ประเด็นถัดมาครับ ท่านประธานครับ ก็คือการใช้กฏหมายฉบับนี้ อย่างที่กระผมกราบเรียน คือ เราต้องการเห็นการใช้กฏหมายอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องเป็นกฏหมายที่อำนวยความยุติธรรม การจะสร้างหลักประกันว่ามีการอำนวยความยุติธรรมได้ มันจะต้องมีกลไก ของการตรวจสอบ ถ้าเราบอกว่าในสถานการณ์พิเศษ ปัญหาพิเศษอย่างนี้ ตรวจสอบตามปกติไม่ได้ เข้าใจได้ ยอมรับได้ แต่ไม่ใช่พยายามปิดทุกช่องทาง ท่านประธานดูมาตรา 16 มาตรา 17 นะครับ มาตรา 16 ก็ปิดทางในการพึ่งองค์กรอิสระคือศาลปกครอง ในเรื่องของการที่จะเข้ามามีอำนาจในการดูว่า ประกาศคำสั่งหรือการกระทำทั้งหลายเนี่ย ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ พอมาตรา 17 ก็มาปิดทางเรื่องของแพ่ง อาญา วินัย เอาละครับ มีเงื่อนไขอยู่ ท่านประธานอาจจะบอกว่า ยังต้องรับผิดอยู่ ยกเว้นว่า มันเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินว่า กรณีจำเป็น แต่เงื่อนไข เหล่านี้เป็นเรื่องดุลยพินิจทั้งสิ้นนะครับ อะไรคือเกินกว่ากรณีจำเป็น อะไรคือไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรืออะไรก็ตาม และจริงอยู่ครับ ท่านรองนายก อาจจะตอบผมว่าก็ยังไปฟ้องศาลได้ แต่ภาระพิสูจน์ ของผู้ที่เสียหาย ที่จะพิสูจน์เงื่อนไขเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย
กระผมกราบเรียนในเรื่องสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในเรื่องของกฏหมายฉบับนี้ นั่นคือ มาตรา 12 ที่พูดถึงการให้อำนาจในการจับกุม ควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัย ซึ่งสามารถกระทำได้ 7 วัน ขยายเวลาได้อีกคราวละ 7 วัน รวมกันแล้วไม่เกินกว่า 30 วัน จริงอยู่แล้วก็ต้องไปร้องขอต่อศาลนะครับ แต่ว่า เรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ามาตรฐานในเรื่องนี้มันต่างจากกรณีของการจับกุมคุมขังผู้ต้องหาในคดีอาญา ปกติคือ 48 ชั่วโมง วันนี้มีรายงานว่า ท่านนายกได้ปรารภว่า การควบคุมตัวนาน ๆ จะช่วยแก้ปัญหา 7 วันไม่สารภาพ ถ้า 3 อาทิตย์ อาจจะสารภาพ ท่านเชื่อหรือครับว่า นี่คือวิธีที่จะอำนวยความยุติธรรม ท่านเชื่อหรือครับว่า นี่คือการทำให้ประเทศของเราเนี่ย สร้างความมั่นใจให้ประชาชน ทุกคนทุกกลุ่มว่า เรามีการปกครองโดยกฏหมายและทุกคนรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐนี่อยู่ใต้กฏหมาย ถ้าท่านเชื่อจริง ๆ อย่าออกเป็นพระราชกำหนดเลยครับ ถ้างั้น ไปแก้รัฐธรรมนูญ ไปแก้ ป.วิอาญา ให้หมดเลยครับ 48 ชม. สั้นไป เอา 3 อาทิตย์ 1 เดือน 1 ปี แต่ ผมเชื่อว่า แต่ ผมเชื่อว่า ตัวเลขที่มันปรากฏอยู่ในกฏหมายเดิม ระยะเวลาต่าง ๆ มันเป็นสิ่งที่เขายอมรับกันในมาตฐานสากล
คำชี้แจงของรัฐบาลที่ผ่านมาบอกว่า อย่าเอาไปเปรียบเทียบกันมาตรานี้ คนที่ถูกดำเนินการตามมาตรานี้ไม่ใช่ผู้ต้องหา ไม่ปฏิบัติเหมือนกันเขาเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา คู่มือของท่านก็ชี้แจงครับว่า ไม่ต้องแจ้งข้อหาเขา ไม่ต้องอะไรเขา ที่จริงการที่คนที่ถูกควบคุมตัวจะได้รับทราบว่า ข้อหาคืออะไร นั้นเป็นสิทธิของเขานะครับ ไม่ใช่ไม่แจ้งข้อหาเนี่ย แปลว่าสถานะเขาดีขึ้น การแจ้งข้อหา คือการที่บอกว่า รัฐบาลมีเหตุมีผลในการไปควบคุมตัวเขา แล้ววันนี้ก็เลยกลายเป็นว่า ถ้าคุณเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา มันแค่ 48 ชม. แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ทำอะไรผิด 30 วัน เป็นไปได้ อย่างนี้ กฏหมายคุ้มครองคนดี หรือคนไม่ดี บอกว่าคนที่ถูกควบคุมตัวตรงนี้ ไม่เป็นไร ไม่ได้ควบคุมตัวที่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ แต่ก็ไม่ได้มีหลักประกันว่าไปควบคุมตัวที่ไหน ด้วยมาตรฐานอย่างไร บทบัญญัติเหล่านี้แหละครับ ที่กระผมกราบเรียนว่า มันจะสร้างบรรทัดฐานความสับสนในเรื่องของการบังคับใช้กฏหมาย และท้าท้ายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างยิ่ง
จึงมาสู่เหตุผลข้อที่ 3 เมื่อมีช่องว่างช่องโหว่ตรงนี้ ถ้าเราเอากฏหมายไปปฏิบัติเจ้าหน้าที่ผิดพลาด หรือรัฐบาลเองเจ้าหน้าที่เองเห็นว่ามันไม่มีกลไกตรวจสอบ ก็เลยเถิดไปถึงการใช้อำนาจ สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นก็คือความหวาดกลัว ความหวาดระแวง ผิดพลาดซักกรณี 2 กรณี ตกเป็นเหยื่อของฝ่ายตรงข้ามที่จะไปขยายผลปล่อยข่าว สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสิ่งที่เค้าพยายามที่จะเอาไปเผยแพร่ให้กับพี่น้องประชาชน ผมจึงกราบเรียนว่า ตรงนี้ต้องระมัดระวัง อย่าประเมินสถานการณ์ ฉาบฉวย นะครับ วันนี้เริ่มพูดกันมากนะครับว่าตั้งแต่ใช้ พรก.มา นับจำนวนเหตุที่เกิดขึ้นมีการจับกุม มีการมอบตัวแล้ว แปลว่า ปัญหากำลังแก้ไขได้ ผมกราบเรียนว่า บางเรื่องดีขึ้นครับ และผมเห็นว่า ถ้าตัวเลขการจับกุมการมอบตัวการเอาคนผิดมาลงโทษ ถ้าเป็นคนผิดจริง ๆ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสัญญาณที่ดี แต่อีกด้านหนึ่งก็อย่าลืมนะครับว่าวันนี้การข่มขู่ประชาชนในพื้นที่อาจจะหนักหน่วงกว่าเดิม ก่อนใช้ พระราชกำหนดด้วยจึงเป็นเหตุผลว่ารัฐบาลก็ต้องเร่งดำเนินการในการสร้างขวัญและกำลังใจ เพราะฉะนั้นก็อย่าประมาทเป็นอันขาด และผมเชื่อว่าทางคณะรัฐมนตรีคงจะไม่ลืมนะครับว่า หลังจากที่มีการประกาศใช้กฏหมายฉบับนี้และท่านนายกได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับความรอบคอบระมัดระวังที่รัฐบาลพึงจะใช้ ในการดำเนินการตามกฏหมายฉบับนี้
ท่านประธานที่เคารพครับ ทั้งหลายทั้งปวง คือเหตุผลที่กระผมได้กราบเรียนว่า พวกเราจึงไม่เห็นด้วยกับพระราชกำหนด และที่ผมพูดมาทั้งหมดนี่ ก็โยงอยู่กับปัญหาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจำเป็นต้องกราบเรียนครับว่า กฏหมายฉบับนี้สามารถไปใช้กับเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วย ผมเข้าใจดีครับบางทีอาจจะเป็นเรื่องภัยพิบัติ เรื่องอะไรที่จะโอนอำนาจของรัฐมนตรี ไปให้ท่านนายก แต่ว่าช่องโหว่ ช่องว่างที่กระผมกล่าวมาทั้งหมดมันก็จะเป็นอันตราย ไม่ยิ่งหย่อนไปว่ากันกับการนำไปใช้กับสถานการณ์อื่น วันนี้เดี๋ยวเพื่อนสมาชิกก็คงจะลงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกฏหมาย เกี่ยวกับเรื่องของความห่วงใยต่าง ๆ และจะมีสมาชิกบางท่านได้ให้มุมมองที่เกี่ยวข้องกับวิธีหรือมุมมองของสากลที่เขามองเข้ามาในเรื่องนี้ ผมเห็นรัฐบาลอ้างอิงอยู่นะครับ กฏหมายของประเทศเพื่อนบ้าน ที่เรียกว่า กฏหมายการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ Internal Security แต่ท่านไปดูเถิดครับ แม้ในกฏหมายเหล่านั้นเนี่ย ก็มีกลไกการตรวจสอบที่ดีกว่านี้ มีกลไกการอุทธรณ์ มีบทบาทของฝ่ายตุลาการอย่างชัดเจน ฉะนั้นผมกราบเรียนท่านประธานย้ำอีกครั้งครับ พวกกระผมค้านกฏหมายฉบับนี้ก็เพราะพวกกระผมต้องการเห็นความสงบสุข พวกกระผมค้านกฏหมายฉบับนี้เพราะพวกกระผมเชื่อว่าหนทางสู่ความสันติสุข ความสงบสุขนั้นเนี่ย คือการสร้างความไว้วางใจ และเราเชื่อว่า กฏหมายที่มีอยู่ก่อนหน้านี้เพียงพอ และบังคับใช้กฏหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระผมย้ำอีกครั้งว่า พวกกระผมพร้อมที่จะนำเสนอความคิดเหล่านี้และแปรไปสู่สิ่งที่เป็นจริงในทางปฏิบัติ รอความใจกว้างจากรัฐบาลครับ ที่จะขานรับว่าวันนี้เมื่อกฏหมายฉบับนี้ ซึ่งคงจะผ่านไปด้วยเสียงข้างมากของรัฐบาลและผ่านจากรัฐสภาไปแล้วจะสร้างเวทีที่เป็นรูปธรรม
1. ในการติดตามตรวจสอบประเมินการใช้กฏหมายฉบับนี้ เปิดช่องทางให้พี่น้องประชาชนได้สามารถรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากช่องทางที่หลงเหลืออยู่คือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
2. เปิดใจกว้างสร้างเวทีของทุกฝ่ายให้มาปรับปรุงกฏหมายฉบับนี้ให้ดีขึ้น
กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 ส.ค. 2548--จบ--
กระผมกราบเรียนในเรื่องสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในเรื่องของกฏหมายฉบับนี้ นั่นคือ มาตรา 12 ที่พูดถึงการให้อำนาจในการจับกุม ควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัย ซึ่งสามารถกระทำได้ 7 วัน ขยายเวลาได้อีกคราวละ 7 วัน รวมกันแล้วไม่เกินกว่า 30 วัน จริงอยู่แล้วก็ต้องไปร้องขอต่อศาลนะครับ แต่ว่า เรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ามาตรฐานในเรื่องนี้มันต่างจากกรณีของการจับกุมคุมขังผู้ต้องหาในคดีอาญา ปกติคือ 48 ชั่วโมง วันนี้มีรายงานว่า ท่านนายกได้ปรารภว่า การควบคุมตัวนาน ๆ จะช่วยแก้ปัญหา 7 วันไม่สารภาพ ถ้า 3 อาทิตย์ อาจจะสารภาพ ท่านเชื่อหรือครับว่า นี่คือวิธีที่จะอำนวยความยุติธรรม ท่านเชื่อหรือครับว่า นี่คือการทำให้ประเทศของเราเนี่ย สร้างความมั่นใจให้ประชาชน ทุกคนทุกกลุ่มว่า เรามีการปกครองโดยกฏหมายและทุกคนรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐนี่อยู่ใต้กฏหมาย ถ้าท่านเชื่อจริง ๆ อย่าออกเป็นพระราชกำหนดเลยครับ ถ้างั้น ไปแก้รัฐธรรมนูญ ไปแก้ ป.วิอาญา ให้หมดเลยครับ 48 ชม. สั้นไป เอา 3 อาทิตย์ 1 เดือน 1 ปี แต่ ผมเชื่อว่า แต่ ผมเชื่อว่า ตัวเลขที่มันปรากฏอยู่ในกฏหมายเดิม ระยะเวลาต่าง ๆ มันเป็นสิ่งที่เขายอมรับกันในมาตฐานสากล
คำชี้แจงของรัฐบาลที่ผ่านมาบอกว่า อย่าเอาไปเปรียบเทียบกันมาตรานี้ คนที่ถูกดำเนินการตามมาตรานี้ไม่ใช่ผู้ต้องหา ไม่ปฏิบัติเหมือนกันเขาเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา คู่มือของท่านก็ชี้แจงครับว่า ไม่ต้องแจ้งข้อหาเขา ไม่ต้องอะไรเขา ที่จริงการที่คนที่ถูกควบคุมตัวจะได้รับทราบว่า ข้อหาคืออะไร นั้นเป็นสิทธิของเขานะครับ ไม่ใช่ไม่แจ้งข้อหาเนี่ย แปลว่าสถานะเขาดีขึ้น การแจ้งข้อหา คือการที่บอกว่า รัฐบาลมีเหตุมีผลในการไปควบคุมตัวเขา แล้ววันนี้ก็เลยกลายเป็นว่า ถ้าคุณเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา มันแค่ 48 ชม. แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ทำอะไรผิด 30 วัน เป็นไปได้ อย่างนี้ กฏหมายคุ้มครองคนดี หรือคนไม่ดี บอกว่าคนที่ถูกควบคุมตัวตรงนี้ ไม่เป็นไร ไม่ได้ควบคุมตัวที่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ แต่ก็ไม่ได้มีหลักประกันว่าไปควบคุมตัวที่ไหน ด้วยมาตรฐานอย่างไร บทบัญญัติเหล่านี้แหละครับ ที่กระผมกราบเรียนว่า มันจะสร้างบรรทัดฐานความสับสนในเรื่องของการบังคับใช้กฏหมาย และท้าท้ายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างยิ่ง
จึงมาสู่เหตุผลข้อที่ 3 เมื่อมีช่องว่างช่องโหว่ตรงนี้ ถ้าเราเอากฏหมายไปปฏิบัติเจ้าหน้าที่ผิดพลาด หรือรัฐบาลเองเจ้าหน้าที่เองเห็นว่ามันไม่มีกลไกตรวจสอบ ก็เลยเถิดไปถึงการใช้อำนาจ สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นก็คือความหวาดกลัว ความหวาดระแวง ผิดพลาดซักกรณี 2 กรณี ตกเป็นเหยื่อของฝ่ายตรงข้ามที่จะไปขยายผลปล่อยข่าว สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสิ่งที่เค้าพยายามที่จะเอาไปเผยแพร่ให้กับพี่น้องประชาชน ผมจึงกราบเรียนว่า ตรงนี้ต้องระมัดระวัง อย่าประเมินสถานการณ์ ฉาบฉวย นะครับ วันนี้เริ่มพูดกันมากนะครับว่าตั้งแต่ใช้ พรก.มา นับจำนวนเหตุที่เกิดขึ้นมีการจับกุม มีการมอบตัวแล้ว แปลว่า ปัญหากำลังแก้ไขได้ ผมกราบเรียนว่า บางเรื่องดีขึ้นครับ และผมเห็นว่า ถ้าตัวเลขการจับกุมการมอบตัวการเอาคนผิดมาลงโทษ ถ้าเป็นคนผิดจริง ๆ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสัญญาณที่ดี แต่อีกด้านหนึ่งก็อย่าลืมนะครับว่าวันนี้การข่มขู่ประชาชนในพื้นที่อาจจะหนักหน่วงกว่าเดิม ก่อนใช้ พระราชกำหนดด้วยจึงเป็นเหตุผลว่ารัฐบาลก็ต้องเร่งดำเนินการในการสร้างขวัญและกำลังใจ เพราะฉะนั้นก็อย่าประมาทเป็นอันขาด และผมเชื่อว่าทางคณะรัฐมนตรีคงจะไม่ลืมนะครับว่า หลังจากที่มีการประกาศใช้กฏหมายฉบับนี้และท่านนายกได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับความรอบคอบระมัดระวังที่รัฐบาลพึงจะใช้ ในการดำเนินการตามกฏหมายฉบับนี้
ท่านประธานที่เคารพครับ ทั้งหลายทั้งปวง คือเหตุผลที่กระผมได้กราบเรียนว่า พวกเราจึงไม่เห็นด้วยกับพระราชกำหนด และที่ผมพูดมาทั้งหมดนี่ ก็โยงอยู่กับปัญหาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจำเป็นต้องกราบเรียนครับว่า กฏหมายฉบับนี้สามารถไปใช้กับเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วย ผมเข้าใจดีครับบางทีอาจจะเป็นเรื่องภัยพิบัติ เรื่องอะไรที่จะโอนอำนาจของรัฐมนตรี ไปให้ท่านนายก แต่ว่าช่องโหว่ ช่องว่างที่กระผมกล่าวมาทั้งหมดมันก็จะเป็นอันตราย ไม่ยิ่งหย่อนไปว่ากันกับการนำไปใช้กับสถานการณ์อื่น วันนี้เดี๋ยวเพื่อนสมาชิกก็คงจะลงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกฏหมาย เกี่ยวกับเรื่องของความห่วงใยต่าง ๆ และจะมีสมาชิกบางท่านได้ให้มุมมองที่เกี่ยวข้องกับวิธีหรือมุมมองของสากลที่เขามองเข้ามาในเรื่องนี้ ผมเห็นรัฐบาลอ้างอิงอยู่นะครับ กฏหมายของประเทศเพื่อนบ้าน ที่เรียกว่า กฏหมายการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ Internal Security แต่ท่านไปดูเถิดครับ แม้ในกฏหมายเหล่านั้นเนี่ย ก็มีกลไกการตรวจสอบที่ดีกว่านี้ มีกลไกการอุทธรณ์ มีบทบาทของฝ่ายตุลาการอย่างชัดเจน ฉะนั้นผมกราบเรียนท่านประธานย้ำอีกครั้งครับ พวกกระผมค้านกฏหมายฉบับนี้ก็เพราะพวกกระผมต้องการเห็นความสงบสุข พวกกระผมค้านกฏหมายฉบับนี้เพราะพวกกระผมเชื่อว่าหนทางสู่ความสันติสุข ความสงบสุขนั้นเนี่ย คือการสร้างความไว้วางใจ และเราเชื่อว่า กฏหมายที่มีอยู่ก่อนหน้านี้เพียงพอ และบังคับใช้กฏหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระผมย้ำอีกครั้งว่า พวกกระผมพร้อมที่จะนำเสนอความคิดเหล่านี้และแปรไปสู่สิ่งที่เป็นจริงในทางปฏิบัติ รอความใจกว้างจากรัฐบาลครับ ที่จะขานรับว่าวันนี้เมื่อกฏหมายฉบับนี้ ซึ่งคงจะผ่านไปด้วยเสียงข้างมากของรัฐบาลและผ่านจากรัฐสภาไปแล้วจะสร้างเวทีที่เป็นรูปธรรม
1. ในการติดตามตรวจสอบประเมินการใช้กฏหมายฉบับนี้ เปิดช่องทางให้พี่น้องประชาชนได้สามารถรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากช่องทางที่หลงเหลืออยู่คือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
2. เปิดใจกว้างสร้างเวทีของทุกฝ่ายให้มาปรับปรุงกฏหมายฉบับนี้ให้ดีขึ้น
กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 ส.ค. 2548--จบ--