จับกระแสเศรษฐกิจโลกหดตัว “ส่งออกไทย” เผชิญสารพัดปัญหา

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 18, 2006 12:02 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          นายปีเตอร์ มอร์แกน หัวหน้าเศรษฐกรประจำภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี ฮ่องกง ได้วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจในการบรรยายเรื่อง “จับกระแสโลกและผลพวงต่อเศรษฐกิจไทย” ว่าโดยภาพรวมแล้วเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากแรงหนุนของประเทศจีน ซึ่งในปี 2548 ที่ผ่านมาจีนมีการเติบโตถึง 9.9% และลดต่ำลงในปี 2549 และ 2550 ที่ 9.4 และ 8.5 ตามลำดับ อย่างไรก็ดีเอชเอสบีซี ยังมองว่าเศรษฐกิจเอเซียจะมีแนวโน้มที่ชะลอตัวลงด้วย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเซียยังคงใช้มาตรการทางการเงินที่รัดกุมเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ 
การชะลอตัวของสหรัฐจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในภูมิภาคเอเซียด้วยเนื่องจากความต้องการใช้จ่ายของชาวอเมริกันลดน้อยลงแต่จะยังมีการลงทุนของภาคเอกชนที่จะพัฒนาขึ้นเข้ามาทดแทนอีกทั้งการเติบโตของจีนและญี่ปุ่นที่จะขยายตัวมากขึ้น สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจในเอเซียชะลอตัวลงอีกประการคือประเทศในแถบเอเซียยังคงใช้มาตรการทางการเงินที่รัดกุมอีกทั้งราคาน้ำมันที่ยังผันผวนอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงได้
ทั้งนี้ นายปีเตอร์ ได้ประเมินผลกระทบดังกล่าวที่จะส่งผลต่อไทยว่า ในภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากความต้องการที่มีแนวโน้มจะลดลงทั้งสหรัฐและภูมิภาคเอเซีย ในขณะที่ปัญหาภายใน(การเมือง) ยังเป็นปัญหาที่สำคัญซึ่งยังไม่เห็นทางแก้ไข ด้านต่างประเทศนโยบายของยังมีบทบาทที่สำคัญโดยเฉพาะนโยบายด้านการเงินที่มีบทบาทในระยะที่นโยบายด้านการคลังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก
ประเด็นวิเคราะห์:
ภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจุบันที่กำลังอยู่ในภาวะหดตัวเนื่องมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา โดยปี 2548 การเติบโตของภูมิภาคเอเซียมีถึง 8.1% ในขณะที่เศรษฐกิจของไทยมีปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องคอยสังเกตุเป็นพิเศษที่จะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายด้านการเงินของไทย คือ ดุลการชำระเงินซึ่งจะมีบทบาทต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย ถ้ามีสูงขึ้นก็จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเกิดความผันผวนสูงมากและเป็นเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งหรืออาจจะต้องแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งจะมีผลกระทบแก่ประชาชนทั่วไปและจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมได้
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ