สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ชะลอตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 50.15 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.68 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.17 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.23 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 48 บาท) ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,500 บาท (บวกลบ 50 บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.67
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เพิ่มขึ้น และจากการผลิตไก่เนื้อที่ลดลงเหลือสัปดาห์ละ 15 ล้านตัว ในขณะที่สภาพอากาศร้อนทำให้ไก่โตช้า ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 196 ล้านบาทให้แก่กรมปศุสัตว์ เพื่อดำเนินโครงการไก่ปลอดภัยตามมาตรการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ซึ่งทางกรมฯ จะส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีการเลี้ยงแบบรวมกลุ่มทุกตำบล ตำบลละ 200,000 บาท และประสานให้เอกชนเข้ามารับซื้อผลผลิต ซึ่งจะส่งผลให้ต่างประเทศมั่นใจในมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ปีกของไทยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้หลังจากที่เจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติได้เข้ามาเยี่ยมชมการดำเนินงานและรับฟังสรุปผลมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกในไทย ได้ระบุพอใจในการดำเนินงานของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพและให้การยอมรับถึงมาตรการต่าง ๆ ที่ไทยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะนำไปเป็นต้นแบบเพื่อเสนอแนะให้แก่ประเทศอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกต่อไปด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.27 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.47 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 9.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 38.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวลดลงอีกเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะยังอยู่ในช่วงปิดภาคการศึกษาของสถาบันต่าง ๆ และในขณะนี้เป็นช่วงที่ผลไม้ตามฤดูกาลออกสู่ตลาดมากทำให้การบริโภคไข่ไก่ลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 205 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 208 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 187 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 210 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 204 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 211 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 180 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 244 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 239 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 225 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 260 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 250 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 302 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.96 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.57 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.65 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 42.27 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.21 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.11 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.48 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 15 ประจำวันที่ 17-23 เมษายน 2549--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ชะลอตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 50.15 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.68 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.17 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.23 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 48 บาท) ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,500 บาท (บวกลบ 50 บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.67
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เพิ่มขึ้น และจากการผลิตไก่เนื้อที่ลดลงเหลือสัปดาห์ละ 15 ล้านตัว ในขณะที่สภาพอากาศร้อนทำให้ไก่โตช้า ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 196 ล้านบาทให้แก่กรมปศุสัตว์ เพื่อดำเนินโครงการไก่ปลอดภัยตามมาตรการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ซึ่งทางกรมฯ จะส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีการเลี้ยงแบบรวมกลุ่มทุกตำบล ตำบลละ 200,000 บาท และประสานให้เอกชนเข้ามารับซื้อผลผลิต ซึ่งจะส่งผลให้ต่างประเทศมั่นใจในมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ปีกของไทยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้หลังจากที่เจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติได้เข้ามาเยี่ยมชมการดำเนินงานและรับฟังสรุปผลมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกในไทย ได้ระบุพอใจในการดำเนินงานของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพและให้การยอมรับถึงมาตรการต่าง ๆ ที่ไทยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะนำไปเป็นต้นแบบเพื่อเสนอแนะให้แก่ประเทศอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกต่อไปด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.27 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.47 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 9.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 38.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวลดลงอีกเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะยังอยู่ในช่วงปิดภาคการศึกษาของสถาบันต่าง ๆ และในขณะนี้เป็นช่วงที่ผลไม้ตามฤดูกาลออกสู่ตลาดมากทำให้การบริโภคไข่ไก่ลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 205 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 208 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 187 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 210 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 204 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 211 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 180 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 244 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 239 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 225 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 260 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 250 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 302 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.96 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.57 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.65 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 42.27 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.21 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.11 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.48 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 15 ประจำวันที่ 17-23 เมษายน 2549--
-พห-