วันนี้ (29มี.ค.) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) แถลงภายหลังการประชุมวิปฝ่ายค้านว่า ขอตั้งข้อสังเกตกรณีคำขอของรัฐบาลในการเปิดอภิปรายทั่วไปในเรื่องการแก้ไขปัญหา3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และปัญหาความยากจนเพราะรัฐบาลพูดเองว่าการเปิดอภิปรายฯตามมาตรา 213 จะเป็นกรณีเดียวคือเรื่องปัญหาใต้แต่กลับมีเรื่องปัญหาความยากจนเพิ่มมาด้วยและการเขียนคำขอยังมีนัยที่น่าสังเกตโดยระบุว่าปัญหาความยากจนเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งฝ่ายค้านเห็นว่าทั้งสองเรื่องเป็นคนละกรณีกันและทั้งสองเรื่องเป็นปัญหาใหญ่ แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีกลับให้สัมภาษณ์ตีกรอบล่วงหน้าว่าเวลา 2วันก็น่าเพียงพอ
ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะปล่อยให้ตัวแทนของประชาชนสามารถอภิปรายได้อย่างเต็มที่โดยไม่ควรจำกัดเวลาของผู้อภิปรายซึ่งในส่วนของพรรคชาติไทยมีผู้แสดงความจำนงอภิปรายไม่ต่ำกว่า 5 คนและในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ต่ำกว่า20 คน เพราะต้องยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์มี ส.ส.อยู่ใน14 จ.ชายแดนภาคใต้ถึง 52 คน ซึ่งฝ่ายค้านได้ต่อรองในการประชุมร่วมกับประธานรัฐสภาฯตัวแทนจากรัฐบาลและวุฒิสมาชิกว่า หาก 2วันการอภิปรายยังไม่จบน่าจะให้ประธานสามารถใช้ดุลยพินิจเพิ่มการประชุมในวันที่ 3 แต่การเจรจาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติโดยจะมีการหารือเรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 30 มี.ค.เวลา 08.30 น.
นายสาทิตย์ กล่าวถึงกรณีที่อาจมีการเสนอให้การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมลับว่า ฝ่ายค้านเห็นว่าการอภิปรายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213ถือว่าเป็นการอภิปรายโดยเปิดเผยต่อที่ประชุมรัฐสภาโดยสมาชิกของรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนเพราะฉะนั้นการอภิปรายของฝ่ายค้านจะคำนึงถึงเนื้อหาสาระและจะต้องระมัดระวังเรื่องผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือความอ่อนไหวในบางเรื่องเป็นพิเศษ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะเสนอให้เป็นการประชุมลับหากในเรื่องนั้นหากยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่ามีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ประเทศหรือไม่มิเช่นนั้นจะถือว่าเป็นการปิดกั้นโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
“แม้ว่าการประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมร่วมกันของสมาชิกโดยมีครม.เป็นผู้รับฟังแต่เราคิดว่าสาธารณะชนในฐานะผู้ใช้สิทธิเลือกสมาชิกเข้ามาควรมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารตรงนี้ด้วยดังนั้นเราจึงเรียกร้องให้การประชุมเป็นเรื่องเปิดกว้างให้สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารตั้งแต่ต้นจนจบการประชุมเพราะฉะนั้นหากมีการขอเปิดประชุมลับแม้ว่าจะเป็นเอกสิทธิ์ของครม.แต่เราก็ขอทราบเหตุผลในการประชุมลับด้วย”นายสาทิตย์กล่าวและว่าการขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 213 เกิดขึ้นครั้งหลังสุดตามรัฐธรรมนูญฉบับเดิมในสมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ตอนนั้นเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจ และหลังจากนั้นเป็นเวลา 7 ปีเศษที่ยังไม่เคยขอเปิดอภิปรายฯจึงถือเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปีเศษดังนั้นฝ่ายค้านจึงหวังว่ารัฐบาลจะเปิดใจกว้างจริงๆในการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่าในการอภิปรายเรื่องปัญหา3จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นฝ่ายค้านจะอภิปรายใน 3 ประเด็นคือ 1.เสนอข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่เป็นอยู่ 2.เสนอปัญหาที่เกิดขึ้น3.ข้อเสนอแนะที่จะสะท้อนให้นายกรัฐมนตรีรวมถึงคณะกรรมการสมานฉันท์ นำไปพิจารณาด้วย
ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวอีกว่าสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่อภิปรายหลักได้แสดงความประสงค์ไว้ประมาณ 20 คน โดยจะให้ส.ส.ใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกคนได้อภิปรายซึ่งจะให้นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคเป็นหัวหน้าทีมและนายชวน หลีกภัยได้เตรียมข้อมูลไว้แล้วส่วนจะอภิปรายหรือไม่นั้นต้องดูสถานการณ์อีกที
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นห่วงการทำหน้าที่ของนายโภคิน พลกุลประธานรัฐสภาหรือไม่ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่าฝ่ายค้านได้แสดงท่าทีชัดเจนไปแล้วพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของประธานหากเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นไปตามกติกาแต่หากกรณีใดไม่ได้รับความเป็นธรรมมีมาตรฐานใช้ดุลยพินิจไม่เป็นไปตามข้อบังคับเราจะมีท่าทีเฉพาะเป็นกรณีไปซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้จี้ให้นายโภคินปรับท่าทีในการทำหน้าที่ในการควบคุมการประชุมแต่ถ้าหากยังมีการดำเนินการในลักษณะที่ไม่ให้ความเป็นธรรมเหมือนเดิมต้องเป็นเรื่องที่จะต้องดูสถานการณ์เบื้องต้นยังไม่ได้คิดว่าฝ่ายค้านจะต้องมีท่าทีต้องไปดำเนินอย่างใดอย่างหนึ่งต้องปล่อยให้ท่านทำหน้าที่ไปก่อน เพราะเชื่อว่าบทเรียน 3ครั้งคงเพียงพอทำให้ท่านตัดสินใจได้ว่าอะไรเป็นเรื่องที่ควรหรือไม่ควร
ด้านนายชินวรณ์ บุญเกียรติรองประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่าฝ่ายค้านต้องการให้การประชุมเป็นไปอย่างดีแต่ก็เป็นห่วงมาตรฐานการทำหน้าที่ของประธานฯดังนั้นฝ่ายค้านเรียกร้องให้ท่านปรับเปลี่ยนท่าทีใน 3ข้อคือ 1. มาตรฐานในการดำเนินตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 คือวางตัวเป็นกลาง 2.มาตรฐานในการใช้ดุลพินิจตามข้อบังคับของประธานสภาฯเท่านั้น ไม่ควรใช้ดุลพินิจตามความรู้สึก และ 3.มาตรฐานในเรื่องของการให้สิทธิเพื่อนสมาชิกใช้สิทธิตามข้อบังคับโดยเฉพาะใช้สิทธิพาดพิงจึงขอเรียกร้องให้ประธานฯใช้มาตรฐานเดียวกันกับเพื่อนสมาชิกอย่าใช้ 2 มาตรฐานถ้าปฎิบัติได้เชื่อว่าจะทำให้บรรยากาศในการประชุมเป็นไปด้วยดี
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะปล่อยให้ตัวแทนของประชาชนสามารถอภิปรายได้อย่างเต็มที่โดยไม่ควรจำกัดเวลาของผู้อภิปรายซึ่งในส่วนของพรรคชาติไทยมีผู้แสดงความจำนงอภิปรายไม่ต่ำกว่า 5 คนและในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ต่ำกว่า20 คน เพราะต้องยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์มี ส.ส.อยู่ใน14 จ.ชายแดนภาคใต้ถึง 52 คน ซึ่งฝ่ายค้านได้ต่อรองในการประชุมร่วมกับประธานรัฐสภาฯตัวแทนจากรัฐบาลและวุฒิสมาชิกว่า หาก 2วันการอภิปรายยังไม่จบน่าจะให้ประธานสามารถใช้ดุลยพินิจเพิ่มการประชุมในวันที่ 3 แต่การเจรจาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติโดยจะมีการหารือเรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 30 มี.ค.เวลา 08.30 น.
นายสาทิตย์ กล่าวถึงกรณีที่อาจมีการเสนอให้การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมลับว่า ฝ่ายค้านเห็นว่าการอภิปรายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213ถือว่าเป็นการอภิปรายโดยเปิดเผยต่อที่ประชุมรัฐสภาโดยสมาชิกของรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนเพราะฉะนั้นการอภิปรายของฝ่ายค้านจะคำนึงถึงเนื้อหาสาระและจะต้องระมัดระวังเรื่องผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือความอ่อนไหวในบางเรื่องเป็นพิเศษ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะเสนอให้เป็นการประชุมลับหากในเรื่องนั้นหากยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่ามีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ประเทศหรือไม่มิเช่นนั้นจะถือว่าเป็นการปิดกั้นโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
“แม้ว่าการประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมร่วมกันของสมาชิกโดยมีครม.เป็นผู้รับฟังแต่เราคิดว่าสาธารณะชนในฐานะผู้ใช้สิทธิเลือกสมาชิกเข้ามาควรมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารตรงนี้ด้วยดังนั้นเราจึงเรียกร้องให้การประชุมเป็นเรื่องเปิดกว้างให้สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารตั้งแต่ต้นจนจบการประชุมเพราะฉะนั้นหากมีการขอเปิดประชุมลับแม้ว่าจะเป็นเอกสิทธิ์ของครม.แต่เราก็ขอทราบเหตุผลในการประชุมลับด้วย”นายสาทิตย์กล่าวและว่าการขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 213 เกิดขึ้นครั้งหลังสุดตามรัฐธรรมนูญฉบับเดิมในสมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ตอนนั้นเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจ และหลังจากนั้นเป็นเวลา 7 ปีเศษที่ยังไม่เคยขอเปิดอภิปรายฯจึงถือเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปีเศษดังนั้นฝ่ายค้านจึงหวังว่ารัฐบาลจะเปิดใจกว้างจริงๆในการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่าในการอภิปรายเรื่องปัญหา3จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นฝ่ายค้านจะอภิปรายใน 3 ประเด็นคือ 1.เสนอข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่เป็นอยู่ 2.เสนอปัญหาที่เกิดขึ้น3.ข้อเสนอแนะที่จะสะท้อนให้นายกรัฐมนตรีรวมถึงคณะกรรมการสมานฉันท์ นำไปพิจารณาด้วย
ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวอีกว่าสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่อภิปรายหลักได้แสดงความประสงค์ไว้ประมาณ 20 คน โดยจะให้ส.ส.ใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกคนได้อภิปรายซึ่งจะให้นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคเป็นหัวหน้าทีมและนายชวน หลีกภัยได้เตรียมข้อมูลไว้แล้วส่วนจะอภิปรายหรือไม่นั้นต้องดูสถานการณ์อีกที
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นห่วงการทำหน้าที่ของนายโภคิน พลกุลประธานรัฐสภาหรือไม่ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่าฝ่ายค้านได้แสดงท่าทีชัดเจนไปแล้วพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของประธานหากเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นไปตามกติกาแต่หากกรณีใดไม่ได้รับความเป็นธรรมมีมาตรฐานใช้ดุลยพินิจไม่เป็นไปตามข้อบังคับเราจะมีท่าทีเฉพาะเป็นกรณีไปซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้จี้ให้นายโภคินปรับท่าทีในการทำหน้าที่ในการควบคุมการประชุมแต่ถ้าหากยังมีการดำเนินการในลักษณะที่ไม่ให้ความเป็นธรรมเหมือนเดิมต้องเป็นเรื่องที่จะต้องดูสถานการณ์เบื้องต้นยังไม่ได้คิดว่าฝ่ายค้านจะต้องมีท่าทีต้องไปดำเนินอย่างใดอย่างหนึ่งต้องปล่อยให้ท่านทำหน้าที่ไปก่อน เพราะเชื่อว่าบทเรียน 3ครั้งคงเพียงพอทำให้ท่านตัดสินใจได้ว่าอะไรเป็นเรื่องที่ควรหรือไม่ควร
ด้านนายชินวรณ์ บุญเกียรติรองประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่าฝ่ายค้านต้องการให้การประชุมเป็นไปอย่างดีแต่ก็เป็นห่วงมาตรฐานการทำหน้าที่ของประธานฯดังนั้นฝ่ายค้านเรียกร้องให้ท่านปรับเปลี่ยนท่าทีใน 3ข้อคือ 1. มาตรฐานในการดำเนินตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 คือวางตัวเป็นกลาง 2.มาตรฐานในการใช้ดุลพินิจตามข้อบังคับของประธานสภาฯเท่านั้น ไม่ควรใช้ดุลพินิจตามความรู้สึก และ 3.มาตรฐานในเรื่องของการให้สิทธิเพื่อนสมาชิกใช้สิทธิตามข้อบังคับโดยเฉพาะใช้สิทธิพาดพิงจึงขอเรียกร้องให้ประธานฯใช้มาตรฐานเดียวกันกับเพื่อนสมาชิกอย่าใช้ 2 มาตรฐานถ้าปฎิบัติได้เชื่อว่าจะทำให้บรรยากาศในการประชุมเป็นไปด้วยดี
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-