คำต่อคำ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กับการพัฒนาที่มั่นคงยั่งยืนและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนตามแนวพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
วานนี้(16 มิ.ย. 49)สวัสดีผู้มีเกียรติที่รักทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขอแสดงความชื่นชมกับมูลนิธิที่จัดให้มีการสัมมนา ซึ่งถือว่าเป็นการจัดต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหลายปี เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็เป็นบทบาทสำคัญคือเรื่องของการสร้างกระบวนการการเรียนรู้ เพื่อที่จะทำให้แนวพระราชดำรินั้น สามารถที่จะนำไปเผยแพร่และนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง
ตลอดเวลาครึ่งวันที่ผ่านมาผมคิดว่าเราได้รับฟังทั้งคำบรรยายและคำอภิปราย ซึ่งคงจะทำให้เห็นภาพและสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนพอสมควร เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำซ้อน ประเด็นทั้งหลายที่ถูกนำเสนอไปแล้ว ผมจะพยายามหลีกเลี่ยงเพื่อที่จะไม่พูดซ้ำ ขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นตัวแทนของฝ่ายกรเมือง หน้าที่สำคัญของฝ่ายการเมืองก็คือ หน้าที่ในเรื่องของนโยบาย เพราะฉะนั้นก็จะกำจัดสิ่งที่ผมจะพูดต่อไปในแง่ของบทบาทของฝ่ายนโยบาย ในการที่จะนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจะไปสร้างสังคมเศรษฐกิจที่มั่นคง ยั่งยืนในทุกระดับ
สิ่งที่ผมคิดว่าอยากจะหยิบยกขึ้นมาเป็นพิเศษ จากการได้รับฟังคิดว่าอยากจะให้มองเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่ในเชิงของโครงการหนึ่ง จะเป็นในระดับชุมชน หรือระดับใดก็ตาม แต่อยากให้มองว่าเป็นปรัชญาสำหรับการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับโลกปัจจุบันและอนาคต เมื่อเช้านี้เราได้รับการยืนยันว่า แนวพระราชดำริในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องโบราณท่านใช้คำว่าทันสมัย ผมเองยังอยากจะไปอีกขั้นหนึ่งคือว่า จริงๆแล้วแนวพระราชดำรินั้น นำสมัย คือพระองค์ท่านได้ทรงวิเคราะห์สภาวะการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้โลกาภิวัฒน์ล่วงหน้า แล้วมองเห็นว่าไม่ว่าโลกาภิวัฒน์จะมีข้อดีอย่างไร แต่กระบวนการพัฒนาภายใต้โลกาภิวัฒน์ นำมาซึ่งความเสี่ยง และนำมาซึ่งปัญหา ที่บางครั้งย้อนกลับมาทำลายสิงที่เป็นธรรมชาติ หรือพื้นฐานของมนุษย์ และชุมชน
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญมากคือการมองปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกรอบความคิดนี้ว่ามันเป็นวิธีการที่เรามองในเรื่องของทำอย่างไรไม่ใช้แค่มาพูดว่าจะต้องทำอะไรในการที่จะนำเอาพระราชดำริมาขยายผลไปสู่การเป็นคำตอบและที่แน่นอนที่สุดนะครับสิ่งที่ได้ย้ำไปแล้วหลายครั้งว่าแนวปรัญชานี้สามารถที่จะนำไปใช้ได้ทุกระดับคือตั้งแต่ระดับประเทศไปถึงระดับชุมชนและไปจนถึงระดับบุคคล
ผมอยากจะเพิ่มเติมข้อคิดอีกหนึ่งข้อเพื่อให้ได้ภาพที่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นกล่าวคือว่าอยากให้มองปัญหาและแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการเมืองให้เชื่อมโยงกันด้วยเพราะศัพท์สมัยนี้ก็ต้องบอกว่าต้องมาการบูรณาการณ์นั้นก็คือว่าเราคงไม่มองเรื่องนี้หรือปัญหาที่เรากำลังพยายามแก้ไขในลักษณะที่แยกกันเมื่อเอาความคิดเหล่านี้มารวมกันแล้ว ข้อคิดของผมก็คือว่าบทบาทของภาคการเมืองก็จะต้องนำไปสู่การกำหนดและการขับเคลื่อนนโยบายตามปรัชญานี้เพราะฉนั้นสิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือต้องตั้งโจรย์ให้ถูกต้องว่าถ้าเป้าหมายสุดท้ายประโยชน์สุขหรือความผาสุกซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการที่เราต้องการให้ยั้งยืน ความยั้งยืนนี้ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้างหรือการเติบโตหรือการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นจะต้องมีคุณลักษณะอย่างไรบ้างถึงจะเรียกว่ายั้งยืน ผมก็มองได้ว่าจะต้องมีอยู่อย่างน้อย 3 ส่วน ที่แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องการจะไปตอบ ตอบข้อแรกก็คือทำอย่างไรให้กระบวนการพัฒนาไม่ทำลายความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์หรือการใช้ทรัพยากรธรรมชาตินี้เป็นตัวอย่างยั้งยืน
ซึ่งที่จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจและโครงการหลายโครงการมาหลาย 10 ปี ทรงนึกถึงความสำคัญที่จะต้องใช้และวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน เพราะฉะนั้นกระบวนการพัฒนาและนโยบายหรือโครงการใดๆที่จะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองและไม่ยั่งยืนและไม่ยั่งยืน ตรงนี้เป็นโจทย์ที่ฝ่ายนโยบายจะต้องตอบให้ได้
ประเด็นที่ 2 คือว่าความยั่งยืนมั่นคงของชุมชนและสังคม จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม ถ้าพูดถึงเศรษฐกิจมหภาคก็จะพูดถึงการกระจายรายได้ แต่ว่าหากพูดในหลักทั่วๆไปเราคงไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องมีฐานะเท่ากัน เราคงไม่สมารถจะทำให้ฐานะของคนเท่าเทียมกันกันหมด หรือใกล้เคียงกันเกือบหมดได้ แต่ว่าพื้นฐานของกระบวนการการพัฒนาต้องมีพื้นฐานของความเป็นธรรม ความเป็นธรรมนี่เริ่มตั้งแต่กติกาที่เป็นธรรม และการแข่งขันที่เป็นธรรม และเมื่อมีการแข่งขัน และการแพ้ การชนะ แล้วก้จะเกิดมิติของความเป็นธรรมคือว่า เราจะช่วยผู้อ่อนแอ และผู้แพ้ในการแข่งขันอย่างไร
ประเด็นที่ 3 ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีความสันติสุข ไม่มีประโยชน์อะไรหากการพัฒนาแต่สังคมกลับเกิดความแตกแยกและขัดแย้ง และในที่สุดการแข่งขันก็จะกลายเป็นการแย่งชิงและการต่อสู้ที่รุนแรงมากขึ้น จะเป็นแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ การแย่งชิงอำนาจ หรืออะไรใดๆก็ตาม เมื่อเกิดความแตกแยกและไม่มีสันติสุข สุดท้ายสังคมเศรษฐกิจก็ไม่สามารถพัฒนาไปอย่างยั่งยืนได้ นี่คือโจทย์ที่จะเป็นกรอบสำหรับฝ่ายการเมืองที่กำหนดนโยบาย ที่ต้องคิดตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบาย ไม่ว่าจะคิดโครงการ หรือมีวิสัยทัศน์อย่างไร ต้องนำกรอบเหล่านี้เข้ามาเพื่อเป็นตัวกำกับแนวทางของการพัฒนา
ทีนี้ถามต่อไปว่า ฝ่ายกำกับ หรือฝ่ายดำเนินนโยบาย เมื่อมีกรอบอย่างนี้แล้วสามารถที่จะนำไปใช้กับหลักคิดในการบริหารประเทศได้ทุกเรื่องหรือไม่ ผมมีความเห็นคือว่าสิ่งที่เราพยายามหลีกเลี่ยง คือไปมองว่าหลักปรัชญานี้ แนวคิดนี้ เราก็ทำไว้สำหรับโครงการชุดหนึ่ง แล้วเราก็บอกว่ามีเศรษฐกิจของโลกสมัยใหม่อีกส่วนหนึ่งแล้วก็บอกให้เขาไป ต้องทำให้สองเรื่องนี้ เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน
เมื่อตอนเช้าเราได้ยินว่าเศรษฐกิจทุนนิยม บริโภคนิยม หรือวัตถุนิยม บอกว่าความโลภเป็นตัวนำ ขณะเดียวกันแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือว่าปัญญา เป็นตัวนำ เพราะฉะนั้นวิธีที่จะทำให้การบริหารประเทศยึดปรัชญานี้ได้ และทำให้ความขัดแย้งเป็นเหรียญเดียวกัน คือบทบาทหน้าที่ของผุ้กำหนดนโยบายต้องออกแบบนโยบายเพื่อกำกับความโลภของมนุษย์
ผมขอตั้งเป้าไว้ซึ่งอาจจะต่ำไว้ก่อนว่าลดหรือกำกับการเอาความโลภนั้น ที่ผมไม่พูดว่าให้ขจัดความโลภนั้นไปหมด เพราะผมคิดว่าเราต้องอยู่ในโลกของความเป็นจริง เพราะแม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็เคยมีพระราชดำรัสซึ่งพวกเราทราบดี พระองค์ท่านเคยรับสั่งว่าเราไม่สามารถจะให้คนทุกคนเป็นคนดี เพราะฉะนั้นเมื่อทำให้ทุกคนเป็นคนดีไม่ได้ หรือแม้แต่ตัวเรายังไม่สามารถขจัดความโลภที่มีอยู่ในตัวเราออกไปได้ คนกำหนดนโยบายต้องกำหนดกรอบกติกา นโยบายของสังคมว่าทำอย่างไรอย่าให้ความโลภมาครอบงำ ครอบงำพฤติกรรมของฝ่ายต่างๆในสังคมขณะเดียวกันด้านหนึ่งนโยบายต้องมุ่งส่งเสริมในเรื่องปัญหาเพื่อเป็นตัวนำในการดำเนินการต่อไป เมื่อเราได้กรอบความคิด และวิธีกำหนดกรอบนโยบายอย่างนี้แล้ว เราก็สามารถออกแบบนโยบายต่างๆไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคมการเมือง หรือวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมก็แล้วแต่ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายแล้วเราจะพบว่าพอเรามีความมั่นคงแนวแน่ว่าเรามีเป้าหมายสุดท้าย ที่เราต้องการจากการพัฒนาคืออะไร คำตอบที่ออกมาก็จะมีความหลากหลาย ในตัวเอง
ในประสบการณ์ของหลายชุมชนที่ไปดำเนินโครงการหลายโครงการในลักษณะนี้ จะพบความจริงที่บ้างทีก็ดูขัดแย้งคือว่า การดำเนินการโครงการต่างๆในชุมชน สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือว่าอย่าเอาเงินเป็นตัวตั้ง ความผิดพลาดของการพัฒนาและความไม่ยั่งยืนของหลายโครงการก็เพราะว่ามุ่งในเรื่องของเงิน ในทุกระดับ โดยคิดว่านั้นจะเป็นตัวสร้างความร่ำรวย สุดท้ายก็ไม่ใช่ เพราะอาจจะมีการก็หนี้ยืมสิน ขาดความรู้ ความพร้อม ในการที่จะใช้สิ่งที่ได้มา ไม่ว่าจะได้มากไหนก็ตามมันก็ล้มเหลวแต่ปรากฏว่าถ้าเริ่มต้นจากการมีเป้าหมายเสียก่อนอยากได้ประโยชน์สุขอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอากาศที่สะอาดมีทรัพยากรที่ดี มีธรรมชาติที่สมบูรณ์สุดท้ายโครงการเดินได้แล้วที่สำคัญคือสุดท้ายเมื่อโครงการเดินได้แล้วสร้างความร่ำรวยมั่งคั่งมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้แม้ว่าไม่ใช้โกตั่นแต่ก็สามารถไปทำตรงนั้นได้ก็จะมาสอดรับคำพูดที่เราได้ยินตลอดเช้านี้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขัดแย้งกับการที่จะร่ำรวยมั่งคั่งแต่อยู่ตรงที่ว่าเราตั้งต้นจากจุดๆไหนมากกว่าแล้วเมื่อเป็นแบบนี้แล้วผมก็ต้องขออนุญาติสรุปสั้นๆ ในสองประเด็นที่ผมคิดว่าฝ่ายนโยบายจากนี้ไปมีภาระหน้าที่ที่จะต้องทำนั้นก็คือ 1. นโยบายทุกนโยบายควรจะต้องมีการประเมิณผลงานโดยยึดเอาหลักสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัววัดประมาณตนมั๊ยสมเหตุสมผลมั๊ยสร้างความเสี่ยงมั๊ยถ้าทุกนโยบายเอาตัวนี้มาเป็นตัววัดก่อนที่จะตัดสินใจในการดำเนินโครงการนั้นก็หมายความว่าเราปรับกระบวนการพัฒนานโยบายทั้งหมดให้มาสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจ ในอดีตเราทำมาเยอะแล้วเราประเมิณผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างนี้ก็มีผลกระทบทางสังคมเมื่อเร็วๆ นี้ผมก็ไปเสนอว่าต้องจริงจังมากขึ้นในเรื่องผลกระทบต่อการกระจ่ายก็เอาแนวหลักของเศรษฐกิจพอเพียงมาจับเพิ่มเติมก่อนที่เราจะตัดสินใจว่าโครงการนี้นโยบายนี้สมควรดำเนินการอย่างไร
2. การส่งเสริมการพัฒนาและการเจริญตามแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงผมอยากให้เน้นกระบวนการจากล้างขึ้นบนในเอกสารในการสัมมนาในอดีตของมูลนิธิได้มีการพูดถึงพระราชดำรัสพระองค์ท่านเรื่องการระเบิดจัดการและตรงนี้ผมอยากเปลี่ยนอาจารย์เพราะอาจารย์บอกว่าอาจคนร้อยละ4ร้อยละ5ที่เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงแต่ผมกลับมองว่าความจริงหลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขัดกับธรรมชาติของมนุษย์หลายสิ่งหลายอย่างที่มาทำลายกระบวนการพัฒนาที่ทำลายที่จริงขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์มากกว่า มีเรื่องสมมุติว่ากระดาษคือเรื่องสมมุติขึ้นมาแต่ของจริงคือทรัพยากรอาหาร น้ำ ความเป็นอยู่ จริงๆ แล้วเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ฝืนธรรมชาติแต่กลับให้มนุษย์ย้อนกลับไปดูธรรมชาติของตัวเองมากกว่าว่าควรจะใช้ชีวิตอย่างไรอยู่ในโลกนี้อย่างไรได้อะไรไปจากโลกนี้คืนอะไรให้กับโลกนี้นี้คือสิ่งที่ผมเชื่อมั่นว่าถ้าเราคิดถึงการนำเอาแนวพระราชดำริพอเพียงไปทำจากล้างขึ้นบนเพียงแต่กระตุ้นด้านดีในธรรมชาติของมนุษย์การระเบิดจากภายในก็จะเกิดขึ้นซึ่งก็จะมีทั้งการเรียนรู้ของตนเองและการเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนของชุมชนก็จะนำไปสู่กระบวนการแห่งการพัฒนาสุดท้ายผมคงบอกได้อย่างเดียวว่าสำหรับภาคการเมืองนั้นนอกจากแนวคิดแนวทางในการกำหนดนโยบายแล้วสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าก็คือว่าเมื่อภาคการเมืองถือว่าเป็นผู้นำของการเมือง ภาคการเมืองเป็นผู้นำของสังคม ก็ต้องดำเนินการทุกอย่างเป็นแบบอย่างของสังคมร่วมทั้งการดำเนินการทุกสิ่งทุกอย่างให้สอดคล้องกับแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ขอบคุณครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 มิ.ย. 2549--จบ--
วานนี้(16 มิ.ย. 49)สวัสดีผู้มีเกียรติที่รักทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขอแสดงความชื่นชมกับมูลนิธิที่จัดให้มีการสัมมนา ซึ่งถือว่าเป็นการจัดต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหลายปี เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็เป็นบทบาทสำคัญคือเรื่องของการสร้างกระบวนการการเรียนรู้ เพื่อที่จะทำให้แนวพระราชดำรินั้น สามารถที่จะนำไปเผยแพร่และนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง
ตลอดเวลาครึ่งวันที่ผ่านมาผมคิดว่าเราได้รับฟังทั้งคำบรรยายและคำอภิปราย ซึ่งคงจะทำให้เห็นภาพและสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนพอสมควร เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำซ้อน ประเด็นทั้งหลายที่ถูกนำเสนอไปแล้ว ผมจะพยายามหลีกเลี่ยงเพื่อที่จะไม่พูดซ้ำ ขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นตัวแทนของฝ่ายกรเมือง หน้าที่สำคัญของฝ่ายการเมืองก็คือ หน้าที่ในเรื่องของนโยบาย เพราะฉะนั้นก็จะกำจัดสิ่งที่ผมจะพูดต่อไปในแง่ของบทบาทของฝ่ายนโยบาย ในการที่จะนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจะไปสร้างสังคมเศรษฐกิจที่มั่นคง ยั่งยืนในทุกระดับ
สิ่งที่ผมคิดว่าอยากจะหยิบยกขึ้นมาเป็นพิเศษ จากการได้รับฟังคิดว่าอยากจะให้มองเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่ในเชิงของโครงการหนึ่ง จะเป็นในระดับชุมชน หรือระดับใดก็ตาม แต่อยากให้มองว่าเป็นปรัชญาสำหรับการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับโลกปัจจุบันและอนาคต เมื่อเช้านี้เราได้รับการยืนยันว่า แนวพระราชดำริในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องโบราณท่านใช้คำว่าทันสมัย ผมเองยังอยากจะไปอีกขั้นหนึ่งคือว่า จริงๆแล้วแนวพระราชดำรินั้น นำสมัย คือพระองค์ท่านได้ทรงวิเคราะห์สภาวะการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้โลกาภิวัฒน์ล่วงหน้า แล้วมองเห็นว่าไม่ว่าโลกาภิวัฒน์จะมีข้อดีอย่างไร แต่กระบวนการพัฒนาภายใต้โลกาภิวัฒน์ นำมาซึ่งความเสี่ยง และนำมาซึ่งปัญหา ที่บางครั้งย้อนกลับมาทำลายสิงที่เป็นธรรมชาติ หรือพื้นฐานของมนุษย์ และชุมชน
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญมากคือการมองปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกรอบความคิดนี้ว่ามันเป็นวิธีการที่เรามองในเรื่องของทำอย่างไรไม่ใช้แค่มาพูดว่าจะต้องทำอะไรในการที่จะนำเอาพระราชดำริมาขยายผลไปสู่การเป็นคำตอบและที่แน่นอนที่สุดนะครับสิ่งที่ได้ย้ำไปแล้วหลายครั้งว่าแนวปรัญชานี้สามารถที่จะนำไปใช้ได้ทุกระดับคือตั้งแต่ระดับประเทศไปถึงระดับชุมชนและไปจนถึงระดับบุคคล
ผมอยากจะเพิ่มเติมข้อคิดอีกหนึ่งข้อเพื่อให้ได้ภาพที่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นกล่าวคือว่าอยากให้มองปัญหาและแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการเมืองให้เชื่อมโยงกันด้วยเพราะศัพท์สมัยนี้ก็ต้องบอกว่าต้องมาการบูรณาการณ์นั้นก็คือว่าเราคงไม่มองเรื่องนี้หรือปัญหาที่เรากำลังพยายามแก้ไขในลักษณะที่แยกกันเมื่อเอาความคิดเหล่านี้มารวมกันแล้ว ข้อคิดของผมก็คือว่าบทบาทของภาคการเมืองก็จะต้องนำไปสู่การกำหนดและการขับเคลื่อนนโยบายตามปรัชญานี้เพราะฉนั้นสิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือต้องตั้งโจรย์ให้ถูกต้องว่าถ้าเป้าหมายสุดท้ายประโยชน์สุขหรือความผาสุกซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการที่เราต้องการให้ยั้งยืน ความยั้งยืนนี้ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้างหรือการเติบโตหรือการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นจะต้องมีคุณลักษณะอย่างไรบ้างถึงจะเรียกว่ายั้งยืน ผมก็มองได้ว่าจะต้องมีอยู่อย่างน้อย 3 ส่วน ที่แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องการจะไปตอบ ตอบข้อแรกก็คือทำอย่างไรให้กระบวนการพัฒนาไม่ทำลายความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์หรือการใช้ทรัพยากรธรรมชาตินี้เป็นตัวอย่างยั้งยืน
ซึ่งที่จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจและโครงการหลายโครงการมาหลาย 10 ปี ทรงนึกถึงความสำคัญที่จะต้องใช้และวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน เพราะฉะนั้นกระบวนการพัฒนาและนโยบายหรือโครงการใดๆที่จะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองและไม่ยั่งยืนและไม่ยั่งยืน ตรงนี้เป็นโจทย์ที่ฝ่ายนโยบายจะต้องตอบให้ได้
ประเด็นที่ 2 คือว่าความยั่งยืนมั่นคงของชุมชนและสังคม จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม ถ้าพูดถึงเศรษฐกิจมหภาคก็จะพูดถึงการกระจายรายได้ แต่ว่าหากพูดในหลักทั่วๆไปเราคงไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องมีฐานะเท่ากัน เราคงไม่สมารถจะทำให้ฐานะของคนเท่าเทียมกันกันหมด หรือใกล้เคียงกันเกือบหมดได้ แต่ว่าพื้นฐานของกระบวนการการพัฒนาต้องมีพื้นฐานของความเป็นธรรม ความเป็นธรรมนี่เริ่มตั้งแต่กติกาที่เป็นธรรม และการแข่งขันที่เป็นธรรม และเมื่อมีการแข่งขัน และการแพ้ การชนะ แล้วก้จะเกิดมิติของความเป็นธรรมคือว่า เราจะช่วยผู้อ่อนแอ และผู้แพ้ในการแข่งขันอย่างไร
ประเด็นที่ 3 ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีความสันติสุข ไม่มีประโยชน์อะไรหากการพัฒนาแต่สังคมกลับเกิดความแตกแยกและขัดแย้ง และในที่สุดการแข่งขันก็จะกลายเป็นการแย่งชิงและการต่อสู้ที่รุนแรงมากขึ้น จะเป็นแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ การแย่งชิงอำนาจ หรืออะไรใดๆก็ตาม เมื่อเกิดความแตกแยกและไม่มีสันติสุข สุดท้ายสังคมเศรษฐกิจก็ไม่สามารถพัฒนาไปอย่างยั่งยืนได้ นี่คือโจทย์ที่จะเป็นกรอบสำหรับฝ่ายการเมืองที่กำหนดนโยบาย ที่ต้องคิดตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบาย ไม่ว่าจะคิดโครงการ หรือมีวิสัยทัศน์อย่างไร ต้องนำกรอบเหล่านี้เข้ามาเพื่อเป็นตัวกำกับแนวทางของการพัฒนา
ทีนี้ถามต่อไปว่า ฝ่ายกำกับ หรือฝ่ายดำเนินนโยบาย เมื่อมีกรอบอย่างนี้แล้วสามารถที่จะนำไปใช้กับหลักคิดในการบริหารประเทศได้ทุกเรื่องหรือไม่ ผมมีความเห็นคือว่าสิ่งที่เราพยายามหลีกเลี่ยง คือไปมองว่าหลักปรัชญานี้ แนวคิดนี้ เราก็ทำไว้สำหรับโครงการชุดหนึ่ง แล้วเราก็บอกว่ามีเศรษฐกิจของโลกสมัยใหม่อีกส่วนหนึ่งแล้วก็บอกให้เขาไป ต้องทำให้สองเรื่องนี้ เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน
เมื่อตอนเช้าเราได้ยินว่าเศรษฐกิจทุนนิยม บริโภคนิยม หรือวัตถุนิยม บอกว่าความโลภเป็นตัวนำ ขณะเดียวกันแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือว่าปัญญา เป็นตัวนำ เพราะฉะนั้นวิธีที่จะทำให้การบริหารประเทศยึดปรัชญานี้ได้ และทำให้ความขัดแย้งเป็นเหรียญเดียวกัน คือบทบาทหน้าที่ของผุ้กำหนดนโยบายต้องออกแบบนโยบายเพื่อกำกับความโลภของมนุษย์
ผมขอตั้งเป้าไว้ซึ่งอาจจะต่ำไว้ก่อนว่าลดหรือกำกับการเอาความโลภนั้น ที่ผมไม่พูดว่าให้ขจัดความโลภนั้นไปหมด เพราะผมคิดว่าเราต้องอยู่ในโลกของความเป็นจริง เพราะแม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็เคยมีพระราชดำรัสซึ่งพวกเราทราบดี พระองค์ท่านเคยรับสั่งว่าเราไม่สามารถจะให้คนทุกคนเป็นคนดี เพราะฉะนั้นเมื่อทำให้ทุกคนเป็นคนดีไม่ได้ หรือแม้แต่ตัวเรายังไม่สามารถขจัดความโลภที่มีอยู่ในตัวเราออกไปได้ คนกำหนดนโยบายต้องกำหนดกรอบกติกา นโยบายของสังคมว่าทำอย่างไรอย่าให้ความโลภมาครอบงำ ครอบงำพฤติกรรมของฝ่ายต่างๆในสังคมขณะเดียวกันด้านหนึ่งนโยบายต้องมุ่งส่งเสริมในเรื่องปัญหาเพื่อเป็นตัวนำในการดำเนินการต่อไป เมื่อเราได้กรอบความคิด และวิธีกำหนดกรอบนโยบายอย่างนี้แล้ว เราก็สามารถออกแบบนโยบายต่างๆไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคมการเมือง หรือวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมก็แล้วแต่ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายแล้วเราจะพบว่าพอเรามีความมั่นคงแนวแน่ว่าเรามีเป้าหมายสุดท้าย ที่เราต้องการจากการพัฒนาคืออะไร คำตอบที่ออกมาก็จะมีความหลากหลาย ในตัวเอง
ในประสบการณ์ของหลายชุมชนที่ไปดำเนินโครงการหลายโครงการในลักษณะนี้ จะพบความจริงที่บ้างทีก็ดูขัดแย้งคือว่า การดำเนินการโครงการต่างๆในชุมชน สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือว่าอย่าเอาเงินเป็นตัวตั้ง ความผิดพลาดของการพัฒนาและความไม่ยั่งยืนของหลายโครงการก็เพราะว่ามุ่งในเรื่องของเงิน ในทุกระดับ โดยคิดว่านั้นจะเป็นตัวสร้างความร่ำรวย สุดท้ายก็ไม่ใช่ เพราะอาจจะมีการก็หนี้ยืมสิน ขาดความรู้ ความพร้อม ในการที่จะใช้สิ่งที่ได้มา ไม่ว่าจะได้มากไหนก็ตามมันก็ล้มเหลวแต่ปรากฏว่าถ้าเริ่มต้นจากการมีเป้าหมายเสียก่อนอยากได้ประโยชน์สุขอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอากาศที่สะอาดมีทรัพยากรที่ดี มีธรรมชาติที่สมบูรณ์สุดท้ายโครงการเดินได้แล้วที่สำคัญคือสุดท้ายเมื่อโครงการเดินได้แล้วสร้างความร่ำรวยมั่งคั่งมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้แม้ว่าไม่ใช้โกตั่นแต่ก็สามารถไปทำตรงนั้นได้ก็จะมาสอดรับคำพูดที่เราได้ยินตลอดเช้านี้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขัดแย้งกับการที่จะร่ำรวยมั่งคั่งแต่อยู่ตรงที่ว่าเราตั้งต้นจากจุดๆไหนมากกว่าแล้วเมื่อเป็นแบบนี้แล้วผมก็ต้องขออนุญาติสรุปสั้นๆ ในสองประเด็นที่ผมคิดว่าฝ่ายนโยบายจากนี้ไปมีภาระหน้าที่ที่จะต้องทำนั้นก็คือ 1. นโยบายทุกนโยบายควรจะต้องมีการประเมิณผลงานโดยยึดเอาหลักสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัววัดประมาณตนมั๊ยสมเหตุสมผลมั๊ยสร้างความเสี่ยงมั๊ยถ้าทุกนโยบายเอาตัวนี้มาเป็นตัววัดก่อนที่จะตัดสินใจในการดำเนินโครงการนั้นก็หมายความว่าเราปรับกระบวนการพัฒนานโยบายทั้งหมดให้มาสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจ ในอดีตเราทำมาเยอะแล้วเราประเมิณผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างนี้ก็มีผลกระทบทางสังคมเมื่อเร็วๆ นี้ผมก็ไปเสนอว่าต้องจริงจังมากขึ้นในเรื่องผลกระทบต่อการกระจ่ายก็เอาแนวหลักของเศรษฐกิจพอเพียงมาจับเพิ่มเติมก่อนที่เราจะตัดสินใจว่าโครงการนี้นโยบายนี้สมควรดำเนินการอย่างไร
2. การส่งเสริมการพัฒนาและการเจริญตามแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงผมอยากให้เน้นกระบวนการจากล้างขึ้นบนในเอกสารในการสัมมนาในอดีตของมูลนิธิได้มีการพูดถึงพระราชดำรัสพระองค์ท่านเรื่องการระเบิดจัดการและตรงนี้ผมอยากเปลี่ยนอาจารย์เพราะอาจารย์บอกว่าอาจคนร้อยละ4ร้อยละ5ที่เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงแต่ผมกลับมองว่าความจริงหลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขัดกับธรรมชาติของมนุษย์หลายสิ่งหลายอย่างที่มาทำลายกระบวนการพัฒนาที่ทำลายที่จริงขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์มากกว่า มีเรื่องสมมุติว่ากระดาษคือเรื่องสมมุติขึ้นมาแต่ของจริงคือทรัพยากรอาหาร น้ำ ความเป็นอยู่ จริงๆ แล้วเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ฝืนธรรมชาติแต่กลับให้มนุษย์ย้อนกลับไปดูธรรมชาติของตัวเองมากกว่าว่าควรจะใช้ชีวิตอย่างไรอยู่ในโลกนี้อย่างไรได้อะไรไปจากโลกนี้คืนอะไรให้กับโลกนี้นี้คือสิ่งที่ผมเชื่อมั่นว่าถ้าเราคิดถึงการนำเอาแนวพระราชดำริพอเพียงไปทำจากล้างขึ้นบนเพียงแต่กระตุ้นด้านดีในธรรมชาติของมนุษย์การระเบิดจากภายในก็จะเกิดขึ้นซึ่งก็จะมีทั้งการเรียนรู้ของตนเองและการเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนของชุมชนก็จะนำไปสู่กระบวนการแห่งการพัฒนาสุดท้ายผมคงบอกได้อย่างเดียวว่าสำหรับภาคการเมืองนั้นนอกจากแนวคิดแนวทางในการกำหนดนโยบายแล้วสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าก็คือว่าเมื่อภาคการเมืองถือว่าเป็นผู้นำของการเมือง ภาคการเมืองเป็นผู้นำของสังคม ก็ต้องดำเนินการทุกอย่างเป็นแบบอย่างของสังคมร่วมทั้งการดำเนินการทุกสิ่งทุกอย่างให้สอดคล้องกับแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ขอบคุณครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 มิ.ย. 2549--จบ--