วันนี้ (3 กรกฎาคม 2549) นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้ากรณี “รถดับเพลิงกรุงเทพมหานคร” เปิดเผยว่า จากการที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สั่งระงับโครงการรถดับเพลิงของ กทม.มูลค่า 6,687 ล้านบาทแล้วนั้น ตนต้องการขอบคุณผู้ว่า ฯ อภิรักษ์ ที่ได้ใช้ความกล้าหาญและกล้าตัดสินใจรักษาผลประโยชน์ของชาว กทม. ในการระงับโครงการจัดซื้อรถดับเพลิง กทม.มูลค่า 6,687 ล้านบาท เพราะเห็นว่า กทม.ถูกเอารัดเอาเปรียบจากสัญญาที่ไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศ เพราะประหยัดงบประมาณให้ กทม.ทันที 1,300 ล้านบาท จากงบประมาณที่ต้องเสียภาษี
นายยุทธพงษ์ เปิดเผยอีกว่า ถ้า กทม.มีการรับรถดับเพลิง กทม. ต้องจ่ายเงินอีก 1,300 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ต้องศึกษาถึงข้อกฎหมายต่างๆเพราะมีประเด็นในเรื่องกฎหมายและสัญญาจะต้องต่อสู้กันทางกฎหมายอีก ขณะเดียวกันได้ขอบคุณนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ยึดถือความถูกต้องและรักษาผลประโยชน์ให้กับประเทศชาติในการตัดสินใจครั้งนี้ด้วย
“การต่อสู้กับโครงการรถดับเพลิง กทม. ผมและพรรคประชาธิปัตย์เปิดประเด็นการตรวจสอบมาครบ 2 ปีพอดี เริ่มตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2547 ในสมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งผู้ว่า กทม. ได้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งผู้ว่าฯ อภิรักษ์ได้สั่งระงับโครงการในวันนี้ แสดงให้เห็นว่าพรรค ปชป.เป็นพรรคที่ยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง”รองโฆษก ปชป.กล่าว
รองโฆษก ปชป. กล่าวต่ออีกว่า โครงการรถดับเพลิง กทม. หากไม่มีพรรค ปชป.มาสอบเรื่องนี้จะทำให้ กทม.ต้องเสียหายจากการใช้จ่ายงบประมาณหลายพันล้าน ทั้งนี้ สำหรับ ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ สั่งระงับโครงการนี้แล้ว ตนและพรรค ปชป.จะให้ความร่วมมือกับผู้ว่า ฯ กทม. ในการแก้ไขปัญหาที่จะตามมาอย่างเต็มที่ ด้วยการเสนอทางออกเรื่องรถดับเพลิงเพือ่ไม่ให้ กทม.เกิดความเสียหาย 5 ข้อดังนี้
รองโฆษก ปชป. เสนอว่า 1. หลังจากที่ ผู้ว่า ฯ กทม.สั่งระงับการตรวจรถดับเพลิงในสัญญาการซื้อขายตามสัญญาข้อ 13 มีความว่า ในกรณีที่มีการโต้เถียงข้อขัดแย้งที่เกิดจากข้อตกลงนี้คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต้องพยายามเจรจาตกลงกัน การเจรจาจะเกิดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หรือที่ กทม.ก็ได้ หลังจากที่ระงับแล้ว กทม.และ บริษัทสไตรเออร์จะต้องมีการเปิดการเจรจาอย่างฉันท์มิตร
2. กทม.จะต้องส่งเรื่องรถดับเพลิงให้กระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้เซ็นสัญญาระดับประเทศ หรือตอบกลับเอกอัครราชทูตออสเตรียในประเทศไทย โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ฝ่ายกระทรวงต่างปรเทศของไทยไปยังรัฐบาลออสเตรียว่า ทราบเรื่องการซื้อขายรถดับเพลิงครั้งนี้หรือไม่ อย่างไร
ถ้าบริษัทฯ ถือหุ้นโดยสหรัฐ ฯ 100% แต่กลับมาดำเนินการในนามรัฐบาลออสเตรีย และในขณะเดียวกันเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทยไม่มีหนังสือรับมอบอำนาจเต็มจากประเทศออสเตรีย หรือที่เรียกว่า Full Power
3. กทม.ต้องรีบรายงานเรื่องดังกล่าวให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงมาตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยตนเองโดยด่วนที่สุดเพราะสัญญาซื้อขายเป็นเป็นเรื่องของความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือที่เรียกว่า Government to Government (G to G)
4. กทม.ต้องมีรายงานเรื่องนี้ให้เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและทูตพาณิชย์สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ทราบปัญหาทั้งหมด เนื่องจากเป็นบริษัทที่ถือหุ้น 100% โดยบริษัทจีเนอรัล ไดนามิคของสหรัฐฯ
และ 5. กทม.ควรติดต่อไปยังบริษัทจีเนอรัลฯ ที่สำนักงานใหญ่ ประเทศสหรัฐฯ เพื่อให้ทราบเรื่องทั้งหมดโดยตรงและขอให้บริษัทจีเนอรัลฯ ช่วยสอบสวนภายในอีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยกระทรวงว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือ มท.2 ที่กำกับดูแล กทม.ได้กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยจะตั้งคณะกรรมการในระดับกระทรวงเข้ามาตรวจสอบถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะช่วยกันตรวจสอบว่ามีใครเกี่ยวข้องกับการอนุมัติ การจัดซื้อ ใครเป็นคนเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรี ใครเป็นคนทำให้เกิดเอ็มโอยู เนื่องจากโครงการนี้ไม่ได้เป็นความต้องการของ กทม.มาตั้งแต่ต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ว่า ฯ กทม. ได้ระงับโครงการรถดับเพลิง กระทรวงมหาดไทยก็ต้องตรวจสอบเรื่องนี้ต่อไป ท้ายที่สุดนายยุทธพงษ์ได้ตำหนิการทำงานของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่า กทม.ที่เซ็นสัญญามูลค่า 6,687 ล้านบาททิ้งทวนในวันสุดท้ายของรักษาการผู้ว่า กทมฯ ส่งผลให้เกิดความยุ่งยาก และปัญหาตามมามากมาย และหากตนและพรรค ปชป.ตรวจสอบเรื่องนี้ไม่ทันจะต้องเสียหายอีกมาก ดังนั้นจึงได้เรียกร้องให้นายสมัครออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 ก.ค. 2549--จบ--
นายยุทธพงษ์ เปิดเผยอีกว่า ถ้า กทม.มีการรับรถดับเพลิง กทม. ต้องจ่ายเงินอีก 1,300 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ต้องศึกษาถึงข้อกฎหมายต่างๆเพราะมีประเด็นในเรื่องกฎหมายและสัญญาจะต้องต่อสู้กันทางกฎหมายอีก ขณะเดียวกันได้ขอบคุณนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ยึดถือความถูกต้องและรักษาผลประโยชน์ให้กับประเทศชาติในการตัดสินใจครั้งนี้ด้วย
“การต่อสู้กับโครงการรถดับเพลิง กทม. ผมและพรรคประชาธิปัตย์เปิดประเด็นการตรวจสอบมาครบ 2 ปีพอดี เริ่มตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2547 ในสมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งผู้ว่า กทม. ได้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งผู้ว่าฯ อภิรักษ์ได้สั่งระงับโครงการในวันนี้ แสดงให้เห็นว่าพรรค ปชป.เป็นพรรคที่ยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง”รองโฆษก ปชป.กล่าว
รองโฆษก ปชป. กล่าวต่ออีกว่า โครงการรถดับเพลิง กทม. หากไม่มีพรรค ปชป.มาสอบเรื่องนี้จะทำให้ กทม.ต้องเสียหายจากการใช้จ่ายงบประมาณหลายพันล้าน ทั้งนี้ สำหรับ ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ สั่งระงับโครงการนี้แล้ว ตนและพรรค ปชป.จะให้ความร่วมมือกับผู้ว่า ฯ กทม. ในการแก้ไขปัญหาที่จะตามมาอย่างเต็มที่ ด้วยการเสนอทางออกเรื่องรถดับเพลิงเพือ่ไม่ให้ กทม.เกิดความเสียหาย 5 ข้อดังนี้
รองโฆษก ปชป. เสนอว่า 1. หลังจากที่ ผู้ว่า ฯ กทม.สั่งระงับการตรวจรถดับเพลิงในสัญญาการซื้อขายตามสัญญาข้อ 13 มีความว่า ในกรณีที่มีการโต้เถียงข้อขัดแย้งที่เกิดจากข้อตกลงนี้คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต้องพยายามเจรจาตกลงกัน การเจรจาจะเกิดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หรือที่ กทม.ก็ได้ หลังจากที่ระงับแล้ว กทม.และ บริษัทสไตรเออร์จะต้องมีการเปิดการเจรจาอย่างฉันท์มิตร
2. กทม.จะต้องส่งเรื่องรถดับเพลิงให้กระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้เซ็นสัญญาระดับประเทศ หรือตอบกลับเอกอัครราชทูตออสเตรียในประเทศไทย โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ฝ่ายกระทรวงต่างปรเทศของไทยไปยังรัฐบาลออสเตรียว่า ทราบเรื่องการซื้อขายรถดับเพลิงครั้งนี้หรือไม่ อย่างไร
ถ้าบริษัทฯ ถือหุ้นโดยสหรัฐ ฯ 100% แต่กลับมาดำเนินการในนามรัฐบาลออสเตรีย และในขณะเดียวกันเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทยไม่มีหนังสือรับมอบอำนาจเต็มจากประเทศออสเตรีย หรือที่เรียกว่า Full Power
3. กทม.ต้องรีบรายงานเรื่องดังกล่าวให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงมาตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยตนเองโดยด่วนที่สุดเพราะสัญญาซื้อขายเป็นเป็นเรื่องของความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือที่เรียกว่า Government to Government (G to G)
4. กทม.ต้องมีรายงานเรื่องนี้ให้เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและทูตพาณิชย์สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ทราบปัญหาทั้งหมด เนื่องจากเป็นบริษัทที่ถือหุ้น 100% โดยบริษัทจีเนอรัล ไดนามิคของสหรัฐฯ
และ 5. กทม.ควรติดต่อไปยังบริษัทจีเนอรัลฯ ที่สำนักงานใหญ่ ประเทศสหรัฐฯ เพื่อให้ทราบเรื่องทั้งหมดโดยตรงและขอให้บริษัทจีเนอรัลฯ ช่วยสอบสวนภายในอีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยกระทรวงว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือ มท.2 ที่กำกับดูแล กทม.ได้กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยจะตั้งคณะกรรมการในระดับกระทรวงเข้ามาตรวจสอบถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะช่วยกันตรวจสอบว่ามีใครเกี่ยวข้องกับการอนุมัติ การจัดซื้อ ใครเป็นคนเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรี ใครเป็นคนทำให้เกิดเอ็มโอยู เนื่องจากโครงการนี้ไม่ได้เป็นความต้องการของ กทม.มาตั้งแต่ต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ว่า ฯ กทม. ได้ระงับโครงการรถดับเพลิง กระทรวงมหาดไทยก็ต้องตรวจสอบเรื่องนี้ต่อไป ท้ายที่สุดนายยุทธพงษ์ได้ตำหนิการทำงานของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่า กทม.ที่เซ็นสัญญามูลค่า 6,687 ล้านบาททิ้งทวนในวันสุดท้ายของรักษาการผู้ว่า กทมฯ ส่งผลให้เกิดความยุ่งยาก และปัญหาตามมามากมาย และหากตนและพรรค ปชป.ตรวจสอบเรื่องนี้ไม่ทันจะต้องเสียหายอีกมาก ดังนั้นจึงได้เรียกร้องให้นายสมัครออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 ก.ค. 2549--จบ--