กรุงเทพ--2 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อ 1 มิถุนายน 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ครั้งที่ 8 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมีผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุมฯ จากประเทศสมาชิกทั้ง 14 ประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวย้ำว่า ประเทศสมาชิกเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์จะต้องประสานความร่วมมือระหว่างกันต่อไปอย่างแข็งขัน โดยมีทิศทางที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และเป็นแรงขับเคลื่อนทางการเมืองเพื่อทำให้เกิดมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความตระหนักรู้ในด้านความมั่นคงของมนุษย์ทุกระดับ ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และโลก และสนับสนุนให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมความมั่นคงของมนุษย์
ไทยให้ความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ โดยมุ่งเน้นในเรื่อง สภาพที่ปราศจากความหวาดกลัว (freedom from fear) (การควบคุมอาวุธที่เป็นอันตรายต่อมุนษยชาติ และการสร้างสันติภาพ) สภาพที่ปราศจากความขาดแคลน (freedom from want) (การแก้ไขปัญหาความยากจน) และสภาพการดำรงชีวิตได้ (freedom to live) (การพัฒนาที่ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง) ซึ่งโครงการที่สำคัญของไทย คือ โครงการพัฒนาดอยตุง ที่สนับสนุนการสร้างรายได้จากการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น
การประชุมระดับรัฐมนตรีของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ครั้งนี้เป็นการประชุมที่สำคัญของเครือข่ายฯ และเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีของ HSN เนื่องจากเป็นโอกาสที่ผู้แทนระดับสูงของประเทศสมาชิกจะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นด้านความมั่นคงของมนุษย์และความร่วมมือในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพหุภาคีด้วย นอกจากนั้น ประเทศสมาชิกฯ ยังทบทวนการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ในรอบปีที่ผ่านมาเพื่อกำหนดจุดยืนของ HSN ในปีต่อไป โดยในวันสุดท้ายของการประชุมฯ (2 มิถุนายน 2549) ดร. กันตธีร์ฯ จะส่งมอบตำแหน่งประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ให้แก่นาย Dimitrij Rupel รัฐมนตรีต่างประเทศสโลวีเนียต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อ 1 มิถุนายน 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ครั้งที่ 8 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมีผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุมฯ จากประเทศสมาชิกทั้ง 14 ประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวย้ำว่า ประเทศสมาชิกเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์จะต้องประสานความร่วมมือระหว่างกันต่อไปอย่างแข็งขัน โดยมีทิศทางที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และเป็นแรงขับเคลื่อนทางการเมืองเพื่อทำให้เกิดมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความตระหนักรู้ในด้านความมั่นคงของมนุษย์ทุกระดับ ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และโลก และสนับสนุนให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมความมั่นคงของมนุษย์
ไทยให้ความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ โดยมุ่งเน้นในเรื่อง สภาพที่ปราศจากความหวาดกลัว (freedom from fear) (การควบคุมอาวุธที่เป็นอันตรายต่อมุนษยชาติ และการสร้างสันติภาพ) สภาพที่ปราศจากความขาดแคลน (freedom from want) (การแก้ไขปัญหาความยากจน) และสภาพการดำรงชีวิตได้ (freedom to live) (การพัฒนาที่ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง) ซึ่งโครงการที่สำคัญของไทย คือ โครงการพัฒนาดอยตุง ที่สนับสนุนการสร้างรายได้จากการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น
การประชุมระดับรัฐมนตรีของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ครั้งนี้เป็นการประชุมที่สำคัญของเครือข่ายฯ และเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีของ HSN เนื่องจากเป็นโอกาสที่ผู้แทนระดับสูงของประเทศสมาชิกจะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นด้านความมั่นคงของมนุษย์และความร่วมมือในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพหุภาคีด้วย นอกจากนั้น ประเทศสมาชิกฯ ยังทบทวนการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ในรอบปีที่ผ่านมาเพื่อกำหนดจุดยืนของ HSN ในปีต่อไป โดยในวันสุดท้ายของการประชุมฯ (2 มิถุนายน 2549) ดร. กันตธีร์ฯ จะส่งมอบตำแหน่งประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ให้แก่นาย Dimitrij Rupel รัฐมนตรีต่างประเทศสโลวีเนียต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-