to The Origin
ในอดีตแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เคยมีการวางรากฐานมาเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยรัฐกาลที่ 5 เพียงแต่ปัจจุบันได้นำแนวคิดเดิมมาใช้
ในการจัดรูปที่ดินใหม่ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยควรมีการจัดที่ดินเป็น Block แล้วนำระบบชลประทาน
เข้าไป ซึ่งการลงทุนในการขุดขยายร่องน้ำหรือแม่น้ำ เช่น แม่น้ำท่าจีน แม่กลอง และแม่น้ำสมุทรสาคร เหล่านี้เป็นการลงทุนที่ไม่สูงมากนัก แต่สามารถ
จะนำเอาระบบโลจิสติกส์มาใช้ได้อย่างครบวงจร รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีมาตรการทยอยประกาศเขตจัดรูปที่ดินเป็นพื้น ๆ ไป โดยดำเนินการควบคู่กับ
การตัดถนนใหม่ที่ไม่ปล่อยให้เฉพาะคนที่มีที่ดินติดถนนเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ แต่ต้องออกกฎหมายกำหนดให้การสร้างบ้านเรือนจะต้องมีแนวร่นจากถนนพอ
สมควร ซึ่งจะทำให้ความเจริญกระจายออกไปยังพื้นที่ที่ไม่ได้ติดอยู่กับเส้นทางอันจะเป็นการกระจายความเจริญอย่างเท่าเทียมกัน
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เมื่อถึงเวลา Back to The Future
การสร้างเมืองใหม่โดยใช้ High Speed Train เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือเข้า
ด้วยกัน เส้นทางแรกคือเส้นทางสนามบินสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ซึ่งจะเชื่อมโยงการขนส่งในภาคตะวันออกกับสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อกระจายความคับคั่งของ
เมืองออกไปยังภูมิภาค กระจายความเจริญของเมืองออกไปยังชลบุรี-ระยอง ทำให้ไม่กระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพ
ส่วนเส้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือนั้น การสร้างระบบขนส่งแบบ High Speed Train นี้ควรเชื่อมโยงมายังกรุงเทพและต่อ
ไปยังภาคตะวันออก โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรมากแต่กลับไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น ความเก่าแก่ทาง
ศิลปวัฒนธรรม โบราณคดี การสร้างระบบขนส่งแบบ High Speed Train นี้จะมีผลทำให้ผู้คนมีความรู้สึกว่าสามารถเดินทางไปยังศูนย์กลางของเมือง
ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะก่อให้เกิดการกระจายตัวของเมืองเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-