ฝั่งยุโรป ยังเงียบสนิทเรื่องการยกเลิกการอุดหนุนส่งออก ขณะที่การเจรจาที่เจนีวา ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เพราะสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับท่าที คาดผลการเจรจาหลังปรับท่าทีใหม่น่าจะคืบหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ที่ประเทศฮ่องกง เมื่อเดือนธันวาคม 2548 ความก้าวหน้าที่เห็นชัดเจนคือ ประเทศสมาชิก WTO เห็นชอบที่จะให้ยกเลิกการอุดหนุนส่งออกทุกรูปแบบภายในปี 2556 ซึ่งในทางปฏิบัติ สหภาพยุโรปต้องยกเลิกมาตรการการให้เงินชดเชยแก่ผู้ส่งออก และสหรัฐอเมริกาต้องยกเลิกการค้ำประกันสินเชื่อการส่งออกที่มีอายุเกิน 180 วัน รวมทั้งต้องยกเลิกการช่วยเหลือด้านอาหาร (food aid) ที่มีลักษณะเสมือนเป็นการอุดหนุนการส่งออก
ล่าสุด ได้รับรายงานจากคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) เกี่ยวกับความก้าวหน้าการเจรจาเกษตรขององค์การการค้าโลก โดยระบุว่า สถานการณ์การเจรจายังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร แม้ว่าเรื่องดังกล่าว สหภาพยุโรปมีแนวโน้มว่าจะยินยอมที่จะยกเลิกการอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตรเกือบทั้งหมดก่อนปี 2556 แต่จะขอยกเว้นสินค้านมและผลิตภัณฑ์ที่ยังคงการอุดหนุนส่งออกไว้จนถึงปีที่กำหนด จึงทำให้สหรัฐอเมริกามีความต้องการรักษาสิทธิการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออกที่เกิน 180 วัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการอุดหนุนการส่งออกไว้จนถึงปี 2556 ด้วย
สำหรับเรื่องการยกเลิกการอุดหนุนส่งออกเป็นเรื่องที่ไทยให้ความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง เพราะการให้การอุดหนุนส่งออก ทั้งในรูปแบบของการชดเชยแก่ผู้ส่งออก การค้ำประกันสินเชื่อ หรืแม้แต่การอ้างการช่วยเหลือด้านอาหารเพื่อการระบายสต๊อกสินค้าภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการค้า ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการเหล่านี้ ได้แก่ ข้าว และน้ำตาล ดังนั้น ไทยจึงมีท่าทีที่ต้องการผลักดันให้มีการยกเลิกมาตรการเหล่านี้โดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ คณะผู้แทนไทยฯ ยังได้แจ้งว่า ขณะนี้การเจรจาที่กรุงเจนีวา ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับท่าที และเมื่อได้มีท่าทีใหม่แล้ว คาดว่าการเจรจาฯ น่าจะคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น ประเทศไทยจึงต้องเตรียมพร้อมเพื่อการเจรจาในทุกประเด็น โดยรูปแบบการเจรจาเกษตรภายใต้ WTO ในขณะนี้ มุ่งเน้นการประชุมในกลุ่มย่อยเพื่อให้ได้ข้อตกลงในเบื้องต้นก่อน แล้วให้ประเทศผู้นำกลุ่มนำข้อตกลงที่ได้ไปเสนอแก่กลุ่มของตนเองเพื่อให้เกิดการยอมรับ ซึ่งการเจรจาในลักษณะนี้ถึงแม้จะดูเหมือนโปร่งใส เพราะบางกลุ่มประเทศไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้ข้อคิดเห็นด้วย แต่ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีสุดที่จะทำให้ประเทศสมาชิก WTO ที่มีสมาชิกถึง 150 ประเทศ สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในเวลาที่จำกัด คือ ภายในเดือนเมษายน 2549 นี้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ที่ประเทศฮ่องกง เมื่อเดือนธันวาคม 2548 ความก้าวหน้าที่เห็นชัดเจนคือ ประเทศสมาชิก WTO เห็นชอบที่จะให้ยกเลิกการอุดหนุนส่งออกทุกรูปแบบภายในปี 2556 ซึ่งในทางปฏิบัติ สหภาพยุโรปต้องยกเลิกมาตรการการให้เงินชดเชยแก่ผู้ส่งออก และสหรัฐอเมริกาต้องยกเลิกการค้ำประกันสินเชื่อการส่งออกที่มีอายุเกิน 180 วัน รวมทั้งต้องยกเลิกการช่วยเหลือด้านอาหาร (food aid) ที่มีลักษณะเสมือนเป็นการอุดหนุนการส่งออก
ล่าสุด ได้รับรายงานจากคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) เกี่ยวกับความก้าวหน้าการเจรจาเกษตรขององค์การการค้าโลก โดยระบุว่า สถานการณ์การเจรจายังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร แม้ว่าเรื่องดังกล่าว สหภาพยุโรปมีแนวโน้มว่าจะยินยอมที่จะยกเลิกการอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตรเกือบทั้งหมดก่อนปี 2556 แต่จะขอยกเว้นสินค้านมและผลิตภัณฑ์ที่ยังคงการอุดหนุนส่งออกไว้จนถึงปีที่กำหนด จึงทำให้สหรัฐอเมริกามีความต้องการรักษาสิทธิการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออกที่เกิน 180 วัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการอุดหนุนการส่งออกไว้จนถึงปี 2556 ด้วย
สำหรับเรื่องการยกเลิกการอุดหนุนส่งออกเป็นเรื่องที่ไทยให้ความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง เพราะการให้การอุดหนุนส่งออก ทั้งในรูปแบบของการชดเชยแก่ผู้ส่งออก การค้ำประกันสินเชื่อ หรืแม้แต่การอ้างการช่วยเหลือด้านอาหารเพื่อการระบายสต๊อกสินค้าภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการค้า ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการเหล่านี้ ได้แก่ ข้าว และน้ำตาล ดังนั้น ไทยจึงมีท่าทีที่ต้องการผลักดันให้มีการยกเลิกมาตรการเหล่านี้โดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ คณะผู้แทนไทยฯ ยังได้แจ้งว่า ขณะนี้การเจรจาที่กรุงเจนีวา ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับท่าที และเมื่อได้มีท่าทีใหม่แล้ว คาดว่าการเจรจาฯ น่าจะคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น ประเทศไทยจึงต้องเตรียมพร้อมเพื่อการเจรจาในทุกประเด็น โดยรูปแบบการเจรจาเกษตรภายใต้ WTO ในขณะนี้ มุ่งเน้นการประชุมในกลุ่มย่อยเพื่อให้ได้ข้อตกลงในเบื้องต้นก่อน แล้วให้ประเทศผู้นำกลุ่มนำข้อตกลงที่ได้ไปเสนอแก่กลุ่มของตนเองเพื่อให้เกิดการยอมรับ ซึ่งการเจรจาในลักษณะนี้ถึงแม้จะดูเหมือนโปร่งใส เพราะบางกลุ่มประเทศไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้ข้อคิดเห็นด้วย แต่ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีสุดที่จะทำให้ประเทศสมาชิก WTO ที่มีสมาชิกถึง 150 ประเทศ สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในเวลาที่จำกัด คือ ภายในเดือนเมษายน 2549 นี้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-