นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สถานการณ์การนำเข้าสินค้าในเดือน มิ.ย. 2549 ว่าการนำเข้าเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2548 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.04 แต่เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 ขยายตัวลดลงร้อยละ 0.85 โดยเฉพาะสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้ารวมกันร้อยละ 70 มีอัตราการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ,7.8 ตามลำดับ เป็นไปตามภาวะการผลิตและการส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าเชื้อเพลิงมีอัตราขยายตัวของการนำเข้าลดลงเป็นครั้งแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 11.4 แสดงให้เห็นว่านโยบายรณรงค์ประหยัดพลังงาน รวมถึงมาตรการบริหารการนำเข้าน้ำมันดิบ ของภาครัฐได้ผลดี ส่วนการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งรวมสินค้าฟุ่มเฟือยด้วยในเดือน มิ.ย. 2549 มีการนำเข้า 766 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2548 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.93 ได้แก่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เครื่องใช้เครื่องตกแต่งภายในบ้าน เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เช่น เครื่องใช้ในครัว โต๊ะอาหารและกระเป๋าเดินทาง เป็นต้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งนำเข้ามูลค่า 760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.79 แต่อย่างไรก็ตามจากการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้มีการใช้ของไทย ทำให้มีสินค้าฟุ่มเฟือยหลายรายการมีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน อาทิ สินค้าในกลุ่มผักผลไม้ เช่น ผลไม้อื่น ๆ และของปรุงแต่งจากผลไม้ ลดลงร้อยละ 24 สินค้าในกลุ่มรองเท้า เช่น รองเท้าหนังลดลงร้อยละ 12 รองเท้าทำด้วยยางหรือพลาสติกลดลงร้อยละ 35 ในกลุ่มนาฬิกาและส่วนประกอบ เช่น นาฬิกาข้อมือ ลดลงร้อยละ 16 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เช่น วิตามินลดลงร้อยละ 5 เป็นต้น ซึ่งกรมฯ จะยังคงเร่งรณรงค์ เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ให้ใช้สินค้าที่ผลิตได้ในประเทศอย่างต่อเนื่องต่อไป และที่ผ่านมากรมฯ ได้ประสานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพ/มาตรฐานสินค้านำเข้า เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้เพิ่มความเข้มงวดกับการตรวจสอบควบคุมคุณภาพ /มาตรฐานสินค้าที่นำเข้า และขอความร่วมมือกับกรมศุลกากร ในการป้องกันการลักลอบการนำเข้าสินค้าในกลุ่มนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
สำหรับการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ใน 6 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 4,366ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.65 โดยในเดือนมิ.ย.49 นำเข้ามูลค่า 766 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.93 สินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มที่ยังมีอัตราการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. 49 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน นำเข้ามูลค่า 172 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.82 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น - เสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ นำเข้ามูลค่า 33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.96 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง - เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน นำเข้ามูลค่า 22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา - เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เช่น เครื่องใช้ในครัวและโต๊ะอาหาร กระเป๋าเดินทาง นำเข้ามูลค่า 151 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.48 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา - สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง นำเข้ามูลค่า 24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น - เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภคนำเข้ามูลค่า 11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.42 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ พม่า จีน มาเลเซีย - เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรานำเข้ามูลค่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 79.58 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ สหราชอาณาจักร ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
สำหรับการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ใน 6 เดือนแรกของปี 2549 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 4,366ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.65 โดยในเดือนมิ.ย.49 นำเข้ามูลค่า 766 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.93 สินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มที่ยังมีอัตราการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. 49 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน นำเข้ามูลค่า 172 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.82 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น - เสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ นำเข้ามูลค่า 33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.96 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง - เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน นำเข้ามูลค่า 22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา - เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เช่น เครื่องใช้ในครัวและโต๊ะอาหาร กระเป๋าเดินทาง นำเข้ามูลค่า 151 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.48 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา - สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง นำเข้ามูลค่า 24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น - เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภคนำเข้ามูลค่า 11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.42 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ พม่า จีน มาเลเซีย - เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรานำเข้ามูลค่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 79.58 แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ สหราชอาณาจักร ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-