สรุปภาวะการค้าไทย-สหรัฐระหว่างเดือน ม.ค.- พ.ค.2549

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 5, 2006 12:12 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของโลก  ปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้ารวม  1,670,940.374 
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.69 และในไตรมาสแรกปี 2549 (ม.ค.-มี.ค.)สหรัฐฯ มีมูลค่าการนำเข้ารวม
435,102 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.32
2. แหล่งผลิตสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าในปี 2598 (ม.ค.-เม.ย.) ได้แก่
- แคนาดา ร้อยละ 17.67 มูลค่า 102,864.872 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.28
- จีน ร้อยละ 13.95 มูลค่า 81,234.768 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.46
- เม็กซิโก ร้อยละ 10.84 มูลค่า 63,133.393 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.95
- ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.20 มูลค่า 47,716.835 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.37
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 18 สัดส่วนร้อยละ 1.18 มูลค่า 6,870.401 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.43
3. เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเหลือประมาณร้อยละ 3% ในปี 2549 เมื่อเทียบกับระดับ 3.4%
ของปี 2548 ทั้งนี้แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่ถึงกับตกอยู่ในภาวะถดถอยเพียงแต่จะลดอัตราการขยายตัวเพียง
ระดับหนึ่งเท่านั้น
4. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ (ม.ค.-พ.ค. 2549)
มูลค่า 7,547.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 15.22 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.55 หรือคิดเป็นร้อยละ 38.45
ของเป้าหมายการส่งออกปี 2549 ที่ 19,624 ล้านเหรียญสหรัฐ
5. การค้าระหว่างประเทศไทย-สหรัฐฯ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2547 2548 2548 2549 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
(ม.ค-พ.ค) (ม.ค-พ.ค) 2547 2548 2549(ม.ค-พ.ค)
มูลค่าการค้า 22,714.93 25,748.34 10,031.08 11,024.43 9.79 13.35 9.90
สินค้าออก 15,508.51 17,064.43 6,420.26 7,547.32 14.07 10.03 17.55
สินค้าเข้า 7,206.42 8,683.91 3,610.82 3,477.11 1.60 20.50 -3.70
ดุลการค้า 8,302.09 8,380.53 2,809.45 4,070.20 27.65 0.94 44.88
6. สินค้าไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา (ม.ค.-พ.ค. 2549) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 77.76 ของมูลค่า
การส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 100 มี 2 รายการ สินค้าสำคัญที่มี
มูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 50 มี 3 รายการและสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน ร้อยละ2549
ตลาด ม.ค.-พ.ค48 ม.ค.-พ.ค49 เปลี่ยนแปลง ม.ค.-พ.ค 2548 ม.ค.-พ.ค
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูง
มากกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการ
(1) เม็ดพลาสติก 15 58.59 136.58 77.99 133.11 1.49 1.18
(2) ปูนซิเมนต์ 24 32.74 73.97 41.23 125.94 0.74 0.98
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูง
มากกว่าร้อยละ 50 มี 4 รายการ
(1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 1 665.61 1,091.97 426.36 64.06 11.69 14.47
(2) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 14 79.03 141.45 62.42 79.00 1.47 1.87
(3) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 22 63.71 98.39 34.68 54.44 0.58 1.30
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลงมากกว่า
ร้อยละ 50 มี 1 รายการ
(1) วงจรพิมพ์ 23 204.87 77.07 -127.80 -62.38 2.17 1.02
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
เม็ดพลาสติก (HS.3901 ) ETHYLENE, PRIMARY FORM
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 36.483 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.76 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 259.94 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,324.258 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.02
นำเข้าจาก แคนาดา ไทย บราซิล เป็นหลัก (ม.ค.-เม.ย. 2549)
ปูนซิเมนต์ (HS 2523) HYDRAULIC CEMENTS
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 56.760 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 9.68 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 227.42 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 586.447 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.11
นำเข้าจาก จีน แคนาดา ไทย เป็นหลัก (ม.ค.-เม.ย. 2549)
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (HS. 8471) COMPUTER & COMPONENTS
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอันดับที่ 5 มูลค่า 886.380 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 4.25 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 21.98 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 20,858.740 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.62
นำเข้าจาก จีน มาเลเซีย เม็กซิโก เป็นหลัก (ม.ค.-เม.ย. 2549)
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (HS.84 ) MACHINERY
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 9 มูลค่า 1,757.402 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.58 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.25 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 68,131.534 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.60
นำเข้าจาก จีน เม็กซิโก ญี่ปุ่น เป็นหลัก (ม.ค.-เม.ย. 2549)
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (HS. 8415) AIR CONDITIONING
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอันดับที่ 4 มูลค่า 86.483 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 5.59 เพิ่มขึ้นร้อยละ
61.70 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,548.468 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.44 นำเข้า
จาก จีน เม็กซิโก แคนาดา เป็นหลัก (ม.ค.-เม.ย. 2549)
7. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ
7.1 ผู้อำนวยการวิจัยเศรษฐกิจสารสนเทศ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์
ให้ข้อคิดเห็นเรื่องผลได้ ผลเสีย ของการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างไทย — สหรัฐฯ ดังนี้
ผลดี
- สินค้าไทยบางประเภทได้รับประโยชน์ เช่นสินค้ายานยนต์และสิ่งทอที่อยู่ในหมวดสินค้าเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
ของไทย ซึ่งนอกจากผู้บริโภคจะได้บริโภคสินค้าในราคาที่ต่ำลงแล้ว ผู้ประกอบการในประเทศก็สามารถส่งออกได้มากขึ้น ส่งผล
ให้เกิดอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องและแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นเช่นกัน
- กิจการโทรคมนาคม การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ก็จะเป็นอีกหนึ่งอุตสหกรรมที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
หากมีการเปิดเอฟทีเอกับสหรัฐฯ โดยผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์ในแง่ของการมีทางเลือกในการใช้บริการและราคาที่ถูกลง
เนื่องจากจะมีผู้เข้ามาแข่งขันในตลาดมากขึ้น
ผลเสีย
- สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นที่ต้องการในตลาดสหรัฐฯแม้สินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์
พลาสติก และเคมีภัณฑ์ที่มีการเติบโตค่อนข้างสูงในสหรัฐฯ ไทยก็ไม่สามารถเข้าไปแข่งขันได้ เนื่องจากศักยภาพในการผลิตของ
ไทยยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะสภาพเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้า ส่งผลให้ไทยเสียโอการสเป็นจำนวนไม่น้อย
- หากมีการแข่งขันในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการประมูลโครงการใหญ่ๆ
ผู้ประกอบการสหรัฐฯ จะมีข้อได้เปรียบในเรื่องเทคโนโลยีและเงินทุน ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยจะเสียเปรียบในด้านการ
แข่งขันทั้งตลาดในประเทศและตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างในสหรัฐฯ ค่อนข้างจะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้
ประกอบการในประเทศของตนเองมากกว่า
สินค้าที่ผู้ประกอบการได้ประโยชน์แต่ผู้บริโภคเสียประโยชน์ ได้แก่
- น้ำตาล : จะมีการแย่งชิงทรัพยากรเกิดขึ้น
- การบริการสุขภาพ : ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของไทยถูกกว่าสหรัฐฯ จะส่งผลให้
คนไข้จากต่างประเทศเข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลของไทยเพิ่มขึ้น ในขณะที่คนไทยอาจได้รับบริการที่ด้อยลง เช่น
การรอคิวนานและได้พบหมอน้อยลง นอกจากนี้ระบบประกันสุขภาพของสหรัฐฯ ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ในกรณีคนไข้ของสหรัฐฯ ไป
รักษาพยาบาลยังต่างประเทศ ดังนั้นจึงไม่สามารถรับประกันได้ว่าไทยจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีการให้บริการสุขภาพ
สินค้าที่ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศเสียผลประโยชน์ ยังทำให้ผู้บริโภคในประเทศได้รับผลกระทบ
- สินค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาและการส่งพัสดุ : เป็นไปได้สูงว่าผู้ประกอบการในสหรัฐฯ จะเข้ามา
ผูกขาดในการให้บริการในประเทศไทย และจะส่งผลให้ผู้บริโภคต้องใช้บริการในราคาที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามนายสมเกียรติสรุปข้อคิดเห็นการทำเอฟทีเอกับสหรัฐฯ ว่าการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ
มีทั้งข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบแตกต่างกันไป ดังนั้นไทยจึงควรสร้างมาตรการป้องกันโดยการออกกฎหมายแข่งขันทาง
การค้าที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมในทุกเรื่อง ซึ่งจะต้องมีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและมีการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีที่ได้รับ
ผลกระทบ นอกจากนี้รัฐบาลควรมีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและมีการรับความคิดเห็นจากบุคคลรอบด้านให้มากขึ้น และ
ที่สำคัญจะต้องมีการรับรองจากรัฐสภาก่อนที่จะมีการทำสัญญาระหว่างกัน
7.2 ศ.ดร.ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล ได้นำเสนอรายงาน “ผลกระทบการทำ FTA Thai-US ศึกษาวิเคราะห์
ในข้อบทการลงทุน” เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยในโครงการวิจัย (สกว) ชุดโครงการ วิจัยการ
ศึกษาผลกระทบของการทำ FTA Thai-US ซึ่งมีเนื้อหาสรุปได้ ดังนี้
- การทำเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ ในครั้งนี้ มิใช่วิธีการเปิดเสรี โดยจากผลการวิจัยพบว่าภายใต้ข้อตกลงของสหรัฐฯ
มีการเรียกร้องในสิ่งที่มิใช่การเปิดเสรีโดยตรงหลายประเด็น ซึ่งจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อชาติ อาทิ เรื่องฐานทรัพยากร
ธรรมชาติ ภูมิปัญญาไทย/ท้องถิ่น ศักยภาพในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้
- สหรัฐฯ เร่งรุกหนักในการจัดทำข้อตกลงทวิภาคีและข้อตกลงแบบภูมิภาคนิยมที่คู่ขนานไปกับการเจรจาพหุภาคีของ
WTO ซึ่งการเจรจาดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ให้สหรัฐฯ สามารถโน้มน้าวประเทศคู่ค้าให้เปลี่ยนนโยบายและกฎหมายให้เป็นไปใน
แนวทางที่สหรัฐฯ ต้องการ และหาก
- ประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ “ยอมรับ” ข้อตกลงทวิภาคีกับสหรัฐฯ แล้ว ในที่สุดสหรัฐฯ ก็จะนำกรอบข้อตกลงดังกล่าวเข้า
มาแทนที่ระเบียบการค้าในระดับพหุภาคีต่อไป
- หากสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการเจรจาเอฟทีเอกับประเทศคู่ค้าที่ขยายวงกว้างออกไปจะส่งผลให้สหรัฐฯ
หันมาใช้นโยบาย “ชะงักงัน” ในการเจรจา trade negotiation round ภายใต้ WTO มากขึ้นและหันมาสร้างแรงกดดันให้
ประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นคู่ค้าสำคัญกับสหรัฐฯ หันมาทำเอฟทีเอแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นไปที่ประเทศคู่ค้าที่กลัวการสูญเสีย
ตลาดสหรัฐฯ ให้กับประเทศคู่แข่ง
ทั้งนี้หากประเทศไทยตกลงตามที่สหรัฐฯ เรียกร้องมาทั้งหมด จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
ไทยครั้งใหญ่ รวมถึงจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายครั้งใหญ่ตามมาอีกด้วย
7.3 นักเศรษฐศาสตร์มีชื่อเสียงระดับแถวหน้าของสหรัฐฯ ดร.ฮาวเวิร์ค โรเซ็น ได้ให้ข้อคิดเห็นและแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับ
การเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทย — สหรัฐฯ ดังนี้
7.3.1 การเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีทวิภาคี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในขณะนี้หยุดชะงัก เนื่องจากสถานการณ์
การเมือง ซึ่งยังไม่ชัดเจนประกอบกับอำนาจพิเศษในการส่งเสริมการค้า (trade promotion authority : TPA)
ซึ่งรัฐสภาสหรัฐฯ ได้มอบหมายอำนาจดังกล่าวให้ประธานาธิบดี คนปัจจุบันเพียงชั่วคราวเท่านั้น และอำนาจดังกล่าวจะสิ้นสุด
ลงภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2550 ดังนั้นหากการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทย-สหรัฐฯ ยังไม่สามารถได้ข้อสรุปภายในกำหนด
ข้างต้นก็อาจทำให้การเจรจาพลาดโอกาสไป ทั้งนี้หากรัฐสภาสหรัฐฯ ยอมอนุญาตขยาย ระยะเวลาในการใช้อำนาจ TPA
ออกไปอีกเพื่อในการเจรจาต่างๆ สามารถเดินหน้าต่อ ก็จะส่งผลให้การเจรจาเอฟทีในระดับทวิภาคีของสหรัฐฯ กับประเทศ
ต่างๆ มีโอกาสเดินหน้าต่อไปเช่นกัน
7.3.2 ไทยควรส่งสัญญาณให้สหรัฐฯ ทราบว่าไทยยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะเจรจาเอฟทีเอต่อเนื่องจากปัจจุบันสหรัฐฯ
จะเจรจาการค้ากับมาเลเซียแล้ว ยังมีพันธะผูกพันที่จะต้องเจรจาการค้ากับอีกหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงเกาหลีใต้และโอมาน
และมีความเป็นไปได้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าตารางนัดหมายจะต้องมีอีกมาก หากไทยอาจพลาดโอกาสตรงนี้จะส่งผ
ลกระทบต่อภาคเอกชนได้ เพราะสิทธิพิเศษทางภาษีที่ไทยได้รับภายใต้โครงการ Generalised system of preferences
(GSP) จะสิ้นสุดภายในเดือนตุลาคม 2549 และมีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ จะเพิ่มสิทธิพิเศษแก่ประเทศอื่นมากกว่าเนื่องจาก
ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นแล้ว ดังนั้นการเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐฯ จะส่งผลดีต่อการยกระดับให้
ภาคเอกชนไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มยิ่งขึ้นอีก เพื่อเปิดรับการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ
7.4 เกี่ยวกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ริชาร์ค เลห์มานจาก Lehmann Income Securities Investor ได้เผยแพร่
บทความเรื่อง “Get Ready For Stagflation” ลงในนิตยสารฟอร์บสของสหรัฐฯ โดยมีการตั้งคำถามในบทความว่า
ระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ พร้อมหรือยังที่จะเผชิญกับสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจที่มีคนว่างงานเพิ่มขึ้น ผลผลิตลดลง ขณะที่
อัตราเงินเฟ้อ (Stagflation) สูงขึ้น ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันพร้อมกับราคา
วัตถุดิบต่างๆ มีราคาสูงขึ้น จะเป็นสาเหตุสำคัญที่กดดันให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นในสหรัฐฯ
เลห์มานให้ความเห็นว่า “ต้นทุนของเงิน” เป็นต้นทุนอีกประเภทหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
ของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลรุนแรงและแพร่หลายกว่าเรื่องราคาน้ำมันหลายเท่าโดยเลห์มานอธิบายว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคมี
ความสำคัญมากสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งจากลูกหนี้บัตรเครดิตและการรีไฟแนนซ์ของคนจำนองบ้าน ซึ่งผู้บริโภค
เหล่านี้จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นและเร็วมากขึ้นกว่ามูลค่าต้นทุนพลังงาน รวมถึงในภาคธุรกิจ ทั้งนี้กลุ่มผู้บริโภคดังกล่าวกำลังจะต้อง
เผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากขึ้น และเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4-5% และอาจเพิ่มขึ้นอีก 0.25-0.5%
ยิ่งจะเป็นภาระที่หนักและส่งผลให้ต้นทุนของเงินอยู่ในภาวะที่น่าวิตกมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีเพียงวิธีการเดียวเท่านั้นคือ การ
ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น จึงจะสามารถลดผลกระทบของความรุนแรงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ แต่ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้มี
รายได้น้อยและเจ้าหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อไป
7.5 ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายเบน เบอร์นันเก้ แสดงความคิดเห็นถึงความจำเป็นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
จะต้องหามาตรการการรับมือกับอัตราเงินเฟ้อในขณะนี้ว่า เมื่อผู้บริโภค และนักธุรกิจต่างๆ พากันลดค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาระ
จากราคาค่าครองชีพที่สูงขึ้น หนี้และอัตราดอกเบี้ยที่มากขึ้น ระบบเศรษฐกิจก็ย่อมจะถูกดึงเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่าการถดถอย
ทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเฟดจึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดภาระที่เกิดขึ้นจากเงินเฟ้อ จึงส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการรวมถึงหนี้
ของภาคธุรกิจมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้จะช่วยจำกัดความต้องการบริโภคทั้งระดับบุคคลและหน่วยธุรกิจองค์กรลงได้
และจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจกลับเข้าสู่จุดสมดุลอีกครั้ง ในขณะเดียวกันก็สามารถลดความกดดันจากภาวะเงินเฟ้อด้วย
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ