แท็ก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
วีรพงษ์ รามางกูร
กระทรวงการคลัง
ทนง พิทยะ
รัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2548 นายโรดริโก เดอ ราโต (Rodrigo de Rato) กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) และคณะได้ขอเข้าพบ นายทนง พิทยะ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง นายวีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ณ สำนักงานใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
นายเดอ ราโตฯ ได้กล่าวชื่นชมประเทศไทยถึงนโยบายการบริหารเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายการเงินที่สามารถบริหารจัดการเงินเฟ้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม และแสดงความเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทยควรจำกัดตัวเองในการแทรกแซงตลาดเงินตราระหว่างประเทศ
นายเดอ ราโตฯ ได้แสดงความสนใจสอบถามถึงสภาวะเศรษฐกิจของไทย ซึ่งนายทนงฯ ได้อธิบายว่าโดยพื้นฐานแล้วเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง แม้มีปัญหาจากปัจจัยลบหลายปัจจัยช่วงครึ่งปีแรก แต่ตัวเลขทางด้านเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะด้านการค้า อีกทั้งการบริโภคพลังงานเริ่มลดลง และรัฐบาลยังได้มีการลอยตัวค่าน้ำมันและห้ามกักตุนน้ำมัน โดยสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทดแทน เช่น เอทานอล หรือ NGV มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีมาตรการทางการเงินที่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย และการออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ
นายทนงฯ แสดงความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) มีความชัดเจน และควรต้องเร่งดำเนินการ นอกจากนี้รัฐบาลยังต้องมีวินัยการคลัง โดยต้องมีการควบคุมภาระหนี้สาธารณะให้ต่ำกว่าร้อยละ 50 ต่อ GDP และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต้องไม่เกินร้อยละ 2.5 ของGDP ทั้งนี้ ต้องมีการประสานงานระหว่างกระทรวงการคลังกับกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิด และมีการสนับสนุนการเปิดเสรีการค้ากับประเทศต่างๆ เพื่อขยายตลาดการส่งออกของไทย ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะสามารถทำให้เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพต่อไป
สุดท้ายนายทนงฯ ได้ปรึกษา IMF ถึงแนวทางในการพัฒนาตลาดทุนของไทยและได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังโดยนายนริศ ชัยสูตร และนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ประสานกับ IMF เพื่อหาผู้เชี่ยวชาญจาก IMF มาช่วยในการทำแผนพัฒนาตลาดทุนต่อไป โดยขณะนี้ตั้งเป้าดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2548
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 82/2548 26 กันยายน 48--
นายเดอ ราโตฯ ได้กล่าวชื่นชมประเทศไทยถึงนโยบายการบริหารเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายการเงินที่สามารถบริหารจัดการเงินเฟ้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม และแสดงความเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทยควรจำกัดตัวเองในการแทรกแซงตลาดเงินตราระหว่างประเทศ
นายเดอ ราโตฯ ได้แสดงความสนใจสอบถามถึงสภาวะเศรษฐกิจของไทย ซึ่งนายทนงฯ ได้อธิบายว่าโดยพื้นฐานแล้วเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง แม้มีปัญหาจากปัจจัยลบหลายปัจจัยช่วงครึ่งปีแรก แต่ตัวเลขทางด้านเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะด้านการค้า อีกทั้งการบริโภคพลังงานเริ่มลดลง และรัฐบาลยังได้มีการลอยตัวค่าน้ำมันและห้ามกักตุนน้ำมัน โดยสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทดแทน เช่น เอทานอล หรือ NGV มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีมาตรการทางการเงินที่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย และการออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ
นายทนงฯ แสดงความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) มีความชัดเจน และควรต้องเร่งดำเนินการ นอกจากนี้รัฐบาลยังต้องมีวินัยการคลัง โดยต้องมีการควบคุมภาระหนี้สาธารณะให้ต่ำกว่าร้อยละ 50 ต่อ GDP และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต้องไม่เกินร้อยละ 2.5 ของGDP ทั้งนี้ ต้องมีการประสานงานระหว่างกระทรวงการคลังกับกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิด และมีการสนับสนุนการเปิดเสรีการค้ากับประเทศต่างๆ เพื่อขยายตลาดการส่งออกของไทย ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะสามารถทำให้เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพต่อไป
สุดท้ายนายทนงฯ ได้ปรึกษา IMF ถึงแนวทางในการพัฒนาตลาดทุนของไทยและได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังโดยนายนริศ ชัยสูตร และนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ประสานกับ IMF เพื่อหาผู้เชี่ยวชาญจาก IMF มาช่วยในการทำแผนพัฒนาตลาดทุนต่อไป โดยขณะนี้ตั้งเป้าดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2548
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 82/2548 26 กันยายน 48--