สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดการณ์ปี 50 เกษตรกรจะหันมาปลูกอ้อยโรงงานกันมากขึ้น โดยแปลงจากพื้นที่นาดอนกำไรน้อย มาปลูกพืชดังกล่าวแทน หวังสร้างรายได้คุ้มค่ากว่าการ ทำนา อีกทั้งได้รับการส่งเสริม สนับสนุนด้านการเงิน และแหล่งรับซื้อที่แน่นอน
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข. 5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการดำเนินการก่อตั้งโรงงานน้ำตาลสุรินทร์ ที่ตำบลปรือ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ที่ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในจังหวัดหันมาปลูกอ้อยโรงงาน เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนให้โรงงานนั้น จะเห็นว่าในปี 2549 มีเนื้อที่เพาะปลูกอ้อยโรงงานของจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 15,734 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่า 3 เท่าตัว จากการเข้าไปสำรวจข้อมูลพื้นที่ ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า ในปี 2550 เกษตรกรมีแนวโน้มจะทำการเพาะปลูกอ้อยโรงงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรที่อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่ของโรงงานน้ำตาล ประกอบด้วย อำเภอปราสาท พนมดงรัก กาบเชิง บัวเชด และสังขะ
นายอุดม กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่อ้อยโรงงานส่วนใหญ่นั้น เกษตรกรจะปรับเปลี่ยนจาก ที่นาดอนหรือนาที่ไม่เหมาะสม และได้รับผลตอบแทนต่ำมาทำการปลูกอ้อยดังกล่าวแทน ซึ่งในปี 2548 ที่ผ่านมาพบว่า ข้าวนาปีจังหวัดสุรินทร์มีผลผลิตต่อไร่ 367 กิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 6.42 บาท ต้นทุนการผลิตต่อไร่ 2,153 บาท เกษตรกรได้รับผลตอบแทนต่อไร่สุทธิ 203 บาท ส่วนอ้อยโรงงานมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 7,320 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรได้ในปี 2548 อยู่ที่กิโลกรัมละ 0.68 บาท ต้นทุนการผลิตต่อไร่ 3,153 บาท เกษตรกรได้รับผลตอบแทนต่อไร่สุทธิ 1,806 บาท มากกว่าข้าวนาปีถึง 6 เท่า
จากผลตอบแทนที่ได้ดังกล่าว เกษตรกรที่มีพื้นที่นาเป็นลักษณะนาดอนหรือนาไม่เหมาะสม จึงคาดหวังว่าการปลูกอ้อยโรงงานจะสร้างรายได้ที่คุ้มค่ามากกว่าการทำนา อีกทั้งยังได้รับการส่งเสริม สนับสนุนทั้งทางด้านเงินทุน และมีแหล่งรับซื้อที่แน่นอนจากโรงงานน้ำตาล จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้เนื้อที่เพาะปลูกอ้อยโรงงานของจังหวัดสุรินทร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของจังหวัดในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข. 5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการดำเนินการก่อตั้งโรงงานน้ำตาลสุรินทร์ ที่ตำบลปรือ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ที่ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในจังหวัดหันมาปลูกอ้อยโรงงาน เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนให้โรงงานนั้น จะเห็นว่าในปี 2549 มีเนื้อที่เพาะปลูกอ้อยโรงงานของจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 15,734 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่า 3 เท่าตัว จากการเข้าไปสำรวจข้อมูลพื้นที่ ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า ในปี 2550 เกษตรกรมีแนวโน้มจะทำการเพาะปลูกอ้อยโรงงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรที่อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่ของโรงงานน้ำตาล ประกอบด้วย อำเภอปราสาท พนมดงรัก กาบเชิง บัวเชด และสังขะ
นายอุดม กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่อ้อยโรงงานส่วนใหญ่นั้น เกษตรกรจะปรับเปลี่ยนจาก ที่นาดอนหรือนาที่ไม่เหมาะสม และได้รับผลตอบแทนต่ำมาทำการปลูกอ้อยดังกล่าวแทน ซึ่งในปี 2548 ที่ผ่านมาพบว่า ข้าวนาปีจังหวัดสุรินทร์มีผลผลิตต่อไร่ 367 กิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 6.42 บาท ต้นทุนการผลิตต่อไร่ 2,153 บาท เกษตรกรได้รับผลตอบแทนต่อไร่สุทธิ 203 บาท ส่วนอ้อยโรงงานมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 7,320 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรได้ในปี 2548 อยู่ที่กิโลกรัมละ 0.68 บาท ต้นทุนการผลิตต่อไร่ 3,153 บาท เกษตรกรได้รับผลตอบแทนต่อไร่สุทธิ 1,806 บาท มากกว่าข้าวนาปีถึง 6 เท่า
จากผลตอบแทนที่ได้ดังกล่าว เกษตรกรที่มีพื้นที่นาเป็นลักษณะนาดอนหรือนาไม่เหมาะสม จึงคาดหวังว่าการปลูกอ้อยโรงงานจะสร้างรายได้ที่คุ้มค่ามากกว่าการทำนา อีกทั้งยังได้รับการส่งเสริม สนับสนุนทั้งทางด้านเงินทุน และมีแหล่งรับซื้อที่แน่นอนจากโรงงานน้ำตาล จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้เนื้อที่เพาะปลูกอ้อยโรงงานของจังหวัดสุรินทร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของจังหวัดในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-